ค้นหาทุกอย่างในเว็บครูบ้านนอก :
ชุมชนครู บุคลากรทางการศึกษา และนักเรียน แหล่งความรู้สำหรับครู นักเรียน ข่าวการศึกษา ห้องสมุดความรู้ทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้ และความรู้ทั่วไป เผยแพร่ผลงานวิชาการ ที่นี่


ข่าวการศึกษา     ความรู้ทั่วไป     งานราชการ/รัฐวิสาหกิจ/บริการสังคมเรื่องราวจากสมาชิก  ▶ ข่าว/บทความ ▶ หน้าแรก

บทวิเคราะห์เจาะลึก....เหตุใดสุนทรภู่จินตกวีเอก....จึงเป็น "บรมครูกลอนแปด"


เรื่องราวจากสมาชิก เปิดอ่าน : 7,215 ครั้ง
Advertisement

บทวิเคราะห์เจาะลึก....เหตุใดสุนทรภู่จินตกวีเอก....จึงเป็น  "บรมครูกลอนแปด"

Advertisement

26 มิ.ย.นี้ ครบรอบ 223  ปี สุนทรภู่ จินตกวีเอกบรมครูกลอนแปด

ในโอกาสวันที่ 26 มิถุนายน 2552  เป็นวันครบรอบ 223 ปีเกิดของท่านสุนทรภู่ กวีเอกแห่งกรุงรัตนโกสินทร์ตอนต้นของไทย และถือว่าเป็น “วันสุนทรภู่” ได้เวียนมาบรรจบครบรอบอีกครั้ง จึงขอนำลักษณะพิเศษของคำกลอนของท่านจากหนังสือ ชีวประวัติพระสุนทรโวหาร (ภู่ ภู่เรือหงส์) ของนายเทพ สุนทรศารทูล ผู้มีผลงานดีเด่นทางวัฒนธรรม ที่ได้ศึกษาค้นคว้าประวัติของท่านสุนทรภู่มานาน มาเสนอให้ท่านผู้อ่าน และผู้ที่สนใจบทกวีได้ทราบว่า เหตุใดกวีนิพนธ์ โดยเฉพาะกลอนแปดของสุนทรภู่จึงมีความโดดเด่น และเป็นที่จับใจแก่ผู้อ่านตลอดมา แม้เวลาจะล่วงเลยมากว่าสองร้อยปีก็ตาม แต่แนวทางที่ท่านเขียนไว้ ก็ยังเป็นแบบอย่างแก่กวีรุ่นหลังมาจนทุกวันนี้ และท่านยังเป็น “บรมครูกลอนแปด” ที่ยังหาผู้เทียบเคียงได้ยากจนแม้ปัจจุบัน  
 
จากการศึกษาของนายเทพ สุนทรศารทูล ได้กล่าวว่า ลักษณะเด่นเป็นพิเศษ ของคำกลอนของสุนทรภู่ ที่ทำให้กวีนิพนธ์ของท่าน ต่างจากกวีท่านอื่นๆ มีอยู่ด้วยกัน 12 ประการ คือ 

1. หลั่งไหล        
2. ไว้สง่า      
3. ภาษาตลาด    
4. สัมผัสพราว       
5. กล่าวความหลัง         
6. ฟังแจ่มแจ้ง 
7. แสดงอุปไมย 
8. ใช้คำตาย  
9. ระบายอารมณ์
10. คำคมสุภาษิต  
11. แนวคิดของกวี
12. ลีลาการเดินกลอน

1.หลั่งไหล จะเห็นได้ว่า คำกลอนของท่านสุนทรภู่ จะมีลักษณะหลั่งไหลเหมือนสายน้ำไหล ไม่ติดขัด  ไม่สะดุด ไม่หยุดชะงัก ไม่ขาดสาย  ไม่มีลักษณะกลอนพาไป หรือพยายามพากลอนไปอย่างฝืนๆ เหมือนกวีที่ไม่ชำนาญ แต่ท่านจะแต่งตรงพุ่งไปสู่จุดมุ่งหมายให้เข้าใจความได้อย่างชัดเจน  เช่น

