ค้นหาทุกอย่างในเว็บครูบ้านนอก :
ชุมชนครู บุคลากรทางการศึกษา และนักเรียน แหล่งความรู้สำหรับครู นักเรียน ข่าวการศึกษา ห้องสมุดความรู้ทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้ และความรู้ทั่วไป เผยแพร่ผลงานวิชาการ ที่นี่


ข่าวการศึกษา     ความรู้ทั่วไป     งานราชการ/รัฐวิสาหกิจ/บริการสังคมเรื่องราวจากสมาชิก  ▶ ข่าว/บทความ ▶ หน้าแรก

ถอดรหัสธรรม .....จากวรรณกรรม ?สุนทรภู่?


เรื่องราวจากสมาชิก เปิดอ่าน : 7,173 ครั้ง
Advertisement

ถอดรหัสธรรม .....จากวรรณกรรม ?สุนทรภู่?

Advertisement

❝ ถอดรหัสธรรม .....จากวรรณกรรม ?สุนทรภู่? ❞
เรื่องโลกียะ



 



เรื่องโลกียะ


พระพุทธองค์ตรัสไว้ในเอกนิบาต อังคุตรนิกายว่า “ไม่มีรูป รส กลิ่น เสียง และสัมผัสใด จะสามารถครอบงำจิตใจของผู้ชายได้มั่นคงเท่า รูป เสียง กลิ่น รส และสัมผัสของผู้หญิง” และ “ไม่มีรูป รส กลิ่น เสียง และสัมผัสใด จะสามารถครอบงำจิตใจของผู้หญิงได้มั่นคงเท่า รูป เสียง กลิ่น รส และสัมผัสของผู้ชาย”

แสดงว่า หญิงและชายนั้นย่อมถวิลโหยหากันเป็นธรรมชาติธรรมดา ในสัจธรรมข้อนี้ ท่านสุนทรภู่ ได้กล่าวว่า
“ในเพลงปี่ว่าสามพี่พราหมณ์เอ๋ย
ยังไม่เคยชมชิดพิสมัย
ถึงร้อยรสบุปผาสุมาไลย
จะชื่นใจเหมือนสตรีไม่มีเลย”
พระอภัยมณี


การที่ท่านสุนทรภู่กล่าวถึงความรักระหว่างชายกับหญิงนั้น ท่านมิได้มีจิตโน้มเอียงไปในด้านกามารมณ์ แต่แสดงให้เห็นว่าท่านมีความรู้ความเข้าใจในหลักธรรมคำสอนในพระพุทธศาสนาอย่างกว้างขวางลึกซึ้ง แล้วนำมากล่าวไว้เพียงสองสามบรรทัด อันเป็นข้อ ความที่กินใจ และเป็นสัจธรรม

อย่างไรก็ตาม ท่านสุนทรภู่ก็ยังชี้ให้เห็นตามหลักธรรมว่ารูป รส กลิ่น เสียง สัมผัสนั้น ไม่เป็นแก่นสารอันใดที่ควรเข้าไปติดยึดลุ่มหลง
“แล้วทรงเดชเทศนาภาษาไทย
ด้วยความนัยโลกีย์สี่ประการ
คือรูปลักษณ์กลิ่นเสียงเคียงสัมผัส
ที่คฤหัสถ์หวงแหนไม่แก่นสาร
ครั้นระงับดับขันธสันดาน
ย่อมสาธารณ์เปื่อยเน่าเสียเปล่าดาย
อย่าลุ่มหลงจงอุตส่าห์รักษาศีล
ให้เพิ่มภิญโญไปดังใจหมาย”
พระอภัยมณี

• ศีล ๕





พระพุทธองค์ตรัสไว้ในเอกนิบาต อังคุตรนิกายว่า “ไม่มีรูป รส กลิ่น เสียง และสัมผัสใด จะสามารถครอบงำจิตใจของผู้ชายได้มั่นคงเท่า รูป เสียง กลิ่น รส และสัมผัสของผู้หญิง” และ “ไม่มีรูป รส กลิ่น เสียง และสัมผัสใด จะสามารถครอบงำจิตใจของผู้หญิงได้มั่นคงเท่า รูป เสียง กลิ่น รส และสัมผัสของผู้ชาย”

