ในปัจจุบันประชาชนทั่วไปประสบปัญหามากมาย ไม่ว่าจะเป็นปัญหาทางการเมือง การเศรษฐกิจและทางสังคม ทำให้มีผลต่อการดำรงชีพความเป็นอยู่ ส่งผลให้มีสภาพจิตใจที่ผิดปกติ ก่อให้เกิดความไม่เข้าใจกันระหว่างพี่น้องเพื่อนฝูง ทำให้เกิดข้อพิพาททั้งทางอาญาและทางแพ่ง
สำหรับข้อพิพาทในทางแพ่ง เมื่อมีข้อพิพาทเกิดขึ้น มีสิทธิที่จะดำเนินการตามกฏหมายทางแพ่งได้ดังนี้
หลักกฎหมาย ตามประมวลกฏหมายวิธีพิจารณาทางแพ่งวางหลักไว้ว่า เมื่อมีข้อโต้แย้งเกิดขึ้น เกี่ยวกับสิทธิหรือหน้าที่ของบุคคลใดตามกฎหมายแพ่ง หรือบุคคลใดต้องใช้สิทธิทางศาล บุคคลนั้นชอบที่จะเสนอคดีของตนต่อศาลส่วนแพ่งที่มีเขตอำนาจได้ ตามบทบัญญัตแห่งกฎหมายแพ่งและประมวลกฎหมายนี้ (ม.55)
จากหลักฎหมายดังกล่าวพอจะสรุปได้ว่า ในกรณีที่บุคคลต้องการที่จะใช้สิทธิของตนได้นั้น ถ้าทางแพ่งเรามีสิทธิที่จะนำคดีของตนขึ้นสู่ศาลเท่านั้น โดยกฎหมายได้กำหนดให้บุคคลมีสิทธิเสนอคดีต่อศาลได้ 2 กรณี คือ
1.กรณีที่มีการโต้แย้งเกิดขึ้นเกี่ยวกับสิทธิหรือหน้าที่ของบุคคลใดตามกฎหมาย กล่าวคือการกระทำหรืองดเว้นการกระทำอย่างใดๆ ของบุคคลหนึ่งเป็นเหตุให้ขัดหรือละเมิดหรือกระทบกระเทือนต่อสิทธิหรือหน้าที่ของบุคคลอื่นที่พึงมีพึงได้ตามกฎหมายและก่อให้เกิดสิทธิเรียกร้องแก่บุคคลอื่นนั้น เช่นสิทธิตามสัญญาต่าง ๆ เป้นต้น
2.กรณีที่จะต้องใช้สิทธิทางศาล การใช้สิทธิทางศาลเป็นกรณีที่บุคคลหนึ่งบุคคลใดจะต้องใช้สิทธิทางศาลเพื่อให้ศาลแสดงสิทธิของตนตามกฎหมาย เช่นสิทธิของความเป็นบิดามารดา สิทธิของความเป็นบุตรที่ชอบด้วยกฎหมาย การร้องขอจัดการมรดก การร้องขอให้ศาลสั่งให้เป็นบุคคลสาบสูญหรือคนไร้ความสามารถ เป็นต้น
จึงเห็นว่า เมื่อเรามีปัญเกิดขึ้นทางแพ่ง ซึ่งมิใช้ทางอาญา เราก็สามารถที่จะใช้สิทธิทางศาลได้ 2 ประการดังกล่าว บางท่านอาจสงสัยว่าหากเราไม่เงินทองที่จะไปจ้างทนายความจะทำอย่างไร
ขอเรียนว่าในปัจจุบัน หน่วยงานราชการมีหลายหน่วยงานที่ให้บริการให้คำปรึกษาทางกฎหมาย เช่น สำนักงานอัยการคุ้มครองสิทธิประชาชนประจำจังหวัดทุกจังหวัด ท่านก็สามารถไปใช้บริการได้ โดยไม่เสียค่าบริการแต่อย่างใด ยกเว้นการใช้สิทธิทางศาล