Advertisement
0001 " คำพิพากษาของศาลย่อมเป็นอันเด็ดขาด
0002 " ผู้เสียหายเท่านั้นจึงมีอำนาจฟ้องคดี "
0003 " ถ้าโจทก์ไม่นำสืบจำเลยย่อมพ้นผิด "
0004 " หน้าที่นำสืบย่อมตกอยู่แก่โจทก์ "
0005 " ความเป็นธรรมนั่นแหละคือความเสมอภาค "
0006 " ผู้กระทำหรือผู้ยินยอมพร้อมใจด้วยย่อมมีโทษดุจกัน "
0007 " การอำพรางต่างกับการทำเฉย "
0008 " ผู้รับโอนย่อมมีสิทธิเช่นเดียวกับผู้โอน "
0009 " ความยินยอมย่อมกำจัดเสียซึ่งความผิดพลาด "
0010 " คำสารภาพที่ให้ในศาลย่อมมีน้ำหนักมากกว่าการพิสูจน์อื่นใด "
0011 " การตีความในกฎหมายย่อมไม่ก่อให้เกิดความเสียหาย "
0012 " หนี้ย่อมไล่ตามตัวลูกหนี้ "
0013 " เป็นลูกหนี้ย่อมไม่สันนิษฐานว่าจะให้เงินโดยเสน่หาแก่เจ้าหนี้ "
0014 " อาชญากรรมยังผลให้ทุกสิ่งซึ่งเกิดขึ้นจากการนั้นเป็นโมฆะ "
0015 " ผู้มีอำนาจกระทำสิ่งใหญ่ย่อมมีอำนาจกระทำสิ่งย่อยด้วย "
0016 " กฎหมายไม่นำพาในสิ่งเล็กน้อย "
0017 " ดุลพินิจคือการวินิจฉัยโดยอาศัยกฎหมายว่าอะไรยุติธรรม "
0018 " สัญญาซึ่งทำขึ้นโดยกลฉ้อฉล กฎหมายไม่รับรองบังคับบัญชาให้ "
0019 " บ้านของบุคคลใดย่อมเป็นที่รโหฐานของบุคคลนั้น "
0020 " ของกำนัลซึ่งลักลอบให้ ย่อมเป็นสิ่งที่มีพิรุธเสมอ "
0021 " การให้สมบูรณ์เมื่อผู้รับได้ครอบครองของให้นั้น "
0022 " สิ่งที่ให้ย่อมจะไม่สันนิษฐานว่าเป็นการให้โดยเสน่หา "
0023 " เมื่อข้อความใดเคลือบคลุม ในการตีความต้องละเว้นสิ่งที่ไร้ผลและสิ่งที่เป็นไปไม่ได้ "
0024 " กฎหมายนอนหลับบางคราวแต่ไม่เคยตาย "
0025 " ผู้ที่ถูกบังคับให้เชื่อฟังย่อมไม่ต้องรับผิด "
0026 " ความฉ้อฉลของตนย่อมไม่ก่อให้เกิดสิทธิฟ้องร้องกล่าวหาบุคคลอื่นได้ "
0027 " ข้อยกเว้นจะต้องตีความโดยเคร่งครัด "
0028 " สัญญาไม่อาจเกิดขึ้นจากการกระทำอันมิชอบด้วยกฎหมาย "
0029 " ไม่มีการฟ้องร้องโดยอ้างสัญญาที่ไม่ชอบ "
0030 " บุคคลวิกลจริตไม่มีเจตนา "
0031 " จงประสาทความยุติธรรมแม้ฟ้าจะถล่มก็ตามที "
0032 " ผู้ซึ่งปกปิดการฉ้อย่อมกระทำการฉ้อเอง "
0033 " ความไม่รู้ข้อเท็จจริงเป็นข้อแก้ตัวได้ "
0034 " ความไม่รู้ในสิ่งซึ่งกฎหมายถือว่าต้องรู้ไม่เป็นข้อแก้ตัว "
0035 " ความไม่รู้กฎหมายไม่เป็นข้อแก้ตัว "
0036 " การไร้ความสามารถคงเป็นข้อแก้ตัวได้ตามกฎหมาย "
0037 " เมื่อมีสิทธิเสมอกันแล้ว ผู้ครอบครองทรัพย์สินย่อมมีสิทธิดีกว่า "
0038 " ในคดีอาญาทั้งมวล ควรจะพิสูจน์ให้ประจักษ์แจ้งดั่งแสงตะวัน "
0039 " กฎหมายรับรู้กับสิ่งที่อยู่ใกล้กับเหตุเท่านั้น "
0040 " สองผิดจะไม่ทำให้เป็นถูกขึ้นเลย "
