คำครุ คำลหุ และคำเอก คำโท เป็นเกณฑ์ใช้บังคับในการแต่งฉันท์ต่าง ๆ
คือพยางค์ที่มีเสียงหนัก ได้แก่ พยางค์ที่ประกอบด้วย สระเสียงยาว (ทีฆสระ) และ สระเกินทั้ง ๔ คือ สระ อำ ใอ ไอ เอา และพยางค์ที่มีตัวสะกดทั้งสิ้น เช่นตา ดำ หัด เรียน ฯลฯ
ครุ (เสียงหนัก) เป็นพยางค์ที่ประสมด้วยสระเสียงยาวในมาตราแม่ ก.กาและมีตัว สะกด รวมทั้งประสมด้วย อำ ไอ ใอ เอา เช่น จำ ได้ ไป เขา รัก ลูก
คำครุ แปลว่า เสียงหนัก สัญลักษณ์ “ อั “ ประกอบด้วย
- พยางค์ที่มีสระเสียงยาวไม่มีตัวสะกด เช่น มาหา พารา
- พยางค์ที่มีตัวสะกดทั้ง 8 แม่ เช่น รัก ชิด ชอบ ฯลฯ
- พยางค์ที่มีสระ อำ ไอ ใอ เอา เช่น เรา จำ ใจ ไป
คือพยางค์ที่มีเสียงเบา ได้แก่พยางค์ที่ประกอบด้วย สระสั้น(รัสสระ) ที่ไม่มีตัวสะกด เช่น พระ จะ มิ ดุ แกะ ฯลฯ
ลหุ คำที่มีเสียงเบา เป็นพยางค์ที่ประสมด้วยสระเสียงสั้น เช่น จะ ดุ ติ ผิว กระทะ ฤ
- ครุ-ลหุ มีสัญลักษณ์แทนดังนี้ั
คำลหุ แปลว่า เสียงเบา สัญลักษณ์ “ อุ “ ประกอบด้วย
- พยางค์ที่มีสระเสียงสั้นไม่มีตัวสะกด เช่น มะลิ ชิชะ ก็ เถอะ
- พยางค์ที่มีตัวพยัญชนะตัวเดียว เช่น ณ บ ธ
คือพยางค์ หรือคำที่มีรูปวรรณยุกต์เอก และบรรดาคำตายทั้งสิ้น ซึ่งในโคลง และร่าย ใช้เอกแทนได้ เช่น พ่อ แม่ พี่ ปู่ ชิ ชะ มัก มาก ฯลฯ
คือพยางค์หรือคำที่มีรูปวรรณยุกต์โท เช่น น้า ป้า ช้าง นี้น้อง ต้อง เลี้ยว ฯลฯ
เอก-โท ที่บังคับด้วยรูปวรรณยุกต์ เอก โท นิยมใช้กับคำประพันธ์ประเภทร่าย โคลง
ขอขอบคุณข้อมูลจาก