ค้นหาทุกอย่างในเว็บครูบ้านนอก :
ชุมชนครู บุคลากรทางการศึกษา และนักเรียน แหล่งความรู้สำหรับครู นักเรียน ข่าวการศึกษา ห้องสมุดความรู้ทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้ และความรู้ทั่วไป เผยแพร่ผลงานวิชาการ ที่นี่


ข่าวการศึกษา     ความรู้ทั่วไป     งานราชการ/รัฐวิสาหกิจ/บริการสังคมเรื่องราวจากสมาชิก  ▶ ข่าว/บทความ ▶ หน้าแรก

จิตร ภูมิศักดิ์ นักคิด นักเขียน..... "ซิมโฟนี 80 ปี จิตร ภูมิศักดิ์" คอนเสิร์ตการกุศล


เรื่องราวจากสมาชิก เปิดอ่าน : 7,171 ครั้ง
Advertisement

จิตร ภูมิศักดิ์ นักคิด นักเขียน..... "ซิมโฟนี 80 ปี  จิตร ภูมิศักดิ์" คอนเสิร์ตการกุศล

Advertisement

 จิตร ภูมิศักดิ์

กองทุนจิตร ภูมิศักดิ์ ร่วมกับ มูลนิธิสายธารประชาธิปไตย
ขอเชิญชมคอนเสิร์ต
ซิมโฟนี 80 ปี จิตร ภูมิศักดิ์
“คนยังคงยืนเด่นโดยท้าทาย”
รายได้เพื่อจัดตั้งมูลนิธิจิตร ภูมิศักดิ์


พบกับต้นฉบับผลงานเพลงครั้งสมบูรณ์ ของ จิตร ภูมิศักดิ์
เรียบเรียงเสียงประสาน บรรเลง และขับร้องประสานเสียง
โดย วงออเสตราวิทยาลัยดุริยางคศิลป์ มหาวิทยาลัยมหิดล
พร้อมด้วยศิลปินรับเชิญ โฮป แฟมมิลี่

วันเสาร์ที่ 13 มิถุนายน 2552
เวลา 18.00 น. ณ หอประชุมใหญ่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์

บัตรราคา 500,700 และ 1,000 บาท
ซื้อได้ที่ ร้านน้อง ท่าพระจันทร์, โรบินสัน สาขา รัชดาภิเษก,
มูลนิธิสายธารประชาธิปไตย 02-621-8998-9
และ กลุ่มดินสอสี โทร. 0-2-623-2838-9

พิเศษ บัตรราคา 1,000 บาท รับ VCD เพลงจิตร ภูมิศักดิ์ ฟรี

รายได้เพื่อก่อตั้งมูลนิธิจิตร ภูมิศักดิ์ และ กิจกรรมต่อเนื่องในโครงการ
80 ปี จิตร ภูมิศักดิ์ ( พ.ศ. 2553) และ 45 ปี วันเสียชีวิต ( พ.ศ. 2554 )



 

จิตร ภูมิศักดิ์  
กุหลาบ สายประดิษฐ์   
อัศนี พลจันทร
ปรีดี พนมยงค์   
ป๋วย อึ้งภากรณ์

จิตร ภูมิศักดิ์  

           จิตร    ภูมิศักดิ์ เกิดเมื่อวันที่   25  กันยายน  พ.ศ.2473 เดิมชื่อ "สมจิตร"  เกิดที่ ตำบลประจันตคาม  อำเภอ ประจันตคาม  จังหวัดปราจีนบุรี   เป็นบุตรของนายศิริ   ภูมิศักดิ์ นายตรวจสรรพสามิต กับนางแสงเงิน  (ฉายาวงศ์)   ชื่อ "สมจิตร" เป็นชื่อที่ตั้งให้คล้องจองกับ "ภิรมย์"   พี่สาวคนเดียวของจิตร   แต่เนื่องจากในสมัยจอมพล ป.    พิบูลสงคราม ต้องการให้ชื่อสื่อลักษณะเพศ   "สมจิตร" จึงถูกเปลี่ยนเป็น "จิตร"

ในระหว่างปี พ.ศ.2479 - 2482 ด้วยเหตุที่บิดาทำงาน สรรพสามิตจำเป็นต้อง ย้ายที่ทำงานบ่อย   บิดาของจิตร ได้ย้าย ไปรับราชการที่จังหวัดกาญจนบุรี   จิตร   ภูมิศักดิ์ จึงได้เข้าเรียนชั้นประถมที่โรงเรียนประจำจังหวัด   ต่อมาในปี พ.ศ.2483 บิดาย้ายไปรับราชการ ที่จังหวัด สมุทรปราการ  ครอบครัวจิตรอยู่ที่นี่ได้ 7 เดือน บิดาก็ได้ รับคำสั่งย้ายอีก

          ระหว่างปี พ.ศ.2484 - 2489  บิดาได้ย้ายไปรับราชการ ที่จังหวัดพระตะบอง ซึ่งไทยได้คืน มาจากเขมร   จิตรได้ เข้าเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ที่พระตะบอง  ทำให้จิตร ได้มีโอกาสศึกษา  ภาษาฝรั่งเศส และเขมรจนเชี่ยวชาญ  โดยเฉพาะภาษาเขมร จิตร  แตกฉาน ทั้งภาษาพูด  ภาษา เขียนและศิลาจารึก     

