สงครามครูเสด
สงครามครูเสด (The Crusades) คือ สงครามระหว่างศาสนา ซึ่งอาจหมายถึงสงครามระหว่างชาวคริสต์ต่างนิกายด้วยกันเอง หรือชาวคริสต์กับผู้นับถือศาสนาอื่นก็ได้ แต่โดยส่วนใหญ่มักหมายถึงสงครามครั้งใหญ่ระหว่างชาวมุสลิมและชาวคริสต์ ในช่วงศตวรรษที่ 11 ถึง 13
ในตอนเริ่มสงครามนั้นชาวมุสลิมปกครองดินแดนศักดิ์สิทธิ์อยู่ ดินแดนแห่งนี้เป็นสถานที่สำคัญของสามศาสนาได้แก่ อิสลาม ยูได และ คริสต์ ในปัจจุบันดินแดนแห่งนี้คือ ประเทศอิสราเอล หรือ ปาเลสไตน์
ชาวมุสลิมครอบครอง เมืองนาซาเรธ เบธเลเฮม และเมืองสำคัญทางศาสนาอีกหลายเมือง ในยุคของคอลีฟะหฺอุมัร (634-44) ซึ่งเป็นผู้นำทางศาสนาและการเมืองของอาณาจักรอิสลามในยุคนั้น
บทสรุปของสงครามในครั้งนั้นคือกองทัพมุสลิมสามารถยึดดินแดนศักดิ์สิทธิ์คืนจากชาวคริสต์ได้ และขับไล่ผู้รุกรานต่างดินแดนออกไป ซึ่งยังคงดำรงชาติมุสลิมสืบต่อมาจนถึงทุกวันนี้
สาเหตุของสงครามครูเสด
- เนื่องจากพวกคริสต์กลุ่มหนึ่งมีความเชื่อกันว่า โลกนี้จะถึงการอวสานเมื่อครบ ค.ศ. 1000 เรียกว่า Millennium และเชื่อว่าพระเยซูพร้อมด้วยสาวกจะเสด็จมาโปรดชาวโลกในวันนั้น พวกคริสเตียนจำนวนมากจึงได้ละถิ่นฐานบ้านช่องของตนเดินทางไปชุมนุมกันในปาเลสไตน์ เพื่อรอวันโลกแตก แต่เมื่อถึง ค.ศ. 1000 โลกไม่ได้อวสานตามที่พวกนี้คิดไว้ ประกอบกับพวกคริสต์จำนวนมากไม่ได้รับการปฏิบัติด้วยดีจากพวกสัลยูก ซึ่งเป็นผู้มีอำนาจปกครองอยู่ในเวลานั้น ทำให้พวกคริสเตียนนี้เมื่อกลับบ้านไปแล้ว(คือทวีปยุโรป) ต่างพกเอาความเคียดแค้น ไปเล่าเรื่องแล้วแต่งเติมสิ่งที่ได้ประสบในปาเลสไตน์ให้พวกคริสเตียนด้วยกันฟัง มีคริสเตียนคนหนึ่ง ชื่อ ปิเตอร์ ได้ฉายาว่า ปิเตอร์ เดอะ เฮอร์มิต (ปิเตอร์ นักพรต ถือไม้เท้าท่องเที่ยวไปในเมืองต่าง ๆ ในทวีปยุโรป ได้ป่าวประกาศข่าวเรื่องที่พวกคริสเตียนไปอยู่ในปาเลสไตน์เพื่อรอวันโลกแตก แล้วได้รับการข่มเหงจากพวกสัลยูก พร้อมทั้งได้ปลุกระดมให้พวกคริสเตียนรวมกำลังกันไปตีปาเลสไตน์กลับคืนมา)
