Advertisement
เมื่อครั้งพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย โปรดเกล้าฯ ให้ชำระเสภาขุนช้างขุนแผน ได้ทรงประชุม กวีเอก สมัยนั้น ช่วยกันแต่งคนละตอนสองตอน สุนทรภู่ก็ได้รับมอบหมายให้ร่วมแต่งด้วย และท่านคงต้องแต่งอย่างสุดฝีมือ เพราะถือเป็นการประกวด ประขันฝีปากกันอย่างเต็มความสามารถ เรื่องขุนช้างขุนแผนนี้ ถือว่าเป็นเพชรเม็ดงาม เม็ดหนึ่งของวรรณกรรมไทย ด้วยอุดมไปด้วย คุณค่าทางวรรณศิลป์อย่างครบถ้วน ทั้งความประณีตบรรจงในการแต่ง กระบวนกลอนเล่นสัมผัสอย่างไพเราะและมีเนื้อความดีตลอดเรื่อง สอดแทรกแง่คิดเกี่ยวกับชีวิตและ สามารถสร้าง อารมณ ์สะเทือนใจแก่ผู้อ่านให้เห็นภาพและซาบซึ้งไปกับตัวละครได้อย่างดีเยี่ยม
กำเนิดพลายงาม
เมื่ออยู่กับขุนช้าง นางวันทองไม่เคยเป็นสุข จนท้องแก่ได้สิบเดือนก็คลอดบุตรเป็นชาย หน้าตาเหมือนขุนแผน และนางวันทองตั้งชื่อว่าพลายงาม ส่วนขุนช้างเห็นบุตรหน้าเหมือนขุนแผนก็ยิ่งแค้น แล้วก็ยิ่งโมโหที่นางวันทองนั้นเป็นคนสองใจ ทั้งยังตั้งชื่อลูกเหมือนขุนแผนซึ่งเป็นพ่อแท้ ๆ อีกด้วย จึงคิดจะฆ่าพลายงามเสีย
ขุนช้างพาพลายงามไปฆ่า
|
วันหนึ่งนางวันทองล้มป่วยลง ขุนช้างจึงแกล้งชวนพลายงามไปดูสัตว์ในป่า พอถึงที่เปลี่ยวก็จะฆ่า ได้ทำร้ายจนพลายงามสลบไป ผีพรายลูกน้องขุนแผนเข้าปกป้องไว้ ขุนช้างเข้าใจว่าตายแล้ว ทำเป็นชมป่า จนกระทั่งกลับมาถึงเรือน
ฝ่ายผีพรายช่วยกันพยาบาลจนหาย เมื่อพลายงามฟื้นขึ้น นางพรายก็บอกว่าพวกตนเป็นบ่าวของขุนแผน แล้วจะไปบอกนางวันทองให้มารับ
|
นางวันทองนั้น เกิดลางโดยเขม่นคิ้วตั้งแต่กลางวัน พอนอนหลับก็ฝันเห็นพลายงามถูกขุนช้างเอาขอนทับ ก็ตกใจตื่นเห็นแมงมุมอุ้มไข่ตีอก ก็ห่วงลูกลุกออกจากห้องหาลูกไม่พบ รู้ว่าตามขุนช้างไปเที่ยวป่า จึงได้ร้องไห้เดินตามหาไปถึงในป่า เห็นพลายงามยืนร้องไห้อยู่ พลายงามก็เล่าให้นางวันทองฟัง นางวันทองจึงบอกว่า พ่อของพลายงามชื่อขุนแผน เป็นศัตรูคู่แค้นกับขุนช้าง แต่ตอนนี้พ่อถูกขังคุกอยู่ หากลูกอยู่ที่นี่ต่อไปก็จะอันตราย ควรจะไปอยู่กับย่าทองประศรีที่กาญจนบุรี แต่ทางทุรกันดารคงจะลำบากมาก
นางวันทองพาพลายงามไปฝากวัด
ฝ่ายพลายงามนั้นเมื่อรู้ว่าขุนช้างไม่ใช่พ่อของตน ก็ลาแม่ไปอยู่กับย่าที่กาญจนบุรี นางวันทองกลัวขุนช้างจะตามมา จึงพาพลายงามไปฝากกับขรัวนาก สมภารวัดเขาพร้อมกับเล่าเรื่องราวต่าง ๆ ให้ฟัง สมภารก็รับปากว่าจะดูแลให้ จนถึงเช้านางวันทองก็ห่อผ้าใส่ผ้าผ่อน ขนม มาให้แล้วบอกทางไปบ้านย่าที่กาญจนบุรี พลายงามกราบลานางวันทอง แล้วบอกว่าตนจะไปหาพ่อให้พบ ส่วนแม่นั้นแม้ว่าตนจะไม่อยู่ด้วยก็รักเสมอ วันข้างหน้าจะกลับมาเยี่ยม
