Advertisement
❝ ลการเรียนรู้ที่คาดหวังรายปี สาระวิทยาศาสตร์ ม.1 ❞
ผลการเรียนรู้ที่คาดหวังรายปี
กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1
1. อธิบายและเขียนภาพลักษณะและรูปร่างของเซลล์ต่าง ๆ ของสิ่งมีชีวิตเซลล์เดียว และสัตว์หลายเซลล์
2. อธิบายและเขียนแผนภาพแสดงส่วนประกอบที่สำคัญของเซลล์พืชและเซลล์สัตว์
3. อธิบายหน้าที่ของส่วนประกอบของเซลล์พืช
4. ทดลองและอธิบายการเกิดกระบวนการแพร่และออสโมซิส
5. ทดลองและอธิบายปัจจัยบางประการที่จำเป็นในการสังเคราะห์แสงของพืช
6. อธิบายการทำงานที่สัมพันธ์กันของระบบต่าง ๆ ในพืชและนำความรู้ไปใช้
7. วิเคราะห์การตอบสนองต่อสิ่งเร้าของพืช
8. อธิบายเทคโนโลยีชีวภาพทีใช้ในการขยายพันธุ์ ปรับปรุงพันธุ์ เพิ่มผลผลิตของพืช
9. เสนอแนะผลของการใช้เทคโนโลยีชีวภาพในด้านการเกษตร อุตสาหกรรม อาหารและการแพทย์
10. ทดลองและอธิบายสมบัติทางกายภาพของสารและจำแนกประเภทของสาร
11. อธิบายความแตกต่างของสารทั้งสามสถานะจากการจัดเรียงและการเคลื่อนไหวของอนุภาคของสาร
12. ทดลองและอธิบายความแตกต่างระหว่างสมบัติ ลักษณะเนื้อสารของสารเนื้อเดียวสารเนื้อผสม สารแขวนลอย คอลลอยด์ สารละลาย
13. ตรวจสอบความเป็นกรด – เบสของสารละลายโดยใช้อินดิเคเตอร์และอธิบายความสัมพันธ์ระหว่างค่า pH กับระดับความเป็นกรด – เบสของสารละลาย
14. อธิบายสมบัติของสารละลายกรด-เบสที่ใช้ในชีวิตประจำวันและผลที่มีต่อตนเองและสิ่งแวดล้อม
15. อธิบายหลักการแยกสารโดยการกลั่น กรอง ตกผลึก สกัดและโครมาโทกราฟี
16. ทดลองแยกสารและสกัดสารบางชนิดด้วยวิธีการที่เหมาะสม
17. อธิบายและยกตัวอย่างการนำหลักการแยกสารไปใช้ในชีวิตประจำวัน
18. อธิบายและระบุองค์ประกอบของสารละลาย ความเข้มข้นของสารละลายและการเตรียมสารละลายและนำมาใช้ประโยชน์ในชีวิตประจำวัน
19. อธิบายเกี่ยวกับเวกเตอร์ของแรงและทดลองหาแรงลัพธ์ของแรงหลายแรง
20. ทดลองและอธิบายผลของแรงลัพธ์ต่อการเคลื่อนที่ของวัตถุ
21. ทดลองและอธิบายเกี่ยวกับแรงเสียดทานที่เกิดจากสถานการณ์ต่าง ๆ ในเชิงคุณภาพและเสนอแนวคิดในการเพิ่มหรือลดแรงเสียดทานเพื่อการใช้ประโยชน์
22. ทดลองและอธิบายเกี่ยวกับหลักการของโมเมนต์ของแรงในเชิงปริมาณและวิเคราะห์คำนวณโมเมนต์ในสถานการณ์ต่าง ๆ และยกตัวอย่างการใช้ประโยชน์
23. อธิบายลักษณะของการเคลื่อนที่แบบต่าง ๆ และผลของแรงที่กระทำต่อวัตถุและ การนำไปใช้ประโยชน์ในชีวิตประจำวัน
24. ทดลองและอธิบายเกี่ยวกับงาน พลังงานศักย์โน้มถ่วง พลังงานจลน์ กฎการอนุรักษ์พลังงานและการนำไปใช้ประโยชน์
25. สังเกตและวัดอุณหภูมิของสิ่งต่าง ๆ
26. ทดลองและอธิบายถ่ายโอนพลังงานความร้อนโดยการนำการพา การแผ่รังสี และยกตัวอย่างการใช้ประโยชน์
27. ทดลองและอธิบายเกี่ยวกับการดูดกลืนแสงและคายความร้อนของวัตถุต่าง ๆ ยกตัวอย่างการใช้ประโยชน์
28. ทดลองและอธิบายสมดุลความร้อน ผลของความร้อนต่อการขยายตัวของวัตถุ และยกตัวอย่างการใช้ประโยชน์
29. อธิบายองค์ประกอบและการแบ่งชั้นบรรยากาศ
30. แสดงการวัดอุณหภูมิ ความชื้นและความกดอากาศในท้องถิ่นและอธิบายความสัมพันธ์ระหว่างอุณหภูมิ ความชื้นและความกดอากาศ
31. อธิบายการเกิดและชนิดของเมฆ การเกิดฝนและแสดงการวัดปริมาณน้ำฝน
32. อธิบายการเกิดลมมรสุมต่าง ๆ พายุหมุนเขตร้อนและพายุฟ้าคะนองที่มีผลต่อมนุษย์และสิ่งแวดล้อม เสนอแนะวิธีการป้องกันปรากฏการณ์ทางลมฟ้าอากาศ
33. ใช้ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ในการสืบเสาะหาความรู้ และทำโครงงานวิทยาศาสตร์ในเรื่องที่ศึกษาและสนใจ สามารถนำเสนอผลงานได้ด้วยวาจา โครงงานและชิ้นงานได้
34. ทำงานร่วมกับผู้อื่นอย่างสร้างสรรค์ แสดงความคิดเห็นของตนเอง และยอมรับ ฟังความคิดเห็นของผู้อื่น
35. ใช้ความรู้และกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยีในการดำรงชีวิต
วันที่ 28 มิ.ย. 2552
Advertisement
เปิดอ่าน 7,142 ครั้ง เปิดอ่าน 7,410 ครั้ง เปิดอ่าน 7,139 ครั้ง เปิดอ่าน 7,139 ครั้ง เปิดอ่าน 7,138 ครั้ง เปิดอ่าน 7,138 ครั้ง เปิดอ่าน 7,145 ครั้ง เปิดอ่าน 7,151 ครั้ง เปิดอ่าน 7,142 ครั้ง เปิดอ่าน 7,144 ครั้ง เปิดอ่าน 7,165 ครั้ง เปิดอ่าน 7,182 ครั้ง เปิดอ่าน 7,139 ครั้ง เปิดอ่าน 7,139 ครั้ง เปิดอ่าน 7,139 ครั้ง เปิดอ่าน 7,169 ครั้ง
|
เปิดอ่าน 7,143 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,141 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,155 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,142 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,137 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,139 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,137 ☕ คลิกอ่านเลย |
|
≡ เรื่องน่าอ่าน/สาระน่ารู้ ≡
เปิดอ่าน 16,011 ครั้ง |
เปิดอ่าน 55,448 ครั้ง |
เปิดอ่าน 11,982 ครั้ง |
เปิดอ่าน 38,043 ครั้ง |
เปิดอ่าน 8,770 ครั้ง |
|
|