Advertisement
เมื่อมีสมาชิกใหม่ อย่าง "สัตว์เลี้ยง" เข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของบ้าน แน่นอนว่า คงจะเป็นเรื่องที่ดี เพราะสัตว์เลี้ยงจะเป็นเพื่อนคลายเหงาให้กับลูก แต่บางครั้งการตัดสินใจนำพาเจ้าสัตว์เลี้ยงเข้ามาในบ้าน ก็จําเป็นต้องให้ความรัก และการดูแลที่ดีด้วยเช่นกัน
แต่ปัญหาอยู่ที่ 'เด็ก'...เด็กบางคนไม่รู้จักวิธีการเลี้ยง หรือเล่น นำมาซึ่งความไม่ปลอดภัยต่อเจ้าสัตว์เลี้ยง เช่น อุ้มด้วยความไม่ระมัดระวัง ตี หรือเอาสิ่งของขว้างปา เป็นต้น ฉะนั้นวิธีที่จะให้เด็ก และสัตว์เลี้ยงอยู่ร่วมกันได้อย่างมีความสุข พ่อแม่สามารถที่จะสอนลูกๆ ให้เรียนรู้ถึงวินัย การแบ่งปัน และความรับผิดชอบ ผ่านกิจกรรมต่างๆ ได้
วันนี้ทีมงาน Life and Family ได้รับเทคนิคดีๆ จาก "พญ.เพียงทิพย์ หังสพฤกษ์" จิตแพทย์เด็ก และวัยรุ่น โรงพยาบาลมนารมย์ ที่ให้คำแนะนำคุณพ่อคุณแม่ที่มีปัญหาเรื่องลูกชอบตี แหย่ หรือรังแกสัตว์เลี้ยงมาฝากกัน เพื่อหลอมลูกให้รัก และเข้าใจสัตว์เลี้ยง และช่วยลดพฤติกรรมรังแก หรือทำร้ายสัตว์ได้เป็นอย่างดี อีกทั้งยังช่วยให้เด็กใจเย็น และมีพฤติกรรมที่อ่อนโยนตามไปด้วย
แต่ก่อนจะบอกถึงแนวทางให้เด็กอยู่ร่วมกับสัตว์ได้อย่างมีความสุขนั้น "พญ.เพียงทิพย์ หังสพฤกษ์" ได้บอกถึงสาเหตุ ความไม่ปลอดภัยของเจ้าสัตว์เลี้ยงที่เกิดจากเด็กว่า เกิดจากหลายสาเหตุร่วมกัน แต่สาเหตุหลักที่พบบ่อยคือ
1.ความเครียดของตัวเด็กเอง เช่น ความเครียดของพ่อแม่ แล้วมาลงกับลูก ซึ่งเด็กเองอาจนำมาลงกับสัตว์เลี้ยงบ้างก็เป็นได้ หรือถูกพ่อแม่ตี แล้วมาระบายที่สัตว์เลี้ยง เป็นต้น
พญ.เพียงทิพย์เล่าว่า เคยมีผู้ปกครองมาปรึกษาเธอ เกี่ยวกับกรณีที่ลูกมีพฤติกรรมโหดร้าย ชอบจับปลามาบี้ ตีแมว หรือจับสุนัขไปถ่วงน้ำ ซึ่งสอบถามต่อไปพบว่า สาเหตุหนึ่งมาจากความเครียดในครอบครัว เช่น ถูกพ่อแม่ตี แล้วมาลงกับสัตว์เลี้ยง นอกจากนี้ยังมีผลสะสมไปถึงการกระทำพฤติกรรมไม่เหมาะสมกับเพื่อนที่โรงเรียนอีกด้วย แต่ไม่ใช่เด็กทุกคนที่จะต้องเป็นแบบนี้
2.เลี้ยง-เล่นไม่เป็น-ไม่รู้ธรรมชาติของสัตว์แต่ละชนิด เด็กบางคนยังไม่รู้จักการเล่นกับสัตว์เลี้ยงว่าต้อง จับ หรือเลี้ยงแบบไหนถึงจะถูกต้อง และเหมาะสม จึงอาจใช้วิธีการแกล้ง หรือการแหย่ที่รุนแรงได้ เพราะคิดว่าเป็นการเล่นสนุก และไม่รู้ว่าสัตว์ไม่ชอบ เป็นต้น