แสดงว่า หญิงและชายนั้นย่อมถวิลโหยหากันเป็นธรรมชาติธรรมดา ในสัจธรรมข้อนี้ ท่านสุนทรภู่ ได้กล่าวว่า
“ในเพลงปี่ว่าสามพี่พราหมณ์เอ๋ย
ยังไม่เคยชมชิดพิสมัย
ถึงร้อยรสบุปผาสุมาไลย
จะชื่นใจเหมือนสตรีไม่มีเลย”
พระอภัยมณี


การที่ท่านสุนทรภู่กล่าวถึงความรักระหว่างชายกับหญิงนั้น ท่านมิได้มีจิตโน้มเอียงไปในด้านกามารมณ์ แต่แสดงให้เห็นว่าท่านมีความรู้ความเข้าใจในหลักธรรมคำสอนในพระพุทธศาสนาอย่างกว้างขวางลึกซึ้ง แล้วนำมากล่าวไว้เพียงสองสามบรรทัด อันเป็นข้อ ความที่กินใจ และเป็นสัจธรรม

อย่างไรก็ตาม ท่านสุนทรภู่ก็ยังชี้ให้เห็นตามหลักธรรมว่ารูป รส กลิ่น เสียง สัมผัสนั้น ไม่เป็นแก่นสารอันใดที่ควรเข้าไปติดยึดลุ่มหลง
“แล้วทรงเดชเทศนาภาษาไทย
ด้วยความนัยโลกีย์สี่ประการ
คือรูปลักษณ์กลิ่นเสียงเคียงสัมผัส
ที่คฤหัสถ์หวงแหนไม่แก่นสาร
ครั้นระงับดับขันธสันดาน
ย่อมสาธารณ์เปื่อยเน่าเสียเปล่าดาย
อย่าลุ่มหลงจงอุตส่าห์รักษาศีล
ให้เพิ่มภิญโญไปดังใจหมาย”
พระอภัยมณี


• ศีล ๕


หนึ่งในศีล ๕ คือละเว้นจากการดื่มสุรา ซึ่งในพระพุทธศาสนากล่าวถึงโทษของการดื่มสุราไว้ดังนี้ ๑.เสียทรัพย์ ๒.ก่อการวิวาท ๓.เกิดโรค ๔.ถูกติเตียน ๕.ไม่รู้จักอาย คือ ประพฤติกิริยาน่าอดสู ๖.ลดทอนกำลังปัญญา

โทษ ๖ สถานนี้ ไม่มีข้อไหนจะคัดค้านได้เลยว่าไม่เป็นความจริง และในปัจจุบัน ก็มี การรณรงค์ไม่ดื่มน้ำเมากันมากขึ้น

ในคัมภีร์พระมาลัย ได้กล่าวความไว้ว่า ผู้ดื่มน้ำเมาตายไปจะตกนรก ต้องไปกินน้ำทองแดงที่ร้อนสุดแสนทรมาน

ท่านสุนทรภู่ จึงกล่าวถึงการดื่มเหล้าที่สอดคล้องกับความในพุทธศาสนาว่า
“ถึงโรงเหล้าเตากลั่นควันโขมง
มีคันโพงผูกสายไว้ปลายเสา
โอ้บาปกรรมน้ำนรกเจียวอกเรา ถอดรหัสธรรม .....จากวรรณกรรม ‘สุนทรภู่’
ให้มัวเมาเหมือนหนึ่งบ้าเป็นน่าอาย”
นิราศภูเขาทอง


