คนทุกคนย่อมมีศักดิ์ศรีความเป็นคนเท่ากัน ล้วนเป็นเพื่อนร่วมโลก มีการเกิด แก่ เจ็บ ตาย เช่นกัน จึงเป็นการไม่ถูกต้อง และไม่ชอบธรรมที่จะให้คนด้วยกันเอง ดูถูกเหยียมหยามซึ่งกันและกัน เพื่อให้สังคมอยูด้วยกันอย่างสันติสุข มีความเสมอภาคเทียมกัน จำต้องมีกฎหมายควบคุมและป้องกันการดูถูก เหยียมหยาม และรักษาศักดิ์ศรีของความเป็นคนดังกล่าว
กรณีมีปัญหาว่า การที่หัวหน้าใช้งานลูกน้องทำงาน แต่ลูกน้องกลับต่อว่า " หัวหน้าใช้ผมอย่างขี้ข้า " การพูดดังกล่าว จะมีความผิดฐานดูหมิ่นซึ่งหน้าหรือไม่ ?
กรณีดังกล่าว เคยมีคดีขึ้นสู่ศาลฎีกามาแล้ว โดยมีข้อเท็จจริงโดยสรุปว่า ครั้งหนึ่งได้มีการประชุมกรรมการโรงเรียน ผู้เสียหายเป็นประธานกรรมการศึกษของโรงเรียน ในระหว่างการประชุมครูคนหนึ่งได้พูดว่า "ประธานใช้ครูอย่างขี้ข้า เวลานั่งคุยกัน ชอบเดินไปมา ไม่มีความเหมาะสมเป็นผู้ใหญ่ ทำให้งานของครูนั้นไม่ดีเท่าที่ควร ให้ประธานลาอกไป จะได้เปลี่ยนประธานคนอื่นมาบริหาร "
ประธานกรรมการศึกษาจึงนำเรื่องดังล่าวฟ้องต่อศาล ขอให้ลงโทษครูคนดังกล่าวในข้อหาดูหมิ่นซึ่งหน้าตามประมวลกฎหมายอาญา มาตา 393 ซึ่งบัญญัติไว้ว่า
" ผู้ใดดูหมิ่นผู้อื่นซึ่งหน้าหรือด้วยการโฆษณา ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งเดือน หรือปรับไม่เกินหนึ่งพันบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ "
มีปัญหาว่า คำกล่าวของจำเลยที่ว่า " ประธานใช้ครูอย่างขี้ข้า " เป็นการดูหมิ่นซึ่งหน้าหรือไม่ ?
ศาลฎีกาเห็นว่า คำว่า " ดูหมิ่น " ตามประมวลกฏหมายอาญา ไม่ได้นิยามศัพท์ไว้ว่ามีความหมายอย่างไร แต่ตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถานอธิบายว่า หมายถึง ดูถูกเหยียดหยาม ทำให้อับอาย เป็นที่เกลียดชังของประชาชน โดยถ้อยคำดังกล่าวจะต้องเป็นการเหยียดหยามผู้อื่น หาใช่ตัวผู้กล่าวหาไม่
คำว่า " ประธานใช้ครูอย่างขี้ข้า " นั้น จำเลยมิได้เหยียมหยามผู้เสียหายว่ามีสภาพอย่างขี้ข้าหรือผู้รับใช้ แต่เป็นการพูดถึงสถานภาพของครูในโรงเรียนรวมทั้งจำเลยว่าเป็นผุ้รับใช้ของผู้เสียหาย ข้อความที่พูดเป็นการพูดถึงเรื่องที่เกิดขึ้นแก่ตนและครูในโรงเรียนว่าถูกผู้เสียหายใช้งานเยี่ยงคนรับใช้
แต่เมื่อคำว่า " ขี้ข้า " หมายถึงตัวจำเลยเองและครูในโรงเรียนที่ถูกผู้เสียหายใช้งาน มิใช่หมายถึงตัวผู้เสียหายซึ่งเป็นผู้ใช้งาน ถ้อยคำที่จำเลยกล่าวจึงมิใช่เป็นการดูหมิ่นซึ่งหน้า (คำพิพากษาฎีกาที่ 2867/2547)
... ในบางครั้งคำพูดเพียงสองคำ อาจจะทำให้เราต้องจำตลอดชีวิต ...!!!