บทนำ
ปัจจุบัน ICT ได้เข้าไปมีบทบาทในเรื่องการเรียนการสอน การฝึกอบรมอย่างกว้างขวาง ถือเป็นเครื่องมือสำคัญยิ่งในการพัฒนาบุคคลากร ตลอดจนประชากรของประเทศ ดังนั้นอีเลิร์นนิงจึงถูกให้ความสำคัญระดับต้นๆ ในการลงทุน เพื่อสร้างทรัพยากรบุคคลและองค์ความรู้ของ องค์กร ถ้าพิจารณาตัวเลขที่น่าสนใจในส่วนแบ่งตลาดการลงทุนในอีเลิร์นนิงของสหรัฐฯ ในปี 2545 จากข้อมูลการวิเคราะห์ตลาดของ Brandon-hall.com ดังแสดงในกราฟรูปที่ 1 จะเห็นว่า มูลค่าตลาดโดยรวมในปี 2545 มากถึง 10.3 พันล้านดอลล่าร์ (มากกว่า 4 แสนล้านบาท ซึ่งเกือบเท่ากับครึ่งหนึ่งของงบประมาณของประเทศเรา) และเป็นที่น่าสนใจ คือ เกือบ 50% เป็นการลงทุนของภาคธุรกิจและบริษัท และถ้า ดูแนวโน้มการคาดการณ์ของตลาดอีเลิร์นนิ่งในสหรัฐฯ จากแหล่งข้อมูลเดียวกัน ดังตารางที่ 1
ตารางที่ 1 การคาดการณ์ตลาดอีเลิร์นนิ่งในสหรัฐฯ (หน่วย : พันล้านเหรียญสหรัฐฯ) |
ส่วนแบ่งตลาด
|
2545
|
2549
|
2554
|
1. การศึกษา k-12
|
$1.8
|
$11.0
|
$18.0
|
2. อุดมศึกษา
|
$1.5
|
$23.0
|
$44.0
|
3. สรรหาว่าจ้างพนักงาน
|
$0.8
|
$4.6
|
$11.7
|
4. หน่วยงานภาคธุรกิจและเอกชน
|
$4.6
|
$16.4
|
$42.6
|
5. รัฐบาล
|
$0.6
|
$2.7
|
$13.4
|
6. E-Learning โดยใช้แบบจำลอง
|
$0.3
|
$6.1
|
$37.0
|
7. อาชีวศึกษา
|
$0.4
|
$8.6
|
$19.2
|
8. ผู้บริโภค
|
$0.2
|
$7.3
|
$16.0
|
9. สมาคม
|
$0.1
|
$3.4
|
$11.0
|
ผลรวม
|
$10.3
|
$83.1
|
$212.9
|
ที่มา : brandon-hall.com
|
|
ซึ่งจะเห็นมูลค่าทางการตลาดโดยรวมเพิ่มขึ้นอีก 8 เท่าในปี 2549 เมื่อเทียบกับปี 2545 ปัจจัยสำคัญประการหนึ่งที่ทำให้ตลาดอีเลิร์นนิ่ง เติบโตขึ้นอย่างรวดเร็ว เพราะมาตรฐานอีเลิร์นนิ่งเกิดขึ้นและถูกนำไปใช้เพิ่มขึ้น จึงทำให้เกิดความเชื่อมั่นในการลงทุนในเทคโนโลยี ดังกล่าว
ความเป็นมาของมาตรฐาน
โดยปกติความต้องการให้มีมาตรฐานเกิดจากผู้บริโภคที่ต้องการลงทุนเทคโนโลยีที่เป็นมาตรฐานเข้ากันได้กับเทคโนโลยีหลายๆ บริษัท ไม่ผูกติดกับเทคโนโลยีของบริษัทใดบริษัทหนึ่ง ในขณะที่ผู้ผลิตเองก็ต้องการแสวงหาพันธมิตร ร่วมกันผลิตสินค้าที่ใช้ร่วมกันได้เพื่อสร้าง ความมั่นใจให้ผู้บริโภค แต่ขบวนการในการสร้างมาตรฐานมีขั้นตอนที่ซับซ้อนพอสมควร และใช้ทุนเป็นจำนวนมาก ดังแสดงในรูป
