เสียงดนตรีไพเราะเพราะพริ้งดังมากจากเวทีการแสดงศิลปพื้นเมือง เนื่องในงานฉลองวันแห่งชัยชนะของท้าวสุรนารี ประจำปี ๒๕๕๒ ตรงข้ามสำนักงาน หลังจากเลิกงานจึงได้เข้าไปเที่ยวชม เห็นผู้แสดงกำลังฟ้อนรำอย่างสวยงาม แต่งตัวด้วยเสื้อผ้าสีสดสวยผู้แสดงประกอบด้วยเด็ก วัยกลางคน และผู้สูงอายุ มายืนกำกับด้วย
เห็นลุงคนหนึ่งกำลังบรรจงถ่ายรูปอย่างเอาจริง เอาจัง และให้ความสนใจเป็นอย่างยิ่ง สอบถามว่าเขาเรียกว่าฟ้อนรำอะไร
ชาวบ้านเรียกว่า “รำกระแจะ” หรือ รำกระด้ง เป็นการละเล่นพื้นเมืองของชาวชะบน ซึ่งเป็นชาวบ้านกลุ่มหนึ่ง มีภาษาพูดเป็นของตนเอง มีภาษาคล้ายกับภาษามอญ มีถิ่นฐานตั้งอยู่ในเขตอำเภอปักธงชัย มีหลายหมู่บ้าน มีภาษา ประเพณี และการละเล่นเป็นการเฉพาะตัว การรำดังกล่าวจะละเล่นในยามมีงานรื่นเริงประจำหมู่บ้าน งานประจำปี หรืองานประเพณีสำคัญ เท่านั้น
รำกระแจะ หรือรำกระด้ง ของชาวชะบน อำเภอปักธงชัย
สภาพความเป็นอยู่จะเหมือนกับคนพื้นเมืองทั่วไป เนื่องจากมีความกลมกลืนของคนสมัยใหม่ กับ สมัยเก่า ส่วนภาษาชะบน คนอายุรุนราว ๕๐ ปี ขึ้นไป ยังพูดสื่อสารกันได้อยู่ จากการสัมภาษณ์ของพิธีกร สำเนียงจะออกเหมือนภาษาไทยโคราช จะเป็นเสียงสูง จะคล้ายเสียงการการร้องสรภัญญะหรือสารภัญญ์ทางอีสาน
ในงานวันฉลองแห่งชัยชนะ ผู้มาเที่ยวสามารถชมการละเล่นพื้นเมืองได้หลาย เพราะจังหวัดนครราชสีมา มีพื้นที่กว้างใหญ่ มีประชากรมีหลากหลายกลุ่ม และชนชาติ ไม่ว่าจะเป็นลาว ลาวโซ่ง ส่ว ย เขมร ชาวชะบน และอื่น ๆ
การแต่งกายด้วยผ้าไหมปักธงชัย อันลือชื่อและดนตรีประกอบด้วยฉิ่ง กลอง ซอ และปี่