"แม่รักลูกลูกก็รู้อยู่ว่ารัก คนอื่นสักหมื่นแสนไม่แม้นเหมือน
จะกินนอนวอนว่าเมตตาเตือน จะจากเรือนร้างแม่ไปแต่ตัว"
พลายงามไปกาญจนบุรีพบนางทองประศรี
|
เมื่อพลายงามเดินทางไปจนถึงกาญจนบุรี ก็ไถ่ถามแม่เด็กชาวบ้านถึงบ้านของนางทองประศรี พวกเด็กก็บอกให้ ฝ่ายนางทองประศรีเมื่อพลายงามลงมากราบแล้วบอกว่า ตนเป็นหลาน มาจากบ้านนางวันทองเมืองสุพรรณบุรี แล้วถามว่ามาหาย่าชื่อนางทองประศรี นางทองประศรีดูหน้าก็รู้ว่าเป็นหลานจริงก็เข้ากอดพลายงาม แล้วพาไปอาบน้ำฝน ไพลทารอยถูกตีให้ พร้อมกับซักถามชื่อและเรื่องราวต่าง ๆ พลายงามเล่าเรื่องทั้งหมดให้ฟัง นางทองประศรีได้ฟังก็โกรธแล้วบอกว่า มาอยู่ที่นี่แล้วไม่ต้องกลัวอะไรอีก จากนั้นก็ให้ทำพิธีบายศรีสู่ขวัญพลายงาม |
นางทองประศรีทำขวัญพลายงาม
".....พลางเรียกหาข้าคนมาบนหอ |
|
ให้นั่งต่อต่อกันเป็นอันดับ |
บายศรีตั้งพรั่งพร้อมน้อมคำนับ |
|
เจริญรับมิ่งขวัญรำพันไป |
ขวัญพ่อพลายงามทรามสวาดิ |
|
มาชมภาชนะทองอันผ่องใส....." |
".....ขวัญมาหาย่าเถิดอย่าเพลิดเพลิน |
|
จงเจริญร้อยปีอย่ามีภัย |
แล้วจุดเทียนเวียนวงส่งให้บ่าว |
|
มันโห่กราวเกรียวลั่นสนั่นไหว |
คอยรับเทียนเวียนส่งเป็นวงไป |
|
แล้วดับไฟโบกควันให้ทันที |
มะพร้าวอ่อนป้อนเจ้าทั้งข้าวขวัญ |
|
กระแจะจันทน์เจิมหน้าเป็นราศี |
ให้สาวสาวลาวเวียงที่เสียงดี |
|
มาซอปี่อ้อซั้นทำขวัญนาย....." |
พลายงามถามนางทองประศรีถึงขุนแผนผู้เป็นพ่อว่า พ่อทุกข์ร้อนขนาดไหนอยากไปพบ แต่พ่อนั้นไม่รู้จักตนขอให้ย่าพาไป นางทองประศรีบอกว่าพรุ่งนี้จะพาไป รุ่งขึ้นนางทองประศรีก็ให้บ่าวผูกช้างสัปคับใหญ่ แล้วเอาข้าวของไปฝากขุนแผน เดินทางไปกับพลายงามสองวันครึ่งจึงถึงอยุธยา
พลายงามพบขุนแผน ฝ่ายขุนแผนตั้งแต่ติดคุก จึงนั่งสานกระทายขาย โดยให้นางแก้วกิริยาช่วยทารัก ขายใบละบาท เมื่อเห็นแม่มาก็พาเข้าไปในห้อง เห็นพลายงามก็ถามว่า ลูกใครหน้าตาน่าเอ็นดู นางทองประศรีเล่าเรื่องต่าง ๆ ให้ฟัง ขุนแผนสงสารลูกและแค้นขุนช้าง จึงบอกว่า ค่ำนี้จะไปฆ่าขุนช้าง นางทองประศรีพูดทัดทาน ตอนนี้มีเคราะห์ก็ควรจะเก็บเนื้อเก็บตัวให้ดี วันข้างหน้าคงจะหมดเคราะห์จนพ้นโทษได้
นางทองประศรีสอนวิชาพลายงาม ขุนแผนได้ฟังก็คิดได้ และขอให้นางทองประศรีช่วยสอนความรู้ให้ พลายงาม
" ลูกเห็นแต่แม่คุณค่อยอุ่นใจ |
|
ช่วยสอนให้พลายงามเรียนความรู้ |
อันตำรับตำราสารพัด |
|
