Advertisement
"โรคชิคุนกุนยา (Chikungunya)" เมื่อได้อ่านชื่อโรคนี้แล้ว คงทำให้ผู้อ่านหลายต่อหลายคนสงสัย เพราะไม่เคยได้ยินหรือรู้จักกับโรคนี้มาก่อน แต่ถึงอย่างไรก็ตาม โรคนี้ก็กำลังเป็นโรคที่ทำให้คนไทย โดยเฉพาะบุคลากรในแวดวงทางด้านสาธารณสุขต้องกลับมาตื่นตัวกันอีกครั้ง...
เรามาทำความรู้จักกับโรคนี้กันสักหน่อย!!!
โรคนี้เป็นโรคติดเชื้อไวรัสชิคุนกุนยาที่ติดต่อจากแมลง โดยมียุงลายเป็นพาหะนำโรค อาการของโรคนี้คล้ายๆกับโรคไข้เลือดออก แต่ต่างกันที่ไม่มีการรั่วของพลาสมาออกนอกเส้นเลือด จึงไม่พบผู้ป่วยที่มีอาการรุนแรงถึงขั้นเสียชีวิต
การกำเนิดขึ้นของโรคนี้!!!
เชื้อไวรัสชิคุนกุนยานี้มีการอุบัติขึ้นในทวีปแอฟริกา โดยผู้บรรยายลักษณะของโรคนี้เป็นคนแรกคือ Marion Robinson และ W.H.R.Lumsden ในปี ค.ศ.1955 โดยก่อนหน้านี้ประมาณ 3 ปี มีการระบาดของโรคในดินแดนที่ราบสูงมากอนดี ซึ่งเป็นพรมแดนระหว่างประเทศโมแซมบิกและแทนซาเนียในปัจจุบัน หลังจากนั้นก็พบการระบาดของเชื้อขิคุนกุนยานี้เป็นครั้งคราวในทวีปแอฟรกา เอเซียใต้ หรือแม้กระทั่งเอเซียตะวันออกเฉียงใต้
อุบัติการณ์ของโรคจากทวีปแอฟริกามายังทวีปเอเซียจนถึงประเทศไทย!!!
หลายประเทศในทวีปแอฟริกามีการพบเขื้อชิคุนกุนยา โดยมีการแพร่เชื้อ 2 วงจรคือ Primate cycle (Rural type: คน-ยุง-ลิง) ซึ่งมีลิงบาร์บูนเป็น Amplifier host ทำให้เกิดผู้ป่วยจากเชื้อนี้ประปราย หรืออาจมีการระบาดเล็กๆเป็นครั้งคราว และเมื่อผู้ที่ไม่มีภูมิคุ้มกันเข้าไปในพื้นที่ที่มีเชื้ออยู่ และคนๆนั้นอาจจะนำมาสู่ชุมชนเมือง โดยเฉพาะในพื้นที่ที่มียุงลายชุกชุมมาก จึงทำให้เกิดวงจรที่ 2 ขึ้นโดยเป็นวงจรในเมือง (Urban type: คน-ยุง) และจากคนไปคน โดยมียุงลายเป็นพาหะ
ตารางที่ 1 การระบาดของโรคชิคุนกุนยาในประเทศไทย
|
ครั้งที่ |
พ.ศ. |
จังหวัด |
จำนวนผู้ป่วย (คน) |
1 |
2531 |
สุรินทร์ |
N/A |
2 |
2534 |
ขอนแก่น |
N/A |
3 |
2534 |
ปราจีนบุรี |
N/A |
4 |
2536 |
เลย |
N/A |
5 |
2536 |
นครศรีธรรมราช |
N/A |
6 |
2536 |
หนองคาย |
N/A |
7 |
2551-2552 |
สงขลา, ปัตตานี, ยะลา และนราธิวาส |
9,000 |
|
ในทวีปเอเซีย การแพร่ของเชื้อชิคุนกุนยาต่างจากในแอฟริกา คือเป็นการแพร่เชื้อจากคนไปคน โดยมียุงลายเป็นพาหะสำคัญ ซึ่งอุบัติการณ์ของโรคเป็นไปตามการแพร่กระจายและความชุกชุมของยุงลาย โดยมีการรายงานการพบเชื้อจากประเทศต่างๆ เช่น อินเดีย พม่า เขมร เวียดนาม ฟิลิปปินส์ อินโดนิเซีย รวมถึงประเทศไทย โรคนี้จะพบมากในช่วงฤดูฝน เมื่อยุงลายมีจำนวนเพิ่มขึ้น และสามารถพบโรคนี้ได้ในทุกกลุ่มอายุ ซึ่งต่างจากโรคไข้เลือดออกที่ส่วนใหญ่จะพบในผู้ป่วยอายุน้อยกว่า 15 ปี
สำหรับในประเทศไทย พบเชื้อไวรัสชิคุนกุนยาครั้งแรกจากผู้ป่วยในโรงพยาบาลเด็ก กรุงเทพฯ เมื่อปี พ.ศ.2501 ต่อจากนั้นก็พบการระบาดของโรคชิคุนกุนยา 6 ครั้ง ในปี พ.ศ.2531 ที่จังหวัดสุรินทร์ ปี พ.ศ.2534 ที่จังหวัดขอนแก่นและปราจีนบุรี ในปี พ.ศ.2536 ที่จังหวัดเลย, นครศรีธรรมราช และหนองคาย และในขณะนี้ (ปี พ.ศ. 2551-2552) ที่จังหวัดสงขลา, ปัตตานี, ยะลา และนราธิวาส (ตารางที่ 1)
การติดต่อและระยะฟักตัวของโรคนี้!!!
