Advertisement
❝ ครูแจ้ง คล้ายสีทอง ศิลปินแห่งชาติ พ.ศ. 2538 สาขาศิลปะการแสดง (คีตศิลป์)
❞
สุพรรณบุรีเป็นแหล่งศิลปิน
ครูแจ้ง คล้ายสีทอง ครูขับคำหอม ก็เป็นหนึ่ง ในตำนานศิลปินพื้นบ้าน ที่มีถิ่นกำเนิดมาจากดินแดนนักร้อง ลูกทุ่งที่ต้อง ผ่านการหล่อหลอม บ่มเพาะ จิตวิญญาณ ของ การ เห่ ขับ กรับ ร้อง ในท่ามกลาง ศิลปินพื้นถิ่น ที่มีการถ่ายทอดกันมารุ่นต่อรุ่น และโดยสายเลือด รายล้อมด้วยสิ่งแวดวงล้อมรอบตัว ที่เต็มไปด้วยบรรดาเหล่าศิลปินพื้นบ้าน มาตั้งแต่เริ่มเกิดลืมตาขึ้นมาดูโลก ก็จะได้ยินเสียงปี่พาทย์ทุกเช้า
ครูแจ้ง คล้ายสีทอง เกิดเมื่อวันที่ 10 มีนาคม พ.ศ. 2478 ณ บ้านตำบลบางตาเถร อำเภอสองพี่น้อง จังหวัดสุพรรณบุรี เป็นบุตรคนที่ 3 และเป็นบุตรชายคนเดียว ของนาย หวัน และนางเพี้ยน คล้ายสีทอง มีพี่น้อง ท้องเดียวกันทั้งหมด 4 คน คือ
1. นางทองหล่อ ขาวเกตุ
2. นางฉลวย คงศิริ
3. นายแจ้ง คล้ายสีทอง
4. นางอร่าม จันทร์หอมกุล
ครอบครัวของ ครูแจ้ง เป้นครอบครัวศิลปินโดยแท้ เนื่องจากคุณตา เป็นนักสวดโบราณ(สวดคฤหัสถ์) บิดาแสดงโขน พากย์โขน และเป็นตลกโขนที่มีชื่อเสียงในคณะโขนวัดดอนกลาง จังหวัดสุพรรณบุรี มารดาเป็นนักร้องเพลงไทยเดิม และแม่เพลงพื้นบ้านผู้มีน้ำเสียงไพเราะยิ่งคนหนึ่ง ครูแจ้งจึงมีความผูกพันกับเสียงดนตรีไทยอย่างแน่นแฟ้น ด้วยติดตาม บิดา มารดา ไปตามงานต่างๆ เข้ารับการศึกษา อยู่ที่โรงเรียนวัดโบสถ์ดอนลำแพน ตำบลบางตาเถร อำเภอสองพี่น้อง จังหวัดสุพรรณบุรี จนจบชั้น ประถมปีที่ 4 อันเป็นชั้นสูงสุดในขณะนั้น
ชีวิตครอบครัว
ครูแจ้งฯ สมรสกับนางสาวบุญนะ โพธิหิรัญ บุตรีของกำนันสนิท โพธิหิรัญ กับนางลำจียก โพธิหิรัญ มี บุตร ธิดา ทั้งสิ้น จำนวน 6 คน เป็นชาย 2 คน หญิง 4 คน ได้แก่
นางสาวคะนึงนิจ คล้ายสีทอง
นางสาวเพ็ญพรรณ คล้ายสีทอง
นายสาธิต คล้ายสีทอง
นางสาวขณิษฐา คล้ายสีทอง
นายประทีป คล้ายสีทอง
นางสาววัลภา คล้ายสีทอง
การใช้ชีวิตตามแบบวิถีชีวิตในชนบท
ศิลปินมักมีอารมณ์ขันเสมอ
ซึ่งครูแจ้งเองก็เช่นกัน มักจะมีเรื่องเล่า ฮาขำกลิ้งให้เพื่อนๆฟังอยู่เสมอ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ย่านนี้ซึ่งเป็นชุมชนเก่าแก่ โบร่ำโบราณ ที่เคยถูกกองทัพพม่าเดินทัพผ่านเข้ามา เพื่อเข้าสู่กรุงศรีอยุธยา ชาวบ้านชาวช่องต้องทิ้งบ้านเรือน และฝังทรัพย์สมบัติไว้ใต้ดินจำนวนมากมาย อีกทั้งพระประธานทองคำ ชาวบ้านจำนวนไม่น้อยที่ต้องถูกพม่าฆ่าตาย วิญญาณก็เลยล่องลอย เฝ้าทรัพย์สมบัติใต้ดินนั่นแหละ
จึงมักจะมีตำนานที่เกี่ยวกับตายายเฝ้าทรัพย์สมบัติใต้ดิน ทั้งเรื่องที่ประสบด้วยตนเอง และเรื่องที่ปู่ย่าตาทวดประสบและเล่าให้ฟังเยอะแยะ
เอกสารอ้างอิง
●
● รวมผลงาน “ครูแจ้ง คล้ายสีทอง” โปรแกรมวิชาภาษาไทย สาขาวิชาการศึกษา คณะมนุษยศาสตร์ สถาบันราชภัฏนครปฐม เพื่อเสนอชื่อ นายแจ้ง คล้ายสีทอง (ครูแจ้ง) เข้ารับพระราชทานปริญญาบัตร ครุศาสตร์บัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาวิชาการศึกษา โปรแกรมวิชาภาษาไทย จากสถาบันราชภัฏนครปฐม ประจำปีการศึกษา พ.ศ.2542
● จากการสนทนา พูดคุย กับ นายแจ้ง และนางบุญนะ คล้ายสีทอง ในวันที่ 12 เมษายน 2551
. ด้วยจิตคารวะอย่างสูง
วันที่ 18 มิ.ย. 2552
Advertisement
เปิดอ่าน 10,941 ครั้ง เปิดอ่าน 7,143 ครั้ง เปิดอ่าน 7,144 ครั้ง เปิดอ่าน 7,141 ครั้ง เปิดอ่าน 7,142 ครั้ง เปิดอ่าน 7,143 ครั้ง เปิดอ่าน 7,141 ครั้ง เปิดอ่าน 7,142 ครั้ง เปิดอ่าน 7,140 ครั้ง เปิดอ่าน 7,137 ครั้ง เปิดอ่าน 7,142 ครั้ง เปิดอ่าน 7,140 ครั้ง เปิดอ่าน 7,200 ครั้ง เปิดอ่าน 7,142 ครั้ง เปิดอ่าน 7,137 ครั้ง เปิดอ่าน 7,139 ครั้ง
|
เปิดอ่าน 7,146 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,143 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,145 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,174 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,138 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,141 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,144 ☕ คลิกอ่านเลย |
|
≡ เรื่องน่าอ่าน/สาระน่ารู้ ≡
เปิดอ่าน 11,639 ครั้ง |
เปิดอ่าน 68,909 ครั้ง |
เปิดอ่าน 10,496 ครั้ง |
เปิดอ่าน 8,456 ครั้ง |
เปิดอ่าน 13,764 ครั้ง |
|
|