Advertisement
ภัยจากบัตรเครดิต เงินพลาสติกที่อยู่ใกล้ตัว
ข้าพเจ้ามีแนวคิดส่วนตัวที่ว่า การเป็นหนี้จากบัตรเครดิตเป็นเรื่องที่เป็นภาระ ทุกวันนี้แม้จะมีอาชีพที่มั่นคง แต่สภาวะการเงินจะไม่ค่อยคล่องตัวเท่าไร แต่ก็ใช้ชีวิตตามแนวพระราชดำริเรื่องเศรษฐกิจพอเพียง และจะไม่ยอมเป็นหนี้จากบัตรเครดิตเป็นอันขาด
แม้จะมีแนวคิดดังกล่าว ยังไม่วายถูกกลุ่มมิจฉาชีพก่อกวน วันนี้จึงขอเขียนบทความเพื่อเป็นข้อคิด และเตือนให้กันพี่น้องในสังคม ก่อนตกเป็นเหยื่อของพวกเห็นแก่ตัวและเอาเปรียบสังคม คนที่ไม่ได้รับการสั่งสอนและขาดความอบอุ่นจากบิดามารดา
เมื่อวันที่ 16 มกราคม 2551 ในขณะที่ข้าพเจ้ากำลังอยู่ในพิธีวันครู ก็มีโทรศัพท์ดังขึ้น โดยที่ปลายสายอ้างว่าชื่อ ทัศนีย์ ขอรบกวนเวลาสักครู่ ข้าพเจ้าจึงบอกว่า กำลังอยู่ในพิธี ให้โทรมาใหม่ ปลายสายบอกว่าจะโทรมาตอนเย็นๆ แต่ก็เงียบหายไป
ต่อมา เมื่อวันที่ 30 มกราคม 2551 เวลาประมาณ 16.07 น. ก็มีหมายเลข 02-35343XX โทรมาอีกครั้ง แต่เนื่องจากข้าพเจ้ากำลังอยู่บนรถประจำทาง ไม่ค่อยได้ยินเสียง จึงบอกให้โทรมาให้อีก 20 นาที ปลายสายบอกว่าจะโทรมาตอน 5 โมงเย็น พอถึงเวลา 17.19 น. หมายเลขเดิมก็โทรมาอีกครั้ง บอกว่าชื่อทัศนีย์ แล้วถามว่าสะดวกจะคุยหรือยัง ข้าพเจ้าก็บอกว่าสะดวก
"ดิฉันชื่อทัศนีย์ โทรมาจาก บ.อยุธยา อลิอันซ์ เนื่องจากคุณได้รับเอกสิทธิ์ ไม่ทราบว่า คุณใช้บัตรเครดิตของบริษัทไหน"
"ไม่มีครับ" ผมตอบ
"ไม่ได้ทำเลยเหรอคะ ของกรุงไทย ของ..."
"ไม่มีครับ"
"คุณมีบัตร ATM ไหมค่ะ"
"มีครับ"
"แล้วมีบัตรเดบิต ไหมคะ"
"ไม่มีครับ"
"บัตรเดบิต ก็เป็น ATM นี่ค่ะ"
"ไม่ใช่ครับ บัตรเดบิตเป็นบัตรเงินสดของธนาคาร..."