"แล้วสอนว่าอย่าไว้ใจมนุษย์       มันแสนสุดลึกล้ำเหลือกำหนด
ถึงเถาวัลย์พันเกี่ยวที่เลี้ยวลด       ก็ไม่คดเหมือนหนึ่งในน้ำใจคน"

2. ไว้สง่า ท่านจะแต่งกลอนอย่างโอ่อ่า ภูมิฐาน แบบครูกลอนครูกวี  ไม่ไหว้ครู ไม่มีการออกตัว ไม่เคยถ่อมตัว  มักขึ้นต้นคำกลอนอย่างโอ่โถง  เช่น

                                            “แต่ปางหลังครั้งว่างพระศาสนา

เป็นปฐมสมมุตินิยายมา               ด้วยปัญญายังประวิงทั้งหญิงชาย
ฉันชื่อภู่รู้เรื่องประจักษ์แจ้ง           จักสำแดงความประดิษฐ์คิดถวาย
ตามสติริเริ่มเรื่องนิยาย                ให้เพริศพรายพริ้งเพราะเสนาะกลอน”

3. ภาษาตลาด ภาษาในกลอนของท่านจะใช้ภาษาตลาด หรือภาษาที่ชาวบ้านใช้พูดกันอยู่  ไม่ใช่ภาษาสูงหรือภาษาราชการ  ทำให้ฟังเข้าใจง่าย  แต่มิใช่เป็นภาษาที่หยาบ  เช่น

“แม้นใครรักรักมั่งชังชังตอบ  ให้รอบคอบคิดอ่านนะหลานหนา
รู้สิ่งใดไม่สู้รู้วิชา                 รู้รักษาตัวรอดเป็นยอดดี”
  หรือ

“ยกกระบัตรคัดช้อนทุกเช้าเย็น  เมียที่เป็นท่านผู้หญิงนั่งปิ้งปลา”

คำว่า “คัดช้อน” หมายถึง “คัด” ที่แปลว่า คัดคันยอ ได้แก่การยกยอที่ดักกุ้งริมคลอง และ “ช้อน”คือ ใช้ตะแกรงช้อนกุ้ง คำว่า คัดช้อน จึงหมายถึง ยกยอช้อนกุ้ง ซึ่งเป็นภาษาชาวบ้าน และเมียที่เป็นท่านผู้หญิง ก็หมายถึง เมียหลวงยกกระบัตรเมืองแกลง ที่ยังไม่ใช่คุณหญิง และยังไม่ได้เป็นท่านผู้หญิง แต่ชาวบ้านชาวเมือง มักจะเรียกยกย่องเช่นนั้น ท่านจึงนำมาเรียกบ้างว่า “เมียที่เป็นท่านผู้หญิง”นั่งปิ้งปลา

4. สัมผัสพราว ลักษณะคำกลอนของท่าน จะมีทั้งสัมผัสนอก สัมผัสใน สัมผัสอักษร สัมผัสสระหรือสัมผัสเสียง สัมผัสซ้าย สัมผัสขวา แพรวพราวเต็มไปหมด บางครั้งท่านถือเสียงเป็นสำคัญ จนทำให้บางคนตำหนิว่า กลอนของท่านความอ่อนไปก็มี  เช่น

“อันความคิดวิทยาเหมือนอาวุธ    ประเสริฐสุดซ่อนใส่ไว้ในฝัก
สงวนคมสมนึกใครฮึกฮัก            จึงค่อยชักเชือดฟันให้บรรลัย”

5. กล่าวความหลัง  เนื่องจากท่านเป็นคนมีความรัก ความหลังฝังใจ ทำให้อดไม่ได้ที่จะกล่าวพาดพิง ถึงความรักความหลังของตนในการแต่งกลอนทุกเรื่อง แม้แต่สุภาษิตที่น่าจะมีแต่คำสอนล้วนๆ ท่านก็ยังอดแวะเวียนกล่าวถึงความหลังจนได้  เช่น

“อันหม่อมฉันที่ดีและที่ชั่ว            ถึงลับตัวแต่ชื่อเขาลือฉาว
เป็นอาลักษณ์นักเลงทำเพลงยาว   เขมรลาวลือเลื่องถึงเมืองละคร”

