Advertisement
|
เรามีโอกาสแพ้ยามาก-น้อยแค่ไหน?
ผู้ป่วยทั่วไปที่ไม่เคยมีประวัติการแพ้ยา แพทย์จะไม่สามารถคาดการณ์ได้เลยว่าผู้ป่วยจะเกิดการแพ้ยาหรือไม่ และจะเกิดขึ้นเมื่อใด ดังนั้นจึงคาดเดาได้ยากมาก ทุกคนมีโอกาสเสี่ยงที่จะเกิดการแพ้ยาได้ทุกชนิด แต่มีโอกาสพบน้อยและเกิดขึ้นไม่บ่อยนัก
|
เราเสี่ยงอาการแพ้ยาหรือไม่?
การแพ้ยา เป็นปฏิกิริยาที่ร่างกายตอบสนองต่อยา ซึ่งขึ้นอยู่กับปัจจัยเสี่ยงหลายประการ ได้แก่
1.ชนิดของยา เช่น กลุ่มยาที่พบเป็นสาเหตุให้เกิดการแพ้บ่อยคือ ยาปฏิชีวนะกลุ่มเพนนิซิลิน ยากลุ่มซัลฟา ยาฆ่าเชื้อ ยากันชัก ยาแก้ปวด ยาแก้อักเสบ เป็นต้น
2. ตัวผู้ป่วยเอง บางคนมีอาการแพ้ยารุนแรง บางคนมีอาการแพ้น้อย หรือบางคนไม่แพ้เลย นอกจากนี้ยังอาจเกี่ยวเนื่องกับโรคประจำตัวของผู้ป่วย หรืออายุที่มากขึ้น เป็นต้น
3.การได้รับยาขนาดสูงและเป็นเวลานาน ก็มีผลให้แพ้ยาได้ แต่พบได้ในบางกรณีเท่านั้น เพราะบางคนได้รับยาครั้งแรกก็มีอาการแพ้ได้ทันที
4. ลักษณะทางพันธุกรรม ปัจจุบันมีเทคโนโลยีที่สามารถช่วยพยากรณ์ได้ว่าผู้ป่วยรายใดมีโอกาสแพ้ยาชนิดไหนโดยการตรวจลักษณะทางพันธุกรรม แต่ใช้ได้กับผู้ป่วยเพียงบางกลุ่มและยาเพียงบางชนิดเท่านั้น และยังต้องใช้เวลาและมีค่าใช้จ่ายสูง
|
แพ้ยาจะแสดงอาการอย่างไร?
อาการแพ้ยาที่เกิดขึ้นมีได้ตั้งแต่ระดับเล็กน้อยจนอาจรุนแรงถึงขั้นเสียชีวิต และสามารถเกิดขึ้นได้เกือบทุกส่วนในร่างกาย คือ
1. ทางผิวหนัง เช่น ผื่นแดง ลมพิษ อาการบวมตามเปลือกตา ริมฝีปาก และมือ เท้าบวม เป็นต้น
2. ระบบทางเดินหายใจ เช่น หอบ หายใจติดขัด แน่นหน้าอก ไอขัดๆ
3. ระบบหัวใจและหลอดเลือด เช่น ความดันโลหิตต่ำ หัวใจเต้นเร็ว
4. ระบบทางเดินอาหาร เช่น คลื่นไส้ อาเจียน ท้องเสีย นอกจากนี้ยังมีอาการอื่นๆ เช่นอ่อนเพลีย ต่อมน้ำเหลืองโต บวมตามตัว เป็นต้น
|
|
|
ก่อนหน้านี้ น้องๆ คงเคยได้ยินข่าวการเสียชีวิตของ ดร.จารุจินต์ นภีตะภัฏ ผู้อำนวยการพิพิธภัณฑ์ธรรมชาติวิทยา องค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ เนื่องมาจากเข้ารับการผ่าตัดถุงใต้ตาในคลินิกแห่งหนึ่งย่านมักกะสัน และเกิดอาการแพ้ยาชาส่งผลให้เสียชีวิต ซึ่งจากเหตุการณ์ดังกล่าวแสดงให้เห็นว่า การฉีดจะทำให้เกิดการแพ้ได้เร็วมากกว่ายากินหรือยาทา อย่างไรก็ดี หากสงสัยว่ามีอาการแพ้ยาเกิดขึ้น แนะนำว่าให้หยุดยาและรีบไปพบแพทย์เพื่อวินิจฉัยอาการทันทีค่ะ
สุดท้ายนี้ สิ่งที่ทุกคนทำได้และควรทำในคือ พยายามสังเกตตนเองให้มากขึ้น หากภายหลังการรับประทานยา หรือฉีดยาแล้วพบอาการผิดปกติ หรือมีอาการแปลกๆ ที่ไม่พบก่อนหน้ารับประทานยา ให้รีบพบแพทย์เพื่อตรวจวินิจฉัยว่ามีอาการ
|
แพ้ยาหรือไม่ และ หากพบว่าตนเองแพ้ยาชนิดใด ให้จดชื่อยาชนิดนั้นติดตัวไว้เสมอ พร้อมกับแจ้งแพทย์ก่อนทำการรักษาทุกครั้ง เพื่อให้แพทย์ทราบชื่อยาที่แน่ชัด และช่วยป้องกันเราจากยาชนิดอื่นที่มีตัวยาเหมือนหรือใกล้เคียงกันด้วย
แพ้ยาเพนนิซิลิน เวลาที่ได้รับยาชนิดนี้จะมีอาการคันเป็นลมพิษขึ้นทั้งตัว ซึ่งดูเหมือนไม่รุนแรงอะไร แต่ถ้าแพ้มากๆ จนถึงขั้นหอบหายใจติดขัดละก็...ชีวิตก็คงไม่ปลอดภัยซะแล้ว
|
วันที่ 24 มิ.ย. 2552
หน้าหนาวแล้ว คุณครูสนใจไหม DoDo เก้าอี้แคมป์ปิ้ง รับน้ำหนักได้เยอะ พร้อมกระเป๋าจัดเก็บ โครงอลูมิเนียมรับน้ำหนักได้200KG ในราคา ฿189 - ฿509 ที่ Shopeehttps://s.shopee.co.th/9pNuttuIUm?share_channel_code=6
Advertisement
เปิดอ่าน 7,368 ครั้ง เปิดอ่าน 7,166 ครั้ง เปิดอ่าน 7,153 ครั้ง เปิดอ่าน 7,175 ครั้ง เปิดอ่าน 7,163 ครั้ง เปิดอ่าน 7,165 ครั้ง เปิดอ่าน 7,158 ครั้ง เปิดอ่าน 7,165 ครั้ง เปิดอ่าน 7,164 ครั้ง เปิดอ่าน 7,161 ครั้ง เปิดอ่าน 7,183 ครั้ง เปิดอ่าน 7,161 ครั้ง เปิดอ่าน 7,153 ครั้ง เปิดอ่าน 7,160 ครั้ง เปิดอ่าน 7,166 ครั้ง เปิดอ่าน 7,168 ครั้ง
|
เปิดอ่าน 7,166 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,157 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,160 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,156 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,161 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,162 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,165 ☕ คลิกอ่านเลย |
|
≡ เรื่องน่าอ่าน/สาระน่ารู้ ≡
เปิดอ่าน 14,008 ครั้ง |
เปิดอ่าน 193,450 ครั้ง |
เปิดอ่าน 27,346 ครั้ง |
เปิดอ่าน 17,821 ครั้ง |
เปิดอ่าน 18,293 ครั้ง |
|
|