Advertisement
การวาดเขียน(Drawing)
ภาพโดย นราวดี ขจรชัยกุล
คือการวาดเขียนโดยวิธีง่ายๆ ซึ่งอาจจะมีความสมบูรณ์หรือเป็นเพียงเส้นร่างก็ได้ แบบที่นำมาใช้วาดส่วนใหญ่จะอยู่ใกล้ตัว เช่น นิ้วมือ กล่องนม ผลไม้ ตลอดจนสรีระของคน
ความเป็นมา
Drawingเป็นพื้นฐานในการสร้างสรรค์งานทางศิลปะ คือ พูดง่ายๆก่อนลงสีเราต้องมีการวาดเขียนก่อนนั่นเอง การวาดเขียนเป็นการถ่ายทอดความคิด และจินตนาการของผู้วาดได้เป็นอย่างดี เราจะเห็นว่ามนุษย์เรานี้เริ่มมีการวาดเขียนมาตั้งแต่สมัยก่อนประวัติศาสตร์ ภาพวาดจะแสองให้เห็นสิ่งที่เขาคุ้นเคยในชีวิตประจำวัน วัฒนธรรม และอารยธรรมในสมัยนั้นได้เป็นอย่างดี เทคนิกการวาอภาพในสมัยโบรานเริ่มจากการ ขูด ขีดลงบนผนังแสดงให้เห็นถึงความคิดสร้างสรรคและความเชื่อในพิธีศักดิ์สิทธิ์ต่างๆต่อมามนุษย์เริ่มมีความก้าวหน้ามากขึ้นรู้จักสร้างสัญลักษณ์และรูปทรงต่างๆมากขึ้น มีการประดิษฐ์เครื่องมืออุปกรณ์ที่ใช้ในการวาดภาพที่มีประสิทธิภาพ เน้นโครงสร้างและรายละเอียด ซึ่งเป็นจุดหมายสำคัญของการวาดเขียนในปัจจุบัน
|
อุปกรณ์ที่ใช้ในการเขียนDrawing
- ดินสอดำ สำหรับการวาดเส้นควรใช้ EE เพราะมีความเข้มมากเพื่อสร้างภาพให้ดูคมชัด
- ปากกา - ปากกาหมึกซึม สร้างภาพให้ดูมีชีวิตชีวา
- ปากกาหมึกแห้ง สะดวกกับการใช้งานไม่ต้องควบคุมน้ำหนักเส้นของปากกา เพราะเส้นของปากกามีความสม่ำเสมออยู่แล้ว
- ถ่าน มี 2 ประเภท
- เกรยอง (CRAYON) เป็นแท่งถ่านรูปสี่เหลี่ยม มีหลายสี
- ชาโคล เป็นแท่งกลมๆ
ส่วนใหญ่การใช้ถ่านเขียนจะเป็นภาพที่ไม่เน้นรายละเอียดมากนัก และมีข้อเสียคือ จะสกปรกง่ายมากกว่าอุ)กรณ์อื่น การใช้จึงต้องระมัดระวังเป็นพิเศษ
- กระดาษวาดเขียน ( 100 ปอนด์ ) ควรซื้อแบบผิวเรียบที่ใช้สำหรับวาดเขียนโดยเฉพาะ แต่ถ้าหัดวาดใหม่ๆควรใช้กระดาษบรู๊ป (กระดาษหนังสือพิมพ์) เพราะราคาถูก เหมาะสำหรับการฝึกฝนพื้นฐาน
- ตัวหนีบ หรือ เทปนิโต้ เพื่อช่วยในการยึดกระดาษให้ติดกับกระดาษรองเขียน
- กระดาษรองเขียน กระดาษอัดหรือพลาสติก ขนาดแล้วแต่ความเหมาะสมกับขนาดกระดาษ
- ยางลบ ควรใช้ยางลบที่มีคุณภาพ ปัจจุบันก็มี Pentel , Sakura , Mono หรือจะใช้ยี่ห้ออื่นก็ได้ตามแต่จะชอบ
- มีดเหลาดินสอ ( Cutter )
- ที่ต่อด้ามดินสอ ใช้ในกรณีที่ดินสอเหลือน้อยมากแล้ว แต่เกิดอาการเสียดาย
|
BASIC DRAWING
เราต้องมีการวอร์มเพื่อสร้างความมั่นใจให้ตัวเอง สำหรับการวาดรูปก็ต้องฝึกฝนมือ โดยมีขั้นตอนดังต่อไปน
ลากเส้นตรงให้น้ำหนักระยะห่างเท่ากัน กด-ผ่อนมือ
ลากเส้นโค้งไปกลับโดยมีช่องไฟที่เท่ากัน ไล่น้ำหนักจากอ่อนไปหาเข้ม เข้มไปหาอ่อน
สานเส้น ไล่น้ำหนัก
|
1. กำหนดโครงสร้างหุ่นคร่าวๆร่างเส้นรูปนอกของรูปทรง
2. ลงน้ำหนักเทาและแสงเงา เน้นเงารูปทรง
3.สร้างระนาบให้เกิดมิติ ตกแต่งและเก็บรายละเอียด
|
|
วันที่ 19 มิ.ย. 2552
Advertisement
เปิดอ่าน 7,139 ครั้ง เปิดอ่าน 7,150 ครั้ง เปิดอ่าน 7,144 ครั้ง เปิดอ่าน 7,144 ครั้ง เปิดอ่าน 7,139 ครั้ง เปิดอ่าน 7,137 ครั้ง เปิดอ่าน 7,145 ครั้ง เปิดอ่าน 7,138 ครั้ง เปิดอ่าน 7,147 ครั้ง เปิดอ่าน 7,451 ครั้ง เปิดอ่าน 7,144 ครั้ง เปิดอ่าน 7,138 ครั้ง เปิดอ่าน 7,148 ครั้ง เปิดอ่าน 7,138 ครั้ง เปิดอ่าน 7,141 ครั้ง เปิดอ่าน 7,179 ครั้ง
|
เปิดอ่าน 7,143 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,168 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,140 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,139 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,136 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,140 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,141 ☕ คลิกอ่านเลย |
|
≡ เรื่องน่าอ่าน/สาระน่ารู้ ≡
เปิดอ่าน 25,733 ครั้ง |
เปิดอ่าน 19,195 ครั้ง |
เปิดอ่าน 21,139 ครั้ง |
เปิดอ่าน 64,266 ครั้ง |
เปิดอ่าน 21,561 ครั้ง |
|
|