6. ฟังแจ่มแจ้ง คำกลอนของท่านจะแจ่มแจ้ง กระทัดรัด ชัดเจน ไม่พร่ามัว และพิถีพิถันในการเลือกใช้ถ้อยคำ  เพราะท่านเป็นกวีที่รุ่มรวยคำ จึงเลือกใช้คำได้อย่างเหมาะเจาะ เช่น

“ถึงคลองนามสามสิบสองคดคุ้ง   ชวากวุ้งเวียนซ้ายมาฝ่ายขวา
ให้หนูน้อยคอยนับในนาวา          แต่หนึ่งมาถ้วนสามสิบสองคด
อันคดอื่นหมื่นคดกำหนดแน่        เว้นเสียแต่ใจมนุษย์สุดกำหนด
ถึงเถาวัลย์พันเกี่ยวที่เลี้ยวลด       ก็ไม่คดเหมือนหนึ่งในน้ำใจคน”

7. แสดงอุปไมย  ซึ่งท่านจะถนัดมากในเชิงอุปไมยโวหาร  โดยกล่าวคำนี้ขึ้นเป็นหลักก่อนแล้วยกเอาสิ่งอื่นมาเปรียบเทียบ ทำให้คำกล่าวมีน้ำหนัก และมองเห็นภาพได้ชัดเจนหรือเห็นเป็นเหตุเป็นผล  มิใช่แบบอุปมาโวหาร อันหมายถึง ยกเอาสิ่งนี้ไปเปรียบเทียบกับสิ่งอื่น  ซึ่งการแต่งอุปไมยโวหารจะแต่งได้ยากกว่า แต่ท่านสุนทรภู่มักจะใช้  อันแสดงให้เห็นถึงภูมิรู้ของท่านที่มีอย่างกว้างขวาง  เช่น

“ประเพณีตีงูให้หลังหัก           มันก็มักทำร้ายเมื่อภายหลัง
จระเข้ใหญ่ไปถึงน้ำมีกำลัง      อันเสือขังเข้าถึงดงก็คงร้าย
อันแม่ทัพจับได้แล้วไม่ฆ่า       ต่อภายหน้าศึกจะใหญ่ขึ้นใจหาย
ต้องตำรับจับให้มั่นคั้นให้ตาย   จะทำภายหลังยากลำบากครัน”

8. ใช้คำตาย ท่านสุนทรภู่ จะถนัดใช้คำตายลงท้ายกลอน  และใช้ได้อย่างไม่ติดขัด  แสดงให้เห็นถึงความเป็นกวีที่ยอดเยี่ยม หาคนเทียบไม่ได้ เพราะแต่งยาก  ซึ่งกวีมักจะอวดฝีปากกันตรงการใช้คำตายนี่แหละ  เช่น

“ซึ่งครั้งนี้พี่พาเจ้ามาไว้                   หวังจะได้สนทนาวิสาสะ
ให้น้องหายคลายเคืองเรื่องธุระ         แล้วก็จะรักกันจนวันตาย”

9. ระบายอารมณ์  คำกลอนของสุนทรภู่จะอบอวลด้วยอารมณ์ศิลปิน ทำให้มีชีวิตชีวา เข้าถึงใจคน และกินใจ เพราะระบายอารมณ์อันแท้จริงออกมา ไม่เสแสร้งแกล้งว่า จนดูดัดจริต และช่างเปรยเปรย ซึ่งคำกลอนของท่านมักจะเป็นอารมณ์รัก อารมณ์หลง อารมณ์สงสาร อารมณ์น้อยใจในโชคชะตาของตนเอง เช่น

“นิจจาเอ๋ยกายเราก็เท่านี้                ไม่มีที่พสุธาจะอาศัย
ล้วนหนาวเหน็บเจ็บแสบคับแคบใจ    เหมือนนกไร้รังเร่อยู่เอกา”

10. คำคมสุภาษิต  กวีนิพนธ์ของสุนทรภู่ มักจะสอดแทรกสุภาษิตคำคมอยู่เสมอ  ทำให้ท่านได้ยกย่องว่าเป็นนักปราชญ์ เพราะคำสุภาษิตที่ยกมามักจะกินใจคน  เพราะท่านช่างสังเกตความเป็นจริงของชีวิต แล้วนำมาผูกเป็นถ้อยคำขึ้นอย่างกระทัดรัด สอดคล้องทั้งถ้อยคำสำนวน  และมีความไพเราะ  เช่น

