Advertisement
ชื่อเรื่อง การประเมินโครงการโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพโรงเรียนชุมชนป้อมเพชร
สังกัดเทศบาลนครพระนครศรีอยุธยา
ผู้ประเมิน ศิริพร ทิมคล้าย
ตำแหน่ง รองผู้อำนวยการสถานศึกษา โรงเรียนชุมชนป้อมเพชร
วุฒิการศึกษา ประกาศนียบัตรบัณฑิต สาขาบริหารการศึกษา
มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา
ระยะเวลาที่ประเมิน ปีการศึกษา 2550- 2551
บทสรุป
การประเมินโครงการโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพโรงเรียนชุมชนป้อมเพชร สังกัดเทศบาลนครพระนครศรีอยุธยาครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาสภาพการดำเนินงานในโครงการโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพ ประเมินกระบวนการดำเนินงานโครงการ ประเมินปัญหาและอุปสรรคของการดำเนินงาน การได้รับบริการด้านสุขภาพของนักเรียน และประเมินโครงการตามเกณฑ์มาตรฐานโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพของกระทรวงศึกษาธิการและกระทรวงสาธารณสุข กลุ่มตัวอย่างเป็นครู คณะกรรมการโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพและนักเรียนโรงเรียนชุมชนป้อมเพชรเป็นผู้ให้ข้อมูล โดยใช้รูปแบบการประเมินของสคริฟเว่น (Scriven’s Model) โดยมีการประเมินสภาพการดำเนินงานในโครงการแยกเป็น 2 ประเด็น คือ1 สภาพการดำเนินกิจกรรมซึ่งมีด้านต่างๆ ประเด็นต่างๆ ได้แก่ ความเหมาะสมของงบประมาณ ความพร้อมของหน่วยงานและบุคลากรที่ร่วมโครงการ ความเหมาะสมด้านการประสานงาน/จัดการ การวางแผนการจัดกิจกรรม การดำเนินงานการจัดกิจกรรม การควบคุม ติดตาม และประเมินผลการดำเนินกิจกรรม และ 2 ด้านกระบวนการดำเนินงานโครงการโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพของโรงเรียน ซึ่งมีด้านวางแผนกิจกรรมและด้านการดำเนินกิจกรรม เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถามสภาพการดำเนินกิจกรรมที่ได้ปฏิบัติในโครงการ แบบสำรวจกระบวนการดำเนินงานในโครงการ แบบสำรวจข้อมูลการได้รับบริการด้านสุขภาพของนักเรียน เกณฑ์มาตรฐานการประเมินโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพ ระดับประถมศึกษาของกระทรวง ศึกษาธิการและกระทรวงสาธารณสุข และแบบรายงานผล กิจกรรมตามโครงการ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการประเมินพบว่า
1. สภาพการดำเนินกิจกรรมที่ได้ปฏิบัติในโครงการโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพของโรงเรียนชุมชนป้อมเพชร มีผลการประเมินดังนี้
1.1 ด้านความเหมาะสมของงบประมาณโดยเฉลี่ยอยู่ในระดับเหมาะสมปานกลาง
