Advertisement
. สรรพสิ่งล้วน พันเกี่ยว ( ด้านนิเวศวิทยา )
มะละกอเป็นพืชที่เจริญเติบโตได้ดีในดินแทบทุกชนิดที่มีหน้าดินลึก ส่วนใหญ่จะได้ประโยชน์จากผลมะละกอ มาใช้บริโภคทั้งทางตรงและทางอ้อม ซึ่งการจะได้ผลผลิตที่ดีมีคุณภาพ มีปัจจัยภายนอกต่าง ๆที่มาเกี่ยวข้องกับทุก ๆส่วนของต้นมะละกอ ทั้งปัจจัยทางชีวภาพ และปัจจัยทางกายภาพที่มีผลต่อการเจริญเติบโตของมะละกอในทุก ๆส่วนของต้นมะละกอ ดังนี้
2.1 ปัจจัยทางชีวภาพ ได้แก่ สิ่งมีชีวิตต่าง ๆที่เป็นปัจจัยและเหตุต่อการเจริญเติบโตของต้นมะละกอในส่วนต่าง ๆ ปัจจัยทางชีวภาพที่เป็นปัจจัยแห่งการเจริญเติบโตของต้นมะละกอ ได้แก่ ผึ้ง ผีเสื้อ ไส้เดือนดิน ส่วนปัจจัยทางชีวภาพที่เป็นเหตุแห่งการเจริญเติบโตของต้นมะละกอ ได้แก่ เพลี้ยอ่อน เพลี้ยหอย เพลี้ยแป้ง เพลี้ยไฟ ไรแดง ไส้เดือนฝอย ปัจจัยทางชีวภาพต่างๆ ที่กล่าวถึงข้างต้นได้ศึกษาลักษณะสำคัญของสิ่งมีชีวิตนั้นๆและความสัมพันธ์ของสิ่งมีชีวิตนั้นๆกับมะละกอดังมีรายละเอียดต่อไปนี้
ผึ้ง
ภาพแสดงลักษณะผึ้งนางพญา ผึ้งงาน และผึ้งตัวผู้ของผึ้งโพรงไทย
ที่มา : สารานุกรมไทยสำหรับเยาวชน โดยพระราชประสงค์ในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เล่มที่ 15 , 2539 : 9
ผึ้ง ชื่อวิทยาศาสตร์ Apis cerana
ผึ้งงาน เป็นผึ้งเพศเมีย มีขนาดเล็กที่สุดเนื่องจากในระยะที่เป็นตัวอ่อนได้รับอาหารเป็นพิเศษคือ
นมผึ้ง หรือ รอยอลเยลลี่ เพียงสามวันหลังจากนั้นตัวผึ้งงานที่มีอายุมากจะได้กินแต่เกสรและน้ำผึ้งทำให้การพัฒนาแตกต่างจากผึ้งนางพญามากแตกต่างไปจากนางพญาที่ได้กินนมผึ้งตั้งแต่ตัวอ่อนอายุ 1 วัน และได้กินต่อไปตลอดชีวิต ด้วยเหตุนี้จึงทำให้ผึ้งเพศเมีย 2 วรรณะนี้ผิดแผกแตกต่างกันทั้งลักษณะภายนอกและภายในตลอดจนการทำภารกิจต่าง ๆผึ้งงานมีหน้าที่หลักในการทำงาน เช่นดูแลป้อนอาหารผึ้งตัวอ่อน ดูแลทำความสะอาดรัง เลี้ยงดูป้อนอาหารให้ผึ้งตัวอ่อน เฝ้ารังป้องกันศัตรู ฯลฯ ไม่มีการเอาเปรียบแก่งแย่งหรือลบงานเลย นักวิทยาศาสตร์สงสัยว่าผึ้งงานคือหุ่นยนต์ตัวน้อย ๆ ทำงานเกือบตลอดเวลาตั้งแต่เกิดจนตาย ผึ้งงานจึงมีอายุเพียง 6 – 8 สัปดาห์เท่านั้นผึ้งนางพญาลักษณะตัวใหญ่กว่าผึ้งงาน ลำตัวยาวกว่าผึ้งเพศผู้ ปกติอายุ 1 – 2 ปี บางตัวมีชีวิตได้ถึง 3 ปี
ที่มา : สารานุกรมไทยสำหรับเยาวชน โดยพระราชประสงค์ในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เล่มที่ 15 , 2539 : 3-13
ที่มา : สารานุกรมไทยสำหรับเยาวชน โดยพระราชประสงค์ในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เล่มที่ 15 , 2539 : 3-13
ผึ้งตัวผู้
ผึ้งตัวผู้มีขนาดใหญ่ ลำตัวอ้วนและสั้นกว่าผึ้งนางพญา ผึ้งตัวผู้ไม่มีเหล็กใน มีลิ้นสั้นหาอาหารเองไม่ได้ ได้รับอาหารจากผึ้งงานเท่านั้นผึ้งตัวผู้ไม่มีหน้าที่ทำงานในรัง ดังนั้นจึงมีหน้าที่ผสมพันธุ์อย่างเดียว เมื่อผสมพันธุ์ในอากาศเสร็จจะตกลงมาตาย เมื่อหมดฤดูผสมพันธุ์ ผึ้งตัวผู้ที่ไม่ได้มีโอกาสผสมพันธุ์ จะถูกปล่อยให้อดอาหารตาย เราจะพบผึ้งตัวผู้ปรากฏตัวในรังเฉพาะฤดูผสมพันธุ์เท่านั้น หลังจากผสมพันธุ์กับนางพญาแล้วผึ้งจะตายทันที
ที่มา : สารานุกรมไทยสำหรับเยาวชน โดยพระราชประสงค์ในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เล่มที่ 15 , 2539 : 3-13
ความสัมพันธ์ระหว่างผึ้งกับมะละกอ
ที่มา : แปลงมะละกอบริเวณหลังอาคาร 5 โรงเรียนนนทรีวิทยา
ผึ้งเป็นแมลงชนิดหนึ่ง ที่ต้องอาศัยน้ำหวานจากดอกไม้เป็นอาหารใช้ในการดำรงชีวิต ในขณะเดียวกัน ดอกมะละกอส่วนใหญ่เป็นดอกที่ไม่สมบูรณ์เพศ ทำให้การผสมพันธุ์ในดอกเดียวกัน เกิดขึ้นได้ยาก ผึ้งจึงเข้ามามีบทบาทสำคัญในการช่วยผสมเกสรดอกมะละกอ
ดังนั้น ความสัมพันธ์ระหว่างผึ้งและมะละกอ จึงเป็นแบบต่างฝ่ายต่างได้รับประโยชน์ร่วมกัน