“เขาย่อมเปรียบเทียบความเมื่อยามรัก   แต่น้ำผักต้มขมชมว่าหวาน
 ครั้นจืดจางห่างเหินไปเนิ่นนาน           แต่น้ำตาลก็ว่าเปรี้ยวไม่เหลียวแล”

11. แนวคิดของกวี แนวคิดของกวีมักเกิดจากประสบการณ์ชีวิต การศึกษาสังคม และชะตาชีวิตของกวีนั้นๆ ซึ่งท่านสุนทรภู่เองก็มีแนวคิดในเรื่องความไม่แน่นอน  ความไม่ซื่อตรงของมนุษย์  และวาจาของมนุษย์นั้นก่อให้เกิดคุณหรือโทษได้  เช่น

“ถึงบางพูดพูดดีเป็นศรีศักดิ์      มีคนรักรสถ้อยอร่อยจิต
แม้พูดชั่วตัวตายทำลายมิตร     จะชอบผิดในมนุษย์เพราะพูดจา”

12. ลีลาการเดินกลอน  โดยทั่วไปคำกลอนจะเป็นสิ่งที่บ่งบอกความรู้สึกนึกคิดของกวีที่เป็นความอหังการ  มมังการ (ความทะนงตน / ความถือว่าเป็นของตน)  ซึ่งกวีบางคนอาจจะรู้สึกว่าตนยังต่ำต้อย ไม่ค่อยเก่งกาจอะไรนัก  ยังไม่มั่นใจในตัวเอง จึงต้องมีการไหว้ครู หรือแต่งกลอนตามแบบครู เดินกลอนไปตามแบบแผน  มีการถ่อมตน ยึดเอาครูอาจารย์เป็นที่พึ่ง แต่ท่านสุนทรภู่นั้นมีความอหังการ มมังการในทางบทกลอน  จึงว่ากลอนอย่างโอ่โถง ไว้สง่า  ภาคภูมิ เชื่อมั่นในตนเองอย่างเต็มที่  แต่งกลอนฉาดฉาน เดินกลอนอย่างสง่า  เช่น

                                          “สุนทรทำคำประดิษฐ์นิมิตรฝัน
พึ่งพบเห็นเป็นวิบัติมหัศจรรย์       จึงจดวันเวลาด้วยอาวรณ์
แต่งไว้เหมือนเตือนใจจะให้คิด    ให้นิมิตรเมื่อภวังค์วิสังหรณ์
เดือนแปดจันทร์ทิวาเวลานอน     เจริญพรภาวนาตามบาลี”

จะเห็นว่า ไม่มีใครเดินกลอนอย่างสง่าเหมือนเช่นท่าน อีกทั้งมักจะแสดงความรู้ประกอบไว้อย่างผ่าเผย  ไม่อ้อมค้อม  เช่น

“ถึงสามโคกโศกถวิลถึงปิ่นเกล้า           พระพุทธเจ้าหลวงบำรุงซึ่งกรุงศรี
ประทานนามสามโคกเป็นเมืองตรี         ชื่อปทุมธานีเพราะมีบัว....”

ทั้งหมดนี้ คงจะทำให้เราได้เห็นความพิเศษ ที่ทำให้ท่านสุนทรภู่ ได้รับการกล่าวขานด้วยนามต่างๆ เช่น รัตนกวีแห่งกรุงรัตนโกสินทร์  กวีเอกของไทย และบรมครูกลอนตลาดแห่งกรุงสยาม เป็นต้น  อันล้วนเป็นการยกย่อง ในความสามารถของท่าน ซึ่งเป็นความน่าภาคภูมิใจของเราชาวไทยที่มีกวี ที่ไม่ด้อยไปกว่าชาติใดในโลก

 

ขอขอบคุณข้อมูลข่าว : อมรรัตน์ เทพกำปนาท กลุ่มประชาสัมพันธ์  สำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ กระทรวงวัฒนธรรม

