การกู้ยืมเงิน คือ สัญญาซึ่งบุคคลหนึ่งเรียกว่า “ผู้กู้” ได้ขอยืมเงินจำนวนหนึ่งตามที่ได้กำหนดไว้จากบุคคลหนึ่งเรียกว่า “ผู้ให้กู้” เพื่อผู้กู้จะได้นำเงินจำนวนดังกล่าวไปใช้สอยตามที่ประสงค์และผู้กู้ตกลงว่าจะคืนเงินจำนวนดังกล่าวให้แก่ผู้ให้กู้ตามเวลาที่กำหนดไว้โดยผู้กู้ยินยอมเสียดอกเบี้ยให้แก่ผู้ให้กู้ตามอัตราที่ตกลงกันไว้เป็นการตอบแทน
การกู้ยืมเงินเกินกว่า 2,000 บาท จะต้องมีหลักฐานเป็นหนังสือที่แสดงข้อความว่าได้มีการกู้เงินกันจริงโดยต้องมีลายมือชื่อของผู้กู้ หรือ ลายพิมพ์นิ้วมือประทับในหนังสือดังกล่าวโดยมีพยานลงลายมือชื่อรับรองลายพิมพ์นิ้วมือของผู้กู้อย่างน้อย ๒ คน หากไม่มีหลักฐานเป็นหนังสือดังกล่าวแล้ว ผู้ให้กู้จะฟ้องร้องต่อศาลให้บังคับให้ผู้กู้ชำระเงินตามสัญญาไม่ได้ (ป.พ.พ. มาตรา ๖๕๓)หลักฐานในการกู้ยืมเงิน เช่น
ข้าพเจ้านายเอกได้กู้เงินจากเถ้าแก่จู๋เป็นจำนวนเงิน ๕๐,๐๐๐ บาท โดยข้าพเจ้าสัญญาว่าจะใช้เงินจำนวนดังกล่าวคืนให้ภายในวันที่ ๑ มกราคม ๒๕๒๘
ลงชื่อ นายเอก ผู้กู้
อัตราดอกเบี้ย
๓. หนังสือสัญญากู้จะต้องทำขึ้นอย่างน้อย ๒ ฉบับ โดยผู้ให้กู้ถือไว้ฉบับหนึ่ง และผู้กู้ถือไว้อีกฉบับหนึ่ง
๔. ผู้กู้จะต้องนับเงินที่ตนกู้ให้เท่ากับจำนวนที่ตนได้กู้ไปตามสัญญาให้ครบถ้วนเสมอหากมิฉะนั้นแล้วก็จะเป็นปัญหา กล่าวคือหากได้เงินไม่ครบแต่ผู้กู้ได้ลงมือชื่อในสัญญาให้แก่ผู้ให้กู้แล้ว ผู้ให้กู้อาจโกงผู้กู้ในภายหลังว่า ได้มอบเงินให้แก่ผู้กู้ไปจนครบถ้วนแล้ว
๕. พยานลงชื่อในสัญญากู้ ควรเป็นพยานของฝ่ายผู้กู้จำนวน ๑ คน ลงเป็นพยานในสัญญากู้ด้วย
....ทุกย่างก้าวของชีวิต จะไม่มีอุปสรรคนั่นอย่าหวัง ความไม่ประมาท นั่นคือเกราะคุ้มภัยของชีวิต..