ลูกเก็บจัดแจงไว้ที่ในตู้ |
ถ้าลืมหลงตรงไหนไขออกดู |
|
ทั้งของครูของพ่อต่อกันมา |
แล้วลูบหลังสั่งความพลายงามน้อย |
|
เจ้าจงค่อยร่ำเรียนเขียนคาถา |
รู้สิ่งไรก็ไม่สู้รู้วิชา |
|
ไปเบื้องหน้าเติบใหญ่จะให้คุณ" |
ต่อมาพลายงามก็เรียนรู้จากนางทองประศรี จนแตกฉานในเรื่องต่างๆแตกฉานจนอายุได้สิบสามขวบนางทองประศรี ก็ทำพิธีโกนจุกให้
"อันเรื่องราวกล่าวความพลายงามน้อย |
|
ค่อยเรียบร้อยเรียนรู้ครูทองประศรี |
ทั้งขอมไทยได้สิ้นก็ยินดี |
|
เรียนคัมภีร์พุทธเพทพระเวทมนต์ |
ปัถมังตั้งตัวนะปัดตลอด |
|
แล้วถอนถอดถูกต้องเป็นล่องหน |
หัวใจกริดอิทธิเจเสน่ห์กล |
|
แล้วเล่ามนต์เศกขมิ้นกินน้ำมัน |
เข้าในห้องลองวิชาประสาเด็ก |
|
แทงจนเหล็กแหลมลู่ยูขยั้น |
มหาทมื่นยืนยงคงกระพัน |
|
ทั้งเลขยันต์ลากเหมือนไม่เคลื่อนคลาย |
แล้วทำตัวหัวใจอิติปิโส |
|
เสดาะโซ่ตรวนได้ดังใจหมาย |
สะกดคนมนตร์จังงังกำบังกาย |
|
เมฆฉายสูรย์จันทร์ขยันดี |
ทั้งเรียนธรรมกรรมฐานนิพพานสูตร |
|
ร้องเรียกภูตพรายปราบกำหราบผี |
ผูกพยนต์หุ่นหญ้าเข้าราวี |
|
ทองประศรีสอนหลานชำนาญมา..." |
พลายงามโกนจุก
วันที่ทำพิธีโกนจุก สมภารวัดเขาชนไก่ ได้ทำนายพลายงามว่าจะมีวาสนาดีได้ขี่คานหาม ร่ำรวย แต่จะเป็นเจ้าชู้ เมื่ออายุได้สิบแปดปี จะได้เป็นหมื่นขุน ส่วนขุนแผนจะหมดเคราะห์ไม่พ้นปลายเดือนยี่ปีกุน แล้วก็จะมีสุขไม่มีทุกข์ร้อนอีก ฝ่ายพลายงามนั้น คืนหนึ่งเมื่อนอนอยู่กับย่า ก็บอกย่าว่าจะลาไปหาพ่อ แล้วจะไปเฝ้าสมเด็จพระพันวษา ทูลขอโทษให้พ่อด้วย นางทองประศรีดีใจรับปากว่าจะไปส่งให้ แล้วจะพาไปหาจมื่นศรี เพื่อพาไปถวายตัว
ฝากพลายงามกับจมื่นศรี เมื่อนางทองประศรีพาไปพบขุนแผน ขุนแผนรู้ว่าพลายงามอยากถวายตัว ก็สนับสนุน แล้วได้ซักถามความรู้ และให้พลายงามท่องให้ฟัง อีกทั้งได้สั่งสอนพลายงามอยู่จนค่ำ ก็แอบพาลูกไปพบจมื่นศรีที่บ้าน แล้วเล่าเรื่องราวให้ฟัง และขอให้จมื่นศรีพาไปถวายตัว จมื่นศรีบอกว่าจะเป็นธุระเรื่องถวายตัวให้ ฝ่ายจมื่นศรี เมื่อเห็นว่าพลายงามจะเข้าถวายตัว ก็สอนเรื่องเกี่ยวกับ พระกำหนด กฎหมาย ราชาศัพท์ และอื่นๆ ที่เกี่ยวกับการรับราชการ
"จะเป็นข้าจอมนรินทร์ปิ่นนคร |
|
อย่านั่งนอนเปล่าเปล่าไม่เข้าการ |
พระกำหนดกฎหมายมีหลายเล่ม |
|
เก็บไว้เต็มตู้ใหญ่ออกไขอ่าน |
กรมศักดิหลักชัยพระอัยการ |
|
มณเฑียรบาลพระบัญญัติตัดสำนวน |
แล้วให้รู้สุภาษิตบัณฑิตพระร่วง |
|
ตามกระทรวงผิดชอบคิดสอบสวน |
ราชาศัพท์รับสั่งให้บังควร |
|
รู้จงถ้วนถี่ไว้จึงได้การ..."
