ค้นหาทุกอย่างในเว็บครูบ้านนอก :
ชุมชนครู บุคลากรทางการศึกษา และนักเรียน แหล่งความรู้สำหรับครู นักเรียน ข่าวการศึกษา ห้องสมุดความรู้ทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้ และความรู้ทั่วไป เผยแพร่ผลงานวิชาการ ที่นี่


ข่าวการศึกษา     ความรู้ทั่วไป     งานราชการ/รัฐวิสาหกิจ/บริการสังคมบทความเทคโนโลยีการศึกษา  ▶ ข่าว/บทความ ▶ หน้าแรก

เทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษาในฐานะศาสตร์


บทความเทคโนโลยีการศึกษา เปิดอ่าน : 20,885 ครั้ง
Advertisement

เทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษาในฐานะศาสตร์

Advertisement

เขียนโดย ศ.ดร.ชัยยงค์ พรหมวงศ์


 

เทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษาในฐานะศาสตร์ จะกล่าวใน 2 ประเด็น คือ
(1) องค์ประกอบของศาสตร์ทางเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา และ


(2) เทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษาในฐานะวิชาชีพชั้นสูง


ศาสตราจารย์ ดร.ชัยยงค์ พรหมวงศ์ ได้กล่าวถึงองค์ประกอบของศาสตร์ทางเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา ครอบคลุมศัพท์เฉพาะศาสตร์ โครงสร้างเนื้อหาสาระและวิธีการศึกษาค้นคว้าวิจัย (ชัยยงค์ พรหมวงศ์ 2540 : 5)


1) ศัพท์เฉพาะศาสตร์ (Nomenclatures) เทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา มีศัพท์เฉพาะศาสตร์ที่ครอบคลุมศัพท์ด้านการจัดระบบและออกแบบระบบ พฤติกรรม วิธีการ การสื่อสาร (โสตทัศน์ สื่อมวลชน สื่ออิเล็กทรอนิกส์และโทรคมนาคม และสื่อคอมพิวเตอร์) สภาพแวดล้อม การจัดการเรียนรู้ และการประเมิน ศัพท์เหล่านี้บางส่วนก็ใช้ร่วมกับสาขาอื่นของศึกษาศาสตร์ บางส่วนก็บัญญัติขึ้นเป็นการเฉพาะ
2) โครงสร้างเนื้อหาสาระ (Structure of Content) เทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา มีโครงสร้างเนื้อหาสาระที่จำเป็น 3 มิติ คือ
แนวตั้ง ได้แก่ มิติทางสาระจำแนกเป็น 7 ขอบข่าย ได้แก่ การจัดระบบและออกแบบระบบ พฤติกรรม วิธีการ การสื่อสาร (โสตทัศน์ สื่อมวลชน สื่ออิเล็กทรอนิกส์และโทรคมนาคม และสื่อคอมพิวเตอร์) สภาพแวดล้อม การจัดการเรียนรู้และการประเมิน
แนวนอน ได้แก่ มิติภารกิจที่เทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษานำไปใช้ในการสนับสนุนสาขาอื่นของศึกษาศาสตร์ ประกอบด้วย 3 ภารกิจ ได้แก่ บริหาร วิชาการและบริการ
แนวลึก ได้แก่ มิติทางรูปแบบการศึกษาที่เทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษามีบทบาทในการสนับสนุนการศึกษาในระบบโรงเรียน นอกระบบโรงเรียน การฝึกอบรมและการศึกษาทางไกล
3) วิธีการศึกษาค้นคว้าวิจัย (Mode of Inquiries) เป็นวิธีการที่ใช้ในการสร้างองค์ความรู้ใหม่ทางเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา เพื่อขยายพรมแดนแห่งความรู้ด้านนี้ให้เพิ่มพูนขึ้น