- สัลยูกเป็นพวกตุรกีสายหนึ่ง กำลังรุ่งเรืองอำนาจ และมีอิทธิพลเหนือเคาะลีฟะฮ.ของอับบาสิยะฮ. ในกรุงแบกแดด พวกนี้ปกครองประเทศปาเลสไตน์ และมีอาณาเขตคุกคามกรุงคอนสแตนติโนเปิ้ล ซึ่งเป็นศูนย์กลางของพวกคริสต์นิกายออร์ทอด๊อกซ์ ซึ่งนิกายนี้ไม่ถูกกับนิกายคาธอลิค แต่เมื่อถูกคุมคามจากพวกสัลยูก จึงจำเป็นต้องขอความช่วยเหลือจากพวกคริสต์นิกายคาธอลิค ซึ่งโป๊ปแห่งกรุงโรมเห็นว่าเป็นโอกาสดีที่จะแผ่อิทธิพลครอบคลุมพวกคริสต์นิกายออร์โธดอกซ์ได้ จึงถือข้อนี้เป็นสาเหตุอันหนึ่งในการประกาศสงครามครูเสด เพื่อทำลายหลักการของคริสต์นิกายออร์โธดอกซ์ ให้หมดสิ้นไป
- พวกคริสต์ ในยุโรปขณะนั้น ได้มีแนวความคิดร่วมกันว่า พลเมืองทั่วทั้งโลกนี้ต้องนับถือศาสนาคริสต์ การเผยแพร่ศาสนาคริสต์ ถือเป็นครูเสดประการหนึ่ง ซึ่งพวกนี้ได้มีการพิมพ์เอกสารหรือหนังสือใส่ร้ายศาสนาอื่น โดยเฉพาะศาสนาอิสลาม และได้กระทำต่อมานับร้อย ๆ ปี แม้หลังจากสงครามครูเสดแล้วก็ตาม ในโรงเรียนต่าง ๆ ของพวกมิชชั่นนารี จะมีตำราเรียนหลายชนิดให้ร้ายศาสนาอิสลาม ทั้งนี้เพราะพวกคริสต์พ่ายแพ้สงครามครูเสดในที่สุดนั่นเอง ถึงแม้จะรบกันกว่า 150 ปี ซึ่งเพิ่งจะรู้ความจริงของอิสลาม และรู้ว่าถูกพวกคริสต์ด้วยกันเองหลอกมาตลอด เมื่อไม่กี่ปีหลังจากสงครามโลกครั้งที่ 2 นี่เอง เพราะโลกได้มีการติดต่อกันอย่างกว้างขวางขึ้น มีการชุมนุมผู้แทนประเทศต่าง ๆ และพบปะกันมากขึ้น
- เนื่องจากพวกสัลยูก คุมปาเลสไตน์และเอเชียน้อย ทำให้พวกอิตาลีเดินทางไปมหาสมุทรอินเดียไม่สะดวก พวกพ่อค้าแห่งเมืองเวนิสและเจนัวก็กำลังประสบปัญหาในการค้าขาย จึงอยากให้มีสงครามขึ้น เพื่อพวกตนจะได้ทำการค้าคล่อง
ประวัติศาสตร์ของอิสลาม
ประวัติศาสตร์ของอิสลามหลังจากสมัยคุละฟาอุร.รอชิดีน (หมายถึงเคาะลีฟะฮ 4 ท่านแรก คือ อบูบักร. อุมัร. อุมาน และอะลี) เต็มไปด้วยปัญหาความยุ่งยาก มีเจ้าปกครองกันหลายแคว้น ประกอบไปด้วยชนต่างชาติต่างภาษาตลอดทั่วดินแดนอันกว้างใหญ่ไพศาล บุคคลเหล่านี้ได้มารวมกันภายใต้แนวความคิดคือ "ละอิลาฮะ อิลลัลลอฮ มุหัมมะดุร-รสูลุลลอฮ ไม่มีพระเจ้าอื่นใดนอกจากอัลลอฮ และมุฮำมัดเป็นรสูลของพระองค์" ศาสนาอิสลามได้แทรกซึมเข้าไปในวิถีชีวิตของชนหลายประเทศหลายชาติ แต่ในบางครั้งก็เผยแพร่เข้ามาผิดที่ ผิดเวลา การมาถูกหรือมาผิดนี้ไม่ใช่เพราะศาสนาอิสลาม แต่เพราะคนหรือผู้ที่นำเข้ามาเผยแพร่นั้นบางคนเป็นเจ้าครองแคว้น เป็นนักรบที่เก่งกล้า ทารุณ โหดร้าย ซึ่งคนเช่นนี้ไม่ว่าจะนับถือศาสนาอะไร ก็ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องหรือมีอิทธิพลกับการรบของพวกเขา แต่บังเอิญถ้าบุคคลประเภทนี้เป็นมุสลิม ศาสนิกชนอื่นก็ว่าให้ร้ายหาว่าศาสนาอิสลามเผยแพร่ด้วยคมดาบ
