ค้นหาทุกอย่างในเว็บครูบ้านนอก :
ชุมชนครู บุคลากรทางการศึกษา และนักเรียน แหล่งความรู้สำหรับครู นักเรียน ข่าวการศึกษา ห้องสมุดความรู้ทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้ และความรู้ทั่วไป เผยแพร่ผลงานวิชาการ ที่นี่


ข่าวการศึกษา     ความรู้ทั่วไป     งานราชการ/รัฐวิสาหกิจ/บริการสังคมเรื่องราวจากสมาชิก  ▶ ข่าว/บทความ ▶ หน้าแรก

เฮ ! ! เตรียมตัว เตรียมตา .22 กรกฎา .ชมสุริยุปราคา ฟากฟ้า เมืองไทย


เรื่องราวจากสมาชิก เปิดอ่าน : 7,143 ครั้ง
Advertisement

เฮ ! ! เตรียมตัว เตรียมตา  .22 กรกฎา .ชมสุริยุปราคา ฟากฟ้า เมืองไทย

Advertisement

           สุริยุปราคา เหนือฟ้า เมืองไทย

                  ชมทั่วถึง 22 ก.ค.

 








 

 

ดร.คุณหญิงกัลยา โสภณพนิช (ที่ 2 จากขวา) ร่วมแถลงข่าวกิจกรรม “สุริยุปราคาเหนือฟ้าเมืองไทย 22 กรกฎาคม 2552” ที่ สดร. ร่วมกับสถานบันการศึกษาต่างๆ จัดกิจกรรมขึ้นเพื่อให้ประชาชนทั่วทุกภูมิภาคของไทยตื่นตัวและเตรียมตัวดูสุริยุปราคาครั้งสำคัญในวันที่ 22 ก.ค. 52 นี้

 สดร. เตรียมจัดกิจกรรม "สุริยุปราคาเหนือฟ้าเมืองไทย" 22 ก.ค. นี้ ร่วมมือ 8 สถาบันการศึกษาทั่วประเทศ ตั้งกล้องดูดาวให้ประชาชนทุกภูมิภาคร่วมชมปรากฏการณ์สุริยุปราคาครั้งสำคัญแห่งศตวรรษ หวังกระตุ้นเยาวชนให้สนใจดาราศาสตร์ พร้อมจัดนิทรรศการให้ความรู้เรื่องสุริยุปราคาด้วย
       
       
สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน) (สดร.) แถลงข่าวกิจกรรม “สุริยุปราคาเหนือฟ้าเมืองไทย 22 ก.ค.52” ที่ห้องโถง ชั้น 1 กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (วท.) เมื่อวันที่ 3 ก.ค. ที่ผ่านมา เพื่อเผยแพร่การจัดกิจกรรมและกระตุ้นคนไทยให้ตั้งรอชมสุริยุปราคาบางส่วนที่จะเกิดขึ้นในวันที่ 22 ก.ค. ที่จะถึงนี้ โดยมี ดร.คุณหญิงกัลยา โสภณพนิช รมว.วท. ร่วมแถลงข่าวด้วย ซึ่งทีมข่าววิทยาศาสตร์ ASTVผู้จัดการออนไลน์ ร่วมทำข่าวพร้อมกับสื่อมวลชนอีกจำนวนมาก
       
       รศ.บุญรักษา สุนทรธรรม ผู้อำนวยการ สดร. กล่าวว่า ในวันที่ 22 ก.ค. นี้ จะเกิดปรากฏการณ์สุริยุปราคาเต็มดวงในช่วงเวลาประมาณ 07.00 - 09.19 น. โดยมีแนวคราสเต็มดวงพาดผ่านประเทศอินเดีย จีน ญี่ปุ่น และมหาสมุทรแปซิฟิคใต้ และเป็นสุริยุปราคาเต็มดวงที่กินเวลานานที่สุดในศตวรรษที่ 21 คือ 6 นาที 39 วินาที
       
       สำหรับประเทศไทยนั้น อยู่นอกแนวคราสเต็มดวง และจะเห็นเป็นสุริยุปราคาบางส่วน เช่นเดียวกับอีกหลายประเทศ โดยสามารถเห็นได้ทุกภูมิภาคของไทย เริ่มตั้งแต่เวลาประมาณ 07.00-09.20 น. ซึ่งแต่ละภูมิภาคจะเห็น