ศาสตราจารย์ ดร.ชัยยงค์ พรหมวงศ์ ได้กล่าวถึงเกณฑ์กำหนดวิชาชีพชั้นสูง มี 8 ประการ กล่าวคือ มีลักษณะบริการที่เด่นชัด ใช้กระบวนการทางสติปัญญา มีเสรีภาพในการประกอบวิชาชีพ มีหลักสูตรศึกษาอบรมที่มีระยะเวลาแน่นอน มีการฝึกงานหรือประสบการณ์วิชาชีพ มีใบรับรองหรือใบอนุญาตประกอบวิชาชีพ มีจรรยาบรรณวิชาชีพ และมีองค์กรหรือสมาคมกำหนดและควบคุมมาตรฐานวิชาชีพ (ชัยยงค์ พรหมวงศ์ 2540 : 6-7)
1) เทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษามีลักษณะบริการที่เด่นชัด การบริการของนักเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษาครอบคลุม
- การให้บริการด้านการจัดระบบและออกแบบระบบ เช่น บริการจัดระบบการเรียนการสอน การออกแบบการสอน เป็นต้น
- การกำหนดลักษณะและรูปแบบพฤติกรรมผู้สอน ผู้เรียน และบุคลากรที่เกี่ยวข้องกับการศึกษา
- พัฒนาและคิดค้นวิธีการทางการศึกษาและการเรียนการสอน
- การกำหนดรูปแบบการสื่อสาร (การส่ง การปรุงแต่งสาร ช่องทางและสื่อ และการรับสาร
- การให้บริการด้านการจัดสภาพแวดล้อมการศึกษา (ในห้องเรียน เช่น การจัดมุมวิชาการ การจัดห้องเรียน ฯลฯ นอกห้องเรียน เช่น ศูนย์วิทยบริการ ห้องสมุด ห้องปฏิบัติการ พิพิธภัณฑ์ ฯลน)
- การเสนอวิธีการจัดการเรียนการสอน อาทิ การจัดการเกี่ยวกับนักเรียน สื่อการสอน
- การบริการด้านการวัดและการประเมิน (ในเมืองไทยปัจจุบันจะอยู่ในความดูแลของนักวัดผล แต่ในบางประเทศ เช่น อังกฤษ จะอยู่ในความดูแลของนักเทคโนโลยีการศึกษา)
2) การใช้กระบวนการทางสติปัญญา เป็นการใช้กระบวนการคิด ใคร่ครวญที่มีระเบียบระบบในการให้บริการ มิใช่เพียงการออกแรงกายเท่านั้น แม้บ่อยครั้งนักเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษาอาจจะต้องใช้แรงงาน ก็เพียงเพื่อให้งานดำเนินไปอย่างรวดเร็ว มิใช่รอแรงงานจากฝ่ายอื่น แล้วนักเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษาเป็นฝ่ายชี้มองให้คนอื่นออกแรงเพียงอย่างเดียว
3) การมีเสรีภาพในการประกอบวิชาชีพของนักเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา หมายถึง การที่นักเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา สามารถใช้ความรู้และประสบการณ์ในการให้บริการในวิชาชีพของตนอย่างเป็นอิสระ กล่าวคือ มีอำนาจในการวางแผน เตรียมการดำเนินการและประเมินผลงานของตนเอง และสามารถพัฒนาให้เจริญก้าวหน้าในสายงานครบวงจรจากต่ำไปถึงสูงในกรอบแห่งกฎระเบียบและจรรยาบรรณในวิชาชีพ
4) การมีหลักสูตรศึกษาอบรมที่มีระยะเวลาเด่นชัด ผู้ที่จะมาเป็นนักเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา จะต้องผ่านการศึกษาในระดับปริญญาตรีเป็นอย่างต่ำ หรือมีประสบการณ์ที่เทียบได้ไม่ต่ำกว่านั้น หลักสูตรการศึกษาอบรมมักมีจำนวนหน่วยกิตที่จะศึกษาและมีจำนวนปีที่จะศึกษาแน่นอน เช่น หลักสูตรปริญญาตรี 4 ปี สำหรับผู้สำเร็จมัธยมศึกษา 2 ปี สำหรับผู้สำเร็จอนุปริญญาหรือปริญญาตรีมาแล้ว นอกจากนี้ นักเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษาอาจศึกษาต่อระดับปริญญาโทและปริญญาเอก (นับถึงปี พ.ศ.2538 มีสถาบันที่เปิดสอนถึงระดับปริญญาโทในเมืองไทยประมาณ 12 สถาบัน และปริญญาเอก 2 สถาบัน)