          ต่อมานายศิริ บิดาของจิตรได้บันใจไปรักหญิงอื่น จนในที่สุดบิดาและมารดาได้ตัดสินใจแยกทางกัน    และเมื่อ ภายหลัง สงครามอินโดจีน ไทยต้องคืนพระตะบองให้เขมร   นางแสงเงินได้ย้ายไปอยู่ที่จังหวัดลพบุรี ทำการเช่าบ้านเปิด ร้านขายเสื้อผ้า  หาเงินส่งลูก 2 คนเรียนหนังสือที่กรุงเทพ    จิตรและพี่สาวได้ย้ายเข้ามาเรียนต่อ ที่กรุงเทพมหานคร โดยทั้งสองพี่น้องเข้าไป พักอาศัยอยู่ที่ย่านอุรุพงษ์  เพื่อที่จะเข้าศึกษาต่อชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 - 3   ที่โรงเรียน วัดเบญจมบพิตร เนื่องจากอยู่ใกล้บ้าน   แต่ว่าทางอาจารย์ใหญ่ของโรงเรียน ไม่เต็มใจรับจิตรเข้าเรียนที่นั่น แม้ว่า   ทางรัฐบาลจะได้มีประกาศรับรองผู้อพยพ จากจังหวัดพระตะบอง   พิบูลสงคราม เมื่อประเทศไทย ได้คืนดินแดน เหล่านั้นให้เขมรนักเรียนทุกคนสามารถ เข้าเรียนต่อ ในโรงเรียนรัฐบาลใดๆ ก็ได้   โดยมีพี่สาวภิรมณ์   ภูมิศักดิ์   ลงชื่อเป็นผู้ปกครองเด็กชายจิตร ส่วนพี่สาวเข้าเรียน ต่อที่ โรงเรียนเตรียมอุดม   ในปีแรกนั้น แม่ของจิตรซึ่งอยู่ที่ลพบุรี จะลงมากรุงเทพฯหาจิตร ทุกเดือน   เพื่อมาซื้อผ้าไปขายและเอาเงินมาให้ลูกใช้   ซึ่งเงิน ของจิตร มักจะถูกนำไปใช้ ซื้อหนังสือ โดยยอมอดกับข้าว  ในระหว่างเรียนที่โรงเรียนวัดเบญจมบพิตรนี้ จิตรมักจะ ถูกครูตราหน้าว่า เป็นเขมร ซ้ำแล้วซ้ำเล่า   แต่ก็มีแม่และพี่สาวคอยให้กำลังใจ และจิตรก็อดทนจนเรียนจบ

          วันที่ 27 เมษายน พ.ศ.2493 จิตรสอบไล่ได้ เตรียมสอง (ม.ศ.5)  จากโรงเรียน เตรียมอุดมศึกษา ด้วยคะแนน 65%

    หลังจากนั้นจิตร สอบเข้าเรียนต่อที่ คณะอักษรศาสตร์  จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในปีการศึกษา พ.ศ.2493 ระหว่างศึกษาอยู่ที่ คณะอักษรศาสตร์  ช่วงหนึ่งจิตรได้ ไปคลุกคลีอยู่กับ ดร.วิลเลี่ยม   เจ.  เก็ดนี่ย์   ดุษฎีบัณฑิตทางอักษรศาสตร์  ฝ่ายภาษาโบราณ ตะวันออก  อดีตที่ปรึกษา ของหอสมุดแห่งชาติ   จิตร ซึ่งมีพื้นฐาน ในวิชา ภาษาไทย ดีอยู่แล้ว  จึงสามารถช่วยเหลือ ดร.วิลเลี่ยม  เจ.  เก็ดนี่ย์ ได้อย่างมากในการค้นคว้า และขณะเดียวกัน จิตรก็สามารถ ปรึกษาหารือ กับท่านศาสตราจารย์ ผู้นี้ได้  เช่น  การวิเคราะห์ คำบางคำ  เช่น คำว่า " กระลาโหม " เป็นต้น

         ขณะเรียนอยู่ที่คณะอักษรศาสตร์ จิตรได้มีโอกาสเรียนวิชาภาษาไทยกับศาสตราจารย์พระยาอนุมานราชธนด้วย ซึ่งจิตรสอบได้คะแนนเต็ม 100 คะแนนแต่พระยาอนุมานราชธนหักคะแนนออกเสีย 3 คะแนนเพื่อไม่ให้เหลิง

          วันที่ 27 ตุลาคม พ.ศ.2496  จิตร   ภูมิศักดิ์ ได้รับตำแหน่งเป็นสาราณียกรของมหาวิทยาลัย มีหน้าที่จัดทำหนังสือ มหาวิทยาลัย  ฉบับ  23   ตุลาฯ   เพราะต้องการเปลี่ยนแปลงเนื้อหาที่ซ้ำๆ ซากๆ เหมือนกันทุกปี     โดยแหวกกรอบเดิม เอาเนื้อหาในหนังสือที่ตัวเองทำไปรับใช้ประชาชน ด้านหนึ่งของหนังสือมหาวิทยาลัย ฉบับที่ 23  ตุลาฯ   จิตรได้ชี้ให้เห็น ถึงสภาพที่แท้จริงของประชาชน    ในอีกด้านหนึ่งจิตรก็ได้ชี้ให้เห็นค่านิยมอันไม่ถูกต้อง    ซึ่งผู้คนนับถือกันมานาน

หนังสือ "23 ตุลา" มีเนื้อหาที่เป็นข้อเขียนของจิตร  ภูมิศักดิ์ จำนวนอย่างน้อย 3 เรื่อง ได้แก่ 
          เรื่องแรก คือ บทวิเคราะห์ การแก้ไขปัญหาสังคมตามพุทธปรัชญาและวิจารณ์บุคคลที่หากินโดยใช้ศาสนา บังหน้า ในนาม "ผีตองเหลือง" เป็นการวิจารณ์การทำบุญแบบไม่จำเป็นและวิจารณ์พฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมของ พระบางประเภท  ตลอดจนวิจารณ์วิธีแก้ปัญหาแบบลัทธิปฏิรูปของพุทธศาสนา   
          เรื่องที่สองคือ "ขวัญเมือง" เป็นนิยายสั้นทางการเมือง สะท้อนภาพผู้หญิงที่มีคุณสมบัติสำคัญคือ ถือเอาภาระ หน้าที่ทางการเมืองและภาระหน้าที่ ทางประวัติศาสตร์ เป็นหน้าที่สูงสุดของชีวิต   
          เรื่องที่สามคือ กลอนชื่อ "เธอคือหญิงรับจ้างแท้ใช่แม่คน" เป็นการ วิจารณ์หญิงที่มีลูกขึ้นมา เพราะความนึก อยากสนุกทางเพศครั้งแล้วก็ชอบเอาลูกไปทิ้งโดยไม่รับผิดชอบ

