Advertisement
ภาควิชาชีววิทยา ร่วมกับศูนย์วิจัยอนุกรมวิธานประยุกต์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น เตรียมผลักดันให้มหาวิทยาลัยขอนแก่นเป็นพื้นที่แหล่งอนุรักษ์และจุดเที่ยวชมหิ่งห้อย
ผศ.ดร. วินัย ใจขาน รองอธิการบดีฝ่ายสังคมและชุมชนสัมพันธ์ กล่าวว่าตามที่ รศ.ดร. นฤมล แสงประดับ นักวิจัยทางด้านชีววิทยาและนิเวศวิทยาของแมลง และ อ. วุฒิพงศ์ มหาคำ จากภาควิชาชีววิทยา และศูนย์วิจัยอนุกรมวิธานประยุกต์ คณะวิทยาศาสตร์ ได้ทำการศึกษารูปแบบการดำรงชีวิตและวงชีวิตของหิ่งห้อยภายในมหาวิทยาลัยขอนแก่น ซึ่งพบว่าพื้นที่ภายในมหาวิทยาลัยขอนแก่นเป็นพื้นที่อาศัยที่เหมาะสมสำหรับการดำรงชีวิตของหิ่งห้อย และในช่วงปลายฤดูร้อนถึงต้นฤดูฝนนี้จะมีหิ่งห้อยระยะตัวเต็มวัยเป็นจำนวนมากนับหมื่นตัวบินออกมาจับคู่ผสมพันธุ์ นั้น ซึ่งทางมหาวิทยาลัยพร้อมขานรับให้พื้นที่ภายในมหาวิทยาลัยเป็นแหล่งอนุรักษ์และเที่ยวชมหิ่งห้อยต่อไปในอนาคต
จากการเปิดเผยข้อมูลจาก รศ.ดร. นฤมล แสงประดับ และ อ. วุฒิพงศ์ มหาคำ โดยกล่าวว่าหิ่งห้อยเป็นแมลงในกลุ่มเดียวกับด้วงปีกแข็ง ซึ่งเป็นสิ่งมีชีวิตเพียงไม่กี่ชนิดในโลกที่สามารถเรืองแสงได้ตามธรรมชาติจากกระบวนการเรืองแสงทางชีวภาพที่เรียกว่า bioluminescence ซึ่งแสงที่หิ่งห้อยสร้างนี้เป็นแสงเย็นหรือ cold light ซึ่งมีลักษณะแสงสีเขียวอมเหลือง ไม่เหมือนกับแสงความร้อนจากหลอดไฟฟ้าที่เป็นแสงร้อน แสงดังกล่าวนี้เกี่ยวข้องกับการสืบพันธุ์ การหาอาหาร และการปกป้องตัวเอง หิ่งห้อยมีบทบาทสำคัญในระบบนิเวศหลายประการ จากการสำรวจหิ่งห้อยภายในมหาวิทยาลัยขอนแก่นนั้นพบว่า หิ่งห้อยมีวงจรชีวิตประมาณ 6 เดือน – 1 ปี โดยเริ่มจากระยะไข่ พัฒนาเป็นตัวอ่อน ดักแด้ และตัวเต็มวัยในที่สุด โดยช่วงที่มีการลอกคราบเป็นระยะตัวเต็มวัยคือช่วงหน้าร้อน ประมาณปลายเดือนพฤษภาคม ถึง ช่วงเดือนมิถุนายน ซึ่งหิ่งห้อยระยะตัวเต็มวัยที่พบภายในพื้นที่ของมหาวิทยาลัยนี้มีจำนวนมากเป็นพิเศษ นับหมื่นตัว โดยจะมีช่วงชีวิตในระยะตัวเต็มวัยนี้ประมาณ 1 เดือน บริเวณที่พบหิ่งห้อยมีอยู่หลายจุดด้วยกัน เช่น บริเวณพื้นที่โดยรอบสะพานขาวทั้งสองฝัง (ใกล้สระพลาสติก และหลังคณะศิลปกรรมศาสตร์) พื้นที่ป่าติดคณะนิติศาสตร์ตรงข้ามโรงเรียนสาธิตศึกษาศาสตร์ บริเวณป่าหน้าศูนย์สุขภาพนักศึกษาติดคณะมนุษย์ศาสตร์ฯ เป็นต้น โดยหิ่งห้อยจะบินออกมาจับคู่ผสมพันธุ์กันในช่วงระยะเวลาพลบค่ำ (โพล้เพล้) โดยจะมีมากที่สุดในช่วงเวลาประมาณ 19.00-20.00 น. ซึ่งจำนวนหิ่งห้อยที่จะพบขึ้นกับสภาพอากาศในแต่ละวันด้วยเช่นกัน หากวันไหนมีอากาศร้อนจะมีหิ่งห้อยออกมาเป็นจำนวนมาก ซึ่งจะมีหิ่งห้อยปรากฏเช่นนี้ในทุกๆ ปี หากพื้นที่ป่าในมหาวิทยาลัยยังคงมีความอุดมสมบูรณ์อยู่ สำหรับจุดที่เหมาะสมสำหรับการชมหิ่งห้อยมากที่สุดน่าจะเป็นพื้นที่บริเวณสะพานขาวเนื่องจากพื้นที่โล่งสบายตาเหมาะสำหรับการเดินหรือนั่งชม
|
|