0041 " ในพินัยกรรมนั้นเราจักต้องค้นหาเจตนารมณ์ของผู้ตายให้จงได้ "
0042 " ตุลาการควรคำนึงถึงความยุติธรรมเสมอ "
0043 " สิทธิมหาชนย่อมมาก่อนสิทธิเอกชน "
0044 " กฎหมายออกโดยอำนาจนิติบัญญัติ จะเลิกไปก็โดยอำนาจนิติบัญญัติ "
0045 " กฎหมายย่อมเคารพต่อความเป็นธรรม "
0046 " ความยุติธรรมไม่เป็นสิ่งที่จะพึงปฏิเสธหรือผัดผ่อน "
0047 " กฎหมายย่อมช่วยผู้บริสุทธิ์ "
0048 " กฎหมายย่อมมุ่งถึงสิ่งอนาคตไม่ใช่สิ่งอดีต "
0049 " กฎหมายท้องถิ่นย่อมใช้บังคับแก่การกระทำในท้องถิ่นนั้น "
0050 " ผู้ปล่อยคนผิด คือ ผู้สร้างความหวาดเกรงให้แก่ผู้บริสุทธิ์ "
0051 " กรรมเป็นเครื่องชี้เจตนา "
0052 " ความเป็นธรรมย่อมดำเนินตามกฎหมาย "
0053 " ความเป็นธรรมย่อมไม่ขัดแย้งกับกฎหมาย "
0054 " กฎหมายให้ความเป็นธรรมมากกว่าปุถุชน "
0055 " กฎหมายย่อมจักทำให้เหมาะสมกับคดีที่เกิดขึ้นเป็นเนืองนิตย์ "
0056 " การรับสินจ้างรางวัลในการตัดสินความเท่ากับเป็นการข่มขู่เรียกเอารางวัลนั้น "
0057 " การเลินเล่ออย่างร้ายแรงก็เท่ากับจงใจกระทำความผิด "
0058 " เมื่อมีกฎหมายอันไม่แน่นอน ย่อมมีผลเท่ากับไม่มีกฎหมาย "
0059 " เมื่อไม่มีตัวการ ย่อมไม่มีผู้สนับสนุน "
0060 " เมื่อมีสิทธิย่อมสมควรมีทางบังคับตามสิทธินั้นด้วย "
0061 " เมื่อมีเหตุอย่างเดียวกัน ย่อมต้องใช้กฎหมายอย่างเดียว
0062 " พยานปากเดียวมีผลเสมือนไม่มีพยาน "
0063 " พึงชั่งน้ำหนักพยานหลักฐานแทนการนับจำนวนพยาน "
0064 " บทบัญญัติอันสูงสุดคือบทบัญญัติที่ส่งเสริมศาสนา "
0065 " กฎหมายสิทธิพิเศษยกเว้นกฎหมายทั่วไป "
0066 " เมื่อผู้ซื้อถูกครองสิทธิทั้งหมดหรือบางส่วน ผู้ซื้ออาจไล่เบี้ยเอาแก่ผู้ขายได้ "
0067 " ประโยชน์สุขขของประชาชนย่อมเป็นกฎหมายสูงสุด "
0068 " เจ้าของไม่อาจมีภาระจำยอมเหนือทรัพย์ของตนเอง "
0069 " ภัยพิบัติอันเกิดแก่ทรัพย์ย่อมตกแก่เจ้าของทรัพย์ "
0070 " เหตุการณ์ย่อมแจ้งอยู่ในตัว "
0071 " คดีความซึ่งฟ้องร้องระหว่างคู่ความไม่ควรจะทำให้บุคคลภายนอกเสียหาย "
0072 " สิ่งอุปกรณ์ย่อมตามสิ่งประธาน "
0073 " ราชอาณาจักรเป็นสิ่งซึ่งไม่อาจแบ่งแยกได้ "
0074 " การให้สัตยาบันก็เปรียบเสมือนการสั่งให้กระทำ "
0075 " ทรัพย์ไม่มีเจ้าของตกเป็นของแผ่นดิน "
0076 " ถือว่าผู้ที่นิ่งเฉยได้ให้ความยินยอม "
0077 " ใครมาก่อนผู้นั้นย่อมมีสิทธิเรียกร้องตามกฎหมายได้สูงสุด "
0078 " ผู้ออกคำสั่งย่อมเป็นผู้กระทำ "
0079 " ผู้ใดใช้ให้ผู้อื่นกระทำการอย่างใดถือว่าผู้นั้นได้กระทำการนั้นด้วยตนเอง "
0080 " สิ่งใดติดกับที่ดิน ย่อมเป็นส่วนหนึ่งของที่ดิน "