ปรากฏการณ์นี้เกิดขึ้นในเวลาแตกต่างกันเล็กน้อย และภาคเหนือที่ จ. เชียงราย จะได้เห็นปรากฏการณ์สุริยุปราคาบางส่วนในครั้งนี้เกิดขึ้นนานที่สุดในไทย โดยเห็นปรากฏการณ์นานราว 2 ชั่วโมง 12 นาที และยังเห็นดวงจันทร์บดบังดวงอาทิตย์มากที่สุดถึง 69%
       
       
ขณะที่ในพื้นที่เขตกรุงเทพมหานคร จะเริ่มสังเกตเป็นปรากฏการณ์สุริยุปราคาบางส่วนครั้งนี้ได้ตั้งแต่เวลาประมาณ 07.06 จนถึง 09.08 น. โดยจะเห็นดวงอาทิตย์ถูกบดบังมากที่สุดราว 42.2% ในเวลาประมาณ 08.03 น.
       

       ด้าน ดร.ศรัณย์ โปษยะจินดา รองผู้อำนวยการ สดร. ให้รายละเอียดเกี่ยวกับปรากฏการณ์สุริยุปราคาในวันที่ 22 ก.ค. 52 นี้ว่า เป็นสุริยุปราคาเต็มดวง ชุดซารอสที่ 136 ซึ่งเป็นชุดซารอสเดียวกันกับสุริยุปราคาเต็มดวง ที่เคยเกิดขึ้นเมื่อปี 2498 และเส้นทางของแนวคราสพาดผ่านกรุงเทพฯ
       
       ส่วนสุริยุปราคาเต็มดวงครั้งล่าสุดที่เกิดขึ้นในประเทศไทย คือสุริยุปราคาเต็มดวงในปี 2538
       
       รองผู้อำนวยการ สดร. ให้ข้อมูลเกี่ยวกับ
วิธีการชมสุริยุปราคาที่ถูกต้องและปลอดภัยด้วย ควรใช้แว่นตาดูดวงอาทิตย์ที่ผลิตจากแผ่นกรองแสงชนิดพิเศษที่ป้องกันรังสีอินฟราเรดได้เช่นเดียวกับแว่นตาดูดวงอาทิตย์ที่ สดร. ผลิตขึ้น หรืออาจใช้แผ่นซีดีหรือดีวีดีก็ได้ แต่ต้องแน่ใจว่าสารเคลือบไม่หลุดลอก และแต่ละครั้งไม่ควรส่องดูนานเกิน 5 วินาที
       
       
นอกจากนี้ก็สามารถใช้กระจกช่างเชื่อมเบอร์ 14 หรือถ้าจะใช้ฟิล์มเอ็กซเรย์หรือฟิล์มขาวดำ ก็ต้องแน่ใจว่าส่วนที่นำมาใช้นั้นมืดสนิท และควรใช้ซ้อนเป็น 2 ชั้น อาจใช้กระดาษเจาะรูเล็กๆ เป็นกล้องรูเข็ม และสังเกตปรากฏการณ์จากฉากรับสีขาว ซึ่งไม่ต้องส่องดูดวงอาทิตย์โดยตรงและปลอดภัยแน่นอน แต่ไม่แนะนำให้ใช้กระจกรมควัน และที่สำคัญต้องไม่ดูด้วยตาเปล่าเด็ดขาด
       
       ทั้งนี้ สดร. ได้ร่วมกับสถาบันการศึกษา 8 แห่ง ทั่วประเทศ จัดกิจกรรม “สุริยุปราคาเหนือฟ้าเมืองไทย 22 กรกฎาคม 2552” เพื่อให้ประชาชนไทยทั่วทุกภูมิภาคได้ร่วมชมปรากฏการณ์สุริยุปราคาบางส่วนในครั้งนี้อย่างทั่วถึงกัน เป็นการสร้างความตระหนักและความตื่นตัวให้กับเยาวชนและประชาชนไทยสนใจในกิจกรรมทางดาราศาสตร์ โดยจะมีการจัดตั้งกล้องดูดาว และแจกจ่ายแว่นตาสำหรับดูดวงอาทิตย์ให้ผู้ที่มาร่วมกิจกรรมได้ชมปรากฏการณ์สุริยุปราคาอย่างปลอดภัย พร้อมทั้งจัดนิทรรศการให้ความรู้เกี่ยวกับสุริยุปราคาและดาราศาสตร์
       