จากรูปข้างต้น ขบวนการสร้างมาตรฐานอีเลิร์นนิงเริ่มมาจากแนวคิดที่ R&D และความต้องการของผู้บริโภค บริษัทผู้ผลิตจึงรวมตัวกัน ก่อตั้งเป็นสมาคมหรือชมรม (Consortium) เช่น AICC, IMS, หรือ ARIADNE เพื่อร่วมกันร่างข้อกำหนดทางเทคนิค (Draft Technical Specification) ขึ้น จากนั้น จึงมีการจัดตั้งหน่วยงานเป็นกลาง ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นหน่วยงานของรัฐดำเนินการนำร่างข้อ กำหนดมาทดสอบ (Test-based) และทดลองสร้างรูปแบบตั้งต้น (Prototype) และจึงออกข้อกำหนดที่ถือว่าอ้างอิงได้ (คือทดสอบเป็นผล สำเร็จแล้ว) เรียกว่า Reference Model หน่วยงานดังกล่าวได้แก่ ADL ของรัฐบาลสหรัฐฯ เป็นต้น จากนั้นหน่วยงานที่เป็นกลางระหว่าง ประเทศ เช่น IEEE หรือ ISO จึง approve ออกมาเป็นมาตรฐานต่อไป
มาตรฐานอีเลิร์นนิงในปัจจุบันไปถึงไหน
ผลงานที่สำคัญที่สุดของการกำหนดมาตรฐานอีเลิร์นนิง มีด้วยกัน 3 เรื่อง คือ เรื่องแรกเป็นการกำหนดคำอธิบายข้อมูล ที่ใช้ในการสร้าง เนื้อหา เราเรียกว่า Metadata ในปัจจุบัน IEEE ได้ออกประกาศเป็นมาตรฐานแล้ว เรียกว่า มาตรฐาน LOM (Learning Object Metadata) หรือ IEEE 1484.12.1 และข้อกำหนดของ SCORM ก็ได้นำ LOM มาใช้เรื่องที่สอง เป็นเรื่องการทำ Content packaging เพื่อความสะดวกในการย้ายเนื้อหาจากระบบหนึ่งไปสู่อีกระบบ เราอ้างอิงถึงการทำ Packaging ตามข้อกำหนด IMS (EDUCAUSE Institutional Management System Project) และ SCORM ก็ใช้ข้อกำหนดนี้เช่นกันในการทำแพ็คเกจและเรื่อง สุดท้ายเป็นข้อกำหนดของวิธีการติดต่อสื่อสารกันระหว่าง Content กับ LMS ซึ่ง SCORM ได้ปรับปรุงข้อกำหนดดังกล่าวมาจากข้อกำหนด ของ AICC (Aviation Industry CBT Committee) เห็นได้ชัดว่า ข้อกำหนดของ SCORM นอกจากจะเป็นข้อกำหนดที่ผ่านการทดสอบ ในเชิงปฏิบัติแล้ว ยังรวมเอาข้อกำหนดหลักๆ จากข้อกำหนดอื่นเข้ามาร่วมกัน จึงทำให้ข้อกำหนด SCORM เป็นที่ยอมรับกันมากที่สุดทั้งผู้ผลิต และผู้ใช้ระบบอีเลิร์นนิง
ข้อกำหนด SCORM คืออะไร ?
