Advertisement
❝ ผลกระทบของเทคโนโลยีต่อการจัดการศึกษา
ศิริพร ทิมคล้าย*
เทคโนโลยีสารสนเทศ (Information Technology) มีความเจริญก้าวหน้าอย่างรวดเร็วก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในทุก ๆ ด้าน ทั้งด้านสังคม เศรษฐกิจ การเมือง วัฒนธรรมและการศึกษา ซึ่งมีทั้งข้อดีและข้อจำกัด ในที่นี้จะกล่าวถึงผลกระทบของเทคโนโลยีสารสนเทศ เฉพาะที่มีต่อระบบการศึกษา ทั้งในและนอกระบบ ดังจะเห็นได้จาก ความรวดเร็วในการติดต่อสื่อสารตลอดจนความสามารถที่เข้าถึงข้อมูลข่าวสารโดยเฉพาะการขยายตัวของเครือข่ายอินเตอร์เนต ซึ่งเป็นระบบคอมพิวเตอร์ที่อาศัยระบบดิจิตอล ซึ่งสามารถติดต่อสื่อสารกันได้โดยไม่มีข้อจำกัดได้ส่งผลกระทบต่อสภาพแวดล้อมทางการเรียนรู้ของครูและนักเรียน ตลอดจนระบบการเรียนการสอนในโรงเรียนและการศึกษานอกระบบอีกด้วย ทั้งนี้เพราะการศึกษาเป็นตัวกลางทางสังคมที่สำคัญ ในการพัฒนาและถ่ายทอดความรู้ ความเข้าใจ โดยอาศัยด้านการเมือง เศรษฐกิจ และเทคโนโลยีเป็นสื่อที่สำคัญ และมีอิทธิสูงในการเร่งรัดหรือกำกับการเปลี่ยนแปลงสังคม ดังนั้นการศึกษาจะเป็นประโยชน์แก่สังคมมากน้อยเพียงใด จึงขึ้นอยู่กับการรู้จักใช้ทรัพยากรด้านการศึกษา และเทคโนโลยีต่าง ๆ เป็น เครื่องมือเพื่อแก้ปัญหาและพัฒนาสังคม
เมื่อรัฐบาลได้เข้ามามีบทบาทในการจัดการศึกษามากขึ้น การศึกษาได้กลายเป็นสิทธิขั้นมูลฐานของประชาชน (Basic human right) อันเป็นการเสริมสร้างจิตใจ ให้รักเสรีภาพในการแสวงหาความสุขและสร้างความเป็นธรรมในสังคม ตลอดจนส่งผลกระทบต่อการเคลื่อนย้ายทางสังคมอีกด้วย
ผลกระทบของเทคโนโลยีสารสนเทศที่มีผลต่อระบบการศึกษาและวิธีการเรียนการสอนในอนาคตทำให้เกิดแนวทางใหม่ที่เปลี่ยนแปลงไปจากการศึกษารูปแบบเดิมดังนี้
1. ผลกระทบเทคโนโลยีสารสนเทศที่มีต่อวิธีการเรียนการสอน
1.1 ผู้เรียนจะเรียนเมื่อต้องการเรียนเท่านั้น กล่าวคือ ผู้เรียนสามารถเลือกวิชา เวลา สถานที่ ได้ตามความสนใจโดยไม่ต้องมีตารางเรียน ไม่จำเป็นต้องเข้าชั้นเรียนและสามารถเลือกศึกษาตามเรื่องที่ตนอยากรู้ ซึ่งอาจเลือกเรียนรู้ด้วยตนเองเพียงลำพัง หรือเรียนรู้พร้อม ๆ กับผู้อื่นที่มีความสนใจในเรื่องเดียวกันก็ได้
* รองผู้อำนวยการสถานศึกษาโรงเรียนชุมชนป้อมเพชร เทศบาลนครพระนครศรีอยุธยา
1.2 การเรียนรู้จะเป็นการเรียนรู้ด้วยตนเอง จากแหล่งความรู้ต่าง ๆ ทั่วโลกโดยไม่มีขีดจำกัด กล่าวคือ ผู้เรียนสามารถเข้าถึงข้อมูลได้จากเครื่องคอมพิวเตอร์ด้วยระบบออนไลน์ทั่วโลกเช่น สามารถเรียนรู้ได้จากเครือข่ายอินเตอร์เน็ตเป็นต้น
1.3 การเรียนรู้จะการเรียนรู้ตลอดชีวิต กล่าวคือ รูปแบบการเรียนรู้ และเป้าหมายของการศึกษาได้เปลี่ยนไปจากเดิมเช่น ผู้เรียนเคยมุ่งหวังปริญญาบัตรจากการเรียนเพียงเพื่อเป็นใบรับรองวุฒิในการทำงาน เพื่อประกอบอาชีพตามที่ตนต้องการเท่านั้น แต่แนวโน้มในปัจจุบันและอนาคต ผู้เรียนที่สำเร็จการศึกษาและมีอาชีพแล้วยังสามารถเรียนรู้ศึกษาเพิ่มเติมในสาขาที่สัมพันธ์กับหน้าที่การงานที่ตนปฏิบัติในการนำมาสู่การพัฒนางาน พัฒนาคน และพัฒนาสังคมอีกด้วย
2. ผลกระทบเทคโนโลยีสารสนเทศที่มีต่อบทบาทของครู
2.1 ครูเปรียบเสมือนที่ปรึกษา กล่าวคือ หน้าที่และบทบาทของครูผู้สอนจะเปลี่ยนจากการบรรยายหน้าชั้นเรียนเพียงอย่างเดียวมาเป็นการกล่าวนำเข้าสู่บทเรียนและทำหน้าที่เป็นเพียงผู้แนะนำ ให้คำปรึกษา และแก้ปัญหาให้แก่ผู้เรียนเท่านั้น