5) การเข้ารับการฝึกงานหรือรับประสบการณ์ที่จำเป็นเพิ่มเติม เมื่อเรียนวิชาครบตามกำหนดไว้ในหลักสูตรแล้ว นักศึกษาจะต้องเข้าฝึกงานหรือประสบการณ์วิชาชีพเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา ณ สถานที่และในเวลาที่กำหนด เพื่อให้มีโอกาสฝึกการนำความรู้ความสามารถมาประยุกต์ใช้ในสถานการณ์จริง
6) การมีใบรับรองหรือใบอนุญาตประกอบวิชาชีพนักเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษาที่ผ่านการศึกษาอบรมแล้ว ก็จะได้รับปริญญาบัตร ประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูงหรือวุฒิบัตรที่มีฐานะเทียบเท่าในบางประเทศ ผู้ประกอบอาชีพเป็นนักเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษาอาจต้องได้รับใบอนุญาต (Credential/License) ก่อนที่จะประกอบวิชาชีพ สำหรับในเมืองไทย การได้รับปริญญาบัตรนับเป็นใบอนุญาตไปในตัว
7) การมีจรรยาวิชาชีพเป็นกรอบกำหนดความประพฤติ ทั้งนี้ก็เพื่อมิให้นักเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษาเอารัดเอาเปรียบหรือทำความเดือดร้อนให้ตนเองหรือผู้อื่นและก้าวล้ำสิทธิวิชาชีพอื่น ในประเทศไทย นักเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษาส่วนใหญ่เป็นครูจึงอยู่ในการควบคุมของจรรยาวิชาชีพครู เมื่อมีสมาคมเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษาขึ้นแล้ว สมาคมนี้
ก็อาจจะกำหนดจรรยาวิชาชีพนักเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษาขึ้นมาเป็นการเฉพาะ
8) การมีองค์กรหรือสมาคมเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา องค์กรดังกล่าวจะมีหน้าที่กำหนดและควบคุมมาตรฐานวิชาชีพ ส่งเสริมการค้นคว้าวิจัยและส่งเสริมคุณภาพของสมาชิกที่เป็นนักเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา เพื่อให้มีองค์ความรู้เพิ่มพูนและแนวปฏิบัติในการบริการมีประสิทธิภาพ
สรุปได้ว่า เทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษาในฐานะศาสตร์ที่ศาสตราจารย์ ดร.ชัยยงค์ พรหมวงศ์ ได้กล่าวไว้มี 2 ประเด็นคือ ประเด็นแรก องค์ประกอบของศาสตร์ทางเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษาครอบคลุมด้าน (1) ศัพท์เฉพาะศาสตร์ (nomenclatures) ได้แก่ การจัดระบบและออกแบบระบบ พฤติกรรมวิธีการ การสื่อสาร สภาพแวดล้อม การจัดการเรียนรู้และการประเมิน (2) โครงสร้างเนื้อหาสาระ (structure of content) ที่จำเป็น 3 มิติ คือ มิติด้านสาระ มิติด้านภาระกิจ และมิติด้านรูปแบบการศึกษา (3) วิธีการศึกษาค้นคว้าวิจัย (mode of inquiries) เป็นวิธีการใช้เพื่อสร้างองค์ความรู้ใหม่ทางเทคโนโลยีการศึกษา เพื่อให้มีความรู้ด้านนี้เพิ่มขึ้น
ประเด็นที่สอง คือ เทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษาในฐานะวิชาชีพชั้นสูง เป็นการกล่าวถึงเกณฑ์วิชาชีพชั้นสูง 8 ประการ คือ มีลักษณะบริการที่เด่นชัด ใช้กระบวนการทางสติปัญญา มีเสรีภาพในการประกอบอาชีพ มีหลักสูตรศึกษาอบรมที่มีระยะเวลาแน่นอน มีการฝึกงานหรือประสบการณ์วิชาชีพ มีใบรับรองหรือใบอนุญาตประกอบวิชาชีพ มีจรรยาบรรณวิชาชีพ และมีองค์กรหรือสมาคมกำหนดและควบคุมมาตรฐานวิชาชีพคำกล่าวในประเด็นสอง คือ “เทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษาในฐานะวิชาชีพชั้นสูง” มีการกำหนดเกณฑ์วิชาชีพชั้นสูงไว้ครอบคลุมคุณลักษณะตามองค์ประกอบของศาสตร์ทางเทคโนโลยีการศึกษา สามารถนำเกณฑ์วิชาชีพชั้นสูงเหล่านี้ไปประกอบการกำหนดมาตรฐานวิชาชีพทางเทคโนโลยีการศึกษาต่อไป