       "ดาราศาสตร์เป็นเครื่องมือพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ที่สำคัญ หลายประเทศจึงมีการส่งเสริมให้เยาวชนได้ศึกษาดาราศาสตร์กันอย่างกว้างขวาง ซึ่งจะช่วยให้เยาวชนมีจินตนาการ เกิดความคิดสร้างสรรค์ มีความอดทนในการเฝ้าชมปรากฏการณ์ทางดาราศาสตร์ และมีใจรักธรรมชาติ ซึ่งไม่จำเป็นว่าในอนาคตทุกคนจะต้องเป็นนักดาราศาสตร์ด้วยเสมอไป" รศ.บุญรักษา กล่าว
       
       สำหรับสถาบันการศึกษาทั้ง 8 แห่ง ที่ สดร. ไปร่วมจัดกิจกรรมและตั้งกล้องดูดาว มีดังนี้
       
       ภาคกลาง – จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย


       ภาคเหนือ - มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

                     - มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย

                     - มหาวิทยาลัยนเรศวร


       ภาคตะวันออก – จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

                             ไปตั้งกล้องที่ จ. ระยอง












ในโอกาสนี้ทาง คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เทศบาลเมืองระยอง และศูนย์การเรียนรู้วิทยาศาสตร์โลกและดาราศาสตร์ (LESA) สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) จึงได้ร่วมกันจัดกิจกรรม “มหกรรมสุริยุปราคา” ณ ศูนย์บริการวิชาการจิรายุ - พูนทรัพย์ หาดแสงจันทร์ อ.เมือง จ.ระยอง ในวันที่ 22 กรกฎาคม ตั้งแต่เวลา 07.00 น. เป็นต้นไป

       ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ - มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี 

                                        -  มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี


       ภาคใต้ - มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา

                  -  มหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต
       
       รวมทั้งจัดกิจกรรมและตั้งกล้องดูดาวบริเวณท้องฟ้าจำลองกรุงเทพ โดยร่วมกับศูนย์วิทยาศาสตร์เพื่อการศึกษา และร่วมกับโรงเรียนเทพศิรินทร์จัดกิจกรรมภายในโรงเรียนและบริเวณโดยรอบวงเวียน 22 กรกฎาคม ร่วมกับกิจกรรมรำลึกถึงวันที่พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 ทรงตัดสินพระทัยนำประเทศไทยเข้าร่วมสงครามโลกครั้งที่ 1 เมื่อวันที่ 22 กรกฎาคม 2460 ซึ่งจัดขึ้นเป็นประจำทุกปี
       
       ทั้งนี้ ประชาชนที่สนใจ สามารถไปร่วมกิจกรรม “สุริยุปราคาเหนือฟ้าเมืองไทย 22 กรกฎาคม 2552” ได้ตามวัน เวลา และสถานที่ดังกล่าว โดยไม่เสียค่าใช้จ่ายใดๆ

รศ.บุญรักษา สุนทรธรรม (ขวา) และ ดร.ศรัณย์ โปษยะจินดา ร่วมให้ข้อมูลเกี่ยวกับปรากฏการณ์สุริยุปราคา 22 ก.ค. 52

ดร.ศรัณย์ โปษยะจินดา สาธิตการใช้อุปกรณ์ช่วยสังเกตสุริยุปราคาอย่างปลอดภัย

ผู้สนใจร่วมงานแถลงข่าวเป็นจำนวนมาก

แว่นตาดูดวงอาทิตย์ ที่จัดทำขึ้นโดย สดร. ดูสุริยุปราคาได้อย่างปลอดภัยไร้กังวล แต่ก็ไม่ควรมองเกิน 5 วินาที ในการดูแต่ละครั้ง