นอกจากนี้ท่านสุนทรภู่ ยังได้ให้ข้อคิดเพิ่มเติมไว้ว่า คนเราไม่ได้เมาเหล้าอย่างเดียว แต่เมารักนั้นหนักกว่าเมาเหล้าเป็นไหนๆ แต่ที่หนักไปกว่านั้น ก็คือเมาใจของตนเอง
“ไม่เมาเหล้าแล้วแต่เรายังเมารัก
สุดจะหักห้ามจิตคิดไฉน
ถึงเมาเหล้าเช้าสายก็หายไป
แต่เมาใจนี้ประจำทุกค่ำคืน”
นิราศภูเขาทอง


ใจที่เมานั้น คือ เมาในอำนาจวาสนา เมาในความรู้ความสามารถที่มีอยู่ เป็นเหตุให้ฮึก เหิมใจ สำคัญว่าใหญ่กว่าคนอื่น เมาในวัย ในความไม่มีโรค ฯลฯ นี่ต่างหากที่มีผลมากกว่า เมาเหล้า คนที่ขึ้นสู่อำนาจสูงสุดแล้วกลับตกต่ำลง ก็เพราะเมาใจนี่แหละเป็นตัวการสำคัญ

ส่วนเรื่องการผิดศีลข้อ ๓ ละเว้นจากการประพฤติผิดในกาม ท่านสุนทรภู่ กล่าวไว้ว่า

อันกาเมสุมิจฉานี่สาหัส
จะฝากวัดไว้กะพระสละถวาย
อันคู่เขาเราหนอไม่ขอกราย
แต่แม่หม้ายจำจะคิดสิทธิ์แก่ตัว”
นิราศเมืองเพชร

“งิ้วนรกสิบหกองคุลีแหลม
ดังขวากแซมเสี้ยมแทรกแตกไสว
ใครทำชู้คู่ท่านครั้นบรรลัย
ต้องไปปีนต้นน่าขนพอง”
นิราศภูเขาทอง



และในศีลข้อ ๑ ละเว้นจากการฆ่าสัตว์ตัดชีวิต ก็ได้สอนว่า

อย่าฆ่าสัตว์ตัดชีวิตคิดอุบาย
จะจำตายตกนรกอเวจี”
พระอภัยมณี


• ความเชื่อ


ในหลักธรรมคำสอนเรื่องศรัทธา คือ ความเชื่อ ต้องเชื่ออย่างมีเหตุผล อย่าเชื่ออย่างงมงาย ในทุกที่ที่กล่าวถึงศรัทธา ความเชื่อ จะต้องมีธรรมะ คือ ปัญญาเป็นตัวกำกับอยู่เสมอ นอกจากนั้นแล้วยังสอนไม่ให้เชื่อตามหลักกาลามสูตรที่พระพุทธองค์ตรัสไว้ ๑๐ ประการ

ท่านสุนทรภู่ก็ได้กล่าวถึงความเชื่อ หรือการไว้วางใจว่าไม่ควรกระทำอย่างยิ่ง ดังคำกล่าว ที่ว่า
แล้วสอนว่าอย่าไว้ใจมนุษย์
มันแสนสุดลึกล้ำเหนือกำหนด
ถึงเถาวัลย์พันเกี่ยวที่เลี้ยวลด
ก็ไม่คดเหมือนหนึ่งในน้ำใจคน
มนุษย์นี้มีที่รักอยู่สองสถาน
บิดามารดารักมักเป็นผล
ที่พึ่งหนึ่งพึ่งได้แต่กายตน
เกิดเป็นคนคิดเห็นจึงเจรจา
แม้นใครรักรักมั่งชังชังตอบ
ให้รอบคอบคิดอ่านนะหลานหนา
รู้สิ่งใดไม่สู้รู้วิชา
รู้รักษาตัวรอดเป็นยอดดี”
พระอภัยมณี


