เครื่องปรับอากาศที่ใช้ตามบ้านพักอาศัย หรืออาคารสำนัก งานขนาดเล็ก ซึ่งหาซื้อได้ทั่ว ไป แบ่งเป็น 6 ประเภทใหญ่ๆ ดังนี้
1.แบบติดผนัง ข้อดี มีให้เลือกหลากหลาย เงียบ ติดตั้ง ง่าย ข้อเสีย ไม่เหมาะกับงานหนัก เนื่องจากคอยล์เย็นมีขนาด เล็กส่งผลให้คอยล์สกปรกและอุดตันง่ายกว่าคอยล์ที่มีขนาดใหญ่กว่า
2.แบบตั้ง/แขวน ข้อดี เลือกการติดตั้งได้ทั้งตั้งพื้นหรือแขวนเพดาน เข้าได้กับทุกสถานที่ การระบายลมดี ข้อเสีย ไม่มีรูปแบบให้เลือกมากนัก
3.แบบตู้ตั้ง ข้อดี ติดตั้งง่ายโดยสามารถตั้งกับพื้นได้เลย ไม่ต้องยึด ทำความเย็นได้เร็ว เนื่องจากมีเส้นผ่านศูนย์กลางใบพัดลมใหญ่ซึ่งให้กำลังลมที่แรงกว่า ข้อเสีย เปลืองพื้นที่ใช้สอย
4.แบบฝังเพดาน ข้อดี สามารถทำตู้ซ่อนหรือฝังเรียบไว้บนเพดานห้อง ข้อเสีย ติดตั้งยากเนื่องจากต้องฝังเข้าตู้หรือเพดานห้อง การดูแลรักษาทำได้ไม่ค่อยสะดวก
5.แบบหน้าต่าง ข้อดี ประหยัดพื้นที่เนื่องจากไม่ต้องใช้พื้นที่ติดตั้งคอนเดนซิ่ง ยูนิต ประสิทธิภาพการทำความเย็นสูงกว่าแบบอื่นๆ เนื่องจากไม่มีการเดินท่อน้ำยา ทำให้ไม่มีความร้อนแทรกซึมตามท่อน้ำยา ข้อเสีย เสียงดังจากการทำงานของคอมเพรสเซอร์ และทำให้เกิดแรงสั่นสะเทือนของตัว เครื่องและผนัง ถ้าเครื่องขนาดขนาดใหญ่จะมีปัญหาเพราะบริเวณช่องหน้า ต่างไม่สามารถรับน้ำหนักมากได้
6.แบบเคลื่อนที่ ข้อดี ขนาดกะทัดรัด ไม่ต้องติดตั้ง เข็นไปใช้ได้ทุกพื้นที่ ข้อเสีย ใช้ได้กับห้องที่มีขนาดใหญ่ไม่มาก ประสิทธิภาพการทำความเย็นต่ำกว่า
วิธีใช้เครื่องปรับอากาศให้ประหยัดพลังงานและคุ้มค่า ทำความสะอาดเครื่องปรับอากาศเป็นประจำเพื่อให้การระบายความร้อนทำได้สะดวก เปลี่ยนเครื่องปรับอากาศใหม่ทดแทนเครื่องเก่าที่มีประสิทธิภาพต่ำหรือใช้งานมานาน ลดความร้อนจากภายนอกที่ผ่านเข้ามายังบริเวณที่ปรับอากาศ ดังนี้
1.ลดความร้อนผ่านผนัง ผนังกระจกที่ควรป้องกันความร้อนโดยใช้เครื่องบังแดดภายในอาคาร หรือหลบแนวหน้าต่างเข้ามาภายในผนังปูน ให้ทาสีด้านนอกด้วยสีขาวหรือสีอ่อน หรือใช้วัสดุผิวมัน เช่น กระเบื้องเคลือบ เพื่อช่วยสะท้อนแสง ปลูกต้นไม้หรือสร้างที่บังแดดเพื่อให้ร่มเงาแก่ผนัง ผนังห้องโดยเฉพาะด้านทิศตะวันออกหรือทิศตะวันตกซึ่ง ไม่มีเงากำบังเป็นส่วนที่มีความร้อนมาก ควรบุฉนวนกันความร้อนหรือ ใช้เฟอร์นิเจอร์ชิ้นใหญ่ตั้งกั้นไม่ให้ความร้อนแผ่เข้ามาในห้องเร็วนัก ผนังอาคารที่เป็นไม้ หากมีช่องห่างของไม้มากควรตีผนังด้านในด้วยไม้อัดเพื่อกันการผ่านของความร้อนจากภายนอกเข้ามาในอาคาร
2.การลดความร้อนผ่านหน้าต่าง หน้าต่างควรมีเฉพาะทิศเหนือหรือทิศใต้ของอาคารเพื่อลดการรับแสงแดดโดยตรง ไม่ให้มีรอยรั่วตามขอบประตู หน้าต่าง หรือบริเวณฝ้าเพดาน
3.การลดความร้อนผ่านหลังคาและฝ้าเพดาน หลังคาที่เป็นสังกะสีหรือกระเบื้องควรตีฝ้าหรือติดตั้งวัสดุสะท้อนความร้อนหรือบุฉนวนกันความร้อนเพื่อช่วยลดความร้อนที่จะแผ่เข้ามาในอาคาร ถ้ามีช่องว่างระหว่างหลังคากับฝ้ามากควรเจาะช่องลมเพื่อระบาย อากาศ
4.การลดความร้อนผ่านพื้น หากเป็นพื้นไม้ควรอุดช่องระหว่างไม้ให้ สนิท แอร์จะได้ไม่รั่วออกไป
5.จัดพื้นที่ในห้องซึ่งไม่ได้ใช้งานประจำ เช่น ตู้เสื้อผ้า ห้องแต่งตัว อยู่ทางทิศตะวันตก ช่วยกันความร้อนไม่ให้เข้าถึงห้องที่ใช้สอยประจำคือส่วนนอน ทำให้ประหยัดพลังงานไฟฟ้าในการปรับอุณหภูมิลงได้
6.พยายามใช้แสงธรรมชาติช่วยส่องสว่างภายในอาคาร และควรปิดไฟที่ไม่จำเป็น ภายในอาคารควรใช้สีอ่อนช่วยการสะท้อนแสง ทำให้ใช้ดวงไฟน้อยลง อุปกรณ์ที่ให้ความร้อนควรใช้นอกห้อง
ที่มา :: ข่าวสด