SCORM ย่อมากจาก Sharable Content Object Reference Model ซึ่งเริ่มต้นพัฒนามาจากกระทรวงกลาโหม สหรัฐฯ (DOD) เพื่อศึกษาปัญหาของความไม่เข้ากัน (Incompatibility) ของระบบ
อีเลิร์นนิ่ง และเนื้อหาวิชา ที่พัฒนาแตกต่าง แพลตฟอร์มกัน ไม่สามารถใช้ร่วมกันได้ DOD จึงรวบรวมข้อกำหนด ที่พัฒนาก่อนหน้ามาเข้าด้วยกัน ทั้งของ IMS และ AICC เพื่อที่จะออกเป็นข้อกำหนด อีเลิร์นนิงกลาง ผลจากความพยายาม จึงมีการตั้งหน่วยงานร่วมมือกันระหว่าง DOD, รัฐบาล, ภาคเอกชนและภาคการศึกษา จัดตั้งสถาบันที่ ี่เรียกว่า ADL (Advanced Distributed Learning, www.adlnet.org) เมื่อปี 1997 และได้ออกข้อกำหนดแรกในเวอร์ชั่น 1.0 เมื่อปี 2000 แต่เวอร์ชั่นที่ประสบความสำเร็จเป็นที่ยอมรับกันคือ ข้อกำหนด SCORM Version 1.2 ซึ่งออกเมื่อเดือนตุลาคม
ปี 2001
ได้ประโยชน์ทางธุรกิจอย่างไรจาก SCORM
ประโยชน์ที่ได้จากการประยุกต์ใช้มาตรฐานอีเลิร์นนิง โดยเฉพาะการนำข้อกำหนดของ SCORM มาใช้ในหน่วยงาน ทำให้ระบบมี ประสิทธิภาพมากขึ้น ค่าใช้จ่ายน้อยลง ลดความเสี่ยงของการลงทุน เพิ่มประสิทธิภาพ การเรียนรู้ในภาพรวม และทำให้ผลตอบแทนการลงทุนดีขึ้น (ROI)
ซึ่งจะได้แจกแจงรายละเอียดต่อไป
เพิ่มประสิทธิภาพและลดค่าใช้จ่าย
SCORM ทำให้ธุรกิจและการพัฒนาระบบมีประสิทธิภาพมากขึ้น และคุ้มค่าต่อ
การลงทุน เพราะ
1. นำเนื้อหามาใช้ได้ใหม่ (Reuse Content) ทำให้การพัฒนาเนื้อหารวดเร็วขึ้น โดยเมื่อพัฒนาขึ้นเรื่องหนึ่งสามารถนำไปใช้กับผู้เรียน ที่ต่างกัน หรือวิชาอื่นๆ ได้ ทำให้ลดระยะเวลาในการพัฒนา
2. เนื้อหาสามารถใช้ร่วมกันระหว่างระบบได้ (Share Content) การใช้ข้อกำหนด SCORM ทำให้การ Integrate ระบบง่ายขึ้นทั้ง ในปัจจุบันและในอนาคต ช่วยป้องกันการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐาน และค่าใช้จ่ายในการเป็นเจ้าของ (Cost of Ownership) ถูกลงบทเรียน ตามข้อกำหนด SCORM สามารถใช้ร่วมกับระบบที่เข้ากันได้ (Compliant) กับ SCORM ทั้งในปัจจุบันและอนาคต
3. ลดค่าใช้จ่ายในการบำรุงรักษาบทเรียน (Content Maintenance) โดยที่องค์กรสามารถปรับปรุงเนื้อหาบทเรียนได้เอง(in-house) สามารถเลือกใช้เครื่องมือได้หลากหลาย โดยไม่ติดกับซอฟต์แวร์ใดๆ หรือผู้ผลิตรายใด ก็ทำให้ค่าใช้จ่ายในการบำรุงรักษาบท เรียนขององค์กรถูกลง
4. ทำให้การลงทุนในเทคโนโลยีเกิดประโยชน์สูงสุด (Maximize Technology investment) เพราะจากเนื้อหาบทเรียน ในมาตรฐาน SCORM สามารถใช้งานได้ดีกับ LMS ใดๆ ตามมาตรฐาน SCORM ด้วยกัน ทำให้ผู้ใช้สามารถเลือกซื้อทั้ง Content และ LMS จากผู้ผลิตรายใดก็ได้ที่ได้มาตรฐาน
5. สามารถหลีกเลี่ยงซอฟต์แวร์ที่ใช้สร้างเนื้อหาที่เฉพาะเจาะจง (Proprietary Authoring Tools) เนื่องจาก Content ตามข้อ กำหนด SCORM เป็น Web based Content จึงสามารถใช้ HTML tool ไปสร้าง Content ได้ เป็นการหลีกเลี่ยงการใช้ซอฟต์แวร์ เฉพาะเจาะจงใดๆ สร้าง Content
