“ทิวทัศน์” มีความหมายตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2525
การวาดภาพทิวทัศน์ หมายถึง การวาดภาพที่เกี่ยวกับสิ่งแวดล้อม ภูมิประเทศที่พบเห็นโดยทั่วไป หรือที่เรียกกันว่า ภาพวิว (View) ซึ่งอาจเป็นภูมิประเทศที่มีแต่สิ่งที่เป็นธรรมชาติล้วน ๆ หรือมีสิ่งที่มนุษย์ประดิษฐ์สร้างขึ้นประกอบด้วยก็ได้ หรือเรียกว่า ภาพภูมิทัศน์การวาดภาพทิวทัศน์จะต้องมีความรู้ความเข้าใจ ในหลักของทัศนียภาพ (Perspective) ให้ดีเสียก่อน จึงจะถ่ายทอดผลงานออกมาได้อย่างถูกต้อง
ภาพทิวทัศน์แบ่งออกเป็น 3 ลักษณะ คือ
1. ภาพทิวทัศน์บก (Landscape) เป็นการเขียนภาพภูมิประเทศที่เกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมบนบกเป็นส่วนใหญ่ เช่น ท้องนา ป่าเขา ห้วยหนอง คลองบึง น้ำตก ฯลฯ เพื่อถ่ายทอดบรรยากาศแสงเงา และเรื่องราวต่างๆในธรรมชาติ ในการวาดอาจมีภาพคนหรือภาพสัตว์ประกอบ เพราะจะทำให้ภาพดูมีชีวิตชีวามากยิ่งขึ้น
2. ภาพทิวทัศน์ทะเล (Seascape) เป็นการเขียนภาพที่มีบรรยากาศเกี่ยวกับทะเล เช่น โขดหิน หาดทราย น้ำทะเล และบรรยากาศทางทะเลต่างๆ รวมทั้งภาพคน สัตว์ บ้านเรือน และต้นไม้ที่ประกอบอยู่ด้วย
3. ภาพทิวทัศน์สิ่งก่อสร้าง (Structural Landscape) เป็นภาพเขียนที่เกี่ยวกับสิ่งก่อสร้างต่าง ๆ ที่มนุษย์สร้างขึ้น เช่น วัดวาอาราม ตึกรามบ้านช่อง โบสถ์ วิหาร รวมทั้งภาพคน ภาพสัตว์ และต้นไม้ที่ประกอบอยู่ในภาพด้วย
หลักการทัศนียภาพ (Perspective)
การวาดภาพตามหลักทัศนียภาพ (Perspective) เป็นส่วนประกอบอย่างหนึ่งที่ทำให้ภาพมีมิติในเรื่องของความลึก ระยะ ใกล้-ไกล ในภาพมีหลักในการวาด คือ สิ่งที่อยู่ใกล้ตาจะมีขนาดใหญ่ สิ่งที่อยู่ใกล้ตาจะมีขนาดเล็ก
ลักษณะของเส้นต่างๆ ที่ใช้ในการเขียนภาพทัศนียวิทยา (Perspective)
ลักษณะของเส้นต่างๆที่ใช้ในการเขียนภาพทัศนียวิทย (Perspective)
โชดก เก่งเขตรกิจ. (2529: 224)
1. Ground Plane (GP) คือแผ่นพื้นที่วางวัตถุแผ่นภาพ (PP) จะต้องวางตั้งฉากกับแผ่นพื้นหรือระนาบเสมอ
2. Horizon Line (HL) คือเส้นขอบฟ้า ตั้งอยู่ในแนวระดับตา (Eye Level) เส้นนี้มีความสำคัญมากจะเป็นเส้นที่จุดรวมสายตา (VP) ตั้งอยู่บนเส้นนี้
3. Vanishing Point (VP) จุดรวมสายตา คือจุดกำหนดที่สำคัญมากในการเขียนภาพ Perspective จุดรวมสายตาจะตั้งอยู่บนเส้นระดับตาในข้อ 2 อาจมีจุดเดียวหรือ 2 จุดก็ได้ ตามชนิดการมองของภาพ Perspective
4. Station Point (SP) คือเป็นจุดยืนในการมองไปยังภาพ ซึ่งเน้นเป็นลักษณะของภาพทัศนียวิทยา