ทำให้ผึ้งเป็นปัจจัยทางชีวภาพที่เป็นปัจจัยแห่งการเจริญเติบโตของต้นมะละกอ ทำให้มะละกอเจริญเติบโตมีผลผลิตที่มีคุณภาพ
ผีเสื้อ
ภาพผีเสื้อหนอนใบรักธรรมดา
ผีเสื้อหนอนใบรักธรรมดา ชื่อวิทยาศาสตร์ Danaus chrysippus ลักษณะ ส่วนนอกเป็นลายจุดสีดำขาว ท้องมีสีน้ำตาลอ่อน ปีกบ้นพื้นปีกสีน้ำตาลส้มมุมปลายปีกหน้าของปีกคู่หน้า มีสีน้ำตาลดำ มีจุดสีขาวเรียงกันบนสีดำ ปีกล่างคล้ายปีกบน แต่มุมปลายปีกหน้าของปีกคู่หน้าสีอ่อนกว่า พฤติกรรม ชอบหากินตามพุ่มดอกไม้ถิ่นอาศัย ป่าละเมาะ ทุ่งหญ้า สวนดอกไม้ สวนสาธารณะ สถานภาพ พบบ่อย
(คู่มือผีเสื้อ , 2546 : 132)
วงชีวิตของผีเสื้อ เริ่มจากไข่เมื่อฟักออกเป็นหนอน แล้วกลายเป็นดักแด้ในเวลาต่อมา ในที่สุดจึงกลายป็นผีเสื้อ ผีเสื้อมีการเจริญเติบโต 4 ระยะด้วยกัน คือ ไข่ หนอน ดักแด้ ตัวเต็มวัย แต่ละระยะใช้เวลาประมาณ 5 – 20 วัน
ที่มา : ผีเสื้อ , 2539 : 24
ที่มา : แปลงมะละกอบริเวณหลังอาคาร 5 โรงเรียนนนทรีวิทยา
ผีเสื้อเป็นแมลงชนิดหนึ่ง ที่ต้องอาศัยน้ำหวานจากดอกไม้เป็นอาหารใช้ในการดำรงชีวิต
ในขณะเดียวกัน ดอกมะละกอส่วนใหญ่เป็นดอกที่ไม่สมบูรณ์เพศ ทำให้การผสมพันธุ์ในดอกเดียวกัน เกิดขึ้นได้ยาก ผีเสื้อจึงเข้ามามีบทบาทสำคัญในการช่วยผสมเกสรดอกมะละกอ
ดังนั้น ความสัมพันธ์ระหว่างผึ้งและมะละกอ จึงเป็นแบบต่างฝ่ายต่างได้รับประโยชน์ร่วมกัน
ทำให้ผีเสื้อเป็นปัจจัยทางชีวภาพที่เป็นปัจจัยแห่งการเจริญเติบโตของต้นมะละกอ ทำให้มะละกอเจริญเติบโตมีผลผลิตที่มีคุณภาพ
ไส้เดือนดิน
ที่มา : แปลงมะละกอบริเวณหลังอาคาร 5 โรงเรียนนนทรีวิทยา
ไส้เดือนดิน ชื่อวิทยาศาสตร์ Pheretima peguana
ไส้เดือนดินเป็นสัตว์ที่เรารู้จักกันดีและหาง่ายกว่าสัตว์อื่น ๆ ในไฟลัมเดียวกัน ลักษณะภายนอก ไส้เดือนดินมีรูปร่างเป็นทรงกระบอกยาว ๆ มีหัวและหางค่อนข้างแหลม ลำตัวแบ่งเป็นปล้อง ๆ แต่ละปล้อง เรียกว่า segment ไส้เดือนที่พบในเมืองไทยมีประมาณ 120 ปล้อง ตรงกลางปล้องมีเดือยตรงรอยต่อระหว่างปล้องเรียก intersegmental grove จะเป็นบริเวณของอวัยวะสำคัญ ปลายสุดของปล้องเป็นทวารหนัก
อาหารของไส้เดือนดินส่วนใหญ่เป็นพวกซากสัตว์และพืชที่เน่าเปื่อยอยู่ในดินรวมทั้งพืชและสัตว์ขนาดเล็ก ๆ ที่ปะปนอยู่ด้วย การกินอาหารของไส้เดือนเกิดขึ้นตลอดเวลา ขณะที่มันเคลื่อนตัวภายในดินโดยไส้เดือนจะฮุบดินเข้าไปแล้วส่งต่อไปยังคอหอย กึ๋น แล้วผ่านสู่ลำไส้เพื่อดูดซึม จากนั้นจึงกำจัดดินและกากอาหารออกทางทวารหนัก
การเจริญเติบโตของไส้เดือนดิน เริ่มจากไข่ที่ผสมแล้ว เจริญเป็นตัวอ่อน และเป็นตัวเต็มวัยตามลำดับ (ชีววิทยา 2 , 2528 : 326-328 , 332 , 342 )
ความสัมพันธ์ระหว่างไส้เดือนดินกับมะละกอ
ที่มา : แปลงมะละกอบริเวณหลังอาคาร 5 โรงเรียนนนทรีวิทยา
อาหารของไส้เดือนดินส่วนใหญ่เป็นพวกซากพืชและสัตว์ที่เน่าเปื่อยอยู่ในดินบริเวณใต้ต้นมะละกอ รวมทั้งพืชและสัตว์ขนาดเล็ก ๆ ที่ปะปนอยู่ด้วย การกินอาหารของไส้เดือนเกิดขึ้นตลอดเวลาขณะที่มันเคลื่อนตัวภายในดินโดยไส้เดือนจะฮุบดินเข้าไป ทำให้เกิดช่องว่างในดิน ดินมีความพรุนเพิ่มขึ้น น้ำและอากาศจึงเกิดการถ่ายเทได้สะดวก เมื่อไส้เดือนดินฮุบดินเข้าไปแล้วส่งต่อไปยังคอหอย กึ๋น ผ่านสู่ลำไส้เพื่อดูดซึม จากนั้นจึงกำจัดดินและกากอาหารออกทางทวารหนัก ทำให้เป็นการเพิ่มปริมาณปุ๋ยให้กับดิน ส่งผลให้ต้นมะละกอเจริญเติบโตได้อย่างดี ความสัมพันธ์ระหว่างต้นมะละกอกับไส้เดือนดินจึงเป็นแบบต่างฝ่ายต่างให้ประโยชน์ร่วมกัน
ดังนั้นไส้เดือนดินจึงเป็นปัจจัยทางชีวภาพที่เป็นปัจจัยแห่งการเจริญเติบโตของต้นมะละกอ
ทำให้มะละกอเจริญเติบโตมีผลผลิตที่มีคุณภาพ
มดดำ (Back ants)
ชื่อวิทยาศาสตร์ Dolichoderus sp.