นอกจากจะสอนไม่ให้ไว้วางใจใครแล้ว ยังสอนให้รักมารดาบิดา และหลักการพึ่งตนเอง ตามหลักธรรมในพุทธภาษิตที่ว่า ‘อตฺตา หิ อตฺตโน นาโถ’ คือ ตนเท่านั้น เป็นที่พึ่งของตน ผู้จะบรรลุธรรม หรือความสำเร็จนั้นต้องพึ่งตนเองเป็นสำคัญ ไม่มีใครช่วยใครได้ แม้จะมีคนช่วย ตนเองก็ต้องช่วยตน พึ่งตนเองให้ได้ก่อน

ส่วนข้อที่พูดและวิจารณ์กันมากก็คือ คำว่า “รู้รักษาตัวรอด เป็นยอดดี” หลายคนออก มาบอกว่า เป็นการสอนที่ทำให้คนคิดเอาตัวรอด ไม่คำนึงถึงคนอื่น หรือการอยู่ร่วมกันของ คนในสังคม

แต่ ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ปราโมช กล่าวว่า คนที่ตำหนิสุนทรภู่ ว่าสอนให้คนเอาตัวรอดนั้น ทุกคนก็ล้วนปฏิบัติตามสุนทรภู่ คือ เป็นนักเอาตัวรอดกันทุกคน

ส่วนพลตรีหลวงวิจิตรวาทการ ท่านกล่าวว่า “รู้รักษาตัวรอด เป็นยอดดี” คือหมาย ความว่า ทางปฏิบัติที่จะทำให้เรามีความสุข คือ ทำแต่พอดี พอเอาตัวรอด ไม่ทำอะไรให้ เด่นขึ้นมา สุนทรภู่ตกระกำลำบาก ก็เพราะความเด่นของตน

ในพระพุทธศาสนา พระพุทธเจ้าตรัสว่า มนุษย์ทุกคนล้วนรักตัวเองมากกว่าคนอื่น คนที่บอกว่ารักคนอื่นนั้นไม่จริง ถ้าอยากรู้ว่ามนุษย์จะรักตนกว่าคนอื่นหรือไม่ ก็ให้คนเหล่านั้นนั่งใกล้ๆ กับคนที่ตนรัก มีมารดาบิดาบุตรภรรยา เป็นต้น แล้วคีบถ่านไฟที่สุกแดงวางไปบนศีรษะของคนเหล่านั้น คนพวกนั้นทั้งหมดจะปัดถ่านไฟลงจากศีรษะของตนก่อน แล้วจึงจะไปปัดถ่านไฟให้คนอื่น ก็คือมนุษย์ทุกคนเป็นนักเอาตัวรอด แต่พุทธศาสนาไม่ได้หยุดคำสอนไว้เพียงนั้น แต่สอนเลยไปอีกว่า เมื่อรู้ว่าตนเองเป็นที่รักแห่งตน ตนรู้สึกเกลียดทุกข์ รักสุข ฉันใด คนอื่น สัตว์อื่น ก็เกลียดทุกข์ รักสุข ฉันนั้น มนุษย์จึงไม่ควรเบียดเบียนคนอื่น เพราะมีตนเป็นเครื่องอุปมา ก็ทำให้คนสนใจเลิกละการเบียดเบียนคนอื่น สัตว์อื่น มากกว่าการไปสอนตรงให้คนเลิกเบียดเบียนกัน ใครจะสนใจ เพราะเป็นเรื่องธรรมดาๆ ที่ใครก็พูดได้สอนได้

หลักธรรมเพื่อประโยชน์ในปัจจุบัน

พุทธศาสนากล่าวถึงประโยชน์ในปัจจุบัน ๔ อย่าง คือ

๑.อุฏฐานสัมปทา ถึงพร้อมด้วยหมั่น ในการประกอบการเลี้ยงชีพในการศึกษาเล่าเรียน และการทำหน้าที่การงานของตน

๒.อารักขสัมปทา ถึงพร้อมด้วยการรักษาทรัพย์ที่หามาได้ด้วยความหมั่น ไม่ให้เป็นอันตราย รักษาการงานของตนไม่ให้เสื่อมเสีย

