ชื่อเรื่อง การสร้างบทเรียนประกอบการ์ตูน เรื่อง การทำไม้กวาดดอกแขม
จากภูมิปัญญาท้องถิ่น ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 กลุ่มสาระการเรียนรู้
การงานอาชีพและเทคโนโลยี
ผู้รายงาน นายเนวิน นวลจันทร์
หน่วยงาน โรงเรียนบ้านสำนักตูมกา อำเภอหนองบัวระเหว สำนักงานเขตพื้นที่
การศึกษาชัยภูมิ เขต 3
ปีที่พิมพ์ ปีการศึกษา 2552
บทคัดย่อ
การรายงานครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1. เพื่อสร้างบทเรียนประกอบการ์ตูน เรื่อง การทำไม้กวาดดอกแขม จากภูมิปัญญาท้องถิ่น ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยีให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 2. เพื่อศึกษาดัชนีประสิทธิผลของบทเรียนประกอบการ์ตูน เรื่อง การทำไม้กวาดดอกแขม จากภูมิปัญญาท้องถิ่น ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี 3. เพื่อศึกษาความพึงพอของนักเรียนที่เรียนโดยใช้บทเรียนประกอบการ์ตูน เรื่อง การทำไม้กวาดดอกแขม จากภูมิปัญญาท้องถิ่น ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี 4. เพื่อศึกษาความพึงพอใจของครูที่สอนโดยใช้บทเรียนประกอบการ์ตูน เรื่อง การทำไม้กวาดดอกแขม จากภูมิปัญญาท้องถิ่น ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี และ5. เพื่อศึกษาความพึงพอใจของผู้ปกครองนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ที่มีต่อนักเรียนที่เป็นผลจากการเรียนโดยใช้บทเรียนประกอบการ์ตูน เรื่อง การทำไม้กวาดดอกแขม จากภูมิปัญญาท้องถิ่น กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2551 โรงเรียนบ้านสำนักตูมกา สาขาบ้านหลังสัน และโรงเรียนบ้านสำนักตูมกา สาขาบ้านปากดง จำนวน 2 โรงเรียน 2 ห้องเรียน รวม 10 คน ได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) กลุ่มตัวอย่างนำทั้ง 2 โรงเรียนรวมกันเนื่องจากจำนวนนักเรียนมีน้อย ครูผู้สอนกลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาชัยภูมิ เขต 3 จำนวน 3 คน ที่ได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) และผู้ปกครองนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ที่กำลังเรียนในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2551 โรงเรียนบ้านหลังสัน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาชัยภูมิ เขต 3 จำนวน 5 คน ที่ได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการรายงาน มี 5 ชนิด ได้แก่ 1. บทเรียนประกอบการ์ตูนเรื่อง การทำไม้กวาดดอกแขม จากภูมิปัญญาท้องถิ่น ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 กลุ่มสาระการเรียนรู้ การงานอาชีพและเทคโนโลยี จำนวน 6 เล่ม 2. แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง การทำไม้กวาดดอกแขม จากภูมิปัญญาท้องถิ่น ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี เป็นแบบเลือกตอบ ชนิด 4 ตัวเลือก จำนวน 30 ข้อ มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.85 3. แบบวัดความพึงพอใจของนักเรียน เป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า ชนิด 5 ระดับ จำนวน 10 ข้อ มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.77 4. แบบวัดความพึงพอใจของครู เป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า ชนิด 5 ระดับ จำนวน 15 ข้อ มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.87 5. แบบวัดความพึงพอใจของผู้ปกครอง เป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า ชนิด 5 ระดับ จำนวน 10 ข้อ มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.79 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยเครื่องคอมพิวเตอร์โปรแกรม SPSS/PC + (Statistical Package For The Social Sciences/Personal Computer) เพื่อหาค่าอำนาจจำแนก และหาค่าความเชื่อมั่นจากค่าสัมประสิทธิ์ แอลฟ่า (- Coefficient) จำนวนความถี่ ค่าร้อยละ (%) ค่าเฉลี่ยเลขคณิต () ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D) และค่า E.I.
ผลการรายงานปรากฏดังนี้
1. บทเรียนประกอบการ์ตูนเรื่อง การทำไม้กวาดดอกแขม จากภูมิปัญญาท้องถิ่น ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี มีประสิทธิภาพเท่ากับ 83.60/85.33 ซึ่งมากกว่าเกณฑ์ที่ตั้งไว้คือ 80/80
2. ค่าดัชนีประสิทธิผลของบทเรียนประกอบการ์ตูนเรื่อง การทำไม้กวาดดอกแขม จากภูมิปัญญาท้องถิ่น ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี มีค่าเท่ากับ 0.7832 ซึ่งหมายความว่า หลังจากที่นักเรียนได้เรียนรู้ตามบทเรียนประกอบการ์ตูน เรื่อง การทำไม้กวาดดอกแขม จากภูมิปัญญาท้องถิ่น ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี แล้ว นักเรียนมีความรู้เพิ่มขึ้นร้อยละ 78.32
3. ความพึงพอใจของนักเรียน ด้วยแบบวัดความพึงพอใจของนักเรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ที่มีต่อการใช้บทเรียนประกอบการ์ตูน เรื่อง การทำไม้กวาดดอกแขม จากภูมิปัญญาท้องถิ่น มีความพึงพอใจอยู่ในระดับ พึงพอใจมาก
4. ความพึงพอใจของครู ด้วยแบบวัดความพึงพอใจของครูที่มีต่อการใช้บทเรียนประกอบการ์ตูน เรื่อง การทำไม้กวาดดอกแขม จากภูมิปัญญาท้องถิ่น มีความพึงพอใจอยู่ในระดับ พึงพอใจมากที่สุด
5. ความพึงพอใจของผู้ปกครองต่อผลการใช้บทเรียนประกอบการ์ตูน เรื่อง การทำไม้กวาดดอกแขม จากภูมิปัญญาท้องถิ่นของนักเรียน ด้วยแบบวัดความพึงพอใจ มีความพึงพอใจอยู่ในระดับ พึงพอใจมาก
โดยสรุป การจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้บทเรียนประกอบการ์ตูน ช่วยพัฒนาการเรียน การสอนกลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี ให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น ส่งผลให้ผู้เรียนพัฒนาความสามารถและทักษะด้านการใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่น ควบคู่ไปกับการความพึงพอใจของผู้เรียน และสามารถนำไปประยุกต์ใช้กับการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนในสาระวิชาอื่นให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้นต่อไป