แต่ความจริงแล้วอิสลามไม่ได้มีหลักการให้เผยแพร่ศาสนาด้วยการทำสงคราม อย่างเช่นสงครามครูเสดของพวกคริสเตียน อย่างกรณี เมื่อ 50 ปีก่อน พวกมุสลิมีนที่ไปทำพิธีหัจญ์ยังถูกพวกโจรมุสลิมีน(ชาวมุสลิมด้วยกันเอง) ในคาบสมุทรอาหรับ ปล้นสะดม ซึ่งจะเห็นได้ว่ากรณีเช่นนี้เป็นเรื่องการรบพุ่ง การต่อสู้ของบุคคล ดังนั้นจึงเป็นธรรมดาที่พวกคริสเตียนที่เดินทางมาปาเลสไตน์ในเวลานั้น อาจจะไม่ได้รับความปลอดภัยหรือความสะดวกต่าง ๆ แต่เรื่องราวเช่นนี้กลับถูกต่อเติมจนเป็นจนกลายเป็นเรื่องร้ายแรง ก่อให้เกิดสงครามครูเสดขึ้น
คำว่า "ครูเสด" หมายถึง สงครามศาสนาที่พวกคริสเตียนได้กระทำต่อมุสลิมีน ('มุสลิมีน' เป็นคำพหูพจน์ของ 'มุสลิม' หมายถึง ผู้นับถือศาสนาอิสลาม) เป็นเวลานานกว่า 150 ปี เพื่อทำลายศาสนสถานต่างๆ ของคริสตจักร โดยเฉพาะที่ในเมืองเบธเลแฮม (บัยตุลละหัม) และเยรูซาเล็ม โดยที่พวกนี้มีเครื่องหมายกางเขนติดไว้ ครูเสดแปลว่า ติดด้วยเครื่องหมายกางเขน ซึ่งต่อมาคำว่าครูเสดนี้ ใช้หมายถึงสงครามทั่ว ๆ ไป ที่พวกคริสต์ต่อต้านพวกนอกศาสนาตามแต่สังฆนายก (Bishop) ของโรมจะบัญชา
อย่างไรก็ตามเมืองเหล่านี้บางเมืองก็เป็นสถานที่สำคัญทางศาสนาของชาวมุสลิมด้วย มุสลิมเชื่อว่า นบีมุฮัมมัดได้เดินทางจากมัสยิดอัลอักซอเมืองเยรูซาเล็ม ขึ้นสู่ชั้นฟ้า มัสยิดโดมหินก็ตั้งอยู่ที่นั่น และ เมืองเยรูซาเล็ม ก็มีความสำคัญเป็นอันดับสามของโลกมุสลิมแผ่นดินศักดิ์สิทธิ์อยู่ภายใต้การปกครองของพวกคริสเตียน เมื่อนบีมุฮัมมัดยังมีชีวิตอยู่ หลังจากที่ท่านได้เสียชีวิตไปแล้ว ดินแดนแถบนี้เป็นดินแดนส่วนแรกๆ ที่ถูกมุสลิมยึดครอง แต่เคาะลีฟะฮ. ของมุสลิมก็ยอมให้ชาวคริสเตียนเดินทางมาแสวงบุญยังแผ่นดินเหล่านี้