ชื่อวงศ์ HYMENOPTERA หมายถึง แมลงที่มีปีกเป็นเยื่อบาง
รูปร่างลักษณะ ตัวเล็ก เอวคอด ปกติไม่มีปีก มดที่มีปีก จะมีปีกที่บาง ปากเป็นปากกัด
คุณสมบัติมดดำเป็นแมลงที่อยู่กันเป็นสังคม เช่นเดียวกับผึ้ง พลเมืองในรังมดดำรังหนึ่ง มีทั้ง
ตัวผู้ มดตัวเมีย และมดงาน
วงชีวิตของมด
วงชีวิตของเพลี้ยอ่อน
เพลี้ยอ่อน
ชื่อวิทยาศาสตร์ Aphis gossypii Glover รูปร่างลักษณะและชีวประวัติเข้าทำลายในครั้งแรกจะเป็นเพลี้ยที่มีปีกขนาดยาว 1.2-1.8 มม. สีเขียวคล้ำปีกสีขาวใสพับข้างลำตัว ตัวที่ไม่มีปีกมีรูปร่างเหมือนตัวมีปีก แต่ขนาดโตกว่าตัวมีปีกเล็กน้อย และสีจางกว่า ตัวอ่อนนุ่ม รูปร่างเป็นรูปไข่ เคลื่อนไหวเชื่องช้าอยู่กันเป็นฝูง เมื่อเพลี้ยอ่อนออกลูกหลานจนหนาแน่นจนอาหารไม่เพียงพอ จะออกลูกมีปีกเพื่อกระจายไปหากินที่อื่น เพลี้ยอ่อนจะลอกคราบจากตัวอ่อนจนเป็นตัวเต็มวัย 4 ครั้ง ลอกคราบแต่ละครั้งห่างกัน 1-2 วัน ระยะตัวอ่อนจนถึงตัวแก่และขยายพันธุ์ได้ 4-8 วัน เฉลี่ย 5 วัน ตัวเต็มวัยผลิตลูกได้ 8-79 ตัว เฉลี่ย 44 ตัว ตัวเต็มวัยจะผลิตตัวอ่อนได้ 5-17 ครั้ง เฉลี่ย 10 ครั้ง ตัวแก่มีอายุเฉลี่ย 12 วัน รวมอายุขัยของเพลี้ยอ่อนประมาณ 17 วัน เพลี้ยชนิดนี้ไม่ผสมพันธุ์และไม่ออกลูกเป็นไข่ คือ ออกเป็นตัวอ่อนโดยไม่ได้ผสมพันธุ์เพลี้ยอ่อน เป็นแมลงขนาดเล็ก มีหลายชนิด หลายสีด้วยกัน เช่น ดำ เขียว แดง น้ำตาล เป็นแมลงศัตรูพืชที่สำคัญชนิดหนึ่ง ทำลายมะละกอโดยดูดกินน้ำเลี้ยงจากใบอ่อน ยอดอ่อน หรือจากส่วนที่อ่อนของลำต้น นอกจากดูดกินแล้ว เพลี้ยอ่อนยังเป็นตัวนำโรคใบด่าง ซึ่งเป็นโรคร้ายแรงชนิดหนึ่งของมะละกออีกด้วย มะละกอที่ถูกเพลี้ยอ่อนดูดกินน้ำเลี้ยงจะมีลักษณะบิดเบี้ยวหรือหดสั้น เป็นการเคลื่อนที่บริเวณใบอ่อนหรือยอดอ่อน ถ้าเป็นมากทำให้ต้นทรุดโทรม แคระแกรนและผลผลิตต่ำลง การป้องกันกำจัด ในการป้องกันกำจัดเพลี้ยอ่อนไม่ให้แพร่ระบาดไปยังแหล่งอื่นๆ นั้น เราจะต้องมีการควบคุมมด เพราะเพลี้ยอ่อนมีมดเป็นตัวนำไปแพร่ระบาดหรือบินไปเอง นอกจากจะต้องทำลายพืชอาศัยต่าง ๆ ที่ขึ้นอยู่ใกล้ ๆ กับแปลงปลูกมะละกอ เพราะบางทีจะมีเพลี้ยอ่อนหากินหรือหลบซ่อนอยู่ก็ได้ สำหรับการใช้ยาฆ่าแมลงฉีดพ่นที่ได้ผลดีได้แก่ ลินเดน ( Lindane )
ไดอะซินอน ( Diazinon ) มาลาไธออน ( Malathion )โดยใช้ตามคำแนะนำของยาชนิดนั้น ฉีดพ่นจนกว่าเพลี้ยอ่อนจะหมดไป ( กลุ่มรักเกษตร , มปป.: 43 )
เพลี้ยแป้ง
ชื่อวิทยาศาสตร์ Pseudococcus sp. รูปร่างลักษณะและชีวประวัติ เพลี้ยแป้งตัวเต็มวัยตัวเมียมีขนาดลำตัวยาวประมาณ 3 มม. สีเหลืองอ่อน ลักษณะอ้วนสั้นมีผงสีขาวปกคลุมลำตัว วางไข่เป็นกลุ่ม ๆ ละ 100-200 ฟองบนผล กิ่ง และใบ ตัวเมียหนึ่งตัวสามารถวางไข่ได้ 600-800 ฟอง ในเวลา 14 วัน ไข่จะฟักอยู่ในถุงใต้ท้องตัวเมียประมาณ 6 - 10 วัน จึงจะออกเป็นตัวอ่อน ตัวอ่อนที่ฟักออกจากไข่ใหม่ ๆ มีสีเหลืองและไม่มีผงสีขาว จะคลานออกจากกลุ่มไข่หาที่เหมาะสมที่จะกินอยู่ ตัวเมียจะมีการลอกคราบจำนวน 3 ครั้ง ด้วยกันและไม่มีปีก ส่วนตัวผู้จะลอกคราบ 4 ครั้ง มีปีกและมีขนาดเล็กกว่าตัวเมีย ตัวเมียจะวางไข่ภายหลังจากการลอกคราบครั้งที่ 3 ภายในเวลา 1 ปี เพลี้ยแป้งสามารถขยายพันธุ์ได้ 2 - 3 รุ่น ในระยะที่ไม่มีพืชอาหารหลัก เพลี้ยแป้งจะอาศัยอยู่ใต้ดินตามรากพืช เช่น รากหญ้าแห้วหมู โดยมีมดซึ่งอาศัยกินสิ่งขับถ่ายของเพลี้ยแป้งเป็นพาหะนำไปเป็นแมลงศัตรูมะละกอที่ทำลายโดยดูดกินน้ำเลี้ยงจากส่วนของยอด ใบ ผล ซึ่งยังมีลักษณะยังอ่อนอยู่ นอกจากนี้ยังพบว่าบริเวณที่มีเพลี้ยแป้งอาศัยอยู่จะมีราดำและมีมดดำอยู่เต็มไปหมด เพราะว่ามูลของเพลี้ยแป้งที่ถ่ายออกมานั้นเป็นอาหารของราดำ และมด ดังนั้นเพลี้ยแป้งจะมีตัวอ่อนสีเหลือง และเมื่อโตขึ้นจะมีสารเคมีคล้ายๆกับแป้งห่อตัวอยู่ และมีขนอ่อน ๆ อยู่รอบๆ แต่เคลื่อนที่ไปมาช้า พบในแปลงปลูกมะละกอทั่วๆไป
