บายศรี หรือ บาศรี
การทำบายศรี ใหญ่ที่สุด ซึ่งมีความสูงมาก ถ้าหากเปรียบกับตึก หรืออาคารบ้านเรือน จะสูงประมาณ อาคาร 3-4 ชั้น จังหวัดสกลนครได้จัดทำเพื่อสนับสนุนงานประเพณีออกพรรษาแห่ปราสาทผึ้งมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2534 จนถึงปัจจุบันรวม 9 ปี และจะทำต่อไปเรื่อย ๆ เพื่ออนุรักษ์วัฒธรรมที่ดีงาม
บายศรี คือ ภาชนะที่จัดตกแต่งให้สวยงามเป็นพิเศษด้วยใบตองและดอกไม้สดเพื่อเป็นสำรับใส่อาหาร หวาน คาว ในพิธีสังเวยบูชา และพิธีทำขวัญต่างๆ ทั้งของพระราชพิธีและของราษฎร เช่น
1. พระราชพิธีบวงสรวงสังเวยเทพเทวดา
2. พระราชพิธีเปลี่ยนเครื่องทรงพระแก้วมรกต
3. พระราชพิธีสมโภชพระพุทธรูป
4. พระราชพิธีสมโภชรับพระขวัญ
5. พระราชพิธีสมโภชช้าง
6. พิธีตั้งศาลพระภูมิ
7. พิธียกเสาเอก
8. พิธีทำขวัญต่างๆ ทำขวัญวัน ทำขวัญเดือน ทำขวัญนาค ทำขวัญเมื่อหายป่วยแล้ว ทำพิธีสู่ขวัญคู่บ่าวสาว
การทำบายศรีสู่ขวัญเป็นประเพณีโบราณ ที่บรรพบุรุษได้เคยปฏิบัติกันสืบ ๆ มา ถือกันว่าเป็นสิริมงคลอันดีแก่การเป็นอยู่ คือการสวัสดิภาพในการดำรงชีวิตของมนุษย์ แต่การทำบายศรีสู่ขวัญนั้นต้องอาศัยนักปราชญ์ผู้ฉลาดในวิธีการกระทำจึงเป็นสิริมงคลได้ ถ้าทำไปสักว่าทำ ไม่มีพิธีการก็จะมีผลน้อย เพราะการกระทำทั้งนี้เกี่ยวกับจิตวิทยาอย่างหนึ่ง ถ้าผู้ทำเป็นผู้ฉลาดในพิธีการตั้งอกตั้งใจทำจริง ๆ อย่างนี้ จึงได้รับประโยชน์ในการกระทำนั้น โบราณ ถือว่า บายศรีมีครูแรง ถ้าใครไม่ได้ครอบ (อนุญาต) ห้ามทำบายศรีอัปรีย์จะกิน ทำให้คนทั้งหลายกลัวไม่กล้าฝึกทำตามลำพัง หรือตามอย่างครู โดยครูไม่บอกอนุญาตให้เรียน ทั้งนี้คงมีจุดมุ่งหมายที่แฝงอยู่คือ ให้เรียนหรือฝึกหัดทำด้วยความตั้งใจอย่างดี เพื่อให้ได้สวยงามทำได้ดีที่มีครูสอน เพราะบายศรีเป็นของสูง เป็นเครื่องสังเวยเทพเทวดา ไม่ควรทำสุกเอาเผากิน จึงได้มีการปรามเอาไว้ กันคนที่ไม่ค่อยประณีตไม่ตั้งใจจริงไม่ให้ทำ อีกประการหนึ่ง เป็นการปลูกฝังลักษณะนิสัยที่ดีให้เกิดขึ้นแก่ลูกหลาน ให้รู้จักเครารพครูอาจารย์ มีกตัญญู ไม่ลบหลู่คุณครูอาจารย์ จะเรียนอะไร ทำอะไร ต้องได้ชื่อว่าศิษย์มีครู จึงจะเกิดความมั่นใจและทำได้ดี สมัยโบราณจึงมีพิธีครอบการทำบายศรี พิธีครอบของครูบายศรี ไม่มีอะไรมากมายนัก เพียงให้จุดธูปอธิษฐานถึงครูบายศรี ตั้งแต่ครูคนแรกที่เป็นผู้คิดประดิษฐ์ทำ และผู้รักษาสืบต่อมาจนถึงครูของเราปัจจุบันนี้ ขอคุณครูจงช่วยอวยพรชัยให้ทำบายศรีได้สวยงามดี สำเร็จเป็นศิริมงคล ถ้าแม้นว่าจะทำผิดพลาดประการใดขอคุณครูได้เมตตา อภัยให้ด้วยเถิน
การทำบายศรี นั้น นักปราชญ์โบราณเคยทำสืบ ๆ กันมา มี 2 วิธี คือ
วิธีที่ 1 จะนิมนต์พระสงฆ์ 4 รูป รับศีลรับพร และประพรมน้ำมนต์
วิธีที่ 2 ตั้งเครื่องบูชาพาขวัญ (บายศรี) ตามประเพณีนิยม มีข้าวสาร กล้วย ข้าวต้ม ขนม ธูปเทียน ผ้าแพรวา (ถ้าสู่ขวัญคน จะมี เครื่องสำอางค์ด้วย) ฝ้ายผูกแขน เทียนรอบหัวและเท่าตัว ยอดกล้วย ยอดอ้อย ด้ายขาว 1 ในขันโตก ขันทองเหลือง
การทำบายศรี มี 2 อย่าง คือ
บายศรีหลัก บายศรีปากชาม
1. บาศรีหลัก จะทำในงานทั่วไป เช่น งานมงคลต่าง ๆ แขกมาเยี่ยมบ้านแต่งงาน ทำขวัญผู้ใหญ่ ฯลฯ
2. บายศรีปากชาม นั้นมักจะมีคู่ซ้าย ขวา จะทำในพิธีบวงสรวงหลักเมือง หรือเจ้าที่เจ้าทาง หรือยกครู ไหว้ครู ทางไสยศาสตร์ ในสมัยโบราณ การทำบายศรีจะทำในงานสำคัญเท่านั้น และทำเป็นสี่หลักข้างต้น แต่เมื่อล่วงนานมาประมาณ พ.ศ.2500 ทางพุทธให้มีหลักสูตรสอนศาสนาพิธีนั้น พานบายศรีก็มีการเปลี่ยนแปลง ไปตามกาลสมัย มี 3 ชั้น 5 ชั้น 7 ชั้น 9 ชั้น ตามคำสวดที่อัญเชิญเทพมาในงานพิธีนั้น ๆ
ขอบคุณที่มาข้อมูล
|