          นอกจากนี้ ก็มีข้อเขียนของบุคคลอื่น ได้แก่ เรื่อง "แปรวิถี" ของศรีวิภา  ชูเอม เป็นเรื่องเกี่ยวกับความคิดของนักปฏิวัติในฝรั่งเศส เช่น วอลแตร์  รุสโซ      ซึ่งจิตร   ภูมิศักดิ์ได้แก้ไขเพิ่มเติมให้เข้มกว่า ต้นฉบับเดิม  
          มีบทแปลของวรรณี   นพวงศ์  เป็นการเปิดโปงการค้าฝิ่นและการกินโกง ในวงการรัฐบาลไทย  ซึ่งหนังสือพิมพ์ ภาษาต่างประเทศนำไปเขียน
          มีบทความของประวุฒิ ศรีมันตะ เรื่อง "ใครหมั่นใครอยู่ใครเกียจคร้านตายเสีย" เป็นการเขียนโต้กรมประชาสัมพันธ์ของรัฐบาลที่ประณามประชาชนผู้ยากจนว่าเป็น "ผู้เกียจคล้าน"  ยกย่องพวกมั่งมี ศรีสุขว่าขยัน  ชื่อบทความมาจากโคลงสี่สุภาพ บทสุดท้ายของกรมประชาสัมพันธ์
          และมีข้อความชักชวนให้นิสิตน้อมรำลึกถึงกรรมกร  คนงานที่สร้างตึกจุฬาลงกรณ์ขึ้นมา ให้นึกถึงคุณของกรรมกร  คนงานและประชาชนผู้เสียภาษีบ้าง

          เมื่อหนังสือได้จัดพิมพ์เย็บเล่มเสร็จแล้ว  แต่ก่อนที่จะเข้าปก เจ้าหน้าที่ของโรงพิมพ์ "ไทยวัฒนาพาณิช" อันเป็นแหล่งรับพิมพ์หนังสือเล่มนี้  ได้แอบส่งหนังสือไปให้ทางตำรวจสันติบาลและทางมหาวิทยาลัย  จึงทำให้มีการสั่ง อายัดหนังสือเกิดขึ้น  

จากเนื้อหาที่ผิดแผกไปจากปีก่อนๆ  นี่เองทำให้เกิด เหตุการณ์สอบสวนจิตร  ขึ้นที่หอประชุมใหญ่จุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัยและจิตรถูกกลุ่มนิสิตคณะวิศวกรรมศาสตร์จับ "โยนบก "   ลงจากเวทีหอประชุม  ทำให้จิตรได้รับบาดเจ็บ ไปพักรักษาตัวอยู่ที่ โรงพยาบาลเลิดสินเป็นเวลาหลายวัน
          
          ต่อมาทางการของมหาวิทยาลัยได้ตั้งคณะกรรมการ พิจารณาโทษของจิตร และทางคณะกรรมการได้มีมติให้ พักการเรียนเป็นเวลา 1 ปี  คือในปี พ.ศ.2497    ระหว่างที่ ถูกสั่งพักการเรียน  จิตร ได้งานสอนหนังสือ เป็นอาจารย์ สอนวิชาภาษาไทยที่โรงเรียนอินทรศึกษา  

แต่สอนได้ไม่นาน   เนื่องจากจิตรได้นำเอาแนวคิดใหม่ไปวิเคราะห์วรรณคดี ที่สอนพวกนักเรียน   ผลก็คือนักเรียนชอบ แต่เจ้าหน้าที่บริหารโรงเรียนไม่ไว้วางใจจึงจำต้องออกจากงาน    ต่อมาจึงได้งานใหม่    โดยไปทำหนังสือพิมพ์ที่ "หนังสือพิมพ์ไทยใหม"่ อยู่กับสุภา  ศิริมานนท์ ซึ่งเป็นบรรณาธิการ  และ ในช่วงเวลาดังกล่าวนี้เองเป็นเป็นประโยชน์ ต่อจิตรอย่างมากในการสร้างสรรค์ผลงานอันมีคุณค่า ต่อประชาชน และวงวิชาการของไทย   ผลงานในช่วงที่อยู่หนังสือ พิมพ์ไทยใหม่ ส่วนใหญ่จะเป็นงานวิจารณ์ เช่น   วิจารณ์วรรณศิลป์ วิจารณ์หนังสือ   วิจารณ์ภาพยนต์   โดยใช้นามปากกา "บุ๊คแมน" และ "มูฟวี่แมน" 

          ขณะพักการเรียนจิตรต้องย้ายที่อยู่อาศัยจากบ้าน ดร.เกดนีย์  ที่ซอยร่วมฤดี   ถนนสุขุมวิท เนื่องจากดร.เกดนีย์ ถูกส่งตัวกลับประเทศ   จิตรได้ย้ายไปอาศัยอยู่กับเพื่อนเก่าที่บริเวณสะพานเสาวนีย์   ตรงข้ามกรมทางหลวงแผ่นดิน   อันเป็นที่ตั้งสำนักงานใหญ่ขององค์การ ส.ป.อ.ในเวลาต่อมา   ซึ่งเป็นย่านสลัมระยะหนึ่ง   และเมื่อพี่สาวของจิตร ซึ่งเรียนจบเภสัชฯ   ได้ทำงานที่จังหวัดปราจีนบุรี มีเงินอยู่บ้างจึงปลูกบ้านไม้สองชั้นขึ้นมาบริเวณสลัม   บ้านหลังดังกล่าว ต่อมาได้ถูกใช้ไปเป็นที่สนทนาทางการเมือง และการสร้างผลงานทางหนังสือเป็นจำนวนมาก

          พ.ศ.2498   จิตรกลับเข้าเรียนต่อในชั้นปีที่ 3 ที่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยในช่วงระยะนี้ จิตรได้เลิกอาชีพ หนังสือพิมพ์แบบทำประจำ   หันมาทำงานเป็นไกด์ พาชาวต่างประเทศท่องเที่ยว กับ "บางกอกทัวร์" มีที่ทำการอยู่ที่ มุมตรอกโรงแรมโอเรียลเต็ลและได้เดินทางไปกัมพูชาหลายครั้งเพื่อนำชาวต่างประเทศเข้าชมนครวัดนครธมซึ่งทำให้ จิตรมี ความเชี่ยวชาญ ทางโบราณคดีภาษาเขมรและการอ่านจารึกได้อย่างลึกซึ้งยิ่งขึ้น