1.2 ด้านความพร้อมของหน่วยงานและบุคลากรที่เข้าร่วมโครงการ โดยเฉลี่ยอยู่ในระดับเหมาะสมปานกลาง โดยมีสภาพการดำเนินงานอยู่ในระดับเหมาะสมมาก เรื่อง นักเรียน ครู และบุคลากร ผู้ปกครอง ผู้นำชุมชนกับผู้ที่เกี่ยวข้องทราบนโยบายที่เกี่ยวกับการส่งเสริมสุขภาพ
1.3 ด้านความเหมาะสมของการประสานงาน/จัดการโดยเฉลี่ยอยู่ในระดับเหมาะสมมาก โดยมีสภาพการดำเนินงานอยู่ในระดับเหมาะสมมากที่สุดเรื่องการประสานแผนการดำเนินงานโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพแก่ผู้ที่เกี่ยวข้องในโรงเรียนอย่างถูกต้อง ชัดเจนและทั่วถึง
1.4 ด้านการวางแผนการจัดกิจกรรม โดยเฉลี่ยอยู่ในระดับเหมาะสมมาก โดยมีสภาพการดำเนินงานอยู่ในระดับเหมาะสมมากทุกเรื่อง
1.5 ด้านการดำเนินการจัดกิจกรรมโดยเฉลี่ยอยู่ในระดับเหมาะสมมาก โดยมีสภาพการดำเนินงานอยู่ในระดับเหมาะสมมากที่สุดเรื่องนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ขึ้นไป ได้รับการตรวจสุขภาพด้วยตนเอง โดยใช้แบบบันทึกการตรวจสุขภาพด้วยตนเอง อย่างน้อยภาคเรียนละ 1 ครั้ง
1.6 ด้านการควบคุม ติดตาม และประเมินผลการดำเนินกิจกรรมตามโครงการโดยเฉลี่ยอยู่ในระดับเหมาะสมมาก โดยมีสภาพการดำเนินงานอยู่ในระดับเหมาะสมมากทุกเรื่อง
2. การประเมินกระบวนการดำเนินงานในโครงการโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพ โรงเรียนชุมชนป้อมเพชร มีผลการประเมินดังนี้
2.1 ด้านการวางแผนการจัดกิจกรรม
มีคณะกรรมการโครงการโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพประกอบด้วย ผู้บริหารโรงเรียน ครู นักเรียน ผู้ปกครอง เจ้าหน้าที่สาธารณสุข และผู้แทนองค์กรชุมชน ผู้กำหนดนโยบายโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพ ส่วนใหญ่ ได้แก่ คณะกรรมการโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพ วิธีการเผยแพร่นโยบายโครงการให้ผู้ที่เกี่ยวข้องทราบส่วนใหญ่ใช้ วิธีการแจ้งนโยบายในที่ประชุมผู้ปกครองนักเรียน นโยบายที่โรงเรียนกำหนด ส่วนใหญ่เกี่ยวกับการส่งเสริมสิ่งแวดล้อมที่เอื้อต่อการพัฒนาสุขภาพนักเรียน หน้าที่ของคณะกรรมการส่วนใหญ่คือการประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องและติดตามการดำเนินงาน และมีวิธีการในการจัดทำแผนงานโครงการ ส่วนใหญ่คือการกำหนดกิจกรรมส่งเสริมสุขภาพให้สอดคล้องกับกิจกรรมการเรียนการสอน
2.2 ด้านการดำเนินการจัดกิจกรรมในโครงการโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพ
รูปแบบการจัดให้มีฝ่ายสนับสนุนช่วยเหลือกิจกรรมส่งเสริมสุขภาพ ส่วนมากช่วยเหลือด้านการ จัดตั้งคณะทำงานรับผิดชอบในแต่ละแผนงาน /โครงการส่งเสริมสุขภาพ และจัดผู้นำนักเรียนให้ดำเนินการส่งเสริมสุขภาพนักเรียน