"ค่ะ ค่ะ" (มันรีบตอบ)
"แล้วของ big c / อีออน ละค่ะ"
"ไม่มีครับ"
"ทำไมไม่ทำละค่ะ"
"ผมถือลัทธิครับ" (ผมอำมัน เพราะเริ่มรำคาญ)
"ขอโทษนะค่ะ เป็นมุสลิมหรือค่ะ" (มันยังตื้อ)
"เปล่าครับ ผมเป็นคอมมิวนิสต์" (ผมรำคาญ ลองตอบแบบนี้ดู ว่ามันจะพูดอะไรต่อ)
"อ๋อ เหรอค่ะ" (ว่ะ หน้าด้านจัง ขนาดนี้มันยังเชื่อ คอมมิวนิสต์ต้องไม่นับถือศาสนา แสดงว่าโง่)
"ไม่ใช่ครับ พูดเล่น พอดียังไม่อยากมีภาระตรงนี้"
"สงสัยข้อมูลของดิฉัน คงผิด แน่ใจนะค่ะว่าไม่เคยทำบัตรที่ไหน"
"ไม่เคย" (ชักรำคาญแล้ว)
"ค่ะๆ ขอบคุณค่ะ"
แล้วผมก็กดวาง เมื่อโทรไปเล่าให้แม่ฟัง แม่บอกว่า มันก็เคยโทรมา แล้วบอกว่า คุณเป็นลูกค้าชั้นดี จ่ายเงินตรงเวลา ได้รับสิทธิพิเศษจากบริษัทประกันภัย... ได้รับกรมธรรม์ประกันชีวิตวงเงิน 1,200,000 บาท ซึ่งต้องจ่ายค่าธรรมเนียมผานบัตรเครดิตก่อน 170 บาท ต้องขอรายละเอียด พร้อมรหัสของบัตรเครติดด้วย พอดีครั้งแรก มันโทรเข้าเครื่องของพ่อก่อน และแม่เป็นคนคุยด้วย แม่จับมุขของมันได้ เลยเออ ออ ไป (เหมือนที่ผมทำ) และหลังจากนั้นไม่กี่วัน มันโทรมาอีกครั้งหนึ่ง คราวนี้ โทรเข้าเครื่องแม่ พอแม่พูดว่า "อ๋อ มุขนี้เคยใช้แล้วค่ะ เมื่อ 4 วันก่อนจำได้ไหมค่ะ" มันรีบวางสายไปเลย (ฮา) ถ้าเป็น บริษัทโทรมาจริง ต้องเนียนกว่านี้ใช่ไหมครับ
หลังจากนั้น มันยังกวนไม่เลิก ยังตกเบ็ดมาอีกครั้ง คราวนี้ใช้วิธีไม่โชว์เบอร์ ขึ้นหน้าจอว่าเบอร์ส่วนตัว เมื่อรับสายก็เป็นเสียงระบบอัตโนมัติ "สวัสดีค่ะ นี่เป็นระบบอัตโนมัติจาก บ. เครดิต... คุณมีหนี้ค้างชำระ..." ผมไม่ฟังต่อแล้วกดวางสายไป มันจะมีหนี้อย่างไร เพราะผมไม่ใช้บัตรเครดิตอะไรเลย ไอ้พวกนี้เล่นไม่เลิกแฮะ แปลกตรงที่ว่า เจ้าหน้าที่ตำรวจทำอะไรอยู่ ทำไมถึงปล่อยให้เกิดเหตุการณ์แบบนี้ซ้ำแล้วซ้ำเล่า และหากท่านได้เข้ามาอ่านบทความนี้ ก็เริ่มแกะรอยพวกมันได้แล้วครับ ผมเองก็รับเงินเดือนจากภาษีประชาชน รวมถึงผมก็รายงานภาษีด้วย ผมยังกลัวเค้าว่ากินภาษีแต่ไม่ทำงาน แต่ผมก็ทำได้เพียงเผยแพร่กลโกงของพวกมันแหละครับ
ท่านสามารถอ่านบทความนี้ได้ที่ www.seal2thai.org/sara/sara143.htm
ช่วยกันส่งต่อนะครับ ได้บุญด้วย ได้เตือนภัยด้วย บางที คนฉลาดก็อาจตกเป็นเหยื่อ เพราะความโลภได้ครับ ... ไม่มีใครได้เงินมาง่ายๆหรอกครับ ส่งต่อนะครับ ร่วมเตือนภัย อย่างน้อยๆก็ได้ช่วยเหลือสังคมอีกทางหนึ่งครับ
ขอบคุณครับที่ทำ link และอ้างอิงมาหาเรา นึกว่าในสังคมจะไม่มีคนให้เกียรติคนอื่นเหลืออยู่อีกแล้ว
|
|
รู้ทันแก๊งบัตรเครดิต ขโมยง่ายกว่า ATM |
|
