Advertisement
ใบไม้แห้ง ... สร้างสรรค์ผลงานการถ่ายภาพ
จากใบไม้แห้งเพียงใบเดียว เมื่อครั้งที่แล้ว
ได้นำมาถ่ายภาพในมุมที่ต่างกันได้ 11 แบบ
และได้ตกแต่งภาพออกเป็นลักษณะต่าง ๆ กัน ได้ 20 แบบ
ให้ชมไปแล้ว เมื่อครั้งที่แล้ว นั้น
ในครั้งนี้ จะลองสร้างสรรค์ผลงานต่อไป ... โดยนำภาพถ่ายใบไม้แห้งเดิม
มาตกแต่งภาพ ให้ซับซ้อนยิ่งขึ้นกว่าเดิม ให้มีความสวยความงามยิ่งขึ้น
แปลกตาออกไปจากเดิมที่พบเห็นกันทั่วไป
ก่อนที่จะสร้างสรรค์ผลงานภาพถ่ายต่อไปนั้น ผมอยากขอกล่าวถึงเรื่อง
การเสพและสัมผัสความงามสักเล็กน้อย อยากให้เราลองเปิดใจกว้างขึ้นกว่า
ปกติทั่วไป เช่น เราชอบมองดูดวงจันทร์เต็มดวง ชอบมองแสงเงินสุกสกาวเต็มท้องฟ้า ชอบดวงอาทิตย์กำลังจะขึ้นหรือกำลังจะตก ชอบมองแสงเงินแสงทองของรุ่งอรุณหรือโพล้เพล้ ซึ่งทำให้จิตใจเราเบิกบานแช่มชื่น ชอบต้นไม้ที่กำลังผลิใบอ่อนเต็มต้น เป็นต้น
แต่ในทางตรงกันข้าม เช่น ดวงจันทร์ข้างแรม ใบไม้แห้งร่วงหล่นที่หนอน
เจาะกินพรุน เก้าอี้ไม้เก่า ๆ ที่บ่งบอกถึงกาลเวลาที่ผ่านมาในอดีต หรือ
ความว้าเหว่ การทอดทิ้ง ความหนาวเหน็บ ความเงียบสงัด ความรันทด
เป็นต้น เรามักจะมองข้ามกันไป ผิดกับชาวญี่ปุ่นที่เขามักจะชื่นชม ยอมรับ
สภาพความเป็นจริงของธรรมชาติที่เมื่อเจริญถึงขีดสุดแล้ว ก็ต้องเสื่อมไป
เป็นธรรมดา เป็นความงามอันเป็นเนื้อแท้เลยทีเดียว
จริงอยู่เราอาจจะโต้แย้งว่า เรามีวัฒนธรรมที่ต่างกัน แต่การเปิดใจกว้างขึ้น
กว่าเดิม ก็เป็นสิ่งที่ดีมิใช่หรือ ไม่ได้เสียหายอะไร กลับได้เสพและสัมผัส
กับความงามเพิ่มขึ้นในอีกมุมมองหนึ่ง
เหมือนกับไฮกุบทนี้ ที่บาโชได้เขียนขึ้นเพื่อศิษย์รักคนหนึ่งที่ได้ตายจากไป
ลมฤดูใบไม้ร่วงกระโชก
ลงมานอนหักอย่างเศร้าสลด
กิ่งของต้นหม่อน
บาโช
บาโชมิได้รำพันคร่ำครวญถึงความเสียดาย ความเศร้า ความรักที่มีต่อศิษย์
แต่ได้เขียนไฮกุเพื่อศิษย์รัก
ฤดูใบไม้ร่วง มักกล่าวถึงธรรมชาติที่ร่วงโรยหรือใช้สัญลักษณ์ของสีแดง
หรือน้ำตาลแทน ซึ่งได้ถูกนำมาใช้ในงานศิลปะ
ใบไม้แห้งที่นำมาถ่ายภาพ จึงมักจะให้สีไปทางสีแดงหรือสีน้ำตาล เป็น
ส่วนใหญ่
ลองชมภาพข้างล่างนี้ ที่ได้ตกแต่งภาพให้ซับซ้อนยิ่งขึ้นกว่าเดิม ให้มีความสวยความงามยิ่งขึ้น ลองสัมผัสดูนะครับ และผมจะอธิบายสั้น ๆ ควบคู่
ไปด้วยกัน
ภาพที่ 1 เป็นภาพใบไม้แห้งที่มีสปอร์ตไลต์ส่องบริเวณปลายใบ เพื่อเน้นเฉพาะส่วน การเน้นเป็นการให้ความสำคัญ