แต่ใน ค.ศ. 1055 เมื่อพวกเซลจูคเติร์กเข้ามายึดครองเมืองแบกแดด พวกสุลต่านไม่ได้ปฏิบัติต่อชาว คริสเตียนเหมือนเช่นเคย พวกคริสเตียนในยุโรปจึงโกรธมาก ดังนั้น ในเดือนมีนาคม ปี ค.ศ. 1905 โป๊ปเออร์บานที่ 2 (Pope Urban II)ได้เรียกประชุมคณะสงฆ์ที่ปลาเซ็นติอา แต่การประชุมไม่ประสบความสำเร็จตามจุดมุ่งหมายในทันที จึงได้เรียกประชุมขึ้นใหม่อีกที่เคลอร์มองต์ ในวันที่ 26 พฤศจิกายน ค.ศ.1095 โป๊ปได้ประกาศให้ทำสงครามครูเสดต่อ "พวกนอกศาสนา" (ซึ่งพวกคริสเตียนในเวลานั้นหมายถึงบรรดามุสลิมีนโดยเฉพาะ) โป๊ปได้ใช้กลอุบายวิธีต่าง ๆ เพื่อปลุกระดมให้พวกคริสเตียนเข้าร่วมในสงครามครูเสด โดยประกาศว่า "ผู้ใดถือไม้กางเขนหรือประดับไม้กางเขนเพื่อไปในสงครามครูเสด ย่อมถูกยกเว้นจากการถูกฟ้องร้องเรื่องหนี้สิน ไม่ต้องเสียภาษี และบุคคลภาพผู้นั้นอยู่ในพิทักษ์ของศาสนจักร ถูกไถ่บาปทั้งหมดและจะได้เข้าสวนสวรรค์อันสถาพร" การเริ่มรณรงค์ดังกล่าวนี้เองเป็นที่มาของสงครามศาสนาหรือ "สงครามครูเสด"สงครามครูเสดเพื่อยึดครองแผ่นดินศักดิ์สิทธิ์ครั้งแรก
ปี ค.ศ. 1097 พวกครูเสดได้จัดกองทัพใหม่ โดยมีพวกเจ้าครองนครต่าง ๆ ในทวีปยุโรปเข้าร่วมด้วย และมีกอดเฟรย์แห่งบุยยอง (Godfrey of Buillon) เป็นแม่ทัพเดินทางมาทางคอนสแตนติโนเปิ้ล กษัตริย์อเล็กซิสได้จัดให้พวกนี้ข้ามช่องแคบโฟรัสไปยังดินแดนเอเชียน้อย เพราะเกรงว่าถ้าปล่อยให้เข้าเมือง บ้านเมืองจะถูกทำลาย
เดือนพฤษภาคม 1097 กองทัพครูเสดยกทัพมาเมืองนิซีอา สุลฏอนผู้ปกครองเมืองยอมเปิดประตูเมืองให้ จึงรอดพ้นจากการถูกทำลาย หลังจากนั้นพวกครูเสดจึงยกทัพไปเมืองอันติออก Antioch(อันตากิยะฮ) ซึ่งต้องเดินทางเป็นระยะทางที่ไกล พวกไพร่พลจึงล้มตายกลางทางเสียเป็นส่วนใหญ่ ล้อมเมืองอันติออกได้ 9 เดือน จนเสบียงเริ่มร่อยหรอลง ต้องกินเนื้อพวกเดียวกัน (คือเนื้อศพ) พวกครูเสดทำการทารุณกรรมต่อชาวเมืองอันติออกอย่างมาก ในที่สุดแม่ทัพพวกสัลยูก ที่ชื่อ กัรบุฆา ต้องยอมแพ้ เพราะว่ามีการทรยศจากพวกเดียวกันด้วย คือมุสลิมชาวอาร์มิเนียน ชื่อ ฟิรูซ(อาหรับเรียกว่าบิหรูซ) ได้หย่อนเชือกลงรับพวกครูเสดขึ้นมายึดป้อม แล้วเปิดประตูเมืองให้พวกครูเสดเข้ามาตะโกนว่า "Dier le veut" ฆ่าฟันผู้คนทั้งหญิงแก่ แม่หม้าย เด็ก หญิงสาว รวมทั้งทำลายมัสญิด อาคาร บ้านเรือนเสียหาย