วิธีการใช้แว่นส่องดูดวงอาทิตย์

ใช้กระดาษเจาะรูเป็นกล้องรูเข็มช่วยสังเกตสุริยุปราคาได้ปลอดภัย 100%

ทดลองทำกล้องรูเข็มด้วยมือ

 ขอบคุณภาพประกอบบางส่วน โดย..วิหคราตรี  จากบ้านมหาดอทคอม

ที่มา : ASTVผู้จัดการออนไลน์  ขอบคุณhttp://blog.eduzones.com/futurecareer/27055

โพสต์โดยสมาชิกหมายเลข 2614 วันที่ 5 ก.ค. 2552


เฮ ! ! เตรียมตัว เตรียมตา .22 กรกฎา .ชมสุริยุปราคา ฟากฟ้า เมืองไทย เฮ!!เตรียมตัวเตรียมตา.22กรกฎา.ชมสุริยุปราคาฟากฟ้าเมืองไทย

Advertisement

≡ เรื่องอื่นๆ ที่น่าอ่าน ≡

ผลไม้

ผลไม้


เปิดอ่าน 7,143 ครั้ง
 พอ..ดี

พอ..ดี


เปิดอ่าน 7,144 ครั้ง
เด็กเอ๋ย เด็กน้อย(ฮามากๆๆ

เด็กเอ๋ย เด็กน้อย(ฮามากๆๆ


เปิดอ่าน 7,151 ครั้ง
นิทานเวตาล เรื่องที่  ๒

นิทานเวตาล เรื่องที่ ๒


เปิดอ่าน 7,166 ครั้ง
คนพันธุ์ "ฉัน" หรือ Generation Me

คนพันธุ์ "ฉัน" หรือ Generation Me


เปิดอ่าน 7,148 ครั้ง
ไม่มีอะไร อยู่ตลอดไป

ไม่มีอะไร อยู่ตลอดไป


เปิดอ่าน 7,143 ครั้ง
โรงเรียนเบญจมราชูทิศ

โรงเรียนเบญจมราชูทิศ


เปิดอ่าน 7,149 ครั้ง
ฟังเพลง แมลงเม่าเหงาใจ

ฟังเพลง แมลงเม่าเหงาใจ


เปิดอ่าน 7,137 ครั้ง
บทร้อยกรองคำที่ ส นำ

บทร้อยกรองคำที่ ส นำ


เปิดอ่าน 7,168 ครั้ง

:: เรื่องปักหมุด ::

มงคลชีวิต 9 ประการ..หลักการปฏิบัติชีวิตให้มีสุข.

มงคลชีวิต 9 ประการ..หลักการปฏิบัติชีวิตให้มีสุข.

เปิดอ่าน 7,190 ☕ คลิกอ่านเลย

Advertisement

≡ เรื่องน่าสนใจในหมวดหมู่นี้ ≡
เมื่อลูกแพนด้าจาม ...(น่ารักซะ)
เมื่อลูกแพนด้าจาม ...(น่ารักซะ)
เปิดอ่าน 7,139 ☕ คลิกอ่านเลย

สืบ นาคะเสถียร ...แลกชีวิตของตนเองเพื่อผืนป่า
สืบ นาคะเสถียร ...แลกชีวิตของตนเองเพื่อผืนป่า
เปิดอ่าน 7,142 ☕ คลิกอ่านเลย

 ง้อ? อย่างไรให้ชายหายงอน
ง้อ? อย่างไรให้ชายหายงอน
เปิดอ่าน 7,149 ☕ คลิกอ่านเลย

บทคัดย่อ       ของอ.ศิริพร  ชนะพาล
บทคัดย่อ ของอ.ศิริพร ชนะพาล
เปิดอ่าน 7,138 ☕ คลิกอ่านเลย

ตะลึง!ผลวิจัยชี้ ระวัง!!! ควันธูปมีสาร ก่อ มะเร็ง ...เพียบ..
ตะลึง!ผลวิจัยชี้ ระวัง!!! ควันธูปมีสาร ก่อ มะเร็ง ...เพียบ..
เปิดอ่าน 7,137 ☕ คลิกอ่านเลย

           ก.ค.ศ. เตือนครูสูญเงินอบรมวิทยฐานะ
ก.ค.ศ. เตือนครูสูญเงินอบรมวิทยฐานะ
เปิดอ่าน 7,140 ☕ คลิกอ่านเลย

≡ เรื่องน่าอ่าน/สาระน่ารู้ ≡

แพทย์ชี้เด็กยิ่งเล่นยิ่งฉลาด แนะพ่อแม่ส่งเสริมการเล่นอย่างอิสระ 7 ประการ
แพทย์ชี้เด็กยิ่งเล่นยิ่งฉลาด แนะพ่อแม่ส่งเสริมการเล่นอย่างอิสระ 7 ประการ
เปิดอ่าน 23,950 ครั้ง