วิธีการสร้างความสัมพันธ์กับชุมชน หน่วยงานราชการ เอกชน คณะบุคคลในชุมชน ด้านส่งเสริมสุขภาพ ส่วนใหญ่ ได้แก่ ร่วมกิจกรรมต่าง ๆ ของชุมชนอย่างสม่ำเสมอ จัดเอกสารเผยแพร่ความรู้เรื่องการป้องกันโรคให้แก่ชุมชน
การได้รับความร่วมมือจากชุมชน หน่วยงานราชการ หน่วยงานภาคเอกชน คณะบุคคลในการส่งเสริมสุขภาพ ส่วนใหญ่ชุมชนมีส่วนร่วมจัดกิจกรรมส่งเสริมสุขภาพ เช่น การแข่งขันกีฬา การสุขาภิบาล ชุมชนมีส่วนร่วมแก้ไขปัญหาสุขภาพในท้องถิ่น เช่น ยาเสพติด ไข้เลือดออก
ขั้นตอนในการให้ชุมชนเข้ามามีส่วนร่วมในการดำเนินโครงการ ส่วนใหญ่ร่วมวางแผน ร่วมแก้ไขพัฒนาปรับปรุง โครงการ
สภาพความพร้อมเกี่ยวกับอาคารสถานที่และสิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆ ส่วนใหญ่เห็นว่ามีสนามและบริเวณโรงเรียนมีรั้วล้อมรอบ ไม่มีหลุมบ่อ จัดเป็นสัดส่วน มีการแบ่งหน้าที่ความรับผิดชอบให้นักเรียนรักษาความสะอาดบริเวณโรงเรียน อาคารเรียนและห้องเรียน และมีห้องส้วมแยก ชาย-หญิง เป็นสัดส่วนและเพียงพอต่อจำนวนนักเรียน
การจัดบริการน้ำดื่มน้ำใช้ ส่วนใหญ่ ได้แก่ มีน้ำดื่มสะอาดเพียงพอตลอดปี มีน้ำสะอาดใช้ล้างมือ ล้างหน้า ชำระร่างกายเพียงพอตลอดปี
วิธีการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมส่วนใหญ่เห็นว่ามีการจัดกิจกรรมส่งเสริมการรักษาความสะอาด มีถังรองรับขยะตามประเภท สภาพดีและเพียงพอตามจุดต่างๆในโรงเรียน
การส่งเสริมสุขภาพอนามัยและความปลอดภัยของผู้เรียน ส่วนใหญ่มีการกำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลาย มีอุปกรณ์และมาตรการป้องกันอัคคีภัยอย่างครบครันและชัดเจน
การจัดบริการสุขภาพนักเรียนและบุคลากร ส่วนใหญ่จัดให้มีการเฝ้าระวังสุขภาพนักเรียนทุกคนมิให้เกิดโรคที่มีผลต่อการเรียน และมีการบันทึกสภาวะสุขภาพนักเรียนเป็นปัจจุบัน มีการตรวจสุขภาพนักเรียนทุกคนอย่างน้อยภาคเรียนละ 1 ครั้ง
บริการสุขภาพที่ได้รับความช่วยเหลือจากหน่วยงานอื่น ส่วนใหญ่มีการเชิญบุคลากรจากหน่วยงานอื่นเป็นวิทยากรอบรมครูและนักเรียนให้มีความรู้เกี่ยวกับงานอนามัย มีการจัดกิจกรรมเกี่ยวกับเรื่องสุขภาพอนามัยร่วมกับเจ้าหน้าที่สาธารณสุข
วิธีการบูรณาการเนื้อหาหลักสูตรเพื่อให้ผู้เรียนมีสุขนิสัย ส่วนใหญ่มีการนำหลักสูตรสุขศึกษามาบูรณาการจัดทำหน่วยการเรียนรู้เสริมสร้างรากฐานทางด้านสุขภาพ มีการจัดการเรียนรู้โดยเน้นให้ได้ปฏิบัติจริงตามแนวสุขบัญญัติ 10 ประการ กับหลักสูตรสุขศึกษาของโรงเรียน
การส่งเสริมภาวการณ์เจริญเติบโตของนักเรียน ส่วนใหญ่นักเรียนทุกคนได้รับการบันทึกน้ำหนักส่วนสูงทุกเดือน นักเรียนมีภาวการณ์เจริญเติบโตผิดปกติจะได้รับการแก้ไขทุกคน