เชื้อไวรัสชิคุนกุนยาติดต่อกันได้โดยมียุงลายเป็นพาหะนำโรคที่สำคัญ เมื่อยุงลายตัวเมียกัดและดูดเลือดผู้ป่วยที่อยู่ในระยะไข้สูง ซึ่งเป็นระยะที่มีไวรัสอยู่ในกระแสเลือด เชื้อไวรัสจะเข้าสู่กระเพาะยุง และเพิ่มจำนวนมากขึ้น แล้วเดินทางเข้าสู่ต่อมน้ำลาย เมื่อยุงที่มีเชื้อไวรัสชิคุนกุนยาไปกัดคนอื่นก็จะปล่อยเชื้อไปยังคนที่ถูก กัด ทำให้คนนั้นเกิดอาการของโรคได้
ระยะฟักตัวของโรคโดยทั่วไปประมาณ 1-12 วัน แต่ที่พบบ่อยประมาณ 2-3 วัน ระยะติดต่อเป็นช่วงระยะเวลาที่ผู้ป่วยไข้สูง ประมาณวันที่ 2 - 4 เนื่องจากเป็นระยะที่มีเชื้อไวรัสชิคุนกุนยาอยู่ในกระแสเลือดมากที่สุด
อาการของโรคนี้!!!
1. ผู้ป่วยจะมีอาการไข้สูงอย่างฉับพลัน มีผื่นแดงขึ้นตามร่างกายและอาจมีอาการคันร่วมด้วย พบตาแดง แต่ไม่
ค่อยพบจุดเลือดออกในตาขาว ส่วนใหญ่แล้วในเด็กจะมีอาการไม่รุนแรงเท่าในผู้ใหญ่
2. ในผู้ใหญ่อาการที่เด่นชัด คือ อาการปวดข้อ ซึ่งอาจพบข้ออักเสบได้ ส่วนใหญ่จะเป็นที่ข้อเล็กๆ เช่น ข้อมือ ข้อเท้า จนบางครั้งอาจจะเรียกโรคนี้ว่า "โรคไข้ปวดข้อยุงลาย"
3. อาการปวดข้อจะพบได้หลายๆ ข้อเปลี่ยนตำแหน่งไปเรื่อยๆ อาการจะรุนแรงมากจนบางครั้งขยับข้อไม่ได้
อาการ จะหายภายใน 1-12 สัปดาห์ ผู้ป่วยบางรายอาจมีอาการปวดข้อเกิดขึ้นได้อีกภายใน 2-3 สัปดาห์ต่อมา และบางรายอาการปวดข้อจะอยู่ได้นานเป็นเดือนหรือเป็นปี
4. ไม่พบผู้ป่วยที่มีอาการรุนแรงถึงช็อก ซึ่งแตกต่างจากโรคไข้เลือดออก อาจพบ tourniquet test ให้ผลบวก และจุดเลือดออกบริเวณผิวหนังได้
ความแตกต่างระหว่างโรคชิคุนกุนยากับโรคไข้เลือดออก!!!