(ใช้โปรแกรม Ulead Photo Express)
ภาพที่ 2 เป็นภาพใบไม้แห้ง 2 ใบซ้อนกัน โดยใช้ใบเดิมแต่ให้สีที่จาง
ลง โดยมีใบเดิมที่เล็กลงซ้อนทับอยู่ด้านบน
(ใช้โปรแกรม Microsoft Office Picture Manager)
ภาพที่ 3 เป็นภาพชายทะเล พ่อแม่ลูกกำลังเล่นน้ำทะเล และพ่อกำลัง
อธิบายอะไรบางอย่างให้ลูกฟัง เป็นครอบครัวที่อบอุ่น ได้นำ
ใบไม้แห้งและเปลือกหอยปีกนางฟ้า มาประกอบเพิ่มเติมเป็นฉากหน้า เพื่อให้สมบูรณ์ขึ้น ถึงแม้ใบไม้แห้งจะไม่ค่อยเหมาะนัก แต่บริเวณชายหาด
ก็มักจะมีใบไม้แห้งร่วงหล่นมาทับถมกันบ้าง ก็มีมิใช่หรือ
(ใช้โปรแกรม Frame Photo Editor)
ภาพที่ 4 และ 5 เป็นการนำภาพใบไม้แห้งมาประกอบกับการถ่ายภาพบุคคล (Portrait) โดยจัดวางให้ถูกตามหลักองค์ประกอบภาพ (Composition)
(ใช้โปรแกรม Frame Photo Editior)
(ภาพนางแบบจากอินเตอร์เน็ต ขอขอบคุณ)
ภาพที่ 6 เป็นภาพที่ใช้เทคนิคแบบ HDR (High Density Range) แต่เป็นแนวที่ผมคิดขึ้นมาใหม่ ซึ่งต่างจากของฝรั่ง คือ นำภาพใบไม้แห้งมา
ภาพเดียว ที่ถ่ายและตกแต่งปกติ แล้วใช้โปรแกรม Microsoft Office Picture Manager ผลิตภาพขึ้นมาอีก 2 ภาพ เป็นภาพ Over- exposed ภาพหนึ่ง และภาพ Under- exposed อีกภาพหนึ่ง
จากนั้นใช้โปรแกรม Photomatix Pro มา Merge ภาพ 3 ภาพ
เข้าด้วยกัน ภาพที่ได้ก็จะให้ภาพที่มีสีจัดจ้าน ฉูดฉาด ยิ่งขึ้น ซึ่งกำลังเป็น
ที่นิยมกันอยู่ในวงการถ่ายภาพเวลานี้
ภาพที่ 7 และภาพที่ 8 นำภาพใบไม้แห้งที่ตกแต่งภาพให้มีสีสันสวยงาม
ต่างกัน 5 ภาพ นำมาใส่กรอบสี่เหลี่ยมสวย ๆ
(ใช้โปรแกรม Photoscape)
(ภาพที่ 8 ภาพนางแบบจากอินเตอร์เน็ต ขอขอบคุณ)
ภาพที่ 9 นำภาพใบไม้แห้งที่ตกแต่งภาพให้มีสีสันสวยงามต่างกัน 3 ภาพ
นำมาเรียงต่อกันตามแนวนอน
(ใช้โปรแกรม Photoscape)
ภาพที่ 10 เป็นภาพบุคคลคนเดียวกัน ทำซ้อนกัน ประกอบกับใบไม้แห้ง
ที่ตกแต่งให้มีสีสันสวยงาม
(ใช้โปรแกรม Frame Photo Editor)
(ภาพนางแบบจากอินเตอร์เน็ต ขอขอบคุณ)
ภาพที่ 11 ภาพใบไม้แห้งที่ได้ตกแต่งให้สวยงามอีกแบบหนึ่ง โดยมี
สีเทาดำเป็นบางส่วน
(ใช้โปรแกรม Picasa3)
ภาพที่ 12 ภาพใบไม้แห้งที่ได้ตกแต่งให้มีสีสวยงามอีกแบบหนึ่ง
(ใช้โปรแกรม Microsoft Office Picture Manager)
ภาพที่ 13 นำภาพใบไม้แห้งที่ได้ตกแต่งแล้ว 3 ภาพ มารวม
ใส่กรอบ
(ใช้โปรแกรม Photoscape)