โพสต์โดยสมาชิกหมายเลข 3183 วันที่ 25 มิ.ย. 2552

🖼สำหรับคุณครูไว้ใส่เกียรติบัตรสวยและถูก🖼 กรอบป้ายอะคริลิคตั้งโต๊ะ A4 แนวนอน 30x21.5 cm อะคริลิคใส 1 หน้า ทรง L (A4L1P) ในราคา ฿129 คลิกเลย👇👇

https://s.shopee.co.th/1qLFIZVf4t?share_channel_code=6


บทวิเคราะห์เจาะลึก....เหตุใดสุนทรภู่จินตกวีเอก....จึงเป็น "บรมครูกลอนแปด"บทวิเคราะห์เจาะลึก....เหตุใดสุนทรภู่จินตกวีเอก....จึงเป็นบรมครูกลอนแปด

Advertisement

≡ เรื่องอื่นๆ ที่น่าอ่าน ≡

เก็บมาฝากคำทับศัพท์

เก็บมาฝากคำทับศัพท์


เปิดอ่าน 7,164 ครั้ง
เผยแพร่ผลงานวิชาการ

เผยแพร่ผลงานวิชาการ


เปิดอ่าน 7,183 ครั้ง
ฟัน สวย .......ด้วย ไวน์

ฟัน สวย .......ด้วย ไวน์


เปิดอ่าน 7,167 ครั้ง
มาฝึกโยคะกันนะคะ..

มาฝึกโยคะกันนะคะ..


เปิดอ่าน 7,173 ครั้ง
ไข่มดแดง..อาหารชั้นสูง

ไข่มดแดง..อาหารชั้นสูง


เปิดอ่าน 7,284 ครั้ง
กระจกเงาของพ่อแม่

กระจกเงาของพ่อแม่


เปิดอ่าน 7,161 ครั้ง
ความดีที่คุณครูมี

ความดีที่คุณครูมี


เปิดอ่าน 7,167 ครั้ง
ง่าย...แต่ผิด

ง่าย...แต่ผิด


เปิดอ่าน 7,164 ครั้ง
น้ำผลไม้....สูตรชาววัง

น้ำผลไม้....สูตรชาววัง


เปิดอ่าน 7,164 ครั้ง

:: เรื่องปักหมุด ::

  เนื้อคู่จากเดือนเกิด

เนื้อคู่จากเดือนเกิด

เปิดอ่าน 7,169 ☕ คลิกอ่านเลย

Advertisement

≡ เรื่องน่าสนใจในหมวดหมู่นี้ ≡
ทายนิสัยคนให้ของขวัญ....
ทายนิสัยคนให้ของขวัญ....
เปิดอ่าน 7,173 ☕ คลิกอ่านเลย

การรักษาโรคตาแห้ง
การรักษาโรคตาแห้ง
เปิดอ่าน 7,168 ☕ คลิกอ่านเลย

คุณผู้หญิงครับ...โค้งสุดท้ายแล้วนะครับ..!
คุณผู้หญิงครับ...โค้งสุดท้ายแล้วนะครับ..!
เปิดอ่าน 7,170 ☕ คลิกอ่านเลย

เรื่องจริง***** ชีวิต...ของคนเราก็เท่านี้ *****
เรื่องจริง***** ชีวิต...ของคนเราก็เท่านี้ *****
เปิดอ่าน 7,175 ☕ คลิกอ่านเลย

เคล็ดลับ....ผอมสวยด้วย..ไขมัน (ฟังเพลงกินอะไรถึงสวย )
เคล็ดลับ....ผอมสวยด้วย..ไขมัน (ฟังเพลงกินอะไรถึงสวย )
เปิดอ่าน 7,158 ☕ คลิกอ่านเลย

"กาสรกสิวิทย์" โรงเรียนฝึกควาย
"กาสรกสิวิทย์" โรงเรียนฝึกควาย
เปิดอ่าน 7,177 ☕ คลิกอ่านเลย

≡ เรื่องน่าอ่าน/สาระน่ารู้ ≡

กระบี่ กระบอง
กระบี่ กระบอง
เปิดอ่าน 52,246 ครั้ง

รักต้องเปิด (แน่นอก ) เวอร์ชั่นนี้ ฮาระเบิดระเบ้อ!
รักต้องเปิด (แน่นอก ) เวอร์ชั่นนี้ ฮาระเบิดระเบ้อ!
เปิดอ่าน 12,060 ครั้ง

