โดย อิทธิ คงคากุล
จาก หนังสือ Art Record in Thailand 2003
***สรุปความโดย ประภาพร ศุภตรัยวรพงษ์
เมื่อผู้เขียนได้อ่านรายงานพิเศษ จากหนังสือ Art Record in Thailand ในการเปิดนิทรรศการ นิทรรศการหนึ่งซึ่งมีประธานเปิดงานคือ คุณรงค์ วงษ์สวรรค์
ได้แสดงทัศนะก่อนกล่าวเปิดงานว่า
“ที่ผมนับถือก็คือ กล้าแสดงออก เพราะในยุคนี้ถึงยุคที่ศิลปิน ที่ จะหนุ่มหรือหนุ่มเกินเนี่ย ไม่ควรทำงานในที่เงียบ ๆ หรือต้องเรียกร้องน้ำตก ภูเขา ถ้ำไปนั่งผึ่งผุยอยู่ในนั้น ควรออกมารับ ใช้สังคม คือผมอยากจะพูดว่า มันถึงเวลาแล้วที่ศิลปินไม่ว่า แขนงใด ๆ จะต้องแสดงทัศนะทางการเมือง”
ซึ่งคำกล่าวนี้เป็นคำกล่าวที่ผู้เขียนไม่เห็นด้วย และน่าจะเป็นประเด็นที่ควรจะนำมาขบคิดกันอีกครั้ง ในเชิงเหตุผลมิใช่อารมณ์การแสดงทัศนะดังกล่าว ของคุณรงค์ วงษ์สวรรค์ ดูออกจะจำกัดการแสดงออกทางศิลปะไว้แคบจนเกินไปโดยธรรมชาติอันแท้จริงของศิลปะนั้น มีความหลากหลายทางความคิด ความเชื่อ และการแสดงออกของศิลปินแต่ละคนในทัศนะของผู้เขียนซึ่งเป็นครูสอนศิลปะ มักจะให้คำแนะนำจากลูกศิษย์ว่า ให้ทำงานศิลปะตามความคิดของตนเองอย่างที่ตัวเองรู้สึก จริงจัง และ
จริงใจในงานที่ทำ อย่าทำแบบฉาบฉวยหรือทำตาม กระแสนิยม (Trend)* ศิลปะทุกรูปแบบ ทุกลัทธิ ถ้าทำได้ถึงที่สุดแล้วย่อมมีค่าด้วยกันทั้งนั้น อย่าได้ถูกชักจูงไปตามกระแสนิยม อย่างไม่ลืมหูลืมตาเพราะกลัวว่าจะเชย ไม่ทันเหตุการณ์คุณค่าของศิลปะนั้นมิได้อยู่ที่เก่าหรือใหม่แต่เพียงอย่างเดียว ความจริงแล้ว คุณภาพของงานมีความสำคัญมากกว่า ศิลปะที่มีคุณค่านั้นมิใช่เพียงเพื่อสื่อสาร สิ่งสำคัญคือ จะต้องสื่อสารอย่างสุนทรียะ ศิลปินไทยและต่างชาติจำนวนหนึ่งเลือกทำงานศิลปะแนวจัดวาง (Installation)และV.D.O.Art ผลงานส่วนใหญ่ผู้เขียนเห็นว่าเป็นเพียงการสื่อสารเท่านั้น สิ่งที่ขาดหายไปคืออาจารย์ศิลปะต้องใจกว้างยอมรับศิลปะทุกรูปแบบทุกลัทธิ อีกทั้งไม่ควรให้ศิษย์ทำงานตามแนวทางที่ตนเองนิยมชมชอบ อาจารย์ศิลปะควรเป็นผู้เปิดโลกทัศน์ทางศิลปะให้ศิษย์ได้เห็นความงามอันหลากหลายในศิลปะ หลังจากนั้นค่อยให้ลูกศิษย์วินิจฉัยเองว่าแนวความคิดทางศิลปะที่ยอมรับและยกย่องแต่เพียงศิลปะเพื่อชีวิต ศิลปะเพื่อสังคม และศิลปะเพื่อการเมืองนั้น เป็นความคิดที่เข้าข้างความเชื่อหรือความนิยมชมชอบของตนเองมากเกินไป อาจมองได้ว่าการที่ศิลปินแต่ละคนมีความเชื่อในศิลปะที่ตนทำแตกต่างกันนับว่าเป็นเรื่องดี ดังมีคำกล่าวของชาวจีนที่ว่า
สวนดอกไม้นานาพันธุ์ย่อมมี ความงามมากกว่าสวนไม้ดอก เพียงพันธุ์เดียว”
และผู้เขียนได้ยกตัวอย่างศิลปินอย่าง Andrew Wyethศิลปินบ้านนอกชาวอเมริกันผู้ซึ่งจัดเจนในการเขียนภาพทิวทัศน์และภาพคนเหมือน ตามแนวธรรมชาตินิยม (Naturalism)ด้วยสีน้ำและสีฝุ่นผสมไข่แดง เรื่องราวในภาพเขียนของแอนดรู ไวอิทท์ ดูออกจะธรรมดาและเห็นได้ทั่วไปตามชนบทในสหรัฐอเมริกา แต่ที่ไม่ธรรมดาก็คือ เขาสามารถถ่ายทอดอารมณ์ความรู้สึกลงไปในภาพได้ อย่างมีชีวิตชีวา