"ลูกเล่นกับสัตว์เลี้ยงไม่เป็น หรือไม่รู้จักวิธีการเล่น อาจทำให้เด็กทำไปโดยไม่รู้ตัวได้ คิดว่าเป็นเรื่องสนุก เพราะเวลาแกล้ง หรือแหย่สัตว์เลี้ยงเหล่านั้นแล้วมันมีพฤติกรรมตอบสนอง หรือบางครั้ง สุนัข แมว ที่ชอบเข้ามาถูไถ กระโดด เดินตาม เลียเล่นกับเด็ก เพื่อเล่นหรือขออาหารกิน ซึ่งในบ้างครั้งเด็กอาจไม่ชอบ กลัวจนต่อต้านด้วยการใช้ความรุนแรง เช่น ตี หยิก หรืออื่นๆ" พญ.เพียงทิพย์กล่าว
3.สภาพแวดล้อม เด็กที่อยู่ในสภาพแวดล้อมที่ไม่เหมาะสม เช่น เจอแต่ความรุนแรง น่ากลัว หรือเลียนแบบพฤติกรรมจากสื่อ อาจซึมซับ และฝังจำแต่ความเรื่องของความรุนแรง จนนำมาสู่การลงมือกับสัตว์ก็เป็นได้ ซึ่งเรื่องนี้มีผลมากต่อเด็ก เพราะไม่ใช่สัตว์เพียงอย่างเดียว เด็กอาจซึมซับ และฝังจำไปทำร้ายคนอื่นในสังคมได้ เช่น ใช้ความรุนแรงกับเพื่อน
|
|
ภาพประกอบจากอินเทอร์เน็ต |
|
|
กระนั้น พ่อแม่ต้องให้ความรู้ หรือทำตัวอย่างที่ถูกต้องให้เด็กเห็น เช่น สอนให้รัก และใส่ใจสัตว์เลี้ยง สำหรับวิธีการที่จะให้ลูกอยู่ร่วมกับสัตว์เลี้ยงได้อย่างปลอดภัย และมีความสุขร่วมกันทั้งสองฝ่ายนั้น "พญ.เพียงทิพย์" ให้แนวทางในการปฏิบัติง่ายๆ สำหรับทุกครอบครัวที่มีเด็กกับสัตว์อยู่ในบ้านว่า
- ให้ชุดข้อมูล สร้างความเข้าใจ คุณพ่อคุณแม่ ต้องสร้างความเข้าใจ หรือบอกให้ลูกรู้ว่า สัตว์เลี้ยงชนิดนั้นๆ ชอบ หรือไม่ชอบอะไร หรือสอนให้สังเกตทีท่าว่า ช่วงเวลาไหนควรเล่น และเวลาไหนไม่ควรเล่น และถ้าลูกไม่ชอบให้มันเข้ามาใกล้จะต้องทำอย่างไร ถ้าลูกอยากให้มันเข้ามาหาจะต้องทำอย่างไร เพื่อที่ลูกจะได้เข้าใจ และไม่เข้าไปยุ่ง หรือแหย่สัตว์เลี้ยง อย่างผิดวิธี เพราะอาจจะเกิดอันตรายต่อตัวเขาได้
นอกจากนี้ ควรบอกลูกเสมอว่า ถ้าไปแกล้ง หรือรังแกสัตว์เลี้ยง อาจสร้างความเจ็บปวดให้กับมันได้ เช่น "ถ้าหนูโดนแบบนี้บ้าง หนูจะเจ็บหรือเปล่า" เป็นต้น ซึ่งเป็นการสอนให้เขาเข้าใจความรู้สึกของสัตว์ เพื่อทีหลังจะได้รู้ว่าการกระทำแบบนี้ไม่ดี เพราะสัตว์ก็เจ็บเป็นเหมือนกับเรา