การกู้ยืมเงินนั้นกฎหมายได้กำหนดไว้ว่าผู้ให้กู้คิดดอกเบี้ยจากผู้กู้ได้ไม่เกินร้อยละ ๑๕ ต่อปีหรือในอัตราร้อยละ ๑.๒๕ ต่อเดือน หากผู้ให้กู้คิดดอกเบี้ยเกินกว่าดอกเบี้ยดังกล่าวแล้ว ผลก็คือดอกเบี้ยตกเป็นโมฆะทั้งหมด ผู้ให้กู้คงเรียกให้ผู้กู้ยังต้องติดคุกเพราะมีความผิดทางอาญาฐานเรียกดอกเบี้ยเกินอัตรา อาจถูกจำคุกไม่เกิน ๑ ปี หรือปรับไม่เกิน ๑ พันบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ (ตาม พ.ร.บ. ห้ามเรียกดอกเบี้ยเกินอัตรา พ.ศ. ๒)
แต่ในกรณีที่ไปกู้เงินจากธนาคารหรือสถาบันทางการเงินอื่น ๆ เช่น บริษัททรัสต์, บริษัทเงินทุน, โรงรับจำนำ ฯลฯ นั้นกฎหมายยินยอมให้ธนาคารและสถาบันทางการเงินดังกล่าวคิดดอกเบี้ยได้เกินกว่าอัตราร้อยละ ๑๕ ต่อปี ตามอัตราดอกเบี้ยที่กระทรวงการคลังได้กำหนดไว้
ข้อควรปฏิบัติในการชำระหนี้
๑. ต้องเรียก ใบรับเงินชำระหนี้ ทุกครั้งที่ชำระโดยให้ผู้ให้กู้ (เจ้าหนี้) ทำหนังสือลงลายมือชื่อผู้ให้กู้ ว่าได้รับเงินคืนแล้วเป็นจำนวนเท่าใดหรือได้รับคืนครบถ้วนแล้ว
อายุความในการฟ้องร้อง
เมื่อได้ทำสัญญากู้ยืมเงินดังกล่าว หากจะต้องมีการฟ้องร้องต่อศาลให้ชำระคืนแล้วเจ้าหนี้จะต้องฟ้องร้องต่อศาลให้ชำระคืนเจ้าหนี้จะต้องฟ้องภายใน ๑๐ ปี นับจากวันที่ถึงกำหนดชำระตามสัญญา ถ้าพ้นกำหนดนี้แล้วคดีเป็นอันขาดอายุความ ผู้ให้กู้ (เจ้าหนี้) ไม่มีสิทธิจะฟ้องคดีต่อศาลได้
ข้อควรระวังในการกู้
๑. จะต้องไม่เซ็นชื่อหรือลงลายพิมพ์นิ้วมือลงในกระดาษเปล่าให้แก่ผู้ให้กู้
๒. จำนวนเงินในช่องว่างในสัญญากู้ยืมเงินนั้นจะต้องลงจำนวนเงินที่กู้กันจริง ๆ เท่านั้นและต้องเขียนจำนวนเงินที่กู้กันนั้นเป็นตัวหนังสือกำกับตัวเลขจำนวนเงินดังกล่าวด้วยเสมอเพื่อป้องกันมิให้ผู้ให้กู้เติมตัวเลข
๒. กรณีที่ผู้กู้ได้ชำระเงินคืนให้แก่ผู้ให้กู้จนครบถ้วนแล้ว ผู้กู้จะต้องขอรับหนังสือสัญญากู้ยืมเงินจากผู้ให้กู้มาทำลายเสีย
๓. ในกรณีที่ผู้กู้ชำระเงินคืนเพียงบางส่วน นอกจากมีใบรับเงินแล้ว ผู้กู้จะต้องให้ผู้กู้บันทึกไว้เป็นหลักฐานในหนังสือสัญญากู้ว่าได้มีการชำระเงินคืนไปแล้วเป็นจำนวนเท่าใดโดยผู้ให้กู้จะต้องลงลายมือชื่อกำกับไว้เป็นหลักฐานพร้อมทั้งวันที่
หากผู้กู้ไม่ทำตามข้อ ๑-๓ แล้วหากมีการโต้เถียงกันว่าได้มีการคืนเงินกันแล้วเป็นจำนวนเท่าใดผู้กู้ก็จะตกเป็นฝ่ายที่เสียเปรียบผู้กู้ซ้ำอีกครั้งหนึ่ง ผู้กู้จึงต้องระมัดระวังให้ดี จะอาศัยความเชื่อใจอย่างเดียวไม่ได้ มิฉะนั้นจะต้องเสียใจในที่สุดเสียรู้คนและต้องเสียทั้งเงินซ้ำอีกครั้ง