ลักษณะดำเนินงานสุขาภิบาลอาหารในโรงเรียน ส่วนใหญ่เห็นว่าสถานที่ปรุงและรับประทานอาหาร ตลอดจนเครื่องมือเครื่องใช้จัดตามหลักสุขาภิบาลอาหาร ผู้ปรุงและผู้จำหน่ายอาหารได้รับการตรวจสุขภาพประจำปี
การส่งเสริมการออกกำลังกาย กีฬาและนันทนาการแก่นักเรียนและชุมชน ส่วนใหญ่จัดให้มีการจัดกิจกรรมออกกำลังกายของนักเรียนโดยชมรม/ชุมนุม/กลุ่ม ในโรงเรียนอย่างน้อยสัปดาห์ละ 3 ครั้ง โรงเรียนร่วมกับชุมชนจัดกิจกรรมด้านกีฬาประจำทุกปี
การดำเนินการจัดการเรียนรู้และเน้นพฤติกรรมสุขภาพอนามัย ส่วนใหญ่ดูแลการขายอาหารของแม่ค้าให้ถูกสุขลักษณะทุกวัน การจัดการเรียนการสอนเน้นการดูแลสุขภาพและแปรงฟันหลังอาหาร
การให้คำปรึกษาและแก้ปัญหานักเรียนที่มีปัญหาสุขภาพและการสนับสนุนทางสังคมแก่นักเรียน ส่วนใหญ่นักเรียนที่มีพฤติกรรมเสี่ยงต่อสุขภาพทุกคนได้รับการช่วยเหลือทันท่วงที ตรวจร่างกายให้ตัดเล็บมือเล็บเท้าให้สั้นอยู่เสมอทุกวัน
การดำเนินการส่งเสริมสุขภาพบุคลากรในโรงเรียน ส่วนใหญ่บุคลากรทุกคนมีการประเมินสุขภาพอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง บุคลากรทุกคนร่วมกิจกรรมส่งเสริมสุขภาพ
3. ปัญหาอุปสรรคและข้อเสนอแนะในการดำเนินโครงการโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพ สรุปแยกพิจารณาเป็นด้านได้ดังนี้
3.1 ด้านการกำหนดนโยบายในการดำเนินงานโครงการโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพ ได้แก่ นโยบายที่กำหนดไว้ไม่ชัดเจน และนโยบายไม่สามรถนำไปปฏิบัติได้
3.2 ด้านการบริหารจัดการโรงเรียน ได้แก่ ขาดงบประมาณในการดำเนินงาน ขาดความร่วมมือจากผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ขาดการนิเทศติดตามอย่างต่อเนื่อง
3.3 ด้านความร่วมมือระหว่างโรงเรียนกับชุมชน ได้แก่ ชุมชนไม่ใส่ใจกับการส่งเสริมสุขภาพที่โรงเรียนจัดขึ้น และ ขาดความร่วมมือจากชุมชน
3.4 ด้านการจัดสิ่งแวดล้อมในโรงเรียนที่เอื้อต่อสุขภาพ ได้แก่ ขาดบุคลากรในการดำเนินงานด้านการจัดสิ่งแวดล้อม และขาดงบประมาณสนับสนุนการดำเนินงานการสุขาภิบาลสิ่งแวดล้อม
3.5 ด้านโภชนาการและอาหารที่ปลอดภัย ได้แก่ นักเรียนไม่ชอบดื่มอาหารเสริม (นม)
3.6 ด้านการออกกำลังกาย กีฬาและนันทนาการ ได้แก่ โรงเรียนขาดงบประมาณในการัดซื้อจัดหาอุปกรณ์กีฬา
4. การได้รับบริการด้านสุขภาพของนักเรียนโรงเรียนชุมชนป้อมเพชร มีดังนี้