หลังจากยึดเมืองอันติออกแล้ว พวกครูเสดได้เดินทัพไปยังมะอัรร็อต อัน-นุอมาน (Marra tun Numan) ซึ่งเป็นเมืองที่รุ่งเรืองเมืองหนึ่งของซีเรีย ชาวเมืองถูกฆ่าไม่ต่ำกว่า 100,000 คน โดยวิธีสับเป็นท่อน ๆ ซึ่งในกองทัพของพวกนี้มีเนื้อคนขายด้วย ส่วนคนที่แข็งแรงและหน้าตาดี จะถูกนำไปขายเป็นทาส
วันที่ 15 กรกฏาคม 1099 (ชะอบาน ฮ.ศ. 492) พวกนี้ก็ยกทัพเข้ากรุงเยรูซาเล็ม ให้ชาวเมืองคุกเข่าสวดอ้อนวอนพระเจ้าในความสำเร็จที่พวกครูเสดเข้ายึดเมืองได้ แล้วก็ฆ่าชาวเมืองอย่างทารุณ แม้แต่สถานที่ที่พระเยซูเคยอภัยศัตรูของพระองค์ ก็ไม่สามารถทำให้ครูเสดพวกนี้ลดความโหดเหี้ยมลงได้ เพราะพวกนี้ถือว่าการรบและฆ่าพวกนอกศาสนานั้นจะได้บุญและได้ขึ้นสวรรค์
พวกยิวในปาเลสไตน์ก็เผชิญชะตากรรมเช่นเดียวกัน โบสถ์และวิหารก็ถูกเผาทำลาย กอดเฟรย์แห่งบุยยอง ได้ถูกสถาปนาเป็นกษัตริย์แห่งเยรูซาเล็ม หลังจากนั้นอีกหนึ่งปีก็เสียชีวิตลง น้องชายชื่อบอลด์วินได้รับตำแหน่งแทน และได้ยกทัพไปตีเมืองซีสะรีอา (Caesarea) ตริโปลี ซีดอน บัยรุต และยึดเมืองท่าต่าง ๆ ที่พวกโฟนิเซียนเคยเป็นเจ้าของมาก่อน
พวกครูเสดได้ครองส่วนใหญ่ของอาณาจักรของพวกสัลยูก (แต่ไม่ขยายตัวไปในอาณาจักรมุสลิมีนวงศ์อื่น ๆ ) พวกนี้จึงได้นำลัทธิเจ้าครองนคร(ฟิวดัลลิส์ม) มาใช้ มุสลิมีนที่มีฐานะเป็นทาสจะถูกจำตรวนเดินตามถนน อาณาจักรของสัลยูกช่วงนี้อยู่ภายใต้การปกครองของพวกครูเสด จนถึง ปี ค.ศ. 1147 รวมเวลาประมาณ 50 กว่าปี
สงครามครูเสดครั้งที่ 2
ลัทธิเจ้าครองนคร (Feudalism) ฟิวดัลลิสม์ ที่พวกครูเสดนำมาใช้ในเอเชียน้อย (Asia minor) ได้เผยแพร่เข้าไปสู่พวกสัลยูกเช่นกัน พวกนี่ต่างแก่งแย่งชิงอำนาจกัน จนแตกออกเป็นหลายนคร พวกที่ลี้ภัยสงครามครูเสดได้หนีไปกรุงแบกแดดเป็นจำนวนมาก ในขณะนั้นเป็นเดือนเรามะฎอน เคาะลีฟะฮของแบกแดด ซื่อ มุสตะซิร บิลลาฮ ( ปกครองตั้งแต่ ปี ค.ศ.1094 ถึง ปี ค.ศ.1118) ส่งผู้แทนไปยังสุลฎอน เพื่อขอความช่วยเหลือจาก บัรกี ยารูก (คือพวกสัลยูก เป็นบุตรคนที่ 2 ของมาลิกชาฮ ซึ่งเป็นคนขี้เมา นำความเสื่อมมาสู่วงศ์สัลยูก ปกครองปี ค.ศ.1094 ถึง ปี ค.ศ.1140 ) เพื่อยกทัพไปปราบครูเสด แต่ไม่ได้รับความช่วยเหลือ