ชัยยงค์ พรหมวงศ์. เทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษาในฐานะวิชาชีพชั้นสูง หน่วยที่ 1 เอกสารการสอนชุดวิชาประสบการณ์วิชาชีพเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา. นนทบุรี. สาขาวิชาศึกษาศาสตร์. 2540



>> http://www.edtechno.com/1/index.php?option=com_content&task=view&id=113&Itemid=27

 

หน้าหนาวแล้ว คุณครูสนใจไหม DoDo เก้าอี้แคมป์ปิ้ง รับน้ำหนักได้เยอะ พร้อมกระเป๋าจัดเก็บ โครงอลูมิเนียมรับน้ำหนักได้200KG ในราคา ฿189 - ฿509 ที่ Shopee

https://s.shopee.co.th/9pNuttuIUm?share_channel_code=6


เทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษาในฐานะศาสตร์ เทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษาในฐานะศาสตร์

Advertisement

≡ เรื่องอื่นๆ ที่น่าอ่าน ≡

Student Perceptions of Selected Technology Student Association Activit

Student Perceptions of Selected Technology Student Association Activit


เปิดอ่าน 10,952 ครั้ง
แนวทางในการพัฒนาระบบ

แนวทางในการพัฒนาระบบ


เปิดอ่าน 22,690 ครั้ง

:: เรื่องปักหมุด ::

องค์ประกอบของระบบ

องค์ประกอบของระบบ

เปิดอ่าน 137,210 ☕ คลิกอ่านเลย

Advertisement

≡ เรื่องน่าสนใจในหมวดหมู่นี้ ≡
บทบาทของการสื่อสารและเครือข่ายฯ
บทบาทของการสื่อสารและเครือข่ายฯ
เปิดอ่าน 20,289 ☕ คลิกอ่านเลย

มิติของเทคโนโลยีการศึกษากับการสอนทางไกล
มิติของเทคโนโลยีการศึกษากับการสอนทางไกล
เปิดอ่าน 42,653 ☕ คลิกอ่านเลย

มัลติมีเดีย ที่มาของการขยายเทคโนโลยีเครือข่าย
มัลติมีเดีย ที่มาของการขยายเทคโนโลยีเครือข่าย
เปิดอ่าน 14,016 ☕ คลิกอ่านเลย

ถอด 3 กลยุทธ์สร้างห้องเรียนออนไลน์ให้ ถูกใจผู้สอน โดนใจคนเรียน
ถอด 3 กลยุทธ์สร้างห้องเรียนออนไลน์ให้ ถูกใจผู้สอน โดนใจคนเรียน
เปิดอ่าน 8,121 ☕ คลิกอ่านเลย

แนวคิดการจัดการเรียนการสอนคอมพิวเตอร์
แนวคิดการจัดการเรียนการสอนคอมพิวเตอร์
เปิดอ่าน 98,476 ☕ คลิกอ่านเลย

≡ เรื่องน่าอ่าน/สาระน่ารู้ ≡

จดหมายฉบับที่ 55 ถึงนายกรัฐมนตรี+รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ เรื่อง หยุดใช้ผลการสอบ O-NET ผิดทาง
จดหมายฉบับที่ 55 ถึงนายกรัฐมนตรี+รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ เรื่อง หยุดใช้ผลการสอบ O-NET ผิดทาง
เปิดอ่าน 10,790 ครั้ง