          ในการกลับเข้ามาเรียนครั้งใหม่นี้ จิตร  ภูมิศักดิ์ ได้รวมกลุ่มกับเพื่อนนิสิตที่มีแนวคิดก้าวหน้าจากคณะต่างๆ รวมทั้งจากคณะอักษรศาสตร์ด้วย ทำกิจกรรมที่เน้นหนักไปในการศึกษาต่อมานำไปสู่การปฏิบัติ    ในการศึกษาชั้นต้น ของกลุ่มกิจกรรมของจิตร ได้ศึกษา "วัตถุนิยมประวัติศาสตร์" ต่อมาได้มีการจัดพิมพ์เป็นรูปเล่ม โดยมีอธิคม   กรองเกรดเพชรลงชื่อเป็นผู้แต่ง    เป็นเอกสารที่ปูพื้นทัศนะแบบวัตถุนิยมวิภาษและแบบวัตถุนิยมประวัติศาสตร์   มี การศึกษา "แนวทางมวลชน" ของเหมาเจ๋อตุง   โดยคำนึงถึงว่า ถ้าหากใช้แนวทางมวลชนไม่ดีแล้วก็อาจโดดเดี่ยว   อาจเคลื่อนไหวอะไรไม่ได้   หรือแม้กระทั่งถูกตีจากพวกปฏิกิริยาได้  
          และได้มีการปรึกษางานของกลุ่ม   ทั้งงานในระดับคณะ   งานในระดับมหาวิทยาลัย และงานในระดับขบวนการ นิสิตนักศึกษา     ต่อมากลุ่มกิจกรรมของจิตร คนในกลุ่มได้มีตำแหน่งประธานแผนกปาฐกถาและโต้คารม   ได้ใช้แผนก จัดกิจกรรม รายการ "ศิลปินโซเวียต" โดยมีศิลปินจากรัสเซียมาแสดงเป็นครั้งแรก    จัดรายการ "บัวบานบนแผ่นดินแดง" โดยเชิญคณะศิลปินกลุ่มที่กลับจากเมืองจีนของ สุวัฒน์   วรดิลกมาแสดง   เชิญกมล   เกตุศิริ มาบรรยายเรื่อง "ดนตรีไทย"   เพื่อกระตุ้นให้เกิดความรู้สึกชาตินิยม   หวงแหนวัฒนธรรมของชาติ   อันนำไปสู่การคัดค้านวัฒนธรรมอัน เน่าเฟะของจักรวรรดินิยม   และมีความพยายามผลักดันให้มีสภานิสิตและมีคณะผู้บริหารองค์กรนักศึกษามาจากการ เลือกตั้ง แต่ยังไม่เกิดผล

          แนวทางในการเคลื่อนไหวของกลุ่มกิจกรรมนิสิตของจิตร   ภูมิศักดิ์ ในระหว่างปี พ.ศ.2498 - 2500 นั้น คือ การกระตุ้นให้นักเรียน   นิสิตนักศึกษามีความรักชาติ   รักประชาธิปไตย ให้สนใจการเมือง  ให้เข้าใจว่า การเมือง เป็นปมเงื่อนในการแก้ปัญหาของประเทศ   การคัดค้านวัฒนธรรมอันต่ำทรามของจักรวรรดินิยมอเมริกา   พิทักษ์และ ส่งเสริมวัฒนธรรมอันดีงามของชาติ   คัดค้านความไม่เป็นประชาธิปไตยในมหาวิทยาลัย   คัดค้านระบบอาวุโสลัทธิ นิยมคณะ  ลัทธินิยมมหาวิทยาลัย และลัทธิบ้ากีฬาฯ กระตุ้นให้นักศึกษาในมหาวิทยาลัยและวิทยาลัยต่างๆ มีความสามัคคีกัน ตระหนักถึงผลประโยชน์ของชาติบ้านเมือง   ตระหนักถึงภัยของจักรวรรดินิยม   และได้มีความพยายามให้มีองค์การ ร่วมกัน  ซึ่งได้แก่ "สหพันธ์นักเรียนนิสิตนักศึกษาแห่งประเทศไทย

 ต่อมาในวันที่ 27 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2500     จิตร ภูมิศักดิ์จบการศึกษาจากคณะอักษรศาสตร์  จุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย ปริญญาบัตรอักษรศาสตร์บัณฑิต       จากนั้นก็เข้าทำงานเป็นอาจารย์สอนหนังสือที่วิทยาลัยครูเพชรบุรี วิทยาลงกรณ์  และขณะเดียวกัน ก็เป็นอาจารย์พิเศษวิชาภาษาอังกฤษที่คณะสถาปัตยกรรม          มหาวิทยาลัยศิลปกร   พร้อมทั้งเข้าศึกษาต่อระดับปริญญาโท   ณ   สถาบันค้นคว้าเรื่องเด็กของยูเนสโก ที่วิทยาลัยวิชาการศึกษาประสานมิตร   อาจารย์จิตร  ภูมิศักดิ์ สอนที่มหาวิทยาลัยศิลปากรสัปดาห์ละ   6 ชั่วโมง โดยได้ค่าสอนชั่วโมงละ 30 บาท จากแนวคิด ของจิตร ทำให้หนังสือรับน้องใหม่ของศิลปากร ปี 2500 ออกมาแหวกแนว เช่นเดียวกับหนังสือรับน้องใหม่ของจุฬาฯ    ปี 2496 เป็นหนังสือที่ปฏิวัติแนวคิดเรื่องศิลปะอย่างขุดรากถอนโคน   ชี้นำให้เห็นว่า "ศิลปต้องเกื้อเพื่อชีวิต"       มิใช่ "ศิลปเพื่อศิลป" อย่างเลื่อนลอย   งานเขียนเรื่อง "ศิลปเพื่อชีวิต" บางตอนของจิตร ซึ่งใช้นามปากกาว่า "  ทีปกร  " ตีพิมพ์ครั้งแรกที่ หนังสือรับน้องฉบับนี้ จากนั้น สำนักพิมพ์ เทเวศน์จึงได้นำไปรวมพิมพ์เป็นเล่ม   "ศิลปะเพื่อชีวิตศิลปะ เพื่อประชาชน"   และในปีเดียวกันนี้    จิตรได้เขียนบทความชื่อ "บทบาททางวรรณคดีของพระมหามนตรี"        ผู้เขียน    ระเด่นลันได   มีเนื้อหาล้อเลียน วัฒนธรรมศักดินา   โดยเฉพาะวรรณกรรมของชนชั้นสูงในเรื่อง "อิเหนา"  "เพลงยาวบัตรสนเท่ห์"   สะท้อนการฉ้อราษฎร์ บังหลวง   เป็นต้น

