เมื่อวานนี้ (๙ มกราคม ๒๕๕๒) เป็นวันที่เราได้เรียนรู้เกี่ยวกับเรื่อง "การย้ายต้นไม้" โดยเริ่มที่ต้น "สิบสองปันนา (Phoenix roebelenii)
สืบเนื่องจากช่วงนี้มีการเตรียมปรับพื้นผิวถนนเพื่อรองรับการลาดยางรอบบริเวณ ดังนั้นจึงมีการขยับ ขยาย เคลื่อนย้ายต้นไม้จากที่หนึ่งไปยังอีกที่หนึ่ง
ดังนั้นการรักษาชีวิตต้นไม้เอาไว้ จึงเป็นงานที่ "หนักอย่างละเอียดอ่อน"
การเคลื่อนย้ายครั้งนี้เรามีทีมงงานมีอาชีพมาชุดขุด ช่วยแบก ช่วยหาม ช่วยย้าย ช่วยลง จึงทำให้งานที่หนักนี้ทำได้อย่างละเอียดอ่อน
เริ่มต้นจากการขุด...
การขุดนี้จะต้องให้มี "ตุ้ม" เหลืออยู่ (ตุ้ม คือ ดินที่หุ้มบริเวณราก ถ้าตุ้มหลุด ชีวิตของต้นไม้ก็หลุด)
ตุ้มยิ่งใหญ่ ต้นไม้ที่ย้ายก็ยิ่งดี ยิ่งฟื้นเร็ว (ปกติแล้วรอบการฟื้นตัว หรือรอบชีวิตของต้นไม้เมื่อมีการเปลี่ยนแปลงจะอยู่ประมาณ 6 สัปดาห์)
แต่ทว่าตุ้มใหญ่นั้น "หนัก" คนที่ขุด กับคนที่แบกนั้นย่อมทำงานลำบาก ดังนั้นต้องทำขนาดให้พอประมาณ เพราะถ้าตุ้มใหญ่ หลุมที่ขุดนั้นก็จะต้องใหญ่ตามไปด้วย
การย้ายต้นไม้นั้น สำหรับต้นปาล์ม โดยเฉพาะเจ้าสิบสองปันนานี้ ท่านอาจารย์ไพศาล วรอุไร ได้เมตตาบอกเป็นวิทยาทานว่า "ขุดแล้ว ลงเลย จะดีมาก เพราะต้นไม้จะโทรมรอบเดียว บางคนเข้าใจว่าต้องทิ้งไว้สักระยะหนึ่ง การทิ้งไว้นานจนรากออกนั้น จะทำให้ต้นไม้โทรมสองรอบ...)
ดังนั้นงานนี้ขุดปุ๊บก็ลงกันปั๊บเลย
ท่านอาจารย์ไพศาลได้เมตตาตัดปลายใบออกนิดหน่อยเพื่อลดการคลายน้ำ
การย้ายต้นไม้นี้เป็นการรักษาชีวิตของต้นไม้
ต้นไม้ทุกต้นเราพยายามไม่ตัด ไม่ทำลาย ถ้าย้ายได้ก็ย้าย ต้นใหญ่แค่ไหนก็ต้องพยายามย้ายเพื่อรักษา "ชีวิต" ของเขา เพราะเขา (ต้นไม้) ก็มี "ชีวิต..."
เมื่อ จ. 12 ม.ค. 2552 @ 01:08
1066621 [ลบ] [แจ้งลบ]
เมื่อ อ. 13 ม.ค. 2552 @ 00:43
1068355 [ลบ] [แจ้งลบ]
เมื่อ อ. 13 ม.ค. 2552 @ 00:45
1068358 [ลบ] [แจ้งลบ]
ตัดแต่งปลายกิ่งขณะย้ายต้นไม้เพื่อลดการคลายน้ำ
เมื่อ อ. 13 ม.ค. 2552 @ 00:48
1068361 [ลบ] [แจ้งลบ]
เมื่อ อ. 13 ม.ค. 2552 @ 00:49
1068363 [ลบ] [แจ้งลบ]
เมื่อ อ. 13 ม.ค. 2552 @ 00:51
1068364 [ลบ] [แจ้งลบ]
การรัดกิ่งเพื่อป้องกันกิ่งหักขณะขนย้าย...