การป้องกันกำจัด ในการป้องกันกำจัดไม่ให้เพลี้ยแป้งแพร่ระบาดไปยังแหล่งอื่นต้องกำจัดมดเสียก่อน มดซึ่งเป็นพาหะนำไป โดยใช้ยาฆ่าแมลง พวกคลอร์เดนราดที่โคนต้นมะละกอหรือพบว่าถ้ามีเพลี้ยแป้งระบาดมาก ก็ให้ตัดส่วนที่พบเพลี้ยแป้งมากๆ ไปเผาหรือทำลายเสีย นอกจากนี้ยังมีสารเคมีที่ใช้กำจัดได้ดี ได้แก่พวกทรีไธออน ไดอะซินอน มาลาไธออน เป็นต้น หรือถ้าไม่ใช้ยาฆ่าแมลงก็ใช้น้ำฉีดแรงๆจะทำให้เพลี้ยแป้งกระเด็นออกจากต้นมะละกอได้ ( กลุ่มรักเกษตร , มปป.: 44 )
เพลี้ยไฟ
ชื่อวิทยาศาสตร์ Scirtothrips dorsalis Hood รูปร่างลักษณะและชีวประวัติเป็นแมลงศัตรูมะละกอที่มีขนาดเล็กมาก เพลี้ยไฟเป็นแมลง มีสีเหลืองหรือน้ำตาลอ่อน ยาวประมาณ 0.7 - 0.8 มิลลิเมตร เคลื่อนไหวได้รวดเร็ว ไข่มีขนาดเล็กมากฝังอยู่ในเนื้อเยื่อของพืช ระยะเวลาจากไข่ถึงตัวเต็มวัย ใช้เวลาประมาณ 11 - 18 วัน ตัวเต็มวัยมีชีวิตอยู่ได้ 22 วัน ขามี 6 ขา มีลำตัวแคบ ยาว เมื่อโตเต็มที่ ปีกจะแคบยาวและสามารถบินได้ สำหรับชนิดที่ทำลายมะละกอ ผิวสีเหลืองซีด จะทำลายมะละกอโดยดูดกินน้ำเลี้ยง ทำให้ส่วนที่ถูกเพลี้ยไฟทำลาย แสดงอาการผิดปกติไปพบการระบาดมากในช่วงอากาศแห้งแล้ง เป็นศัตรูที่ระบาดมากในฤดูแล้ง แล้วก็จะหายไปเองเมื่อฝนตกลงมา
การป้องกันกำจัดเพลี้ยไฟ เพลี้ยไฟเป็นศัตรูมะละกอที่ทนทานต่อยาฆ่าแมลงมาก และสามารถสร้างความต้านทาน( ดื้อยา ) ได้ในระยะอันสั้น ดังนั้นในการใช้ยาฆ่าแมลง จะต้องมีการเปลี่ยนแปลงชนิดยาอยู่เสมอ ยาฆ่าแมลงที่ใช้ได้ผลคือ ไดเมทโธเอท แอนธิโอ โดยใช้ตามคำแนะนำของยาชนิดนั้น นอกจากนี้เราอาจใช้น้ำฉีดแรงๆเพื่อให้เพลี้ยกระเด็นหลุดออกจากต้นมะละกอเป็นการลดจำนวนลงได้มาก
(กลุ่มรักเกษตร , มปป.: 44-45 )
เพลี้ยหอย
เพลี้ยหอย ( scale insect )
ชื่อวิทยาศาสตร์ Aonidiella aurantii Haskell
วงจรชีวิต เพลี้ยหอยมีรูปร่างเป็นรูปไข่ แบน ดูคล้ายเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า มีสันตาม ความยาวของลำตัว 2-3 สัน ในเพศผู้มีความยาว 1 มม. มีสีดำ และขาว รูปร่างยาวจนเกือบกลมระยะการระบาด ทุกระยะการเติบโตลักษณะการทำลาย การทำลายทั่วไปนอกจากจะดูดกินน้ำเลี้ยงจากใบ กิ่ง ผล ถ้าระบาดรุนแรงกิ่งจะแห้งตาย ใบร่วง และเพลี้ยหอยจะกลั่นสารออกมาทำให้เกิดราดำปกคลุม เป็นอุปสรรคต่อการสังเคราะห์แสงของใบ และถ้าปกคลุมที่ผลทำให้คุณภาพด้อยลงขายไม่ได้ราคาเพลี้ยหอยเป็นแมลงศัตรูมะละกอชนิดหนึ่งที่พบในแปลงปลูกมะละกอทั่ว ๆ ไปทำลายโดยดูดน้ำเลี้ยงของใบ ลำต้น ผล ทำให้ส่วนที่ถูกทำลายนั้นแห้งและตายในที่สุด เพลี้ยหอยมีอยู่หลายชนิด แต่ชนิดที่ชอบทำลายมะละกอนั้นมีลักษณะเป็นเกราะหุ้มตัวอ่อนที่อยู่ภายใน เพลี้ยหอยจะมีการย้ายในระยะใหม่ที่ออกจากไข่ใหม่ ๆ เท่านั้น จากนั้น
ก็จะเกาะดูดกินน้ำเลี้ยงอยู่กับที่ และจะคอยสร้างเกราะหุ้มลำตัวไว้
การป้องกันกำจัด เพลี้ยหอยเป็นศัตรูมะละกอที่ป้องกันกำจัดค่อนข้างยากเพราะมีเกราะหุ้มลำตัว