อยากฉลาดฟังดนตรีคลาสสิก
อยากฉลาดฟังดนตรีคลาสสิก
เปิดอ่าน 17,472 ครั้ง

โลกกำลังก้าวสู่อินเทอร์เน็ตที่ปลอดภัยกว่าเดิม
โลกกำลังก้าวสู่อินเทอร์เน็ตที่ปลอดภัยกว่าเดิม
เปิดอ่าน 8,469 ครั้ง

"แป้งพับ"ก๊อปปี้แบรนด์ดังสุดน่ากลัว
"แป้งพับ"ก๊อปปี้แบรนด์ดังสุดน่ากลัว
เปิดอ่าน 13,487 ครั้ง

เกมส์ รวมเกมส์สนุกๆ มากมาย
สนามเด็กเล่น

แหล่งรวมเกมส์ เกมส์ให้เล่นมากมาย ศูนย์รวมเกมส์สนุกๆ เกมส์ความรู้ เกมส์ลับสมอง เกมส์ประลองยุทธ แหล่งรวบรวมข้อมูล เกมส์ เกมส์ออนไลน์ เกมส์มันๆ เกมส์ตัดผม ไว้มากมายที่นี่ ให้เด็กๆได้เลือกเล่นมากมาย คลิกเลย

 
หมวดหมู่เนื้อหา
เนื้อหา แยกตามหมวดหมู่ สามารถเลืออ่านได้ตามหมวดหมู่ที่นี่


· Technology
· บทความเทคโนโลยีการศึกษา
· e-Learning
· Graphics & Multimedia
· OpenSource & Freeware
· ซอฟต์แวร์แนะนำ
· การถ่ายภาพ
· Hot Issue
· Research Library
· Questions in ETC
· แวดวงนักเทคโนฯ

· ความรู้ทั่วไป
· คณิตศาสตร์
· วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
· ภาษาต่างประเทศ
· ภาษาไทย
· สุขศึกษาและพลศึกษา
· สังคมศึกษา ศาสนาฯ
· ศิลปศึกษาและดนตรี
· การงานอาชีพ

· ข่าวการศึกษา
· ข่าวตามกระแสสังคม
· งาน/บริการสังคม
· คลิปวิดีโอยอดนิยม
· เกมส์
· เกมส์ฝึกสมอง

· ทฤษฎีทางการศึกษา
· บทความการศึกษา
· การวิจัยทางการศึกษา
· คุณครูควรรู้ไว้
· เตรียมประเมินวิทยฐานะ
· ผลงานวิชาการเล่มเต็ม
· เครื่องมือสำหรับครู

ครูบ้านนอกดอทคอม

เว็บไซต์เพื่อครู ข่าวการศึกษา ความรู้ การศึกษาไทย

      kroobannok.com

© 2000-2020 Kroobannok.com  
All rights reserved.


Design by : kroobannok.com


ครูบ้านนอกดอทคอม
การจัดอันดับของ Truehits Web Directory

วิธีนำแบนเนอร์ของครูบ้านนอก.คอมไปแปะในเว็บท่าน บันทึกภาพแบนเนอร์นี้และลิงค์มาที่เราครับ (มีแบนเนอร์ 2 แบบ)
 

ครูบ้านนอกดอทคอม เว็บไซต์ของครูตัวเล็กๆ คนหนึ่ง ที่หวังเพียง ใช้เป็นช่องทางในการสื่อสาร แลกเปลี่ยน เพิ่มพูนความรู้ และให้ข่าวสาร ที่ทันสมัยต่อเหตุการณ์แก่คุณครู ผู้ปฏิบัติงานในทุกพื้นที่ของประเทศไทย เพื่อความเจริญงอกงามในปัญญา และเจริญก้าวหน้าในวิชาชีพ

เว็บนี้ถือกำเนิดเมื่อ 5 มกราคม 2548

Email : kornkham@hotmail.com
Tel : 096-7158383

สนใจสนับสนุนเรา โดยลงโฆษณา
คลิกดูรายละเอียดที่นี่ครับ