Advertisement
ทำอย่างไรให้ลูกน้องรัก
ที่มา audy.ob.tc
การทำงานในองค์กรใดๆ ก็ตาม ย่อมจะมีผู้ที่มีบทบาทความเป็นหัวหน้าหรือผู้บังคับบัญชา และผู้ที่มีบทบาทเป็นผู้ใต้บังคับบัญชาหรือลูกน้อง คำว่า “ ลูกน้อง ” มาจากคำไทยที่มีความหมายเป็นทั้ง “ ลูก ” และ “ น้อง ” ฉะนั้นการเป็นผู้บังคับบัญชาจึงเป็นทั้งพ่อ แม่ และพี่ ที่ต้องให้ความรักและเข้าใจลูกน้องด้วยความจริงใจ ส่วนลูกน้องที่ดีก็ต้องเคารพนับถือพ่อ แม่ และพี่ เช่นเดียวกัน ความร่วมมือทั้งด้านการงานและส่วนตัวก็เป็นไปด้วยความเรียบร้อยส่งผลให้เกิดผลงานและทำงานร่วมกันอย่างมีความสุข วันนี้มีวิธีทำให้ลูกน้องรัก ที่ประสบความสำเร็จอย่างถาวรและง่ายที่สุดมาฝากคนเป็น "เจ้านาย" ค่ะ
1. รู้จักควบคุมอารมณ์ตนเอง ไม่โมโหฉุนเฉียว ความโกรธโมโหฉุนเฉียวเป็นพลังร้ายที่เผาผลาญจิตใจมนุษย์ และมีผลเสียต่อสัมพันธภาพ ลูกน้องไม่ชอบนายที่เอาแต่โมโหฉุนเฉียว เพราะทำให้ใจคอไม่สบาย หวาดระแวง ขาดความมั่นคงทางจิตใจ ขาดความสุข ขาดความมั่นใจ ลูกน้องจึงมักหลีกเลี่ยงงานหรือเลือกทำงานเพียงไม่ให้ถูกดุเท่านั้น
2. ไม่เก่งอยู่คนเดียว ไม่มีใครรู้เท่าฉัน ( One man show ) การเป็นหัวหน้า ลูกน้องย่อมเชื่อถือในความสามารถอยู่แล้ว แม้หัวหน้าที่เก่งกว่า รู้ดีกว่า ความสามารถมากกว่า ก็ไม่ควรแสดงออกว่าฉันเก่งอยู่คนเดียวควรให้เกียรติและให้โอกาสแก่ลูกน้องตามสมควร ลูกน้องก็จะทำประโยชน์แก่งานและเป็นการเสริมสร้างขวัญกำลังใจในการทำงานแก่ลูกน้องเป็นอย่างดี
3. ไม่ใช้อำนาจเกินกว่าเหตุ หัวหน้ามีอำนาจอยู่แล้วตามระเบียบ เปรียบเสมือนดาบอาญาสิทธิ์อยู่ในมือ จงใช้อำนาจเมื่อจำเป็นและอย่างมีเหตุผล หัวหน้าอวดและแสดงอำนาจจะไม่ได้น้ำใจและสติปัญญาของลูกน้อง การใช้อำนาจมากมักจะทำให้เกิดปัญหาข้อร้องเรียน บัตรสนเท่ห์ และก่อให้เกิดปัญหาอื่นๆ ตามมา หัวหน้าจึงควรให้ความเห็นใจ ให้ความรัก จะเป็นการสร้างบารมีกับลูกน้องได้ดีกว่า
4. ไม่ตัดสินปัญหาเวลาโกรธ คนที่กำลังโกรธมักขาดเหตุผล การทำอะไรไปตามอารมณ์โกรธย่อมเกิดความเสียหายได้ง่าย ดังนั้นเมื่อมีอารมณ์โกรธอย่าตัดสินใจทันที เพราะจะทำให้ตัดในใจผิดพลาดได้
5. ไม่ลำเอียง อย่าเป็นอันขาด ! ที่แสดงให้ลูกน้องเห็นว่ารักไม่เท่ากัน เรื่องนี้สำคัญอยู่ที่การกระทำและคำพูดอย่าทำให้ลูกน้องหรือว่าหัวหน้าพอใจคนใดคนหนึ่ง เพราะจะทำให้ลูกน้องมีความอิจฉาริษยากัน น้อยใจ หวาดระแวงก่อให้เกิดการแตกแยก ขาดความสามัคคี
6. ส่งเสริมให้กำลังใจ หัวหน้าต้องคอยทำนุบำรุงดูแลเอาใจใส่ คอยสังเกตความรู้สึกว่าลูกน้องคิดอย่างไร ซึ่งอาจสังเกตจากงานที่ทำ หาทางบำรุงน้ำใจ ส่งเสริมกำลังใจ ลูกน้องจะทุ่มเทกำลังกายกำลังใจ สติปัญญา ความสามารถที่มีอยู่ ซึ่งจะส่งผลดีแก่ตัวลูกน้องเอง ตลอดจนหัวหน้าและงานที่ทำอยู่
ทั้งหมดนี้คนที่เคยเป็นลูกน้องมาก่อนย่อมทราบดีว่า ตนชอบหัวหน้าแบบไหน ชอบให้หัวหน้าเป็นอย่างไร สิ่งที่เราไม่ชอบหรือเห็นว่าไม่ควรปฏิบัติ เราก็ไม่ควรปฏิบัติต่อลูกน้อง การเอาใจเขามาใส่ใจเราจึงเป็นเรื่องสำคัญของคนที่เป็นหัวหน้า เห็นไหมคะ เท่านี้คุณก็จะเป็นผู้บังคับบัญชาหรือหัวหน้าที่มีลูกน้องรัก ห้อมล้อมอยู่รอบข้างอย่างอบอุ่น ทุกคนก็จะมีความสุขในการทำงานและส่งผลก่อให้เกิดผลงานต่อองค์กรในสภาพรวมด้วยค่ะ
วันที่ 8 มิ.ย. 2552
Advertisement
เปิดอ่าน 7,141 ครั้ง เปิดอ่าน 7,137 ครั้ง เปิดอ่าน 7,150 ครั้ง เปิดอ่าน 7,174 ครั้ง เปิดอ่าน 7,139 ครั้ง เปิดอ่าน 7,165 ครั้ง เปิดอ่าน 7,141 ครั้ง เปิดอ่าน 7,137 ครั้ง เปิดอ่าน 7,148 ครั้ง เปิดอ่าน 7,134 ครั้ง เปิดอ่าน 7,144 ครั้ง เปิดอ่าน 7,142 ครั้ง เปิดอ่าน 7,142 ครั้ง เปิดอ่าน 7,146 ครั้ง เปิดอ่าน 7,138 ครั้ง เปิดอ่าน 7,138 ครั้ง
|
เปิดอ่าน 7,136 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,144 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,138 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,140 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,135 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,137 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,141 ☕ คลิกอ่านเลย |
|
≡ เรื่องน่าอ่าน/สาระน่ารู้ ≡
เปิดอ่าน 1,957 ครั้ง |
เปิดอ่าน 56,529 ครั้ง |
เปิดอ่าน 12,950 ครั้ง |
เปิดอ่าน 17,525 ครั้ง |
เปิดอ่าน 15,246 ครั้ง |
|
|