|
พลายงามถวายตัว เมื่อครั้งใดที่จมื่นศรีเข้าเฝ้า พลายงามก็จะตามไปด้วย จนเมื่อถึงวันดีจมื่นศรีก็จัดเตรียมธูปเทียนดอกไม้ เข้าไปทูลถวายตัวพลายงาม ตอนที่พระพันวษาออกขุนนาง
"ให้พลายงามตามไปนั่งตรงตั้งของ |
|
ตามทำนองพระหมื่นศรีสั่งถี่ถ้วน |
ฝ่ายข้าเฝ้าเจ้าพระยาเวลาจวน |
|
ต่างก็ชวนกันเข้ามาหน้าพระโรง |
นุ่งสมปักชักชายกรายกรีดเล็บ |
|
ผ้ากราบเหน็บแนบหน้าดูอ่าโถง |
พอเวลานาทีถ้วนสี่โมง |
|
เข้าพระโรงพร้อมหน้าข้าราชการ" |
จมื่นศรีกราบทูลว่า พลายงามเป็นบุตรของขุนแผน หลานนางทองประศรี มีความรู้ เรียบร้อย อยากจะขอรับใช้เบื้องพระยุคลบาท สมเด็จพระพันวษามองพลายงามด้วยความสงสาร แต่อาจเป็นเพราะกรรมของขุนแผนยังมีอยู่ ทำให้พระองค์ไม่ได้บอกยกโทษให้ เมื่อพลายงามเป็นมหาดเล็กแล้ว ก็ยังคงอยู่กับจหมื่นศรี ขุนนางผู้ใหญ่ต่าง ๆ ก็เอ็นดู
วันที่ 24 มิ.ย. 2552
Advertisement
เปิดอ่าน 7,298 ครั้ง เปิดอ่าน 7,141 ครั้ง เปิดอ่าน 7,134 ครั้ง เปิดอ่าน 7,141 ครั้ง เปิดอ่าน 7,134 ครั้ง เปิดอ่าน 7,149 ครั้ง เปิดอ่าน 7,141 ครั้ง เปิดอ่าน 7,145 ครั้ง เปิดอ่าน 7,136 ครั้ง เปิดอ่าน 7,175 ครั้ง เปิดอ่าน 7,141 ครั้ง เปิดอ่าน 7,143 ครั้ง เปิดอ่าน 7,190 ครั้ง เปิดอ่าน 7,148 ครั้ง เปิดอ่าน 7,139 ครั้ง เปิดอ่าน 7,137 ครั้ง
|
เปิดอ่าน 7,139 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,142 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,138 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,141 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,141 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,140 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,151 ☕ คลิกอ่านเลย |
|
≡ เรื่องน่าอ่าน/สาระน่ารู้ ≡
เปิดอ่าน 23,221 ครั้ง |
เปิดอ่าน 758 ครั้ง |
เปิดอ่าน 8,210 ครั้ง |
เปิดอ่าน 11,260 ครั้ง |
เปิดอ่าน 37,197 ครั้ง |
|
|