๓.กัลยาณมิตตตา ความมีเพื่อนเป็นคนดี

๔.สมชีวิตา เลี้ยงชีวิตตามกำลังทรัพย์ที่หามาได้ ไม่ให้ฝืดเคืองนัก ไม่ฟุ่มเฟือยนัก

นอกจากนี้ ยังได้กล่าวถึงหน้าที่ที่ภรรยาพึงปฏิบัติต่อสามี คือ จัดการงานดี สงเคราะห์คนข้างเคียง สามีดี ไม่ประพฤตินอกใจสามี รักษาทรัพย์ที่สามีหามาได้ไว้ และขยันไม่เกียจ คร้านในกิจการทั้งปวง

ในเรื่องดังกล่าวมานี้ ท่านสุนทรภูก็ได้นำมากล่าวไว้ในวรรณกรรมของท่านว่า
มีสลึงพึงบรรจบให้ครบบาท
อย่าให้ขาดสิ่งของต้องประสงค์
มีน้อยใช้น้อยค่อยบรรจง
อย่าจ่ายลงให้มากจะยากนาน
ไม่ควรซื้อก็อย่าไปพิไรซื้อ
ให้เป็นมื้อเป็นคราวทั้งคาวหวาน”
สุภาษิตสอนหญิง


คำที่กล่าวมานี้ ท่านสุนทรภู่ ประสงค์ให้ทุกคนรู้จักออมทรัพย์ ค่อยสะสมทรัพย์ทีละน้อย มิได้ประสงค์ให้ใครไม่ใช้สอยทรัพย์ จนกลายเป็นคนตระหนี่ถี่เหนียว จนกลายเป็น คนมีน้ำใจคับแคบ แต่ให้รู้จักจ่ายทรัพย์ในฐานะที่ควร คือ อะไรที่มีความจำเป็นต้องใช้ สอยในครัวเรือน ขาดตกบกพร่องต้องซื้อหามาให้ครบถ้วน เช่น จะแกงเผ็ดก็ต้องมีพริก หอม กระเทียม เป็นต้น จึงจะแกงได้ ถ้าไม่มีส่วนที่ว่านี้ ก็ถือว่าขาดสิ่งของต้องประสงค์ ส่วนอื่นที่มีอยู่แล้วและมีพอความจำเป็น ก็ไม่ต้องซื้อหามาให้สิ้นเปลืองเงิน ก็นับว่าเป็นคำสอนที่ดีมากไม่เฉพาะในยุคของท่านเท่านั้น แม้ในยุคปัจจุบัน ก็ต้องมีการออมทรัพย์กันอย่างจริงจัง จึงจะมีชีวิตอยู่รอดอย่างผาสุก และพอเพียง

• พระนิพพาน

สุดท้ายนี้ จะขอนำคำเทศนาของพระอภัยมณี เกี่ยวกับพระนิพพาน มากล่าวไว้เป็นปัจฉิมวจนะว่า
ทรงแก้ไขในข้อพระปรมัตถ์
วิสัยสัตว์สิ้นภพล้วนศพมี
ย่อมสะสมถมจังหวัดปัถพี
ไพร่ผู้ดีที่เป็นคนไม่พ้นตาย
พระนิพพานเป็นสุขสิ้นทุกข์ร้อน
เปรียบเหมือนนอนหลับไม่ฝันท่านทั้งหลาย
สิ้นถวิลสิ้นทุกข์สุขสบาย
มีร่างกายอยู่ก็เหมือนเรือนโรคา
ทั้งแก่เฒ่าสาวหนุ่มย่อมลุ่มหลง
ด้วยรูปทรงลมเล่ห์เสน่หา
เป็นผัวเมียเคลียคลอครั้นมรณา
ก็กลับว่าผีสางเหินห่างกัน
จงหวังพระปรมาศิวาโมกข์
เป็นสิ้นโศกสิ้นสุดมนุษย์สวรรค์
เสวยสุขทุกเวลาทิวาวัน
เหลือจะนับกัปกัลป์พุทธันดร”
(จากหนังสือพิมพ์ธรรมลีลา โดย มหานาลันทา)