เล่าต้นกำเนิดมนุษยชาติ ใน 1 นาที
เล่าต้นกำเนิดมนุษยชาติ ใน 1 นาที
เปิดอ่าน 10,856 ครั้ง

พระสังฆราชประทานพระโอวาทวันอาสาฬหบูชา
พระสังฆราชประทานพระโอวาทวันอาสาฬหบูชา
เปิดอ่าน 9,599 ครั้ง

วันออกพรรษา
วันออกพรรษา
เปิดอ่าน 17,418 ครั้ง

เทคนิคการเรียนรู้ของไฟยน์แมน (Feynman Learning Technique)
เทคนิคการเรียนรู้ของไฟยน์แมน (Feynman Learning Technique)
เปิดอ่าน 11,431 ครั้ง

เกมส์ รวมเกมส์สนุกๆ มากมาย
สนามเด็กเล่น

แหล่งรวมเกมส์ เกมส์ให้เล่นมากมาย ศูนย์รวมเกมส์สนุกๆ เกมส์ความรู้ เกมส์ลับสมอง เกมส์ประลองยุทธ แหล่งรวบรวมข้อมูล เกมส์ เกมส์ออนไลน์ เกมส์มันๆ เกมส์ตัดผม ไว้มากมายที่นี่ ให้เด็กๆได้เลือกเล่นมากมาย คลิกเลย

 
หมวดหมู่เนื้อหา
เนื้อหา แยกตามหมวดหมู่ สามารถเลืออ่านได้ตามหมวดหมู่ที่นี่


· Technology
· บทความเทคโนโลยีการศึกษา
· e-Learning
· Graphics & Multimedia
· OpenSource & Freeware
· ซอฟต์แวร์แนะนำ
· การถ่ายภาพ
· Hot Issue
· Research Library
· Questions in ETC
· แวดวงนักเทคโนฯ

· ความรู้ทั่วไป
· คณิตศาสตร์
· วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
· ภาษาต่างประเทศ
· ภาษาไทย
· สุขศึกษาและพลศึกษา
· สังคมศึกษา ศาสนาฯ
· ศิลปศึกษาและดนตรี
· การงานอาชีพ

· ข่าวการศึกษา
· ข่าวตามกระแสสังคม
· งาน/บริการสังคม
· คลิปวิดีโอยอดนิยม
· เกมส์
· เกมส์ฝึกสมอง

· ทฤษฎีทางการศึกษา
· บทความการศึกษา
· การวิจัยทางการศึกษา
· คุณครูควรรู้ไว้
· เตรียมประเมินวิทยฐานะ
· ผลงานวิชาการเล่มเต็ม
· เครื่องมือสำหรับครู

ครูบ้านนอกดอทคอม

เว็บไซต์เพื่อครู ข่าวการศึกษา ความรู้ การศึกษาไทย

      kroobannok.com

© 2000-2020 Kroobannok.com  
All rights reserved.


Design by : kroobannok.com


ครูบ้านนอกดอทคอม
การจัดอันดับของ Truehits Web Directory

วิธีนำแบนเนอร์ของครูบ้านนอก.คอมไปแปะในเว็บท่าน บันทึกภาพแบนเนอร์นี้และลิงค์มาที่เราครับ (มีแบนเนอร์ 2 แบบ)
 

ครูบ้านนอกดอทคอม เว็บไซต์ของครูตัวเล็กๆ คนหนึ่ง ที่หวังเพียง ใช้เป็นช่องทางในการสื่อสาร แลกเปลี่ยน เพิ่มพูนความรู้ และให้ข่าวสาร ที่ทันสมัยต่อเหตุการณ์แก่คุณครู ผู้ปฏิบัติงานในทุกพื้นที่ของประเทศไทย เพื่อความเจริญงอกงามในปัญญา และเจริญก้าวหน้าในวิชาชีพ

เว็บนี้ถือกำเนิดเมื่อ 5 มกราคม 2548

Email : kornkham@hotmail.com
Tel : 096-7158383

สนใจสนับสนุนเรา โดยลงโฆษณา
คลิกดูรายละเอียดที่นี่ครับ