Advertisement
หนอนคืบ โดย นายชูเกียรติ อิถรัชด์ และ นายนาค โพธิแท่น
Semilooper, Family Noctuidae Order Lepidoptera
ถิ่นแพร่ระบาด
แอฟริกา เอเชีย ออสเตรเลีย
ลักษณะของแมลง
ผีเสื้อรูปยาวรี ริมปีกคู่หน้ามีรอยเว้า สีค่อนข้างสดใส โดยมีสีน้ำตาลทองเป็นพื้น แล้วมีริ้วเป็นลูกคลื่น สีน้ำตาลแก่ตัดตามขวาง
ไข่วางเดี่ยวๆ บนใบ ขาคู่แรกตอนปลายลำตัวหายไป หนอนจึงงอลำตัวส่วนกลางเพื่อเคลื่อนไหว หัว ลำตัว และขาสีเขียวอมเหลืองซีด หนอนโตเต็มที่ ยาวประมาณ ๓๐ มิลลิเมตร
การเข้าดักแด้ หนอนสร้างรังล้อมระหว่างใบฝ้ายที่ถูกพับหรือระหว่างสมอกับใบเลี้ยง หรือในเศษขยะบนพื้นดิน
ชีพจักร
ระยะไข่ ๓-๔ วัน
ระยะหนอน ๙-๑๑ วัน
ระยะก่อนเข้าดักแด้ ๑-๒ วัน
ระยะดักแด้ ๘-๙ วัน
ผีเสื้ออายุ ๑๘-๓๐ วัน
รวมอายุขัย ๓๙-๕๖ วัน
ผีเสื้อตัวเมียตัวหนึ่งวางไข่ได้ ๑๒-๒๔ ครั้ง จำนวน ๒๔๗-๖๐๗ ฟอง
พืชอาศัย
พืชจำพวกฝ้าย กระเจี๊ยบ ครอบจักรวาล
ศัตรูธรรมชาติ
ตัวเบียน ได้ตรวจพบมีแมลงวันลาย (Tachinid fly, Sturmia sp.) แตนชาลซิด (Chalicid wasp, Brachymeria sp.) แตนอิกนิวโมนิด (Ichneumonid wasp, Xanthopiimpla punctator) แตนแบรคอนิด (Braconid wasp, Apanteles sp.)
ลักษณะการทำลายและความเสียหาย
หนอนทุกขนาดกัดกินใบฝ้าย ระบาดในระยะฝ้ายอายุประมาณ ๘๐ วัน กัดกินใบฝ้ายจนเป็นรูพรุนเห็นได้ชัดในไร่ ความเสียหายไม่ค่อยรุนแรงนัก นอกจากระบาดมากจริงๆ จนกินใบฝ้ายหมดทั้งต้น ก็จะเป็นเหตุให้พืชขาดอาหารในการที่จะส่งไปบำรุงดอกและสมอเช่นเดียวกับหนอนม้วนใบ
|
|
Advertisement
เปิดอ่าน 22,204 ครั้ง เปิดอ่าน 25,886 ครั้ง เปิดอ่าน 14,484 ครั้ง เปิดอ่าน 58,924 ครั้ง เปิดอ่าน 18,474 ครั้ง เปิดอ่าน 19,458 ครั้ง เปิดอ่าน 9,435 ครั้ง เปิดอ่าน 14,144 ครั้ง เปิดอ่าน 28,271 ครั้ง เปิดอ่าน 24,915 ครั้ง เปิดอ่าน 2,489 ครั้ง เปิดอ่าน 44,054 ครั้ง เปิดอ่าน 12,863 ครั้ง เปิดอ่าน 23,041 ครั้ง เปิดอ่าน 68,031 ครั้ง เปิดอ่าน 86,798 ครั้ง
|
เปิดอ่าน 11,588 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 6,819 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 44,411 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 33,241 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 17,602 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 61,471 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 13,343 ☕ คลิกอ่านเลย |
|
≡ เรื่องน่าอ่าน/สาระน่ารู้ ≡
เปิดอ่าน 18,863 ครั้ง |
เปิดอ่าน 9,199 ครั้ง |
เปิดอ่าน 9,577 ครั้ง |
เปิดอ่าน 15,363 ครั้ง |
เปิดอ่าน 18,493 ครั้ง |
|
|