ออมเงิน..คนเงินเดือนน้อย
ออมเงิน..คนเงินเดือนน้อย
เปิดอ่าน 21,469 ครั้ง

ศ.ดร.ชัยยงค์ พรหมวงศ์
ศ.ดร.ชัยยงค์ พรหมวงศ์
เปิดอ่าน 49,031 ครั้ง

เย็นกายเย็นใจเมื่อตั้งครรภ์
เย็นกายเย็นใจเมื่อตั้งครรภ์
เปิดอ่าน 13,533 ครั้ง

รู้จักเพื่อนบ้านอาเซียน
รู้จักเพื่อนบ้านอาเซียน
เปิดอ่าน 18,166 ครั้ง

เกมส์ รวมเกมส์สนุกๆ มากมาย
สนามเด็กเล่น

แหล่งรวมเกมส์ เกมส์ให้เล่นมากมาย ศูนย์รวมเกมส์สนุกๆ เกมส์ความรู้ เกมส์ลับสมอง เกมส์ประลองยุทธ แหล่งรวบรวมข้อมูล เกมส์ เกมส์ออนไลน์ เกมส์มันๆ เกมส์ตัดผม ไว้มากมายที่นี่ ให้เด็กๆได้เลือกเล่นมากมาย คลิกเลย

 
หมวดหมู่เนื้อหา
เนื้อหา แยกตามหมวดหมู่ สามารถเลืออ่านได้ตามหมวดหมู่ที่นี่


· Technology
· บทความเทคโนโลยีการศึกษา
· e-Learning
· Graphics & Multimedia
· OpenSource & Freeware
· ซอฟต์แวร์แนะนำ
· การถ่ายภาพ
· Hot Issue
· Research Library
· Questions in ETC
· แวดวงนักเทคโนฯ

· ความรู้ทั่วไป
· คณิตศาสตร์
· วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
· ภาษาต่างประเทศ
· ภาษาไทย
· สุขศึกษาและพลศึกษา
· สังคมศึกษา ศาสนาฯ
· ศิลปศึกษาและดนตรี
· การงานอาชีพ

· ข่าวการศึกษา
· ข่าวตามกระแสสังคม
· งาน/บริการสังคม
· คลิปวิดีโอยอดนิยม
· เกมส์
· เกมส์ฝึกสมอง

· ทฤษฎีทางการศึกษา
· บทความการศึกษา
· การวิจัยทางการศึกษา
· คุณครูควรรู้ไว้
· เตรียมประเมินวิทยฐานะ
· ผลงานวิชาการเล่มเต็ม
· เครื่องมือสำหรับครู

ครูบ้านนอกดอทคอม

เว็บไซต์เพื่อครู ข่าวการศึกษา ความรู้ การศึกษาไทย

      kroobannok.com

© 2000-2020 Kroobannok.com  
All rights reserved.


Design by : kroobannok.com


ครูบ้านนอกดอทคอม
การจัดอันดับของ Truehits Web Directory

วิธีนำแบนเนอร์ของครูบ้านนอก.คอมไปแปะในเว็บท่าน บันทึกภาพแบนเนอร์นี้และลิงค์มาที่เราครับ (มีแบนเนอร์ 2 แบบ)
 

ครูบ้านนอกดอทคอม เว็บไซต์ของครูตัวเล็กๆ คนหนึ่ง ที่หวังเพียง ใช้เป็นช่องทางในการสื่อสาร แลกเปลี่ยน เพิ่มพูนความรู้ และให้ข่าวสาร ที่ทันสมัยต่อเหตุการณ์แก่คุณครู ผู้ปฏิบัติงานในทุกพื้นที่ของประเทศไทย เพื่อความเจริญงอกงามในปัญญา และเจริญก้าวหน้าในวิชาชีพ

เว็บนี้ถือกำเนิดเมื่อ 5 มกราคม 2548

Email : kornkham@hotmail.com
Tel : 096-7158383

สนใจสนับสนุนเรา โดยลงโฆษณา
คลิกดูรายละเอียดที่นี่ครับ