กระแสแก๊งโจรกรรมรหัสบัตรเอทีเอ็มยังไม่ซาไปจากสังคมดีนัก สกู๊ปหน้า 1 อยากฝากให้ระวังภัยบัตรเครดิตเอาไว้ด้วย ที่ผ่านมาการทุจริตผ่านบัตรเครดิต เป็นปัญหาที่ขยายวงกว้างขึ้นทั่วโลก วิธีที่พบบ่อยที่สุดในเมืองไทย คือ การปลอมบัตร การแอบอ้างเป็นผู้ถือบัตรจริง รวมถึงการคัดลอกข้อมูลจากบัตร หรือที่เรียกว่า สกิมมิ่ง (Skim ming) เช่นเดียวกับการโจรกรรมบัตรเอทีเอ็ม
ปลายเดือนกุมภาพันธ์ปีนี้เอง ธนาคารกสิกรไทยแจ้งเตือนลูกค้าให้ระวัง โทรจันตัวใหม่ ชื่อว่า Pws.Sinowal.AU ไวรัสขโมยข้อมูลบัตรเครดิต รหัสเอทีเอ็ม ไวรัสตัวนี้เป็นโปรแกรมที่ฝังตัวในเครื่องคอมพิวเตอร์ นอกจากจะทำหน้าที่คัดลอกข้อมูลแล้ว ยังติดตามพฤติกรรมผู้ใช้งานทางอินเตอร์เน็ตได้ด้วย เมื่อพิมพ์คำว่า bank ที่ บราวเซอร์ อินเตอร์เน็ต จะมีป็อปอัพ...หน้าต่างพิเศษโชว์ขึ้นมาให้กรอกข้อมูลบัตรเครดิต รวมถึงรหัสเอทีเอ็ม โดยอ้างว่าเพื่อความปลอดภัย
"เห็นอย่างนี้อย่าได้กรอกรหัสธนาคารตอบกลับ หรือให้ข้อมูลใดๆเด็ดขาด ประเด็นสำคัญ...ตรวจสอบเว็บไซต์ให้แน่ชัดก่อนลงทะเบียนเข้าใช้งาน"
ที่ทำได้ให้คุณคลิกที่สัญลักษณ์รูปแม่กุญแจ ที่มุมขวาล่างของบราวเซอร์อินเตอร์เน็ต เพื่อตรวจสอบข้อมูลยืนยันให้แน่ใจว่าเป็นเว็บไซต์ของธนาคารจริง
รู้ถึงภัยอันน่ากลัวของแก๊งโจรกรรมบัตรเครดิตทั้งในสังคมทั่วไป สังคมอินเตอร์เน็ตกันไปแล้ว ก็รู้ต่อกันอีกหน่อยถึงบทลงโทษ
การปลอมบัตรเครดิต การใช้บัตรเครดิตโดยฉ้อโกงเอาบัตรเครดิตผู้อื่นไปใช้โดยไม่ได้รับอนุญาต เข้าข่ายความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา ฐานปลอมเอกสาร มีโทษจำคุกไม่เกิน 3 ปี หรือปรับไม่เกิน 6,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
กรณี เอาบัตรเครดิตไปใช้โดยไม่ได้รับอนุญาต หากเป็นการขโมยมาเป็นความผิดฐานลักทรัพย์...กระทงหนึ่ง ถ้านำไปใช้ชำระเงิน โดยแสดงว่าเป็นเจ้าของถือว่าเป็นความผิดฐานฉ้อโกง...อีกกระทงหนึ่ง และถ้ามีการเซ็นชื่อปลอมในใบสลิป บัตรเครดิต จะมีความผิดฐานปลอมเอกสารอีกด้วย
สมมติว่าไม่ได้ขโมยเอาบัตรมา แต่ขโมยจำเลขบัตรเครดิต มาใช้ชำระเงินทางอินเตอร์เน็ต เป็นความผิดฐานฉ้อโกงอย่างเดียว บทลงโทษคือจำคุกไม่เกิน 3 ปี และปรับไม่เกิน 6,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
แหล่งที่มา http://www.kroobannok.com/view.phpωarticle_id=6619
ใบเสร็จ
บล็อกเรื่องนี้ นำมาจากบทความ “เหตุผลที่ต้องใส่ใจ ‘ใบเสร็จ’“
ของ ปิติชัย พงษ์วานิชอนันต์
ในนิตยสาร SHE's Smart ฉบับที่ 12 ...เดือนกันยายน พ.ศ.2550