0082 " เมื่อสิ่งประธานถูกทำลาย สิ่งอุปกรณ์ย่อมสิ้นสุดลงด้วย "
0083 " ความจำเป็นอาจใช้เป็นข้อต่อสู้ได้ "
0084 " สัญญาเอกชนจะก่อให้เกิดความเสียหายแก่ผู้อื่นไม่ได้เป็นอันขาด "
0085 " ผู้ครอบครองย่อมมีสิทธิดีกว่าผู้อื่น "
0086 " ประจักษ์พยานหนึ่งปากดีกว่าพยานบอกเล่าสิบปาก "
0087 " ไม่พึงมีการเพิ่มประเด็นระหว่างมีการพิจารณาคดี "
0088 " ลูกสัตว์ย่อมเป็นทรัพย์อันตกแก่ผู้เป็นเจ้าของเม่สัตว์ "
0089 " กรรมสิทธิ์ในสิ่งปลูกสร้างย่อมตามกรรมสิทธิ์ในที่ดิน "
0090 " ความเคารพต่อกฎหมายเป็นปัจจัยสำคัญแห่งกฎหมาย "
0091 " ไม่มีกฎหมายไม่มีการลงโทษ "
0092 " จะทำสัญญายกเว้นความรับผิดอันเกิดจากการฉ้อฉลมิได้ "
0093 " กฎหมายใหม่พึงใช้บังคับในอนาคตหาควรมีผลบังคับย้อนหลังไม่ "
0094 " ไม่มีผู้ใดจะถูกลงโทษเพราะการกระทำของบุคคลอื่น "
0095 " บุคคลย่อมจะเป็นผู้ตัดสินคดีของตนเองไม่ได้ "
0096 " ฟ้องซ้ำต้องห้าม "
0097 " ผู้รับโอนไม่มีสิทธิดีกว่าผู้โอน "
0098 " บุคคลจะต้องไม่ถูกลงโทษสองครั้งสำหรับความผิดอันเดียวกัน "
0099 " กฎหมายซึ่งมีเหตุผลย่อมได้รับคำสรรเสริญยิ่ง "
0100 ผู้เยาว์ไม่อาจสาบานตัว "
ขอบคุณข้อมูล : thailaws.com
หน้าหนาวแล้ว คุณครูสนใจไหม DoDo เก้าอี้แคมป์ปิ้ง รับน้ำหนักได้เยอะ พร้อมกระเป๋าจัดเก็บ โครงอลูมิเนียมรับน้ำหนักได้200KG ในราคา ฿189 - ฿509 ที่ Shopeehttps://s.shopee.co.th/9pNuttuIUm?share_channel_code=6
Advertisement
เปิดอ่าน 1,528 ครั้ง เปิดอ่าน 183,249 ครั้ง เปิดอ่าน 37,614 ครั้ง เปิดอ่าน 8,773 ครั้ง เปิดอ่าน 17,322 ครั้ง เปิดอ่าน 10,693 ครั้ง เปิดอ่าน 8,608 ครั้ง เปิดอ่าน 29,114 ครั้ง เปิดอ่าน 21,376 ครั้ง เปิดอ่าน 19,704 ครั้ง เปิดอ่าน 11,486 ครั้ง เปิดอ่าน 13,547 ครั้ง เปิดอ่าน 11,305 ครั้ง เปิดอ่าน 10,713 ครั้ง เปิดอ่าน 12,468 ครั้ง เปิดอ่าน 9,395 ครั้ง
|
เปิดอ่าน 9,967 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 13,603 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 5,908 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 12,972 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 10,843 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 18,074 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 10,184 ☕ คลิกอ่านเลย |
|
≡ เรื่องน่าอ่าน/สาระน่ารู้ ≡
เปิดอ่าน 13,030 ครั้ง |
เปิดอ่าน 16,494 ครั้ง |
เปิดอ่าน 13,698 ครั้ง |
เปิดอ่าน 36,035 ครั้ง |
เปิดอ่าน 14,621 ครั้ง |
|
|