ยุคโบราณมนุษย์ส่วนใหญ่อาศัยอยู่ในป่า ใช้ผลิตภัณฑ์จากป่าเพื่อการดำรงชีวิต
ป่าภาคใต้ของประเทศไทย ทุกวันนี้ก็พบว่ายังมีมนุษย์โบราณเผ่าหนึ่งที่เรียกว่า “ ซาไก “
หรือภาษาพื้นเมืองภาคใต้เรียกชนเผ่านี้ว่า “ เงาะ “ หรือ “ เงาะป่า “
อาศัยอยู่และกระจัดกระจายเป็นกลุ่ม ๆ ในเขตจังหวัดตรัง พัทลุง สตูล ยะลา และนราธิวาส
นับเป็นชนกลุ่มน้อยของประเทศที่ยังใช้ชีวิตแบบโบราณ
ซาไก มีนิสัยร่าเริง ยิ้มง่าย พูดตรงไปตรงมา ไม่ชอบการทะเลาะเบาะแว้งไม่ว่าจะเป็นซาไกด้วยกันเอง หรือกับบุคคลภายนอก ไม่เคยพบซาไกทะเลาะ หรือโต้เถียงกัน แม้แต่ในเด็กเล็ก
ทุกคนจะเล่นกันด้วยรอยยิ้ม และเสียงหัวเราะ
จากระบบนิเวศที่มีความหลากหลายเช่นนี้ ส่งผลให้มีพืชและสัตว์หลากหลายชนิดด้วยเช่นกัน
ทำให้ซาไกมีอาหารสำหรับบริโภคได้ตลอดทั้งปี และสามารถดำรงเผ่าพันธุ์ได้ตลอดมาหลายชั่วอายุคน
.เชื้อสาย เผ่าพันธุ์ซาไก แบ่งออกเป็น 4 กลุ่มภาษาใหญ่ ๆ คือ
1. ภาษาแต็นแอ็น ในพื้นที่จังหวัดตรัง พัทลุงและสตูล
2. ภาษาเดียเด ในพื้นที่อำเภอระแงะ จังหวัดนราธิวาส
3. ภาษายะฮาย ในพื้นที่อำเภอแว้ง จังหวัดนราธิวาส
4.ภาษากันซิวในพื้นที่อำเภอธารโตจังหวัดยะลา
ซาไกมีรูปร่างค่อนข้างเตี้ยผิวเนื้อดำค่อนไปทางสีน้ำตาลไหม้ผมหยิกเป็นก้นหอยติดหนังศีรษะปากกว้างน่องสั้นเรียวท้องป่องและริมฝีปากหนา
อาหารการกินของพวกซาไก
เนื่องจากคนพวกนี้ผูกพันธ์กับธรรมชาติ อาหารก็ได้มาจากธรรมชาติ โดยการเก็บพืชจากธรรมชาติ การเข้าป่าล่าสัตว์ เช่น การล่าลิง ค่าง หมูป่า หาปลาในแม่น้ำลำคลอง และหาพืช ผลไม้ป่า สัตว์ป่า นำมาขายให้แก่ชาวบ้าน เป็นต้น ในรูปคือ "ต้นอีโป๊ะ" ที่ซาไก ใช้ยางเป็นยาพิษ ในลูกดอกที่ใช้ล่าสัตว์
การหาอาหาร ในสังคมของซาไกนั้นมีการแบ่งหน้าที่สำหรับการหาอาหารอย่างชัดเจน โดยผู้ชายจะเป็นฝ่ายออกล่าสัตว์ ผู้หญิงจะมีหน้าที่ในการเก็บพืชผัก ผลไม้ และขุดหามันป่า อย่างนี้เป็นต้น
การรักษาโรคของพวกซาไก เนื่องจากพวกซาไกมีวิถีชีวิตผูกพันธ์กับผืนป่า ไม่ว่าจะเป็นที่อยู่อาศัย แล่งอาหาร และป่านั้นยังเป็นแหล่งยาสมุนไพรสำหรับใช้ในการรักษาโรค รักษาอาการป่วยไข้ได้ด้วย ซึ่งมีทั้งสมุนไพรที่ได้จากพืชและได้จากสัตว์ เช่น ยาที่ได้จากพืชได้แก่ หมากพร้าวนกคุ้ม ไพล สาปเสือ ย่านลิเภา ส่วนยาที่ได้จากสัตว์ ได้แก่ ตับของค่างใช้บำรุงเลือด แก้ปวดหลังปวดเอว เกล็ดของตัวนิ่มใช้แขวนแก้อาการหอบ และผึ้งใช้ขี้ สดๆกินแก้ปวดเมื่อย
ลูกดอกหรือบิลา
ทำจากไม้เทา เป็นพืชวงศ์ปาล์ม นำมาเหลาให้มีขนาดเล็ก ปลายแหลม ความยาวประมาณ 30 เซนติเมตร
นำลูกดอกไปย่างไฟให้แห้ง จนมีสีดำ ปลายลูกดอกยาวจากส่วนปลายประมาณ 3 เซนติเมตร ควั่นให้มีรอยคอด
พร้อมทั้งทำจุกก๊อกจากทางระกำเสียบปลายอีกด้าน ก่อนนำไปเคลือบยาพิษ
การเคลือบยาพิษมักเคลือบหลาย ๆ ครั้ง จนได้ความเข้มข้นของพิษที่สามารถฆ่าสัตว์ได้ แต่ละครั้งต้องรอให้ยาพิษแห้งก่อนที่จะเคลือบชั้นต่อไป
ลูกดอกที่เคลือบยาพิษแล้วจะแยกเก็บแต่ละอันไว้ในปลอกที่ทำจากไม้ไผ่ขนาดเล็ก ที่นำมาร้อยต่อกัน เรียกว่า “ฮันลิ”
ก่อนที่จะรวบทั้งหมดบรรจุลงในกระบอกไม้ไผ่ขนาดใหญ่ ซึ่งเรียกว่า “มะนึ” หรือ “ตะมิละ” นำไปเก็บไว้ในที่สูง ให้ปลอดภัยจากเด็กเล็ก
.......ถ้าในสังคมของเรา รู้จักพอเพียง ให้ได้ครึ่งหนึ่งของพวกเค้า...
...ชีวิตพวกเราคงจะไม่ยุ่งเหยิง
...รู้จักพอเพียง..อยู่อย่างสมถะ....ดีเหมือนกันนะครับ....
http://seedang.com/