เจ้าของบล็อกเห็นว่าเป็นบทความที่ดี ควรที่ผู้อื่นจะได้อ่าน
จึงขอนำมาลงในบล็อกเพื่อเป็นสาระความรู้ครับ
ขอขอบพระคุณคุณปิติชัย พงษ์วานิชอนันต์ ไว้ ณ โอกาสนี้
ในบทความ เริ่มต้นข้อมูลแบบนี้
เกี่ยวกับผู้เขียน ....เพราะ ปิติชัย พงษ์วานิชอนันต์ ทำงานอยู่กับ มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค และมีพื้นฐานการศึกษาทางสายกฎหมาย ทำให้เขามีข้อมูลกฎหมาย และรู้เทคนิคเรื่องการจับจ่ายแบบรู้คุ้มค่าเงิน และไม่เสียสิทธิ์ในฐานะผู้บริโภคเป็นอย่างดี และได้รวบรวมบางส่วนนำเสนอเป็นพ๊อกเก๊ตบุ๊คแล้ว อย่าง ‘เสียงผู้บริโภค’ และ ‘เป็นหนี้จะแก้ไขชีวิตอย่างไร’
ใบเสร็จรับเงิน ดูจะเป็นสิ่งที่คุ้นตาขาช้อปทั้งหลาย แต่ผมเชื่อว่าหลายคนคงไม่ค่อยได้ให้ความสนใจกับใบเสร็จรับเงินสักเท่าไร ได้มาก็ขยำทิ้ง บางคนไม่เคยแม้แต่จะเรียกขอใบเสร็จรับเงินจากร้านค้าด้วยซ้ำไป แต่รับรองว่าหลังจากอ่านบทความนี้จบ…ความคิดของคุณจะเปลี่ยนไป
ใบเสร็จฯ จากการซื้อสินค้าและบริการต่างๆ
• เหตุผลข้อแรกที่คุณควรใส่ใจกับใบเสร็จก็เพราะมันเป็นหลักฐานชิ้นเดียวที่แสดงว่า คุณได้ชำระเงินค่าสินค้าเรียบร้อยแล้ว ไม่ได้ไปลักขโมยใครมา เพราะเคยมี กรณีที่ลูกค้าซื้อของจากร้านที่เช่าพื้นที่ในห้างฯ แล้วทางร้านไม่ได้ออกใบเสร็จให้ พอเดินออกจากห้าง สัญญาณตรวจจับขโมยดัง ยามก็มาขอตรวจค้น พอไม่มีใบเสร็จก็ต้องเสียเวลาอธิบาย และหาพยานมายืนยันกันอีกนาน
• ใครที่ชอบซื้อสินค้ามือสอง หรือซื้อของทางอินเทอร์เน็ต ควรตรวจสอบใบเสร็จจากผู้ขายทุกครั้ง เพื่อคุณจะได้ไม่ตกเป็นผู้ต้องหาในคดีรับซื้อของโจร เพราะซื้อของที่ลักขโมย หรือยักยอกของที่ยังผ่อนไม่หมดมาขาย
• ส่วนใครที่ซื้อสินค้าเงินผ่อน จำไว้ว่า ตามกฎหมายคุณยังไม่ใช่เจ้าของกรรมสิทธิ์ เป็นแต่เพียงผู้มีสิทธิ์ใช้สอย เพราะฉะนั้นเก็บใบเสร็จชำระค่างวดไว้ให้ดี เพื่อเป็นหลักฐานแสดงการครอบครอง และเมื่อชำระครบแล้วก็จะได้มีหลักฐานไว้ยืนยันการได้มาซึ่งกรรมสิทธิ์อย่างถูกต้อง
• อายุประกันจะสั้นลง ถ้าซื้อสินค้าที่ไม่มีใบเสร็จ เพราะโดยหลัก ระยะเวลารับประกันจะนับจากวันที่ซื้อสินค้า โดยอ้างอิงจากใบเสร็จรับเงิน เช่น โทรศัพท์มือถือผลิตเมื่อ 1 ม.ค. 50 รับประกัน 1 ปี คุณซื้อมาเมื่อวันที่ 1 ส.ค. 50 ตามสิทธิ์การรับประกัน จะไปหมดอายุเมื่อ 31 ก.ค.51 แต่ถ้าไม่มีใบเสร็จยืนยันว่าซื้อสินค้าเมื่อไหร่ ทางศูนย์บริการจะนับอายุประกันจากวันผลิตแทน แบบนี้ก็เท่ากับว่าโทรศัพท์มือถือของคุณมีอายุรับประกันสั้นลง เหลือแค่ 5 เดือนเท่านั้นเอง