- เลี้ยง-เล่นให้เป็น ความสนุก หรือความอยากรู้ อยากลองเป็นพฤติกรรมปกติของเด็กเล็กทุกคน แต่บางครั้งต้องได้รับการเรียนรู้ และมีต้นแบบการเล่นอย่างถูกต้อง และปลอดภัยสำหรับเจ้าสัตว์เลี้ยงด้วย เพราะไม่เช่นนั้น เด็กอาจทำร้ายสัตว์โดยไม่รู้ตัว เพราะเห็นเป็นเรื่องสนุก และไม่มีใครว่าอะไร ดังนั้นพ่อแม่ควรปลูกฝังลูกให้รักสัตว์ ด้วยการสอนลูกให้เลี้ยงสัตว์อย่างถูกต้อง และเลี้ยงให้เป็น ไม่ใช่ซื้อมาแล้วปล่อยให้อยู่กับเด็ก โดยไม่ให้คำแนะนำ หรือสอนวิธีการเลี้ยงอะไรเลย ทำให้เด็กบางคนไม่รู้ และไม่เอาใจใส่เท่าที่ควร
- มีส่วนร่วมสร้างความผูกพัน คุณพ่อคุณแม่ต้องมอบหมายหน้าที่ให้เด็กได้มีส่วนร่วมการในเลี้ยงสัตว์ที่ถูกต้องด้วย เช่น การให้อาหาร การดูแลเอาใจใส่ แต่ก่อนที่จะให้เด็กทำ คุณพ่อคุณแม่ต้องทำให้ดูเป็นตัวอย่าง และสอนให้ลูกเห็นก่อน แล้วให้เด็กทำให้เราดูจนเห็นว่าทำได้ถูกต้องจึงปล่อยให้ทำเองได้ วิธีนี้จะช่วยให้เด็กรัก และเข้าใจสัตว์เลี้ยงได้มากขึ้น
- เรื่องจริงผ่านตา ในปัจจุบันเราคงเห็นภาพของสุนัข แมว หรือสัตว์อื่นๆ ที่ถูกปล่อยทิ้งให้เร่ร่อนอยู่ตามท้องถนนบ้าง ตามวัดบ้าง ซึ่งแต่ละตัวล้วนอิดโรยไปด้วยความหิวโหย ภาพความจริงตรงนี้ อาจนำมาสอนลูกให้เกิดความตระหนักเรื่องความใส่ใจ และรักสัตว์ เพื่อให้เด็กได้แง่คิดว่า ไม่ใช่แค่เลี้ยงเพราะความน่ารักในตอนแรก แต่พอโตขึ้น เห็นว่าสัตว์เหล่านั้นไม่น่ารักเหมือนตอนเด็ก ก็ทิ้งกว้างเหมือนของเล่นที่ไม่มีชีวิต ซึ่งถ้าสอนตั้งแต่เริ่มแรก เด็กจะซึมซับ และไม่ทอดทิ้งสัตว์เหมือนอย่างที่เกิดขึ้นในสังคม ณ ตอนนี้
- ไออุ่นครอบครัว ส่งตรงถึงสัตว์เลี้ยง พ่อแม่ต้องให้ความอบอุ่นด้วยการทำกิจกรรมร่วมกันในครอบครัว เพื่อที่ลูกจะได้ซึมซับความอบอุ่นจากพ่อกับแม่ และนำไปปฏิบัติกับสัตว์เลี้ยง นี่เป็นเรื่องพื้นฐานการเลี้ยงดู ซึ่งเด็กจะเป็นอย่างไร ขึ้นอยู่กับครอบครัว
|
นอกจากนี้ พญ.เพียงทิพย์ บอกต่อไปว่า ก่อนที่จะนำสัตว์มาเลี้ยงที่บ้าน ต้องดูชนิดของสัตว์เลี้ยงด้วย โดยเฉพาะสัตว์แปลกๆ เพราะบางครั้งตัวเด็กเองไม่รู้ว่า สามารถจับเล่นได้หรือไม่ มีพิษหรือเปล่า อาจเป็นอันตรายต่อเด็กได้
ดังนั้นพ่อแม่ต้องระวัง และสอนลูกให้เข้าใจถึงอันตรายที่จะเกิดขึ้น เมื่อต้องเข้าไปใกล้ หรือจับสัตว์เลี้ยงดังกล่าวมาเล่น หรือสัตว์เลี้ยงบางตัวไม่เหมาะสมที่จะเลี้ยงไว้ในบ้าน โดยเฉพาะสัตว์มีขน เพราะอาจสร้างภาวะภูมิแพ้ให้เด็กที่เป็นโรคภูมิแพ้อยู่แล้วได้ง่ายขึ้น