โดยปกติแล้วพื้นที่ที่จะพบหิ่งห้อยเป็นจำนวนมากนั้นจะต้องเป็นพื้นที่ที่มีความอุดรสมบูรณ์ในทางระบบนิเวศ และหิ่งห้อยสามารถใช้เป็นตัวบ่งชี้ความอุดมสมบูรณ์ของสิ่งแวดล้อมได้เป็นอย่างดี จากจุดนี้นี่เองที่ชี้ให้เห็นว่าสภาพแวดล้อมภายในมหาวิทยาลัยขอนแก่นยังคงมีความอุดมสมบูรณ์ นอกจากนี้หิ่งห้อยยังสามารถนำมาใช้เป็นแมลงต้นแบบที่สามารถเรืองแสงได้เพื่อศึกษาวิจัยในระดับเชิงลึกได้เป็นอย่างดีโดยเฉพาะการพัฒนาเชิงชีววิศวกรรมเพื่อพัฒนาระบบการสร้างแสงเย็นเลียนแบบธรรมชาติ
ผศ.ดร. วินัย ใจขาน กล่าวเพิ่มเติมว่า "มหาวิทยาลัยพร้อมขานรับให้ มข. เป็นแหล่งอนุรักษ์และเที่ยวชมหิ่งห้อยในทุกๆ ปีจะมีหิ่งห้อยจำนวนมากเช่นนี้ เนื่องจากหิ่งห้อยเป็นแมลงที่อยู่คู่กับวิถีชีวิตคนไทยมาช้านาน ทั้งด้านตำนานหรือนิยายเล่าขาน และในแง่ความอุดมสมบูรณ์ของสิ่งแวดล้อม นอกจากนี้หิ่งห้อยยังสร้างความสุนทรีให้กับผู้คนที่พบเห็น โดยเฉพาะการพบหิ่งห้อยเป็นจำนวนมากนั้นเชื่อว่าน่าจะดึงดูดใจและสร้างความสุนทรีให้กับผู้พบเห็นเป็นอย่างดี และมีพื้นที่เพียงไม่กี่แห่งในประเทศที่จะสามารถพบหิ่งห้อยได้เป็นจำนวนมาก เชื่อว่าหากผลักดันให้มหาวิทยาลัยขอนแก่นเป็นแหล่งอนุรักษ์สภาพธรรมชาติและจุดเที่ยวชมหิ่งห้อย จะเป็นการช่วยสร้างสภาพแวดล้อมและบรรยากาศที่เป็นเอกลักษณ์ให้กับมหาวิทยาลัย และยังกระตุ้นให้ทั้งนักศึกษาผู้คนภายนอกที่สนใจเข้ามาชมความงดงามของหิ่งห้อยในรั้วสีเขียวของมหาวิทยาลัยขอนแก่นได้ต่อไปในอนาคต"
|
|
|
|
|
|
»» งานประชาสัมพันธ์ กองกลาง สำนักงานอธิการบดี |
http://www.news.kku.ac.th/kkunews/index.php?option=com_content&task=view&id=2117&Itemid=49
วันที่ 9 มิ.ย. 2552
ขายดีมากครับคุณครู (พร้อมส่ง) เครื่องเคลือบบัตรA4 รุ่นSL200 เครื่องเคลือบกระดาษA4 A3 A5 ABSป้องกันการ์ด ในราคา ฿368 - ฿999 ที่ Shopeehttps://s.shopee.co.th/4VLvxbi7ho?share_channel_code=6
Advertisement
เปิดอ่าน 7,155 ครั้ง เปิดอ่าน 7,166 ครั้ง เปิดอ่าน 7,171 ครั้ง เปิดอ่าน 7,164 ครั้ง เปิดอ่าน 7,168 ครั้ง เปิดอ่าน 7,171 ครั้ง เปิดอ่าน 7,168 ครั้ง เปิดอ่าน 7,162 ครั้ง เปิดอ่าน 7,161 ครั้ง เปิดอ่าน 7,159 ครั้ง เปิดอ่าน 7,281 ครั้ง เปิดอ่าน 10,294 ครั้ง เปิดอ่าน 7,456 ครั้ง เปิดอ่าน 7,157 ครั้ง เปิดอ่าน 7,160 ครั้ง เปิดอ่าน 7,164 ครั้ง
|
เปิดอ่าน 7,164 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,161 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,224 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,158 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,158 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,159 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,177 ☕ คลิกอ่านเลย |
|
≡ เรื่องน่าอ่าน/สาระน่ารู้ ≡
เปิดอ่าน 11,321 ครั้ง |
เปิดอ่าน 22,237 ครั้ง |
เปิดอ่าน 14,627 ครั้ง |
เปิดอ่าน 11,129 ครั้ง |
เปิดอ่าน 9,805 ครั้ง |
|
|