• ปัจจุบันเกือบทุกห้างฯ จะมีนโยบายรับประกันสินค้าและความพึงพอใจของลูกค้า ดังนั้น หากสินค้าที่ซื้อมามีปัญหา คุณสามารถนำไปขอเปลี่ยนหรือคืนได้ ถ้าคุณมีใบเสร็จรับเงิน
ใบเสร็จฯจากค่าใช้จ่ายต่างๆ ที่ชำระด้วยบัตรเครดิต
• ในสลิปบัตรเครดิต จะมีข้อมูลเกี่ยวกับเลขที่ และวันหมดอายุของบัตรปรากฏอยู่ ซึ่งหากใบเสร็จเหล่านี้ไปตกอยู่ในมือมิจฉาชีพละก็ คุณอาจได้รับใบแจ้งหนี้ก้อนโตโดยไม่รู้ตัว เพราะแม้การซื้อของออนไลน์โดยใช้บัตรเครดิตจะต้องใช้ security code (เลข 3 ตัวท้ายของบัตร) แต่การทำธุรกรรมในเว็บไซต์บางแห่ง แค่มีเลขที่บัตรเครดิตกับวันหมดอายุ ก็สามารถทำได้…สบายบรื๋อ
ใบเสร็จรับเงินที่ชำระด้วยบัตรเครดิต จึงต้องเก็บรักษาให้ดีเป็นพิเศษ อย่าทิ้งสุ่มสี่สุ่มห้า ควรเก็บกลับมาบ้านไว้ตรวจสอบยอดค่าใช้จ่ายตอนสิ้นเดือน ทำบัญชีเสร็จก็ให้ทำลายทิ้งทันที
ใบเสร็จจากการทำประกันภัยและประกันชีวิต
• เพื่อป้องกันปัญหาตัวแทนประกัน ไม่นำเงินส่งบริษัท จึงต้องขอใบเสร็จทุกครั้งที่จ่ายเงิน
• การเบิกค่ารักษาพยาบาลจากบริษัทประกันชีวิต ประกันภัยรถยนต์ (พ.ร.บ.คุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ) หรือแม้แต่ประกันสังคม จำเป็นต้องใช้ใบเสร็จค่ารักษาพยาบาลตัวจริงด้วย
ใบเสร็จเกี่ยวกับรถยนต์
อันนี้สำคัญและจำเป็นมากๆ โดยเฉพาะผู้ที่ต้องไปติดต่อเรื่องเอกสารต่างๆ กับกรมการขนส่งทางบก
• คนที่ซื้อรถยนต์ใหม่ การขอจดทะเบียนกับกรมการขนส่งทางบก นอกจากสำเนาบัตรประชาชน ทะเบียนบ้าน สัญญาซื้อขาย / เช่าซื้อแล้ว ใบเสร็จรับเงินก็เป็นเอกสารสำคัญที่ต้องใช้ด้วย
• ใครที่ใช้รถเก่าแต่อยากให้ดูเหมือนใหม่ เลยเอารถไปทำสีแปลงโฉม อย่าลืมขอใบเสร็จค่าจ้างทำสีด้วยนะครับ เพราะต้องใช้เป็นหลักฐานตอนจดทะเบียนเปลี่ยนแปลงสีรถยนต์ที่ขนส่ง
• นอกจากทำสีแล้ว รถเก่าบางคันอาจต้องยกเครื่องใหม่ด้วย ซึ่งเวลาจะไปจดทะเบียนเปลี่ยนแปลงเครื่องยนต์ ก็ต้องมีใบเสร็จค่าเครื่องยนต์เป็นหลักฐานการได้มาของเครื่องยนต์นั้นด้วย
• รถยนต์ที่ติดตั้งระบบแก๊ส เมื่อเปลี่ยนระบบเชื้อเพลิงแล้ว ก็ต้องไปจดทะเบียนเป็น ‘รถใช้แก๊ส’ ภายใน 15 วันนับจากติดตั้งด้วยนะครับ หลักฐานสำคัญที่ต้องใช้ ก็คือ ใบเสร็จค่าติดตั้งระบบแก๊ส ใบรับรองจากวิศวกร คู่มือจดทะเบียนรถ บัตรประชาชน และทะเบียนบ้าน
ใบเสร็จอื่น ๆ
• ใบเสร็จค่าทางด่วน ค่าผ่านทางพิเศษ จะมีหมายเลขโทรศัพท์ที่จำเป็น เช่น หน่วยกู้ภัย ตำรวจทางหลวง ไว้ให้ติดต่อในกรณีเกิดเหตุฉุกเฉิน