  นามปากกา "ทีปกร" จิตร  ภูมิศักดิ์ เป็นคนคิดขึ้นเอง  ซึ่งจิตรให้คำแปลว่า "ผู้ถือดวงประทีป"  คำที่มีความหมาย อันรุ่งโรจน์โชติช่วงนี้   จิตรได้แรงบันดาลใจมาจากบทกวีภาษาฝรั่งเศสของ วิคเตอร์ ฮูโก ชื่อ "ความสว่างและความมืด" (Les  Rayons  et  les  Ombres, I , 1893)

"กวี  ภายใต้วันคืนอันอัปลักษณ์เช่นนี้
ย่อมจักแผ้วทางไว้เพื่อวันคืนอันดีกว่า
เขาคือบุรุษแห่งยุคสมัยของความใฝ่ฝัน
ตีนทั้งสองเหยียบยืนอยู่  ณ  ที่นี้
ตีนทั้งสองเพ่งมองไปเบื้องหน้าโน้น
เขานั่นเทียว  โดยไม่คำนึงถึงคำประณามและเยิรยอ
เปรียบเสมือนผู้ทำนายวิถีแห่งอนาคต
จักต้องกระทำสิ่งที่จะมาถึงให้แจ่มจ้า
เสมือนหนึ่งโคมไฟในมืออันอาจรองรับสรรพสิ่งของเขา
ซึ่งกวัดไกวจ้าอยู่เหนือศีรษะ ของมวลชนทุกกาลสมัย"

          ความคิดเรื่อง "ศิลปเพื่อชีวิต" ซึ่งถือว่าเป็นความคิดใหม่ในสมัยนั้น       ปรากฏว่า "เสฐียรโกเศศ" หรือ ศาสตราจารย์พระยาอนุมานราชธนก็เห็นด้วยเป็นอย่างยิ่ง ตรงกับที่ "ทีปกร" เสนอ และในหนังสือรับน้องฉบับ ดังกล่าว "เสฐียรโกเศศ" ได้แปลบทความเรื่อง "ศิลปคืออะไร?" ของตอลสตอยให้   พร้อมกับอาจารย์กุหลาบ  สายประดิษฐ์ ก็ได้มอบบทความเรื่อง "ความเป็นมาของประวัติศาสตร์" ซึ่งเขียนถึง "ผู้สร้างประวัติศาสตร์ไม่ใช่กษัตริย์ แต่เป็นประชาชนผู้ทุกข์ยาก"   หนังสือรับน้องศิลปากร พิมพ์ไว้ 1,000 เล่ม  หลังจากมีการแจกหนังสือดังกล่าว ได้ถูกบรรดานักศึกษาคณะจิตรกรรม ต่อต้านและนำไปทำลายเป็นจำนวนมาก  และเกิดการชกต่อยระหว่างผู้มีแนวคิด สองแนวทาง  ได้มีการประชุมชักฟอกโดยกรรมการนักศึกษา ว่า "ทีปกร" คือใคร และได้มีนักศึกษาชายคณะจิตรกรรม ชื่อว่ากำจร  สุนพงษ์ศรี  ออกมารับสมอ้างว่า ตนคือ "ทีปกร" เพื่อไม่ให้เรื่องลุกลามไป

          ตอนเช้าตรู่ของวันที่   21  ตุลาคม   พ.ศ.2501 จิตรถูกจับกุมพร้อมกับ บุคคลอื่นๆอีกเป็นจำนวนมาก   ที่ต่อสู้เพื่อ ประชาชนในข้อหา "มีการกระทำอันเป็นคอมมิวนิสต์" และ  "สมคบกันกระทำความผิดต่อความมั่นคงของรัฐทั้งภายใน และภายนอกราชอาณาจักร" อันเป็นผลมาจากการยึดอำนาจและการใช้นโยบายปราบปรามของจอมพลสฤษดิ์    ธนะรัชต์ จิตรถูกจับกุมคุมขังไว้ที่ กองกำกับการสันติบาล (บริเวณโรงพยาบาลตำรวจในปัจจุบัน) ในวันที่ถูกจับกุม ได้มีลูกศิษดิ์ของจิตรหลายคนไปเยี่ยม   เมื่อนักศึกษาถามถึงว่า "อาจารย์จิตรอยู่หรือป่าวคะ" ก็มีเสียงตอบจากผู้ที่ถูก คุมขังร่วมกับจิตร ตอบกลับออกมาว่า "ถ้าเขาไม่อยู่ที่นี่แล้วเขาจะอยู่ที่ไหนละจ๊ะหนู"   จิตรถูกคุมขังตามสถานที่ต่างๆ ประมาณสามแห่ง คือ กองปราบปทุมวัน   เรือนจำลาดยาวใหญ่   และเรือนจำลาดยาวเล็ก

