ในการทำบุญขึ้นบ้านใหม่ นอกจากจะมีพราหมณ์ในการทำพิธีทางประเพณีท้องถิ่นแล้ว พิธีทางศาสนาพุทธ ก็จะต้องนิมนต์มาเจริญพระพทธมนต์ในพิธีดังกล่าว
การนิมนต์พระ จะยึดงานเป็นหลักว่างานดังกล่าวเป็นงานมงคล หรืองานอวมงคล หากเป็นงานมงคลจะนิยมนิมนต์ ๓ รูป ๕ รูป ๗ รูป และ ๙ รูป ส่วนมาจะนิยมนิมนต์พระ ๙ รูป เพราะถือว่าเป็นเลขมงคล นอกจากนี้ชื่อวัด บางท่านก็ถือเป็นชื่อมงคลเช่นกัน
เนื่องจากในวันนี้ ได้มีโอกาสไปร่วมวมงานทำบุญขึ้นบ้านใหม่ของผู้บังคับบัญชา ได้นิมนต์พระมาจาก ๓ วัด คือ วัดโพธิ์ วัดดอนขวาง และวัดหนองไผ่ล้อม
ช่วงแรกผู้เขียนก็ไม่ได้คิดอะไร แต่ในช่วงที่พระคุณเจ้าจะอนุโมทนาให้พร พระคุณเจ้าที่เป็นประธานสงฆ์ได้กล่าวโมทนียคาถาโดยสรุปว่า วัันนี้เป็นดี เนื่องจากเป็นพิธีทำบุญขึ้นบ้านใหม่ ปรารภเหตุที่ผู้เข้าอยู่อาศัยจะได้อยูอาศัย จะได้มีความสุข ความเจริญ และอยู่เย็นเป็นสุข ประกอบกับเจ้าภาพได้นิมนต์รพระมาจำนวน ๓ วัด คือ
๑.วัดโพธิ์ มีความหมายว่าต้นโพธิ์เป็นต้นไม้ใหญ่ แสดงถึงการมีความมั่นคง แข็งแรง เป็นปึกแผ่นแน่นหนา เป็นที่นิยมชมชอบของคนทั้งหลาย แผ่กิ่งก้านสาขา จะเป็นที่ร่มเย็นของผู้ที่เข้าอยู่อาศัย และผู้มาอยู่เป็นข้าทาสบริวาร ก็จะได้ร่มเเย็นป็นสุข เป็นร่มโพธิ์ ร่มทอง ให้กับผู้เข้าพักอยู่ และบริวาร
๒. วัดหนองไผ่ล้อม มีความหมายว่าจะล้อมปกปักรักษาสิ่งไม่ดีต่าง ๆ ที่จะเข้ามาทำอันตราย และขณะเดียวกันก็จะล้อมคุณความดีของเรา ให้อยู่ปกปักรักษตัวเรา บริวาร และทรัพย์สินทั้งหลายให้มีความเจริญก้าวหน้า อยู่เย็นเป็นสุขและปลอดภัยจากภัยทั้งปวง
๓. วัดดอนขวาง มีความหมายถึง การดำรงตนอยู่ในคุณธรรม เป็นที่ยกย่องเชิดชู หากมีเพศภัย บริวารก็จะเป็นกำลังป้องกัน ขัดขวางภัยต่าง ๆ ให้ เมื่อเราอยูที่สูงน้ำก็ไม่สามารถท่วมถึงได้ และตั้งเด่นเป็นสง่า เปรียบดังที่ตั้งของบ้านหลังนี้ ตั้งอยู่ีทำเลที่สวยงานข้างหน้า เป็นสวนบุ่งตาหลั่ว มีหนองน้ำสวยงาม หลังบ้านมีคอนโดเป็นเกราะกำบังให้
นอกจากนี้พระคุณเจ้า ยังกล่าวว่า นอกจากบ้านจะมีความสวยงามแล้ว คนที่เข้าอยู่จะต้องปฎิบัติธรรมด้วย หากไม่ปฎิบัติธรรม แม้บ้านจะติดแอร์หลายตัว ก็ไม่สามารถจะทำให้จิตใจเยือกเย็นได้ ดังนั้น บ้านจอยู่เย็นเป็นสุขผู้อยูอาศัย จะต้องประพฤติธรรม โดยดำรงตนอยู่ในฆราวาสธรรม ๔ คือ
๑.สัจจะ ความจริง คือซื่อสัตย์ต่อกัน ทั้งจริงใจ จริงวาจา และจริงในการกระทำ
๒. ทมะ ฝึกตน คือรู้จักควบุคุมจิตใจ ฝึกหัดดัดนิสัย แก้ไขข้อบกพร่อง ข้อขัดแย้ง ปรับตัวปรับใจเข้าหากัน และปรับตนให้ดีงามยิ่งขึ้น
๓. ขันติ อดทน คือมีจิตใจเข็มแข็งหนักแน่น ไม่วู่วาม ทนต่อความล่วงล้ำก้ำเกิน และร่วมกันอดทนต่อความเหนื่อยยาก ตรากตรำ ฝ่าฟันอุปสรรคไปด้วยกัน
๔. จาคะ เสียสละ คือมีน้ำใจ สามารถเสียสละความสุขสำราญ ความพอใจส่วนตนเพื่อคู่ครองได้ ตลอดจนมีจิตใจเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ต่อญาติมิตรสหายของคู่ครอง ไม่ใจแคบ
เห็นว่า การนิมนต์พระของแต่ละท้องถิ่นอาจจะแตกต่างกันไป อยู่ที่ความเชิื่่อถือ และศรัทธา
.....ทุกคนจะทำอะไร คงจะต้องมีเหตุผลของแต่ละคน และเหตุผลดังกล่าวก็ไม่จำเป็นต้องเหมือนกับคนอื่น แต่ไม่ทำให้เดือดร้อนกับคนอืน สังคม ก็ถือว่าชอบธรรมแล้ว .....