• ใบเสร็จรับเงินบริจาคให้กับ องค์กรสาธารณกุศลตามประกาศของกระทรวงการคลัง สามารถนำไปหักจากรายได้รวม เพื่อการลดหย่อนภาษีประจำปีได้
ใบเสร็จกับมาตรการคุ้มครองผู้บริโภค
คณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค ได้ประกาศให้ใบเสร็จรับเงินของกิจการบางประเภท ต้องมีรายละเอียดตามที่กำหนด
• ธุรกิจขายก๊าซหุงต้ม ที่มีการเรียกเก็บเงินประกันถัง ใบเสร็จรับเงินจะต้องระบุจำนวนเงินประกันถัง พร้อมข้อความว่า ‘ลูกค้ามีสิทธิได้รับเงินคืนเมื่อนำถังก๊าซมาคืนร้าน’
• ธุรกิจให้บริการซ่อมรถยนต์ ใบเสร็จรับเงินจะต้องมีรายละเอียดเกี่ยวกับ ยี่ห้อ รุ่น หมายเลขเครื่องยนต์ หมายเลขตัวถังของรถที่ซ่อม รายการที่ซ่อม ค่าแรง ค่าอะไหล่ รวมทั้งเลขไมล์ของรถในวันที่เข้าอู่และวันที่ซ่อมเสร็จ ที่สำคัญจะต้องมีระยะเวลารับประกันคุณภาพของอะไหล่ และงานซ่อมด้วย
• ธุรกิจให้เช่าที่อยู่อาศัยที่เรียกเก็บเงินประกัน ไม่ว่าจะเป็นบ้านเช่า อพาร์ตเม้นท์ คอนโดฯ หอพัก หลักฐานการรับเงินจะต้องระบุจำนวนเงินประกัน และมีข้อความว่า ผู้เช่ามีสิทธิ์ได้รับเงินประกันคืนทันทีเมื่อสิ้นสุดสัญญาเช่า ซึ่งถ้าผู้ให้เช่าตรวจสอบทรัพย์สินแล้วไม่มีอะไรเสียหาย ก็ต้องคืนเงินประกันภายใน 7 วัน
และเมื่อได้รับใบเสร็จทุกครั้ง คุณควรตรวจสอบรายละเอียดในใบเสร็จทุกครั้งว่า
ตรงกับยอดที่คุณชำระเงินไปหรือไม่ ถ้าไม่ ...ให้รีบโต้แย้งทันที
รู้อย่างนี้แล้ว…คุณยังจะขยำใบเสร็จทิ้งอยู่อีกไหม ?
เขียนโดย ปิติชัย พงษ์วานิชอนันต์
วันที่ 25 มิ.ย. 2552
Advertisement
เปิดอ่าน 7,147 ครั้ง เปิดอ่าน 7,143 ครั้ง เปิดอ่าน 7,140 ครั้ง เปิดอ่าน 7,136 ครั้ง เปิดอ่าน 7,141 ครั้ง เปิดอ่าน 7,147 ครั้ง เปิดอ่าน 7,144 ครั้ง เปิดอ่าน 7,139 ครั้ง เปิดอ่าน 7,145 ครั้ง เปิดอ่าน 7,146 ครั้ง เปิดอ่าน 7,138 ครั้ง เปิดอ่าน 7,138 ครั้ง เปิดอ่าน 7,162 ครั้ง เปิดอ่าน 7,143 ครั้ง เปิดอ่าน 10,748 ครั้ง เปิดอ่าน 7,144 ครั้ง
|
เปิดอ่าน 7,141 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,143 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,141 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,146 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,139 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,142 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,139 ☕ คลิกอ่านเลย |
|
≡ เรื่องน่าอ่าน/สาระน่ารู้ ≡
เปิดอ่าน 38,326 ครั้ง |
เปิดอ่าน 36,747 ครั้ง |
เปิดอ่าน 30,631 ครั้ง |
เปิดอ่าน 10,670 ครั้ง |
เปิดอ่าน 11,052 ครั้ง |
|
|