 
ฯ ๗๑ Credit    Palangjit.com

โพสต์โดยสมาชิกหมายเลข 1756 วันที่ 22 มิ.ย. 2552

หน้าหนาวแล้ว คุณครูสนใจไหม DoDo เก้าอี้แคมป์ปิ้ง รับน้ำหนักได้เยอะ พร้อมกระเป๋าจัดเก็บ โครงอลูมิเนียมรับน้ำหนักได้200KG ในราคา ฿189 - ฿509 ที่ Shopee

https://s.shopee.co.th/9pNuttuIUm?share_channel_code=6


ถอดรหัสธรรม .....จากวรรณกรรม ?สุนทรภู่?ถอดรหัสธรรม.....จากวรรณกรรม?สุนทรภู่?

Advertisement

≡ เรื่องอื่นๆ ที่น่าอ่าน ≡

บลูเบอรี่

บลูเบอรี่


เปิดอ่าน 7,159 ครั้ง
 หัวใจมักง่าย

หัวใจมักง่าย


เปิดอ่าน 7,151 ครั้ง
เข็มนาฬิกากับหน้าที่ ...>>>

เข็มนาฬิกากับหน้าที่ ...>>>


เปิดอ่าน 7,154 ครั้ง
พิธีบวชชี-บวชชีพราหมณ์

พิธีบวชชี-บวชชีพราหมณ์


เปิดอ่าน 8,352 ครั้ง
เพื่อนแท้(หรือแค่มันโง่)

เพื่อนแท้(หรือแค่มันโง่)


เปิดอ่าน 7,171 ครั้ง

:: เรื่องปักหมุด ::

ความรัก  การแต่งงาน

ความรัก การแต่งงาน

เปิดอ่าน 7,161 ☕ คลิกอ่านเลย

Advertisement

≡ เรื่องน่าสนใจในหมวดหมู่นี้ ≡
พิชยาดา   ใจภักดี : การพัฒนาการอ่านคำควบกล้ำ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย
พิชยาดา ใจภักดี : การพัฒนาการอ่านคำควบกล้ำ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย
เปิดอ่าน 7,177 ☕ คลิกอ่านเลย

อะไรเอ่ย?...แปลกดีแฮะ
อะไรเอ่ย?...แปลกดีแฮะ
เปิดอ่าน 7,165 ☕ คลิกอ่านเลย

สาวแรกแย้ม// พิชิตมงกุฏมิสโคลอมเบีย 2009//
สาวแรกแย้ม// พิชิตมงกุฏมิสโคลอมเบีย 2009//
เปิดอ่าน 7,163 ☕ คลิกอ่านเลย

คำคน....คำคม,,,,
คำคน....คำคม,,,,
เปิดอ่าน 7,168 ☕ คลิกอ่านเลย

 แฟ้มวิปลาส
แฟ้มวิปลาส
เปิดอ่าน 7,158 ☕ คลิกอ่านเลย

การศึกษาภาวะผู้นำตามแนวตาข่ายการจัดการ (The Managerial Grid)
การศึกษาภาวะผู้นำตามแนวตาข่ายการจัดการ (The Managerial Grid)
เปิดอ่าน 7,184 ☕ คลิกอ่านเลย

≡ เรื่องน่าอ่าน/สาระน่ารู้ ≡

คลิปรวมยอดฮิต 2013 ของ YouTube
คลิปรวมยอดฮิต 2013 ของ YouTube
เปิดอ่าน 9,808 ครั้ง

กาแฟลดอ้วน ผอมชัวร์หรือมั่วนิ่ม
กาแฟลดอ้วน ผอมชัวร์หรือมั่วนิ่ม
เปิดอ่าน 12,320 ครั้ง

jobsDB แนะ 7 แนวทางการรักษาคนเก่ง ดึงดูดคนที่ใช่ ให้อยู่ในองค์กร
jobsDB แนะ 7 แนวทางการรักษาคนเก่ง ดึงดูดคนที่ใช่ ให้อยู่ในองค์กร
เปิดอ่าน 50,947 ครั้ง