ส่วนใหญ่นักเรียนที่เป็นกลุ่มตัวอย่างได้รับบริการ ดังนี้ ได้รับการตรวจสุขภาพจากเจ้าหน้าที่สาธารณสุข ได้รับประทานอาหารกลางวันเพียงพอทุกวัน โรงเรียนมีน้ำสะอาดสำหรับดื่มและใช้เพียงพอ ได้รับการตรวจสุขภาพช่องปากทุกเดือน โรงเรียนไม่มีสิ่งรบกวน เช่น กลิ่น เสียงดัง ฝุ่นละออง การตรวจสุขภาพช่องปากทุกเดือน ได้รับการชั่งน้ำหนัก วัดส่วนสูงทุกภาคเรียน ได้รับความรู้เกี่ยวกับโทษของสุรา บุหรี่ และสารเสพติดจากครูหรือเจ้าหน้าที่สาธารณสุข ได้รับการทดสอบสายตาหรือการได้ยิน เจ้าหน้าที่สาธารณสุขได้มาให้ความรู้เกี่ยวกับโรคที่ระบาดในชุมชน สถานที่ไปรับการรักษาเมื่อเจ็บป่วยฉุกเฉิน เช่น ปวดศีรษะ มีไข้ ขณะอยู่ในโรงเรียน ได้แก่ ห้องพยาบาล ได้รับความรู้เรื่องการป้องกันโรคหนอนพยาธิ ได้รับความรู้เกี่ยวกับการดูแลรักษาฟัน และได้แปรงฟันหลังอาหารกลางวันทุกวันที่โรงเรียน อุปกรณ์การเล่นกีฬาในโรงเรียน มีความเพียงพอต่อความต้องการ นำความรู้เรื่องการควบคุมและป้องกันโรคไข้เลือดออกไปกระจายสู่ครอบครัวและชุมชน ในโรงเรียนไม่มีแหล่งเพาะลูกน้ำยุงลาย ได้รับความรู้เรื่องโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ และโรคเอดส์จากครูหรือเจ้าหน้าที่สาธารณสุข ในโรงเรียนไม่มีสัตว์นำโรค ในห้องเรียนหรือห้องสมุด มีอากาศถ่ายเทดีและมีแสงสว่างพอเหมาะ ได้ออกกำลังกายอย่างน้อยสัปดาห์ละ 3 ครั้งในโรงเรียน และมีสุขภาพแข็งแรง เจ็บป่วยน้อยลง
5. การประเมินตามเกณฑ์มาตรฐานโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพของกระทรวง ศึกษาธิการและกระทรวงสาธารณสุข พบว่า ผลเฉลี่ยรวมอยู่ในระดับดีมากทั้ง 10 องค์ประกอบ ได้รับการรับรองมาตรฐานโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพ ระดับทอง จากอธิบดีกรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข
วันที่ 12 มิ.ย. 2552
Advertisement
เปิดอ่าน 7,141 ครั้ง เปิดอ่าน 7,150 ครั้ง เปิดอ่าน 7,140 ครั้ง เปิดอ่าน 7,145 ครั้ง เปิดอ่าน 7,144 ครั้ง เปิดอ่าน 7,137 ครั้ง เปิดอ่าน 7,140 ครั้ง เปิดอ่าน 7,139 ครั้ง เปิดอ่าน 7,137 ครั้ง เปิดอ่าน 7,145 ครั้ง เปิดอ่าน 7,337 ครั้ง เปิดอ่าน 7,139 ครั้ง เปิดอ่าน 7,144 ครั้ง เปิดอ่าน 7,141 ครั้ง เปิดอ่าน 7,136 ครั้ง เปิดอ่าน 7,139 ครั้ง
|
เปิดอ่าน 7,145 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,138 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,140 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,141 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,145 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,141 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,151 ☕ คลิกอ่านเลย |
|
≡ เรื่องน่าอ่าน/สาระน่ารู้ ≡
เปิดอ่าน 11,107 ครั้ง |
เปิดอ่าน 12,356 ครั้ง |
เปิดอ่าน 12,069 ครั้ง |
เปิดอ่าน 22,465 ครั้ง |
เปิดอ่าน 11,994 ครั้ง |
|
|