ถ้าพบว่ามะละกอต้นใดที่เป็นมาก ๆ ก็ให้ตัดเผาทำลายเสีย หรือจะใช้ยาฆ่าแมลง ฉีดพ่น ยาที่ใช้ได้ผลได้แก่ พอนทิรไธออน ( Trithion ) มาลาไธออน ไดอะซินอน เป็นต้น โดยใช้ตามคำแนะนำของยาชนิดนั้นๆ
( กลุ่มรักเกษตร , มปป.: 43 )
โรคใบด่างจุดวงแหวน
สาเหตุของโรค เกิดจากเชื้อไวรัส Papaya Ringspot Virus (PRV)
ลักษณะ อาการของโรค
เชื้อเข้าทำลายได้ทุกระยะการเจริญเติบโตของมะละกอ
- ระยะต้นกล้า เชื้อเข้าทำลายจะทำให้ต้นแคระแกร็น ใบด่างเหลือง บิดเบี้ยวเสียรูป ใบจะหงิกงอ เรียวเล็กหมือนหางหนู ถ้าเป็นรุนแรง ใบจะเหลือแค่เส้นใบดูเหมือนเส้นด้าย และต้นกล้าอาจตายได้หรือไม่เจริญเติบโต ในต้นที่โตแล้ว ใบมีอาการด่าง บิดเบี้ยว หงิกงอ ยอดและใบมีสีเหลืองกว่าต้นที่ไม่เป็นโรค และจะสังเกตเห็นลักษณะจุดหรือทางยาวสีเขียวเข้ม ดูช้ำตามก้านใบ ลำต้น การติดผลจะไม่ดีหรือไม่ติดเลย
- ผลมะละกอ อาจบิดเบี้ยว มีจุดลักษณะเป็นวงแหวน ทั่วทั้งผล เนื้อบริเวณที่เป็นจุดวงแหวนมักจะเป็นไตแข็ง มีรสขม ถ้าเป็นรุนแรงแผลเหล่านี้จะมีลักษณะคล้ายสะเก็ด หรือหูดนูนขึ้นมา บนผิวของผลจะขรุขระ ต้นที่เป็นโรคในระยะออกดอก จะทำให้ติดผลไม่ดี และผลที่ได้จะมีจุดวงแหวนเห็นได้ชัด นอกจากนี้ดอกในรุ่นต่อ ๆ ไปก็จะร่วง ไม่ติดผล
การแพร่ระบาดของโรค
โรคนี้สามารถแพร่ระบาดไปได้โดยมีเพลี้ยอ่อนหลายชนิดเป็นพาหะเช่น เพลี้ยอ่อนถั่ว เพลี้ยอ่อนยาสูบ และโดยเฉพาะเพลี้ยอ่อนฝ้ายที่เป็นพาหะสำคัญที่แพร่ระบาดของโรคนี้ โดยเพลี้ยอ่อนจะดูดน้ำเลี้ยงจากต้นเป็นโรค เชื้อไวรัสจะติดอยู่กับส่วนปากแมลง และเมื่อบินหรือย้ายไปดูดน้ำเลี้ยงจากต้นมะละกอที่ไม่เป็นโรค ก็จะถ่ายเชื้อไวรัส การถ่ายทอดโรคนี้ใช้เวลาสั้นมาก โดยดูดจากต้นเป็นโรคประมาณ 10-30 วินาที ก็สามารถถ่ายโรคไปยังต้นอื่นได้ ภายหลังมะละกอได้รับเชื้อไวรัสแล้วประมาณ 15-30 วินาที ก็จะแสดงอาการของโรคให้เห็น พืชอาศัยของเชื้อไวรัส เช่น แตงป่า ฟักแฟง บวบ แตงต่าง ๆ หรือ ตำลึง
การป้องกันและกำจัด
เป็นการยากมากที่จะหาวิธีป้องกันหรือกำจัดโรคนี้โดยตรง สิ่งที่ต้องปฏิบัติคือ ต้องทำลายต้นที่ติดเชื้อโรคนี้ ที่แสดงอาการอย่างแน่ชัดก่อน โดยการเผาหรือฝังในดินให้ลึกปลูกมะละกอพันธุ์ที่ทนทานต่อโรคนี้ เช่น ปากช่อง 1, แขกดำ, ท่าพระบริเวณปลูกมะละกอควรกำจัดวัชพืชให้หมด เพื่อป้องกันไม่ให้เป็นที่อยู่อาศัยของพวกเพลี้ยอ่อน และควรปลูกห่างจากพืชตระกูลแตง การปลูกพืชอาหารเพลี้ยอ่อน เช่น ข้าวโพด ถั่ว กล้วย รอบแปลงปลูกมะละกอ โดยเฉพาะด้านเหนือลม เพื่อเป็นกับดักให้เพลี้ยอ่อนเข้าดูดกิน และสูญเสียการถ่ายเชื้อไวรัสเข้าสู่มะละกอ การสร้างภูมิคุ้มกันโดยการปลูกวัคซีนให้กับมะละกอ
จุดวงแหวนบนผล
โรคใบด่างจุดวงแหวนที่ลำต้น
บริเวณจุดวงแหวนเป็นไตมีรสขม
การพัฒนามะละกอให้ต้านทานต่อโรคไวรัสจุดวงแหวน
ดร.นิพนธ์ เอี่ยมสุภาษิตและชาลินี คงสวัสดิ์ โปรแกรมความปลอดภัยทางชีวภาพ ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติกล่าวว่า มะละกอ เป็นพืชที่จัดว่ามีความนิยมค่อนข้างสูงในการบริโภคทั้งสุกและดิบ ของประชาชนทั่วประเทศ มีชื่อเรียกในภาษาท้องถิ่นแตกต่างกัน มะละกอสุกนับว่าเป็นผลไม้ที่มีคุณค่าทางอาหารครบถ้วน มีวิตามินเอมาก ซึ่งช่วยบำรุงสายตา และยังประกอบด้วยน้ำตาล วิตามินบีหนึ่ง บีสอง วิตามินซี และเกลือแร่ต่างๆ เช่น แคลเซียม ฟอสฟอรัส รวมทั้งมีกากหรือเส้นใยอาหารมาก ส่วนมะละกอดิบก็มีน้ำย่อย "ปาเปน" (papain) ซึ่งช่วยย่อยอาหารประเภทเนื้อได้ดี และนิยมใช้ทำเป็นอาหารได้หลายชนิด เช่น ส้มตำ แกงส้ม และผัดกับไข่ก็ได้ ผู้ที่ท้องผูกเป็นประจำ รับประทานมะละกอสุกทุกวันจะทำให้การขับถ่ายสะดวกขึ้น