5. Ground Line (GL) เป็นเส้นพื้นที่จดแผ่นภาพเส้นนี้มีความสำคัญในการเขียนภาพ Perspective มากเพราะใช้เป็นที่ตั้งของภาพ Perspective ที่มองเห็น
6. Center of Vision (CV) คือ จุดรวมสายตาที่ตั้งอยู่ตรงกลางของภาพจุดที่อยู่บนเส้นนี้เรียกว่า Center Point (CV)
การวาดภาพตามหลักทัศนียภาพ (Perspective) มี 3 แบบ คือ
1. แบบจุดรวมสายตา (Vanishing Point) จุดเดียว (One Point Perspective) มีแนวเส้นระดับ ด้านหน้าขนานกับเส้นระดับตา (Horizon Line หรือ Eye Level) ส่วนด้านลึกจะไปรวมกันที่จุดรวมสายตา (VP) ซึ่งตั้งอยู่บนเส้นระดับตา (HL)
ทัศนียภาพจุดรวมสายตาจุดเดียว (One Point Perspective) โชดก เก่งเขตรกิจ. (2529: 223),(2529: 226)
2. แบบจุดรวมสายตา 2 จุด (Two Point Perspective) คือภาพ Perspective) ที่มีเส้นแนวระดับทั้งด้านหน้าและด้านข้างไปรวมตรงจุดรวมสายตา (VP. 1และ VP. 2) ซึ่งอยู่ด้านซ้ายและขวา
ภาพทัศนียวิทยาสองจุด โชดก เก่งเขตรกิจ. (2529: 224)
ทัศนียภาพจุดรวมสายตา 2 จุด (Two Point Perspective) โชดก เก่งเขตรกิจ. (2529: 227)
3. แบบรวมจุดสายตา 3 จุด (Three Point Perspective) คือ ภาพ Perspective ที่คล้ายกับแบบจุดรวมสายตา 2 จุด แต่เพิ่มการมองจุดรวมสายตาจากจุดที่ 3 (VP. 3) ตรงตามแนวดิ่ง จุดรวมสายตาที่ 3 (VP. 3) ดูภาพได้เมื่ออยู่ทั้งด้านบนและด้านล่างของเส้น ระดับตา (HL)
ทัศนียวิทยาสามจุด โชดก เก่งเขตรกิจ.(2529: 227)
ขั้นตอนการวาดเส้นภาพทิวทัศน์
- ร่างภาพส่วนรวมจัดภาพให้เหมาะสมกับหน้ากระดาษ ร่างรายละเอียดแต่ละส่วน
- ลงน้ำหนักโดยรวม
- เพิ่มน้ำหนักแสงเงา และตกแต่งรายละเอียด
วาดโดย นายวรรณะ โพธิ์ชะอุ่ม
สรุป
การวาดภาพทิวทัศน์ หมายถึง การวาดภาพที่เกี่ยวกับสิ่งแวดล้อม ภูมิประเทศที่พบเห็นโดยทั่วไป
หรือที่เรียกกันว่า ภาพวิว (View) ซึ่งอาจเป็นภูมิประเทศที่มีแต่สิ่งที่เป็นธรรมชาติล้วน ๆ หรือสิ่งที่มนุษย์ประดิษฐ์ขึ้นประกอบด้วยก็ได้
ภาพทิวทัศน์แบ่งออกเป็น 3 ลักษณะ คือ
1. ภาพทิวทัศน์ทางบก (Landscape) เป็นการเขียนภาพภูมิประเทศที่เกี่ยวกับสิ่งแวดล้อม
ทางบกเป็นส่วนใหญ่ เช่น ท้องนา ป่าเขา ห้วยหนอง คลองบึง น้ำตก ฯลฯ
2. ภาพทิวทัศน์ทะเล (Seascape) เป็นการเขียนภาพที่มีบรรยากาศเกี่ยวกับทะเล เช่น
โขดหิน หาดทราย น้ำทะเล ฯลฯ
3. ภาพทิวทัศน์สิ่งก่อสร้าง (Structural Landscape) เป็นภาพเขียนที่เกี่ยวกับสิ่งก่อสร้าง
ต่างๆ ที่มนุษย์สร้างขึ้น เช่น วัดวาอาราม ตึกรามบ้านช่อง โบสถ์ วิหาร ฯลฯ
การวาดภาพทิวทัศน์จะต้องมีความรู้ความเข้าใจ ในหลักทัศนียภาพ (Perspective) จึงจะถ่ายทอดผลงานออกมาได้อย่างถูกต้อง
ข้อมูลจาก http://www.kruduangporn.com/kwanna/page4-1.html