การถ่ายภาพอาหารด้วยสมาร์ทโฟนช่วยลดน้ำหนักได้
การถ่ายภาพอาหารด้วยสมาร์ทโฟนช่วยลดน้ำหนักได้
เปิดอ่าน 12,385 ครั้ง

ศ.ดร.ชัยยงค์ พรหมวงศ์
ศ.ดร.ชัยยงค์ พรหมวงศ์
เปิดอ่าน 49,517 ครั้ง

เกมส์ รวมเกมส์สนุกๆ มากมาย
สนามเด็กเล่น

แหล่งรวมเกมส์ เกมส์ให้เล่นมากมาย ศูนย์รวมเกมส์สนุกๆ เกมส์ความรู้ เกมส์ลับสมอง เกมส์ประลองยุทธ แหล่งรวบรวมข้อมูล เกมส์ เกมส์ออนไลน์ เกมส์มันๆ เกมส์ตัดผม ไว้มากมายที่นี่ ให้เด็กๆได้เลือกเล่นมากมาย คลิกเลย

 
หมวดหมู่เนื้อหา
เนื้อหา แยกตามหมวดหมู่ สามารถเลืออ่านได้ตามหมวดหมู่ที่นี่


· Technology
· บทความเทคโนโลยีการศึกษา
· e-Learning
· Graphics & Multimedia
· OpenSource & Freeware
· ซอฟต์แวร์แนะนำ
· การถ่ายภาพ
· Hot Issue
· Research Library
· Questions in ETC
· แวดวงนักเทคโนฯ

· ความรู้ทั่วไป
· คณิตศาสตร์
· วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
· ภาษาต่างประเทศ
· ภาษาไทย
· สุขศึกษาและพลศึกษา
· สังคมศึกษา ศาสนาฯ
· ศิลปศึกษาและดนตรี
· การงานอาชีพ

· ข่าวการศึกษา
· ข่าวตามกระแสสังคม
· งาน/บริการสังคม
· คลิปวิดีโอยอดนิยม
· เกมส์
· เกมส์ฝึกสมอง

· ทฤษฎีทางการศึกษา
· บทความการศึกษา
· การวิจัยทางการศึกษา
· คุณครูควรรู้ไว้
· เตรียมประเมินวิทยฐานะ
· ผลงานวิชาการเล่มเต็ม
· เครื่องมือสำหรับครู

ครูบ้านนอกดอทคอม

เว็บไซต์เพื่อครู ข่าวการศึกษา ความรู้ การศึกษาไทย

      kroobannok.com

© 2000-2020 Kroobannok.com  
All rights reserved.


Design by : kroobannok.com


ครูบ้านนอกดอทคอม
การจัดอันดับของ Truehits Web Directory

วิธีนำแบนเนอร์ของครูบ้านนอก.คอมไปแปะในเว็บท่าน บันทึกภาพแบนเนอร์นี้และลิงค์มาที่เราครับ (มีแบนเนอร์ 2 แบบ)
 

ครูบ้านนอกดอทคอม เว็บไซต์ของครูตัวเล็กๆ คนหนึ่ง ที่หวังเพียง ใช้เป็นช่องทางในการสื่อสาร แลกเปลี่ยน เพิ่มพูนความรู้ และให้ข่าวสาร ที่ทันสมัยต่อเหตุการณ์แก่คุณครู ผู้ปฏิบัติงานในทุกพื้นที่ของประเทศไทย เพื่อความเจริญงอกงามในปัญญา และเจริญก้าวหน้าในวิชาชีพ

เว็บนี้ถือกำเนิดเมื่อ 5 มกราคม 2548

Email : kornkham@hotmail.com
Tel : 096-7158383

สนใจสนับสนุนเรา โดยลงโฆษณา
คลิกดูรายละเอียดที่นี่ครับ