แอนดรู ไวอิทท์ มีชีวิตความเป็นอยู่อย่างเรียบง่าย สมถะ มิได้ทะเยอทะยานที่จะใฝ่หาชื่อเสียง โดยการแสดงตัวออกสังคมอย่างศิลปินทั่วไปเขาเก็บตัวเงียบ หมกมุ่นสร้างสรรค์งานจิตรกรรมตามความเชื่อของเขา และครั้งหนึ่ง ได้มีการสำรวจเพื่อหาคำตอบว่าศิลปินที่มหาชนชาวอเมริกันชื่นชอบมากที่สุด (The Most Popular American Artist) ผลปรากฏว่า แอรดรู ไวอิทท์ ได้รับคะแนนสูงสุด ผู้ชื่นชอบงานของเขามีตั้งแต่ระดับชาวบ้านไปจนถึงศิลปินที่มีชื่อเสียงทางศิลปะนามธรรม
ในกรณีของแอนดรู ไวอิทท์ คงเป็นเรื่องแปลกสำหรับคนไทยว่า ทำไมสังคมอเมริกันจึงนิยมชมชอบศิลปินที่เก็บตัวไม่ออกสังคม ตามความคิดอย่างมีเหตุมีผล คงเป็นเพราะว่า ผลงานของศิลปินแสดงตัว แทนศิลปิน เพราะพิพิธภัณฑ์ศิลปะทั่วไปในสหรัฐ จะมีงานจิตรกรรมของเขาแสดงไว้ให้ชม และอีกความคิดหนึ่งที่ผู้เขียนเดาใจคนอเมริกันว่า ศิลปินไม่ออกสังคมไม่ได้หมายความว่า เขาไม่สนใจสังคมแต่เป็นเพราะว่าศิลปินต้องการใช้เวลาทุ่มเทให้กับงานมากที่สุด เพราะเราต่างก็เชื่อกันว่า
งานจิตรกรรมที่มีชื่อเสียงเป็นที่รู้จักมากที่สุดของแอนดรู ไวอิทท์ เห็นจะไม่มีชิ้นอื่นใดเทียบเท่างานที่ชื่อ “โลกของคริสติน่า ” (Christina ’s world) เป็นภาพที่เขาสื่อถึงหญิงสาวผู้พิการด้วยโรคโปลิโอที่จะต้องมีชีวิต อยู่ในโลกอันกว้างใหญ่ไพศาล ด้วยพลังแห่งการต่อสู้ที่เข้มแข็งของตัวเธอเองคริสติน่า อาจจะเป็นสัญลักษณ์ของผู้
อ่อนแอ ผู้ด้อยโอกาสที่สังคมจะต้องยื่นมือเข้าไปช่วยเหลือ ศิลปินใช้โทนสีดินเป็นสี
หลัก มีการจัดองค์ประกอบอย่างพิถีพิถันเพื่อให้มีการแสดงออกถึงความ
รู้สึกทางจิตที่โดดเดี่ยว อีกทั้งภาวะจิตใจที่หดหู่ และยังถ่ายทอดความรู้สึกสะเทือนอารมณ์รวมอยู่ด้วยแอนดรู ไวอิทท์นับว่าเป็นศิลปินที่อุทิศตัวให้กับจารีตนิยมของชาวอเมริกัน โดยไม่ถูกกลืนไปกับกระแสนิยมของศิลปะร่วมสมัย (Contemporary Art) ที่แสวงหาแนวทางสร้างสรรค์ศิลปะใหม่ ๆ ด้วยการค้นคว้าทดลอง งานจิตรกรรมของเขาล้วนเป็นเรื่องราวเกี่ยวกับธรรมชาติ และชีวิตของคนกลุ่มเล็ก ๆ ที่ไม่มีความสลักสำคัญอะไรในรัฐเพ็นซิลวาเนียนั่นเป็นเพียงส่วนเล็ก ๆ ของมุม ๆ หนึ่งในวงการ
ศิลปกรรมของสหรัฐอเมริกา หนึ่งในประเทศที่เจริญแล้วในทุก ๆ ด้าน โดยเฉพาะงานศิลปกรรมที่มีวิธีอันหลากหลาย เช่น งาน Post Modern Art ที่มีกระแสกำลังแรง การถ่ายทอดแลกเปลี่ยนทางวัฒนธรรม โดยเฉพาะ ด้านศิลปะแล้ว ประเทศที่เจริญกว่ามักจะให้อิทธิพลแก่ประเทศที่ด้อยความเจริญกว่า จากกระแสนิยมศิลปะแนวโพสต์โมเดิร์น อาร์ต ที่เกิดขึ้นในประเทศไทยในปัจจุบัน โพสต์โมเดิร์นอาร์ต เป็นความคิดของศิลปินตะวันตก ที่มีพื้นฐานความเป็นมาจากวัฒนธรรมของเขา คือความเจริญสูงสุดทางด้านวัตถุ โพสต์โมเดิร์น อาร์ต ให้อิทธิพลแก่ศิลปินไทยหลายคน ทั้งที่ความจริงแล้ว วัฒนธรรมทั้งสองแตกต่างกันอยู่ไม่น้อย ศิลปะของศิลปินไทยน่าจะมีที่มาจากวัฒนธรรมไทยแต่จู่ ๆ ศิลปินไทยบางคนก็ฉวยเอาแบบอย่างของโพสต์โมเดิร์น อาร์ต มาใช้อย่างเต็มความภาคภูมิ โดยคิดว่านั่นแหละคือความทันสมัย แต่คุณค่า
ของงานศิลปะนั้นมิได้อยู่กับความทันสมัยหรือแปลกใหม่เท่านั้น ที่สำคัญกว่าก็คือ คุณภาพของผลงาน“ ถึงแม้ว่าจะไม่ ทันสมัยแต่มีคุณภาพ ก็ยังดีกว่า ทันสมัยแต่ไม่มีคุณภาพ”