2.2 ความหลากหลายของวิชาชีพในการสอน กล่าวคือ การสอนด้วยคอมพิวเตอร์โดยผ่านเครือข่าย (Network) ทำให้ครูผู้สอนมีหน้ารับบทบาทที่เปลี่ยนแปลงไปเพราะผู้เรียนมีความสามารถติดต่อสื่อสารแลกเปลี่ยนความรู้ความเข้าใจระหว่างผู้เรียนและผู้สอนได้โดยไม่จำเป็นต้องอยู่ในชั้นเรียนเสมอไปรูปแบบการเรียนการสอนจึงเป็นแบบส่วนบุคคลมากยิ่งขึ้น ซึ่งรูปแบบนี้ครูคนเดียวสามารถแนะนำความรู้ความเข้าใจเกี่ยววิชาชีพอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับบทเรียนนั้น ๆ ได้ ดังตัวอย่างเช่น ครูผู้สอนเป็นผู้ที่มีความรู้ด้านคอมพิวเตอร์พื้นฐานก็สามารถให้คำแนะนำวิธีการใช้คอมพิวเตอร์พื้นฐานให้แก่ผู้เรียนเพียงอย่างเดียว ผู้เรียนก็จะสามารถนำความรู้ที่ได้ไปประยุกต์ใช้ในการศึกษาของตนได้หลายสาขาวิชาจากเหตุผลที่กล่าวมาแล้วแสดงให้เห็นว่าเทคโนโลยีสารสนเทศไม่เพียงแต่มีผลกระทบต่อระบบการเรียนซึ่งหมายถึงการเรียนรู้ของผู้เรียนที่ต้องคิดเป็น ทำเป็น แก้ปัญหาเองได้ เท่านั้น หากมีผลกระทบถึงบทบาทและหน้าที่ของครูผู้ทำการสอนอีกด้วย
ความเจริญก้าวหน้าทางเทคโนโลยีสารสนเทศอย่างรวดเร็วมีผลกระทบต่อระบบการศึกษาเป็นอย่างมาก เพราะเทคโนโลยีมีส่วนช่วยขยายโอกาสทางการศึกษาให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ โดยการเรียนรู้ผ่านสื่อต่าง ๆ เช่น บทเรียนสำเร็จรูป บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน (CAI) มัลติมีเดีย การจัดการศึกษาทางไกลการสืบค้นข้อมูลจากออนไลน์รูปแบบต่าง ๆ นอกจากนี้สื่อยังช่วยตอบสนองการเรียนรู้ของผู้เรียนที่มีความแตกต่างระหว่างบุคคลและชุมชน ตลอดจนช่วยแก้ปัญหาการขาดแคลนบุคลากร และผู้เชี่ยวชาญ โดยนำเอาสื่อช่วยสอนมาใช้ นอกจากนี้แนวโน้มของสื่อเทคโนโลยีต่าง ๆ จะมีขนาดเล็กลงมีราคาถูกลงและมีประสิทธิภาพสูงขึ้น เครือข่ายคอมพิวเตอร์มีความสามารถและเพิ่มประสิทธิภาพในการติดต่อสื่อสารมากยิ่งขึ้นตลอดจนมีบทบาทต่อระบบการศึกษาทั้งในและนอกระบบ ในการใช้ทรัพยากรร่วมกันให้เกิดประโยชน์สูงสุด
แหล่งอ้างอิง
http://www.songthai.com/ (14/09/2008:10.30AM)
http://202.142.221.70/tpawbs/viewtopic.php?id=374 (14/09/2008:11.10AM)
http://thainews.prd.go.th/ (15/09/2008:10.30AM)
http://61.19.35.21/mod/resource/view.php?id=1761 (15/09/2008:10.45AM)
❞
วันที่ 12 มิ.ย. 2552
Advertisement
เปิดอ่าน 7,137 ครั้ง เปิดอ่าน 7,144 ครั้ง เปิดอ่าน 7,142 ครั้ง เปิดอ่าน 7,182 ครั้ง เปิดอ่าน 7,139 ครั้ง เปิดอ่าน 7,139 ครั้ง เปิดอ่าน 7,141 ครั้ง เปิดอ่าน 7,145 ครั้ง เปิดอ่าน 7,311 ครั้ง เปิดอ่าน 7,150 ครั้ง เปิดอ่าน 7,139 ครั้ง เปิดอ่าน 7,143 ครั้ง เปิดอ่าน 7,140 ครั้ง เปิดอ่าน 7,145 ครั้ง เปิดอ่าน 7,140 ครั้ง เปิดอ่าน 7,144 ครั้ง
|
เปิดอ่าน 7,406 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,149 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,139 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,141 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,154 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,142 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,141 ☕ คลิกอ่านเลย |
|
≡ เรื่องน่าอ่าน/สาระน่ารู้ ≡
เปิดอ่าน 106,726 ครั้ง |
เปิดอ่าน 8,924 ครั้ง |
เปิดอ่าน 23,540 ครั้ง |
เปิดอ่าน 17,444 ครั้ง |
เปิดอ่าน 16,232 ครั้ง |
|
|