จากข้อมูลในปี พ.ศ. 2541 ประเทศไทยมีพื้นที่ปลูกมะละกอประมาณ 17,0753 ไร่ ได้ผลผลิตรวม 36,7861ตัน ร้อยละ 90 ของผลผลิตใช้บริโภคในประเทศส่งออกในรูปผลสดประมาณ 29,000กิโลกรัม แปรรูปเป็นฟรุตสลัดกระป๋อง ประมาณ 2,065 ตัน คิดเป็นมูลค่า 62.5 ล้านบาท ตลาดหลักของฟรุตสลัดกระป๋อง จะอยู่ในแถบประเทศยุโรป ประมาณร้อยละ 69 รองลงมาคือสหรัฐอเมริกาและญี่ปุ่น
ปัญหาที่สำคัญในการปลูกมะละกอ คือ โรคจุดวงแหวน เกิดจากเชื้อไวรัสที่มีชื่อเรียกเป็นภาษาอังกฤษว่า Papaya Ringspot Virus (PRV) เข้าทำลายได้ทุกระยะการเจริญเติบโตของมะละกอ ในระยะต้นกล้าทำให้ต้นแคระแกร็น ใบด่างเหลือง บิดเบี้ยวเสียรูป ใบจะหงิกงอ เรียวเล็กเหมือนหางหนู ถ้าเป็นรุนแรงใบ จะเหลือแค่เส้นใบดูเหมือนเส้นด้าย และต้นกล้าอาจไม่เจริญเติบโตหรือตายได้ หากเกิดในต้นที่โตแล้ว ใบมีอาการด่าง บิดเบี้ยว หงิกงอ ยอดและใบมีสีเหลืองกว่าต้นที่ไม่เป็นโรค สังเกตเห็นลักษณะจุดหรือทางยาวสีเขียวเข้ม ดูช้ำ ตามก้านใบ ลำต้น การติดผลจะไม่ดีหรือไม่ติดเลย ผลมะละกอ อาจบิดเบี้ยว มีจุดลักษณะเป็นวงแหวน ทั่วทั้งผล เนื้อบริเวณที่เป็นจุดวงแหวนมักจะเป็นไตแข็ง มีรสขม ถ้าเป็นรุนแรงแผล
จะมีลักษณะคล้ายสะเก็ด หรือหูดนูนขึ้นมา บนผิวของผลจะขรุขระ ต้นที่เป็นโรคในระยะออกดอก จะทำให้ติดผลไม่ดี และผลที่ได้จะมีจุดวงแหวนเห็นได้ชัด นอกจากนี้ดอกในรุ่นต่อๆ ไปก็จะร่วง ไม่ติดผล
วิธีป้องกันและกำจัด
โรคจุดวงแหวนมะละกอสามารถทำได้หลายวิธี เช่น ตัดต้นเป็นโรคทำลายทิ้ง ปลูกพืชอื่นหมุนเวียนและการกำจัดวัชพืชอาศัย แต่วิธีการเหล่านี้ใช้ไม่ค่อยได้ผลนัก โดยเฉพาะในพื้นที่ที่มีการระบาดรุนแรง วิธีที่ใช้ได้ผลและเป็นที่นิยมใช้กันทั่วไปในพืชหลายๆ ชนิด คือ การใช้พันธุ์ต้านทาน
การพัฒนาพันธุ์มะละกอให้ต้านทานต่อโรคจุดวงแหวนนี้ ในปัจจุบันสามารถทำได้ 2 วิธีด้วยกัน คือ ปรับปรุงพันธุ์ด้วยวิธีปกติ และการปรับปรุงพันธุ์ด้วยวิธีทางพันธุวิศวกรรม (genetic engineering) ทั้ง 2 วิธีนี้มีการศึกษาวิจัยในหลายหน่วยงานของประเทศไทยเช่นกรมวิชาการเกษตรศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ และในมหาวิทยาลัยต่างๆ
ความสัมพันธ์ระหว่างมดดำ เพลี้ยกับมะละกอ
เพลี้ยอ่อน เพลี้ยแป้ง เพลี้ยไฟ และเพลี้ยหอยเป็นแมลงศัตรูมะละกอที่ทำลายโดยดูดกินน้ำเลี้ยง
จากส่วนของยอด ใบ ผล ซึ่งมีลักษณะยังอ่อนอยู่ นอกจากนี้ยังพบว่าบริเวณที่มีเพลี้ยอาศัยอยู่จะมีมดดำ
อยู่เต็มไปหมด เพราะว่ามูลของเพลี้ยอ่อน เพลี้ยแป้ง เพลี้ยไฟ เพลี้ยหอย ที่ถ่ายออกมานั้นเป็นอาหารของ
มดดำ
ดังนั้นสรุปเป็นความสัมพันธ์ระหว่างมดดำกับเพลี้ย ได้ว่า เป็นแบบต่างฝ่ายต่างได้ประโยชน์ร่วมกัน แต่สำหรับเพลี้ยกับมะละกอ เป็นความสัมพันธ์แบบฝ่ายหนึ่งได้ประโยชน์ แต่อีกฝ่ายเสียประโยชน์ นั่นคือมะละกอเสียประโยชน์ เพลี้ยได้ประโยชน์ ทำให้เพลี้ยเป็นปัจจัยทางชีวภาพที่เป็นเหตุแห่งการเจริญเติบโตของมะละกอ ทำให้มะละกอเป็นโรคและตายในที่สุด
ไรแดง
เป็นศัตรูที่ทำลายมะละกอโดยดูดกินน้ำเลี้ยงจากผล ใบ หรือส่วนอื่นๆ ของมะละกอที่มีลักษณะอ่อนๆ อาศัยอยู่รวมกันเป็นกลุ่มๆมีขนาดเล็กมากแทบมองไม่เห็นด้วยตาเปล่า ( กลุ่มรักเกษตร , มปป. :