6. ฝึกหัดผู้พัฒนา Content ได้เร็วกว่า (Train developer faster) เนื่องจาก การนำ SCORM ไปใช้เติบโตขึ้นอย่างรวดเร็วทำให้ ในอนาคตเราสามารถหาผู้ผลิต ผู้พัฒนา Contentได้โดยง่าย พร้อมกับใน ความรู้ และทักษะของ SCORM ก็จะเผยแพร่ออกไปอย่าง กว้างขวางง่ายต่อการหาคู่มือ ตำรา และเอกสารการฝึกอบรม
เพิ่มประสิทธิภาพของผู้เรียน
เนื้อหา SCORM และ LMS ช่วยทำให้องค์กรสามารถสร้างเนื้อหาที่มีประสิทธิภาพในการเรียน โดยใช้เทคนิคใหม่ๆ ในการออกแบบ เนื้อหาและความสามารถของ LMS เช่น ระบบการติดตามผลการเรียน ระบบนำส่งเนื้อหาที่เหมาะสม การออกแบบเนื้อหาเชิงวัตถุ ฯลฯ
1. หลักสูตรสามารถปรับให้เหมาะสมกับบุคลิกของผู้เรียนได้
2. เพิ่มความสามารถการใช้งานของผู้เรียน
3. สามารถใช้ข้อมูลของผลการเรียนเพื่อเพิ่มแรงจูงใจแก่ผู้เรียน
สรุป
ดังนั้นตามความคิดของผู้เขียนสามารถสรุปได้ดังนี้ SCORM มาจากคําว่า Shareable Content Object Reference Model (SCORM) หมายความว่าเป็นรูปแบบที่ทําให้เนื้อหาที่ได้พัฒนาขึ้นมาด้วยมาตรฐานดังกล่าว มีการแลกเปลี่ยนกันได้มากที่สุด องค์ประกอบสําคัญของ SCORM มีอยู่ 2 ส่วนคือ
1. การกําหนดมาตรฐานในการพัฒนาเนื้อหาชุดการเรียน (Learning Packaging Content)
2. การกําหนด API ที่ทําให้การสื่อสารส่งสัญญาณระหว่างเนื้อหาที่เรียนกับระบบเป็นไปได้
รับส่งค่าคะแนนกันได้
องค์ประกอบของ SCORM
ควรแบ่งศึกษาเป็น 2 ส่วน คือ
1. ส่วนของระบบการจัดการเรียนการสอน (Learning Management Systems - LMS)
2. ส่วนของการพัฒนาเนื้อหาสาระ (Shareable Content Objects - SCOs)
ส่วนของ SCOs ที่พัฒนาอย่างเป็นมาตรฐานจะทําให้เกิดการนําเนื้อหาที่พัฒนาแล้วนั้นไปใช้ต่อไปได้ และส่วนของระบบพัฒนา SCO นี้นับเป็นส่วนสําคัญที่เมื่อพัฒนาไปถึงระดับหนึ่งแล้วจึงจําเป็นต้องแยกออกจากระบบ LMS และทําให้เป็นระบบที่ว่า ถ้ามีการพัฒนา LMS อย่างเป็นมาตรฐานแล้ว จะทําให้สามารถนํา SCO ที่ได้พัฒนาอย่างเป็นมาตรฐานเช่นเดียวกัน ไม่ว่าจะจากที่ใดๆ ก็สามารถนํามาใช้ร่วมกันได้
ด้วยแนวคิดเช่นนี้ จะทําให้มีผู้ผลิต (Vendors) ซึ่งอาจได้แก่บริษัทที่มีเนื้อหาสาระ เช่น สถาบันการศึกษา สถาบันวิจัย สํานักพิมพ์ ฯลฯ สามารถวางระบบพัฒนาชุดการเรียนที่เป็นมาตรฐานมาสนับสนุนระบบ LMS และนั่นก็หมายถึงการทําให้ระบบ E-learning โดยรวมมีความแข็งแกร่งและมีประสิทธิภาพมากขึ้น ทั้งสําหรับสถาบันการศึกษา ผู้สอน และสําหรับผู้เรียนทั้งหลาย
ตัวอย่างของบทความต่างๆที่เกี่ยวข้องกับ SCORM ที่เป็นประโยชน์ต่อการนำไปศึกษา
มีดังต่อไปนี้
1. สรุปการประชุมเชิงปฏิบัติการ เรื่อง “การกำหนดมาตรฐานการพัฒนาสื่อการเรียนการสอนแบบ e-Learning” (
http://www.su.ac.th/html_broadcast/standard.doc)
2. E-Learning Standard (
http://www.thai2learn.com/whatsnew/scorm1.html)
3. ADL and the Sharable Content Object Reference Model (SCORM) (
http://www.nectec.or.th/courseware/pdf-documents/adl-scorm.pdf)
แหล่งที่มา
Website :: http://
www.itie.org
Website ::
http://www.su.ac.th/html_broadcast/standard.doc
Website ::
http://www.thai2learn.com/whatsnew/scorm1.html
Website ::
http://www.nectec.or.th/courseware/pdf-documents/adl-scorm.pdf