1. ในโรคชิคุนกุนยา ผู้ป่วยจะมีไข้สูงเกิดขึ้นอย่างฉับพลันกว่าในโรคไข้เลือดออก ผู้ป่วยมักจะมาโรงพยาบาลเร็วกว่า ส่วนระยะของไข้สั้นกว่าในโรคไข้เลือดออก ผู้ป่วยที่มีระยะไข้สั้นเพียง 2 วัน พบในโรคชิคุนกุนยาได้บ่อยกว่าในโรคไข้เลือดออก ซึ่งโดยส่วนใหญ่ไข้จะลดลงใน 4 วัน
2. ถึงแม้จะพบจุดเลือดได้ที่ผิวหนัง และการทดสอบทูนิเกต์ให้ผลบวกได้ แต่ส่วนใหญ่จะพบจำนวนทั้งที่เกิดเองและจากทดสอบน้อยกว่าในโรคไข้เลือดออก
3. ไม่พบผื่นเลือดออกที่มีลักษณะวงขาวๆในโรคชิคุนกุนยา แต่พบผื่นแบบผื่นแดงนูนราบ และพบอาการตาแดงในโรคชิคุนกุนยาได้บ่อยกว่าในโรคไข้เลือดออก
4. พบอาการปวดเมื่อยกล้ามเนื้อและปวดข้อในโรคชิคุนกุนยาได้บ่อยกว่าในโรคไข้เลือดออก
5. ในโรคชิคุนกุนยา เนื่องจากไข้สูงฉับพลัน พบการชักร่วมกับไข้สูงได้ถึงร้อยละ 10-15
การรักษาและการป้องกันโรคนี้!!!
ปัจจุบันยังไม่มีการรักษาที่จำเพาะเจาะจงสำหรับโรคชิคุนกุนยา ส่วนใหญ่เป็นการรักษาตามอาการและประคับประคอง เช่น การให้ยาลดอาการไข้ ปวดข้อ และการพักผ่อน ส่วนการป้องกันโรคชิคุนกุนยาที่ดีที่สุดคือ ป้องกันไม่ให้ถูกยุงลายกัด สวมเสื้อและกางเกงขายาวเวลาเข้าสวน หรือทายาป้องกันยุงกัด และที่สำคัญที่สุด คือ การร่วมกันทำลายลูกน้ำยุงลายทั้งในบ้านและในสวนที่เป็นแอ่งน้ำ
จากที่กล่าวมาทั้งหมดนี้ หากเราพิจารณากันอย่างรอบคอบแล้วก็จะพบว่า โรคชิคุนกุนยา
ไม่ ได้น่ากลัวอย่างที่คิด หากเพียงแต่พวกเรานั้น รู้เท่าทันและเตรียมพร้อมรับมือกับ โรคนี้มากน้อยเพียงใด...เท่านั้นเอง!!! |
|
วันที่ 6 มิ.ย. 2552
หน้าหนาวแล้ว คุณครูสนใจไหม DoDo เก้าอี้แคมป์ปิ้ง รับน้ำหนักได้เยอะ พร้อมกระเป๋าจัดเก็บ โครงอลูมิเนียมรับน้ำหนักได้200KG ในราคา ฿189 - ฿509 ที่ Shopeehttps://s.shopee.co.th/9pNuttuIUm?share_channel_code=6
Advertisement
เปิดอ่าน 7,163 ครั้ง เปิดอ่าน 7,165 ครั้ง เปิดอ่าน 7,158 ครั้ง เปิดอ่าน 7,186 ครั้ง เปิดอ่าน 7,175 ครั้ง เปิดอ่าน 7,166 ครั้ง เปิดอ่าน 7,157 ครั้ง เปิดอ่าน 7,161 ครั้ง เปิดอ่าน 7,150 ครั้ง เปิดอ่าน 7,153 ครั้ง เปิดอ่าน 7,281 ครั้ง เปิดอ่าน 7,158 ครั้ง เปิดอ่าน 7,166 ครั้ง เปิดอ่าน 7,162 ครั้ง เปิดอ่าน 7,183 ครั้ง เปิดอ่าน 7,165 ครั้ง
|
เปิดอ่าน 7,167 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,162 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,159 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,164 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,165 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,165 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,169 ☕ คลิกอ่านเลย |
|
≡ เรื่องน่าอ่าน/สาระน่ารู้ ≡
เปิดอ่าน 86,599 ครั้ง |
เปิดอ่าน 39,490 ครั้ง |
เปิดอ่าน 152,050 ครั้ง |
เปิดอ่าน 12,978 ครั้ง |
เปิดอ่าน 10,730 ครั้ง |
|
|