ปี ค.ศ. 1108 พวกมุสลิมในเมืองตริโปลี ส่งผู้แทนมาขอความช่วยเหลืออีกแต่ก็ไม่ได้ผล หลังจากนั้นอีก 3 ปี ชาวเมืองอเลปโปส่งผู้แทนออกมาขอความช่วยเหลืออีก หนนี้พวกเขาเข้าไปในมัสญิดและเร่งรัดให้เคาะลีฟะฮ ส่งกองทัพไปช่วย ทางแบกแดดจึงส่งทหารไปจำนวนหนึ่ง แต่ถูกพวกครูเสดฆ่าตายหมด
สมัยเคาะลีฟะฮ (วงศ์อับบาสิยะฮ) แห่งกรุงแบกแดด จึงปล่อยให้พวกครูเสดปกครองปาเลสไตน์และเอเชียน้อยบางส่วน เพราะปัญหาความแตกแยกและไม่สามัคคีในหมู่พวกเดียวกันของมุสลิม
ต่อมาสมัยเคาะลีฟะฮ อัล-มุกตะฟี (วงศ์อับบาสิยะฮ ปี ค.ศ.1136 1160) ชาวลัลยูกชื่อ อิมาดุดดิน ซังงี (Imaduddin Zangi) เป็นลูกชายของแม่ทัพสุลฏอนมาลิกซาฮ ชื่อ อักสังการ ฉายาว่า กอลิม อัดเดาละฮ เมื่ออักสังการเสียชีวิต ซังงีขณะนั้นอายุเพียง 14 ปีแต่มีความสามารถทางการทหารและการปกครองได้รวบรวมพล ฝึกทหาร และเข้าตีเมืองต่าง ๆ ใน ปี ค.ศ. 1128 ยึดเมืองอเลปโปคืนมาจากพวกครูเสดได้ ในขณะนั้นพวกครูเสดก็ได้รับการสนับสนุนจากยุโรปและกรีก โดยการนำของจักรพรรดิยอน คอมเนนุส (John Comnenus) ยึดเมืองบุซาอะ (Buzaa) ฆ่าพวกผู้ชาย แล้วกวาดต้อนผู้หญิงและเด็กไปเป็นทาส
ซังงีได้ยกกองทัพมาช่วยต้านทัพพวกครูเสดไว้ได้ และยึดเมืองเอเดสสา (Edessa) หรืออัรรูหะฮได้เมื่อเดือนธันวาคม ค.ศ. 1144 ตอนแรกซังงีคิดจะแก้แค้นให้พวกมุสลิมีนด้วยกัน แต่ก็ล้มเลิกความคิดและขอให้ชาวเมืองยอมแพ้ แต่กลับถูกพวกแฟรงค์เยาะเย้ย ถากถาง เขาจึงฆ่าทหารและพวกบาทหลวงที่เป็นตัวการในสงครามนี้ แต่ไว้ชีวิตผู้หญิง เด็ก และทรัพย์สินของพวกเขาเหล่านั้น แต่ในที่สุดแล้วเขาก็ถูกพวกเดียวกันหักหลังโดยการลอบฆ่า เมื่อวันที่ 5 เราะบีอุษษานีย 541 ตรงกับวันที่ 14 กันยายน ปี ค.ศ.1146
พวกสัลยูกได้สูญเสียนักรบชาติทหาร ซึ่งเป็นที่รู้จักกันว่าเป็นคนที่มีใจกล้าหาญ ชอบศึกษาและเผยแพร่ความรู้ ซังงีมีบุตร 4 คน ล้วนมีความสามารถทั้งสิ้น ในช่วงที่เกิดเหตุการณ์ยุ่งยากนี้ พวกคริสต์ในเมืองเอเดสสาได้เกิดคิดกบฏขึ้น ฆ่าทหารมุสลิมที่รักษาเมือง ซึ่งได้รับการช่วยเหลือจากพวกแฟรงค์ ภายใต้การนำของโยสเซลิน (Joscelin) ยึดเมืองเอเดสสาได้ แต่บุตรคนที่ 2 ของซังงีชื่อนูรุดดีน มะหมูด (Noradius) สามารถตีคืนมาได้ พวกอาร์มิเนียนที่เป็นต้นคิดการก่อกบฏ ได้ถูกเนรเทศออกจากประเทศ ทหารพวกแฟรงค์ถูกฆ่าและนูรุดดีนสั่งให้รื้อกำแพงเมือง