"ก่อนที่จะซื้อสัตว์เลี้ยงให้ลูก ต้องดูว่า เหมาะสมกับลูกหรือเปล่า ถ้าลูกยังเล็กควรให้เลี้ยงสัตว์ที่เอาตัวรอดได้สูง เช่น สุนัข แมว เม่น (ไม่ควรเป็นวัยที่ยังเล็ก) แต่ถ้าเป็นสัตว์แบบเฉาง่าย เช่น ลูกกระต่ายน้อย ลูกหนูน้อย เป็นต้น ไม่ควรนำมาเลี้ยงไว้ในบ้านที่มีเด็กเล็ก หรือวัยอนุบาล เพราะสัตว์ดังกล่าว อาจตกอยู่ในความไม่ปลอดภัยเวลาคุณพ่อคุณแม่เผลอก็เป็นได้" พญ.เพียงทิพย์ฝาก
หรือถ้าตัวพ่อแม่เองอยากเลี้ยงสัตว์ ขอให้ดูคำถามต่อจากนี้ว่า "คุณรักสัตว์จริงไหม ที่บ้านรักด้วยหรือเปล่า คิดว่ามีเวลาไหม คิดว่าเลี้ยงได้ไหม คิดว่าจะเป็นภาระไหม คิดว่าฐานะตัวเองพอจะเลี้ยงไหวหรือเปล่า และที่สำคัญ คิดว่าที่บ้านมีบริเวณเพียงพอหรือไม่ ที่จะเลี้ยงสัตว์" ถ้าคุณยังตอบคำถามเหล่านี้ และให้เหตุผลที่ชัดเจนไม่ได้ การนำสัตว์เลี้ยงเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของครอบครัว คงยังไม่พร้อม เพราะอาจจะสร้างภาระให้กับเจ้าของ และตัวสัตว์เลี้ยงเองก็เป็นได้
|
วันที่ 12 มิ.ย. 2552
หน้าหนาวแล้ว คุณครูสนใจไหม DoDo เก้าอี้แคมป์ปิ้ง รับน้ำหนักได้เยอะ พร้อมกระเป๋าจัดเก็บ โครงอลูมิเนียมรับน้ำหนักได้200KG ในราคา ฿189 - ฿509 ที่ Shopeehttps://s.shopee.co.th/9pNuttuIUm?share_channel_code=6
Advertisement
เปิดอ่าน 7,165 ครั้ง เปิดอ่าน 7,416 ครั้ง เปิดอ่าน 7,166 ครั้ง เปิดอ่าน 7,173 ครั้ง เปิดอ่าน 7,152 ครั้ง เปิดอ่าน 7,195 ครั้ง เปิดอ่าน 7,442 ครั้ง เปิดอ่าน 7,163 ครั้ง เปิดอ่าน 7,163 ครั้ง เปิดอ่าน 7,226 ครั้ง เปิดอ่าน 7,152 ครั้ง เปิดอ่าน 7,192 ครั้ง เปิดอ่าน 7,154 ครั้ง เปิดอ่าน 7,494 ครั้ง เปิดอ่าน 7,154 ครั้ง เปิดอ่าน 7,164 ครั้ง
|
เปิดอ่าน 7,161 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,163 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,160 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,178 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,166 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,160 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,165 ☕ คลิกอ่านเลย |
|
≡ เรื่องน่าอ่าน/สาระน่ารู้ ≡
เปิดอ่าน 15,514 ครั้ง |
เปิดอ่าน 20,206 ครั้ง |
เปิดอ่าน 27,363 ครั้ง |
เปิดอ่าน 57,159 ครั้ง |
เปิดอ่าน 22,011 ครั้ง |
|
|