  จอมพลสฤษดิ์   ธนรัชต์ ใช้วิธีเหวี่ยงแห กวดเอาคนที่ต้องสงสัยว่าเป็นคอมมิวนิสต์มาขังไว้หมด ในลักษณะที่ ว่าจับมาสิบคนเป็นคอมมิวนิสต์หนึ่งคนก็ถือว่าใช้ได้   ภายในคุกลาดยาวเมื่อต้นปี พ.ศ.2501 จึงมีคนหลายกลุ่มมารวม กันในคุกการเมือง
          กลุ่มแรก เป็นสมาชิกองค์กรจัดตั้งของพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทย(พคท.) เช่น  เปลื้อง  วรรณศรี, อุดม  สีสุวรรณ , หนก  บุญโยดม และคนอื่นๆ
          กลุ่มที่สอง เป็นนักการเมืองแนวสังคมนิยม  เช่น  เทพ   โชตินุชิต , พรชัย  แสงชัจจ์ , เจริญ  สืบแสง และคนอื่นๆ
          กลุ่มที่สาม เป็นพวกนักเขียน-นักหนังสือพิมพ์   เช่น  อุทธรณ์    พลกุล , อิศรา  อมันตกุล , สนิท  เอกชัย , เชลง    กัทลีระดะพันธ์  และคนอื่นๆ
          กลุ่มที่สี่ เป็นนักศึกษาปัญญาชน  ที่มาจากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เช่น  จิตร   ภูมิศักดิ์ , ประวุฒิ   ศรีมันตะ, สุธี   คุปตารักษ์  จากมหาวิทยาลัยเกษตร เช่น  นิพนธ์  ชัยชาญ , บุญลาภ  เมธางกูร และนักศึกษาหนุ่มอีกหลายคน
          กลุ่มที่ห้า เป็นชาวนาจากบ้านนอก และชาวเขาจากดอยในภาคเหนือ เป็นพวกที่ไม่รู้เรื่องอะไร  ซึ่งถูกกล่าวหาว่า เป็นชาวนาที่อยู่ในสายจัดตั้งของ พคท.

          กลุ่มนักศึกษารวมกันในนาม "กลุ่มหนุ่ม" หรือ "กลุ่มเยาวชน"  โดยมีจิตร เป็นแกนหลักคนหนึ่งของกลุ่ม  ในคุกลาดยาว  องค์กรพรรคคอมมิวนิสต์ได้แยกออกเป็นสองปีก  ปีกขวาประกอบด้วยกรรมการกลางพรรคฯกับสมาชิก พรรคฯภาคใต้  ส่วนปีกซ้ายมีสมาชิกพรรคฯภาคอีสานร่วมมือกับกลุ่มหนุ่ม
          ปีซ้ายโจมตีฝ่ายตรงข้ามว่า เป็นพวกฝันกลางวัน หรือนักประนีประนอม "พวกฉวยโอกาสเอียงขวา" หรือ "พวก ลัทธิยอมจำนน"  ด้านปีกขวาก็โจมตีปีกซ้ายว่า เป็น "พวกโฉยโอกาสเอียงซ้าย" หรือ "พวกลัทธิสุ่มเสี่ยง"

          ในปี พ.ศ.2503  ชาวลาดยาวทั้งซ้ายและไม่ซ้ายได้รวมกัน ก่อตั้งรูปก่อร่างคณะกรรมการสามัคคีเพื่อช่วยเหลือ เพื่อนๆที่อยู่ร่วมกัน   มีการแบ่งงานออกเป็นแผนกการผลิต  แผนกการศึกษา  แผนกดนตรีและกีฬา  แผนกสวัสดิภาพผู้ ต้องขัง   โดยมีประธานคือเทพ  โชตินุชิต

            ต่อมาเมื่อวันที่    30  ธันวาคม   พ.ศ.2507   จิตร   ภูมิศักดิ์ได้รับการปล่อยตัว    เนื่องจากศาลกลาโหมยกฟ้อง    รวมเวลาที่จิตรถูกคุมขังโดยไม่มีความผิด   6 ปีเศษ   ระหว่างที่จิตรอยูในคุก   จิตรได้ทุ่มเวลาในการเขียน หนังสือ ผลงานเด่นๆ   ของจิตรที่เกิดขึ้นในคุก   อาทิเช่น   ผลงานแปลนวนิยายเรื่อง "แม่"   ของแมกซิมกอร์กี้ , โคทาน   นวนิยาย จากอินเดียของเปรมจันท์ (แปลไม่จบ)    และผลงานทางวิชาการที่ยิ่งใหญ่แห่งศตวรรษ คือ  "ความเป็นมาของคำสยาม   ไทย  ลาวและขอม และลักษณะทางสังคม ของชื่อชนชาติ"  

          เดือน>ตุลาคม  พ.ศ.2508   จิตร    ภูมิศักดิ์ ได้เดินทางสู่ชนบทภาคอีสาน   เพื่อเข้าร่วมต่อสู้กับ พรรคคอมมิวนิสต์ แห่งประเทศไทย ( พคท.) ในนาม "  สหายปรีชา "   และในเดือนพฤศิจกายน พ.ศ.2508 สายปรีชา ได้เดินทางไปที่ บ้านดงสวรรค์   ชายป่าดงพันนาโดยมีไสว นักรบแห่งบ้านเปือยไปรอรับ   มุ่งสู่ที่มั่นกลางดงพระเจ้า ในฐานะ "คนผ่านทาง" ซึ่งจะได้รับการส่งตัวไปปฏิบัติงานในจีนตามคำขอของสหายไฟ (อัศนี  พลจันทร) ต่อ พคท.   แต่จิตรขอ เรียนรู้การปฏิวัติในชนบทไทยเสียก่อนระยะหนึ่ง   

          สหายปรีชาใช้ชีวิตอยู่ที่ดงพระเจ้าได้ไม่นาน   กองทหารป่าก็ถูกกำลังเจ้าหน้าที่ตำรวจเข้ากวาดล้าง   นับเป็นครั้ง แรกที่มีการแตกเสียงปืนในดงพระเจ้า