ภาพที่ 14 นำภาพหญิงสาวมาซ้อนอยู่บนใบไม้แห้ง
(ใช้โปรแกรม Frame Photo Editor)
(ภาพนางแบบ จากอินเตอร์เน็ต ขอขอบคุณ)
ภาพที่ 15 นำภาพ HDR (ภาพที่ 6) มาตกแต่งให้มีสีสันสวยขึ้น
(ใช้โปรแกรม Microsoft Office Picture Manager)
ภาพที่ 16 นำภาพใบไม้แห้งมาใส่กรอบแบบแปลก ๆ
(ใช้โปรแกรม Turbo Photo Editor)
ภาพที่ 17 นำภาพใบไม้แห้ง มาใส่ฟองอากาศ เพื่อให้สวยงามขึ้น
(ใช้โปรแกรม Ulead Photo Express)
ภาพที่ 18 19 และ 20 นำภาพใบไม้แห้ง ที่สวยต่างกัน
มาซ้อนหรือจัดเรียงกันในลักษณะที่แตกต่างกัน (ใช้โปรแกรม Frame
Photo Editor)
รวมทั้งหมด 20 ภาพด้วยกัน ซึ่งผมคิดว่าพอจะได้ไอเดียหรือเป็นแนวทาง
ในการนำใบไม้แห้ง วัสดุหาง่าย มาช่วยตกแต่งสร้างสรรค์ผลงานภาพถ่ายของท่านได้เป็นอย่างดีทีเดียว
-----------
อ้างอิง : แสงอรุณ รัตกสิกร, ตึก ต้นไม้ และแสงอรุณ โลกทัศน์ของ
สถาปนิก. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์มูลนิธิโกมล คีมทอง, 2530.
|
วันที่ 11 มิ.ย. 2552
หน้าหนาวแล้ว คุณครูสนใจไหม DoDo เก้าอี้แคมป์ปิ้ง รับน้ำหนักได้เยอะ พร้อมกระเป๋าจัดเก็บ โครงอลูมิเนียมรับน้ำหนักได้200KG ในราคา ฿189 - ฿509 ที่ Shopeehttps://s.shopee.co.th/9pNuttuIUm?share_channel_code=6
Advertisement
เปิดอ่าน 7,159 ครั้ง เปิดอ่าน 7,167 ครั้ง เปิดอ่าน 7,174 ครั้ง เปิดอ่าน 7,168 ครั้ง เปิดอ่าน 7,153 ครั้ง เปิดอ่าน 7,169 ครั้ง เปิดอ่าน 7,188 ครั้ง เปิดอ่าน 7,165 ครั้ง เปิดอ่าน 7,161 ครั้ง เปิดอ่าน 7,175 ครั้ง เปิดอ่าน 7,168 ครั้ง เปิดอ่าน 7,157 ครั้ง เปิดอ่าน 7,394 ครั้ง เปิดอ่าน 7,159 ครั้ง เปิดอ่าน 7,170 ครั้ง เปิดอ่าน 7,156 ครั้ง
|
เปิดอ่าน 7,148 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,162 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,163 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,170 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,163 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,168 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,183 ☕ คลิกอ่านเลย |
|
≡ เรื่องน่าอ่าน/สาระน่ารู้ ≡
เปิดอ่าน 24,082 ครั้ง |
เปิดอ่าน 10,960 ครั้ง |
เปิดอ่าน 93,282 ครั้ง |
เปิดอ่าน 10,711 ครั้ง |
เปิดอ่าน 44,172 ครั้ง |
|
|