41-42 ) กล่าวไว้ว่าไรศัตรูมะละกอมี 4 ชนิดได้แก่
ชนิดที่ 1 มี่ชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า Eutetranychus orientalis. Klein ไรชนิดนี้มีน้ำตาล ขาทั้ง 4 สีเหลืองอ่อนขนาดของตัวเล็กตัวผู้เล็กกว่าตัวเมียและมีลำตัวด้านหน้ากว้างเรียวเล็กแหลมไปทางตอนปลายของลำตัวมีขายาวเคลื่อนไหวได้รวดเร็ว ทำลายมะละกอโดยดูดกินน้ำเลี้ยงบริเวณด้านหน้าของใบมะละกอ ทำให้ใบเป็นจุดด่าง ๆสีขาวเนื้อใบแห้งและร่วงหล่นไปที่สุด ถ้าเกิดไรชนิดนี้ระบาดมากๆจะทำให้ผลผลิตลดลง และพบอยู่ทุกหนทุกแห่งที่มีการปลูกมะละกอ ช่วงไรชนิดนี้ระบาดมากที่สุดในเดือนมกราคมถึงพฤษภาคม
ชนิดที่ 2 มีชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า Breuioalpus phoenicis หรือเรียกว่า“ไรแดงเทียม”ไรชนิดนี้มี
ลำตัวแบนสีน้ำตาล ลำตัวเป็นรูปรี ปลายลำตัวยาวมน มีการเคลื่อนไหวช้า ไรแดงเทียมมะละกอจะดูดกินน้ำเลี้ยงบริเวณผลของมะละกอทำให้ผลหงิกงอเป็นรอยด่างขาวต่อมาจะกลายเป็นสะเก็ดสีน้ำตาล นอกจากจะดูดกินน้ำเลี้ยงของผลแล้วอาจจะดูใบมะละกออีกด้วย
ชนิดที่ 3 มีชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า Eriophyids หรือเรียกว่า “ไรสนิม”เป็นไรศัตรูมะละกอที่มีขนาดเล็กมองไม่เห็นด้วยตาเปล่า หากมีไรสนิมจะสังเกตได้จากการแสดงอาการของมะละกอ หลังจากไรสนิม
เข้าทำลายแล้ว จากการศึกษาพบว่าไรชนิดนี้จะดูดน้ำเลี้ยงอยู่ด้านหลังขอบใบมะละกอ ทำให้บริเวณปลายของใบโป่งออกเป็นลูกคลื่นถ้าเป็นมาก ๆ ส่วนที่โป่งออกจะมีสีเหลือง
ชนิดที่ 4 มีชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า Tetranychus hydrangeae. Pritchard and Baker.ไรชนิดนี้มีลำตัว
สีแดง ขาทั้ง 4 คู่มีสีเหลืองอ่อนลำตัวมนรี ด้านหลังลำตัวโค้งงอ ตัวผู้มีขนาดเล็กกว่าตัวเมีย มีลักษณะรูปร่างคล้ายกับไรชนิดแรกที่กล่าวมา มีขายาว เคลื่อนไหวเร็ว ไรมะละกอชนิดนี้จะดูดน้ำเลี้ยงจากใต้มะละกอ ทำให้ด้านหน้าของใบมีสีเหลืองอ่อน และต่อมาจะกลายเป็นสีน้ำตาล เนื้อใบแห้งเป็นรูทะลุตามเส้นใบ ถ้าเราดูด้านหลังจะพบว่าใบมะละกอมีลักษณะเป็นตุ่มคล้ายกับเป็นโรค ช่วงที่ไรชนิดนี้ระบาดมากที่สุดคือเดือนกุมภาพันธ์ถึงพฤษภาคม
การป้องกันการกำจัด ในการป้องกันการกำจัดไรศัตรูของมะละกอ ทำได้หลายวิธีโดยนำมาประกอบกัน จากการศึกษาพบว่า การปลูกมะละกอโดยให้ระหว่างแถวและระหว่างต้นห่างกันพอสมควรจะช่วยป้องกันการแพร่ระบาดของไรแดงมะละกอจากต้นหนึ่งไปยังอีกต้นหนึ่งได้เมื่อพบว่าไรแดงมะละกอระบาดมากควรตัดใบมะละกอเผาทำลายเสีย หลีกเลี่ยงปลูกพืชอาศัยของไรแดงนี้ในแปลงปลูกมะละกอ นอกจากนี้ยังมีแมลงศัตรูธรรมชาติที่คอยทำลายไรศัตรูมะละกอคือ ไรตัวห้ำและแมลงตัวห้ำปีกแข็งส่วนยาฆ่าแมลงที่ดี ได้แก่ อะคาร์ ( Akar ) เคเทน ( Kelthane ) ไดฟอน โดยใช้ตามคำแนะนำของยาชนิดนั้นๆ ฉีดพ่นจนกว่าไรแดงมะละกอจะหมดไป
ความสัมพันธ์ระหว่างไรแดงกับมะละกอ
เป็นศัตรูที่ทำลายมะละกอโดยดูดกินน้ำเลี้ยงจากผล ใบ หรือส่วนอื่นๆ ของมะละกอที่มีลักษณะอ่อนๆ อาศัยอยู่รวมกันเป็นกลุ่มๆมีขนาดเล็กมากแทบมองไม่เห็นด้วยตาเปล่า
ดังนั้นสรุปเป็นความสัมพันธ์ระหว่างไรแดงกับมะละกอ ได้ว่าเป็นแบบฝ่ายหนึ่งได้ประโยชน์
อีกฝ่ายหนึ่งเสียประโยชน์ นั่นคือ มะละกอเป็นฝ่ายเสียประโยชน์ ส่วนไรแดงเป็นฝ่ายได้ประโยชน์ทำให้ไส้เดือนฝอยเป็นปัจจัยทางชีวภาพที่เป็นเหตุแห่งการเจริญเติบโตของต้นมะละกอ ทำให้มะละกอเป็นโรคและตายในที่สุด