 วันเสียงปืนแตก

          วันที่  7  สิงหาคม  พ.ศ.2508  มีการปะทะกันระหว่างตำรวจกับทหารป่าเป็นครั้งแรก ที่บ้านนาบัว  อำเภอนาแก  จังหวัดนครพนม  พรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทยถือว่าวันดังกล่าวเป็นวันเริ่มต้นของสงครามประชาชน ในที่ประชุมกรมการเมืองขยายวงที่ดงพระเจ้าเมื่อเดือนกันยายน  พ.ศ.2508 ก็มีมติรับรองและอนุมัติให้ตอบโต้ฝ่าย รัฐบาลด้วยกำลังอาวุธได้   กองกำลังทหารป่าที่ยังไม่มีชื่อหน่วยมาก่อนก็ได้มีชื่อขึ้นมาบ้างแล้วว่า " พลพรรคประชาชน ไทยต่อต้านอเมริกา"  เรียกย่อๆว่า "พล.ปตอ."  ธง  แจ่มศรี(ลุงธรรม) ได้มอบหมายให้จิตร  ภูมิศักดิ์แต่งเพลง มาร์ชประจำพลพรรค ด้วย 

          สหายปรีชาและพวกได้ถอยทัพจากเหล่าขี้เหล็ก   ตัดผ่านป่าไปทางบ้านส่งดาว หยุดพักพลที่บ้านบ่อแกน้อย ซึ่งมี นายพลจำปา หรือ พ่อจำปา เป็นแกนนำ   และขบวนถอยทับได้ข้ามภูผาเหล็กไปยังภูผาดง   ผ่านภูผาลมไปที่ภูผาหัก ซึ่ง ใกล้ๆกันนั้นมีหมู่บ้านผาหัก (หรือบ้านผาสุก)   และด้านข้างของหมู่บ้านเป็นภูเขาที่ชื่อว่า "ภูผาตั้ง"   ซึ่งภูผาแห่งนี้กลาย เป็นที่ตั้งแห่งใหม่ของทับใหญ่    สหายปรีชาได้ปฏิบัติงานมวลชนที่นี่ โดยมีสหายสวรรค์เป็น "ทหารพิทักษ์"   คอยติดตาม และเป็นเพื่อนร่วมงาน    ที่ภูผาลมสหายปรีชาได้แต่งเพลง "ภูพานปฏิวัติ" ขึ้นกลายเป็นเพลงต่อต้านอันโดดเด่นของ ขบวนการคอมมิวนิสต์ในประเทศไทย  

          วันที่ 4   พฤษภาคม  2509   สหายปรีชาและพลพรรคอีก 5 คนข้ามทางสายวาริชภูมิ-ตาดภูวง   มาทำงาน มวลชนที่บ้านหนองแปน   และบ้านคำบ่อ   ในวันรุ่งขึ้นได้ถูกล้อมปราบจากฝ่ายรัฐบาล   สายปรีชา  สหายสวรรค์และ สหายวาริช ได้หลบหนีไปทางเทือกเขาภูอ่างศอ   แต่ได้หลงทางไปถึงบ้านหนองกุงในเวลาเย็น   ด้วยความหิว  

สหายปรีชาได้เข้าไปขอข้าวในหมู่บ้านหนองกุ่ง ที่บ้านของ นางคำดี   อำพล แต่นางคำดีได้แอบให้คนไปแจ้งแก่ กำนันคำพล  อำพน (กำนันแหลม)   เมื่อจิตรได้รับห่อข้าวก็ เดินทางออกมา ที่ชายป่าท้ายหมู่บ้านเพื่อนำห่อข้าวมาให้ กับสองสหาย  แต่ถูก กำนันแหลมและกลุ่มทหาร อส.ตามมาทัน ที่นาจารย์รวย และสหายปรีชาได้ ถูกล้อมยิงเสียชีวิต

          วันที่ 5   พฤษภาคม   พ.ศ.2509  จิตร    ภูมิศักดิ์ ถูกล้อมยิงเสียชีวิตลงที่ชายป่าบ้านหนองกุง   ตำบลคำบ่อ  อำเภอวาริชภูมิ  จังหวัดสกลนคร

     แม้ว่ากาลเวลาจะผ่านมานานหลายสิบปี  นับแต่การจากไป ของจิตร   ภูมิศักดิ์แต่  ณ  วันนี้ชื่อของจิตร  ภูมิศักดิ์ ก็ยังคงอยู่   ผลงานและประวัติของเขายังมีผู้กล่าวขานถึงทุกวันนี้ มีคนเกิดจาก เขามากมาย

          เมื่อประมาณต้นปี พ.ศ.2544 คณะผู้จัดทำได้มีโอกาสไป ร่วมงานสืบสานภูมิปัญญา ปกป้องพันธุ์กรรมพื้นเมืองที่ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่  ในเวลาค่ำก็ได้ชมการแสงดนตรีของ พี่น้องนักศึกษาชาวเขาจากศูนย์การศึกษาทางเลือกม่อนสอยดาว ขับกล่อมเพลงแสงดาวแห่งศรัทธา  และการกล่าวขานถึงจิตร  ภูมิศักดิ์อย่างน่าประทับใจมาก

โพสต์โดยสมาชิกหมายเลข 3113 วันที่ 11 มิ.ย. 2552

🖼สำหรับคุณครูไว้ใส่เกียรติบัตรสวยและถูก🖼 กรอบป้ายอะคริลิคตั้งโต๊ะ A4 แนวนอน 30x21.5 cm อะคริลิคใส 1 หน้า ทรง L (A4L1P) ในราคา ฿129 คลิกเลย👇👇

https://s.shopee.co.th/1qLFIZVf4t?share_channel_code=6


จิตร ภูมิศักดิ์ นักคิด นักเขียน..... "ซิมโฟนี 80 ปี จิตร ภูมิศักดิ์" คอนเสิร์ตการกุศลจิตรภูมิศักดิ์นักคิดนักเขียน.....ซิมโฟนี80ปีจิตรภูมิศักดิ์คอนเสิร์ตการกุศล

Advertisement

≡ เรื่องอื่นๆ ที่น่าอ่าน ≡

เครื่องปั้มเข็มกลัด

เครื่องปั้มเข็มกลัด


เปิดอ่าน 7,183 ครั้ง
5 วิธี .....ลางานแบบเนียน ๆ

5 วิธี .....ลางานแบบเนียน ๆ


เปิดอ่าน 8,359 ครั้ง

:: เรื่องปักหมุด ::