ไส้เดือนฝอย
ไส้เดือนฝอยที่เป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดโรคในมะละกอมีอยู่ 2 ชนิด คือ เรนนิฟอร์ม ( Reniform )
ชื่อ Rotylrnchulus reniformis ไส้เดือนฝอยชนิดนี้จะแฝงตัวอยู่ตามรากเกิดลักษณะคล้ายเม็ดทรายเล็กๆ
ตามบริเวณผิว ทำให้ต้นชะงักการเจริญเติบโตและผลผลิตลดลงส่วนที่ทำให้เกิดรากปม ( Root Knot ) ชื่อ
Meloidogyne sp. ไส้เดือนฝอยชนิดนี้จะทำให้รากบวมเป็นหูด รากจะชะงักการเจริญเติบโต ต่อมาใบจะ
เริ่มเหลืองและร่วงก่อนกำหนด
การป้องกันกำจัด โดยการอบฆ่าเชื้อในดินด้วยสารเคมี เช่นฟูมาโซน หรือนีมากอน อัตรา 3-6
กิโลกรัมต่อไร่
นอกจากนี้ยังมีแมลงศัตรูมะละกออื่นๆได้แก่ “จิ้งหรีด” ทำลายโดยการกัดกินต้นมะละกอ
ในขณะต้นยังมีขนาดเล็ก และยังอ่อนอยู่ โดยจะกัดกินตอนกลางคืน “ปลวก” ทำลายโดยการกัดกินรากและต้นมะละกอทำให้มะละกอเหี่ยวเฉาจะล้มได้ง่าย จะพบมากในแปลงปลูกมะละกอ ที่เพิ่งบุกเบิกป่าใหม่
และ “แมลงวันทอง”เป็นแมลงศัตรูที่ทำลายโดยการวางไข่ไว้ในผลไม้ทั่ว ๆไป แต่สำหรับมะละกอไม่ค่อย
มีปัญหาในเรื่องแมลงวันทองรบกวน เพราะเกษตรกรผู้ปลูก มักจะเก็บเกี่ยวมะละกอก่อนที่ผลจะสุก
( กลุ่มรักเกษตร , มปป.: 45 )
ความสัมพันธ์ระหว่างไส้เดือนฝอยกับมะละกอ
ไส้เดือนฝอยอาศัยอยู่บริเวณรากของต้นมะละกอ เป็นสาเหตุทำให้เกิดโรค จะแฝงตัวอยู่ตามราก
เกิดลักษณะคล้ายเม็ดทรายเล็กๆ ตามบริเวณผิว ทำให้รากบวมเป็นหูด ต้นชะงักการเจริญเติบโตและ
ผลผลิตลดลงนอกจากนี้ยังส่งผลทำให้เกิดโรครากปม ( Root Knot ) รากจะชะงักการเจริญเติบโต ต่อมา
ใบจะเริ่มเหลืองและร่วงก่อนกำหนด
ดังนั้นสรุปเป็นความสัมพันธ์ระหว่างไส้เดือนฝอยกับมะละกอ ได้ว่าเป็นแบบฝ่ายหนึ่งได้ประโยชน์ อีกฝ่ายหนึ่งเสียประโยชน์ นั่นคือ มะละกอเป็นฝ่ายเสียประโยชน์ ส่วนไส้เดือนฝอยเป็นฝ่ายได้ประโยชน์
ทำให้ไส้เดือนฝอยเป็นปัจจัยทางชีวภาพที่เป็นเหตุแห่งการเจริญเติบโตของต้นมะละกอ ทำให้มะละกอ
เป็นโรคและตายในที่สุด
วันที่ 5 ก.ค. 2552
หน้าหนาวแล้ว คุณครูสนใจไหม DoDo เก้าอี้แคมป์ปิ้ง รับน้ำหนักได้เยอะ พร้อมกระเป๋าจัดเก็บ โครงอลูมิเนียมรับน้ำหนักได้200KG ในราคา ฿189 - ฿509 ที่ Shopeehttps://s.shopee.co.th/9pNuttuIUm?share_channel_code=6
Advertisement
เปิดอ่าน 7,156 ครั้ง เปิดอ่าน 7,161 ครั้ง เปิดอ่าน 7,165 ครั้ง เปิดอ่าน 7,197 ครั้ง เปิดอ่าน 7,175 ครั้ง เปิดอ่าน 7,167 ครั้ง เปิดอ่าน 7,161 ครั้ง เปิดอ่าน 7,197 ครั้ง เปิดอ่าน 7,172 ครั้ง เปิดอ่าน 7,165 ครั้ง เปิดอ่าน 7,163 ครั้ง เปิดอ่าน 7,169 ครั้ง เปิดอ่าน 7,162 ครั้ง เปิดอ่าน 7,169 ครั้ง เปิดอ่าน 7,196 ครั้ง เปิดอ่าน 7,177 ครั้ง
|
เปิดอ่าน 7,162 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,539 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,165 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,223 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,162 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,165 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,179 ☕ คลิกอ่านเลย |
|
≡ เรื่องน่าอ่าน/สาระน่ารู้ ≡
เปิดอ่าน 33,658 ครั้ง |
เปิดอ่าน 23,665 ครั้ง |
เปิดอ่าน 9,023 ครั้ง |
เปิดอ่าน 11,073 ครั้ง |
เปิดอ่าน 23,404 ครั้ง |
|
|