ไอเดียสวน 10 แบบ น่านำไปลองจัด

ไอเดียสวน 10 แบบ น่านำไปลองจัด

เปิดอ่าน 7,162 ☕ คลิกอ่านเลย

Advertisement

≡ เรื่องน่าสนใจในหมวดหมู่นี้ ≡
ธรรมาภิบาล(Good Government)
ธรรมาภิบาล(Good Government)
เปิดอ่าน 7,179 ☕ คลิกอ่านเลย

ว๊าว!!...ส้มตำ...กดตู้อัตโนมัติ..
ว๊าว!!...ส้มตำ...กดตู้อัตโนมัติ..
เปิดอ่าน 7,185 ☕ คลิกอ่านเลย

เคล็ดลับ : 10 เทคนิคไม่ให้แบตเตอรี่ BB หมดเร็ว
เคล็ดลับ : 10 เทคนิคไม่ให้แบตเตอรี่ BB หมดเร็ว
เปิดอ่าน 7,168 ☕ คลิกอ่านเลย

เรื่องดีมีสาระและประโยชน์
เรื่องดีมีสาระและประโยชน์
เปิดอ่าน 7,152 ☕ คลิกอ่านเลย

เรื่องของแกะดำ....55555
เรื่องของแกะดำ....55555
เปิดอ่าน 7,160 ☕ คลิกอ่านเลย

แนะเมนู ?ไข่ กระเทียมไทย กะหล่ำปลี? อาหารดี ราคาถูก คุณค่าเพียบ
แนะเมนู ?ไข่ กระเทียมไทย กะหล่ำปลี? อาหารดี ราคาถูก คุณค่าเพียบ
เปิดอ่าน 7,170 ☕ คลิกอ่านเลย

≡ เรื่องน่าอ่าน/สาระน่ารู้ ≡

การเลือกซื้อเครื่องอิงค์เจ็ตพรินเตอร์
การเลือกซื้อเครื่องอิงค์เจ็ตพรินเตอร์
เปิดอ่าน 14,199 ครั้ง

ฟักทองญี่ปุ่น
ฟักทองญี่ปุ่น
เปิดอ่าน 20,159 ครั้ง

เตือนใช้ "บิททอร์เรนท์" โหลดคลิปโป๊มีโทษติดคุก
เตือนใช้ "บิททอร์เรนท์" โหลดคลิปโป๊มีโทษติดคุก
เปิดอ่าน 15,104 ครั้ง

ลูกเรามีความคิดสร้างสรรค์แค่ไหน
ลูกเรามีความคิดสร้างสรรค์แค่ไหน
เปิดอ่าน 13,786 ครั้ง

[คลิป] เล็กๆ เปลี่ยนโลก "การบริหารสมองด้วยพลังแห่งเสียงเพลง"
[คลิป] เล็กๆ เปลี่ยนโลก "การบริหารสมองด้วยพลังแห่งเสียงเพลง"
เปิดอ่าน 9,908 ครั้ง

เกมส์ รวมเกมส์สนุกๆ มากมาย
สนามเด็กเล่น

แหล่งรวมเกมส์ เกมส์ให้เล่นมากมาย ศูนย์รวมเกมส์สนุกๆ เกมส์ความรู้ เกมส์ลับสมอง เกมส์ประลองยุทธ แหล่งรวบรวมข้อมูล เกมส์ เกมส์ออนไลน์ เกมส์มันๆ เกมส์ตัดผม ไว้มากมายที่นี่ ให้เด็กๆได้เลือกเล่นมากมาย คลิกเลย

 
หมวดหมู่เนื้อหา
เนื้อหา แยกตามหมวดหมู่ สามารถเลืออ่านได้ตามหมวดหมู่ที่นี่


· Technology
· บทความเทคโนโลยีการศึกษา
· e-Learning
· Graphics & Multimedia
· OpenSource & Freeware
· ซอฟต์แวร์แนะนำ
· การถ่ายภาพ
· Hot Issue
· Research Library
· Questions in ETC
· แวดวงนักเทคโนฯ

· ความรู้ทั่วไป
· คณิตศาสตร์
· วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
· ภาษาต่างประเทศ
· ภาษาไทย
· สุขศึกษาและพลศึกษา
· สังคมศึกษา ศาสนาฯ
· ศิลปศึกษาและดนตรี
· การงานอาชีพ

· ข่าวการศึกษา
· ข่าวตามกระแสสังคม
· งาน/บริการสังคม
· คลิปวิดีโอยอดนิยม
· เกมส์
· เกมส์ฝึกสมอง

· ทฤษฎีทางการศึกษา
· บทความการศึกษา
· การวิจัยทางการศึกษา
· คุณครูควรรู้ไว้
· เตรียมประเมินวิทยฐานะ
· ผลงานวิชาการเล่มเต็ม
· เครื่องมือสำหรับครู

ครูบ้านนอกดอทคอม

เว็บไซต์เพื่อครู ข่าวการศึกษา ความรู้ การศึกษาไทย

      kroobannok.com

© 2000-2020 Kroobannok.com  
All rights reserved.


Design by : kroobannok.com


ครูบ้านนอกดอทคอม
การจัดอันดับของ Truehits Web Directory

วิธีนำแบนเนอร์ของครูบ้านนอก.คอมไปแปะในเว็บท่าน บันทึกภาพแบนเนอร์นี้และลิงค์มาที่เราครับ (มีแบนเนอร์ 2 แบบ)
 

ครูบ้านนอกดอทคอม เว็บไซต์ของครูตัวเล็กๆ คนหนึ่ง ที่หวังเพียง ใช้เป็นช่องทางในการสื่อสาร แลกเปลี่ยน เพิ่มพูนความรู้ และให้ข่าวสาร ที่ทันสมัยต่อเหตุการณ์แก่คุณครู ผู้ปฏิบัติงานในทุกพื้นที่ของประเทศไทย เพื่อความเจริญงอกงามในปัญญา และเจริญก้าวหน้าในวิชาชีพ

เว็บนี้ถือกำเนิดเมื่อ 5 มกราคม 2548

Email : kornkham@hotmail.com
Tel : 096-7158383

สนใจสนับสนุนเรา โดยลงโฆษณา
คลิกดูรายละเอียดที่นี่ครับ