การสูญเสียเมืองเอเดสสาครั้งที่ 2 นี้ก่อให้เกิดการปลุกระดมให้พวกคริสเตียนหันมาป้องกันสถานกำเนิดแห่งศาสนาของตนโดยนักบุญเซ็นต์เบอร์นาร์ด ที่ได้ฉายาว่า ปีเตอร์-นักพรต คนที่ 2 พวกกษัตริย์ก็เข้ามามีส่วนร่วมในครั้งนี้ด้วย พระเจ้าหลุยส์ที่ 7 แห่งฝรั่งเศส ถือเอาสงครามครูเสดเป็นฉากบังหน้า เพื่อปิดบังซ่อนเร้นการกระทำอันโหดร้ายต่อพลเมืองที่เป็นกบฏต่อพระองค์ กษัตริย์คอนราดที่ 3 แห่งเยอรมันก็เข้าร่วมทัพด้วย ซึ่งเกิดขึ้นในปี ค.ศ. 1147 มเหสีของพระเจ้าหลุยส์ที่ 7 ชื่อ อิเลเนอร์ (Eleanor of Guienne) ซึ่งต่อมาได้สมรสกับพระเจ้าเฮนรี่ที่ 2 ของอังกฤษ ได้เข้าร่วมกองทัพด้วย ทำให้ผู้หญิงฝรั่งเศสจำนวนมากอาสาออกรบด้วยอย่างมากมาย แต่กองทัพของกษัตริย์ทั้ง 2 ได้รับการต่อต้านและเสียหายอย่างหนัก ส่วนหนึ่งของกองทัพของกษัตริย์คอนราดถูกทำลายที่เมืองลาฎิกียะฮ (Laodicea หรือ Latakia) ส่วนของพระเจ้าหลุยส์ที่ 7 ยกทัพมาทางทะเลถูกโจมตีที่เมืองคัดมุส (Cadmus ) พวกตุรกีเรียกว่า บาบาดาฆ พวกครูเสดนั้นมีกำลังพลมาก จึงรอดเหลือมาถึงเมืองอันติออก ขณะนั้นเรย์มอง (ลุงของราชินีอีเลเนอร์)ปกครองอยู่ พวกขุนนาง อัศวินนักรบ และสตรีผู้สูงศักดิ์อื่น ๆพักอยู่ในเมืองจำนวนมาก พวกครูเสดจึงยกทัพเข้าล้อมเมือง ดามัสกัส แต่ไม่สำเร็จ เพราะนูรุดดีนและสัยฟุดดีน ฆอซี ( พี่ชายของนูรุดดีน ) ยกทัพมาช่วย กองทัพของกษัตริย์ทั้งสอง จึงได้เลิกทัพกลับยุโรป พวกครูเสดจึงรู้สึกท้อใจ และต้องล่าทัพกลับเมืองด้วยความผิดหวังและสูญเสียอย่างมาก
สงครามครูเสดครั้งที่ 3
เมื่อสองกษัตริย์และบรรดาสตรีแห่งฝรั่งเศสแตกทัพไป นูรุดดีนมุ่งตีพวกแฟรงค์ให้พ้นจากเอเชียน้อย โดยได้ยึดป้อมที่ชายแดนซีเรีย ชื่อ อัลอาริมา (Al Aareima) อีก 2 3 เดือนต่อมาเมืองซักรา (Zaghra) ติดกับเมืองอันติออก เสียหายอย่างหนัก ในสงครามติดพันริมกำแพงเมืองอันเนบ (Anneb) เจ้าชายเรย์มองแห่งอันติออก (ลุงของมเหสีพระเจ้าหลุยส์ที่ 7 ) ถูกฆ่า ลูกชายที่ชื่อ โบฮิมอง (ในภาษาอาหรับเรียกว่า ปิมินด์) เมียของเขาได้แต่งงานใหม่ ซึ่งสามีใหม่นี้ก็รบแพ้นูรุดดีนใน ฮ.ศ 544 (ปี ค.ศ. 1149- 1150) นูรุดดีนยึดเมืองอะปาเมียส์ได้ (ในภาษาอาหรับเรียกว่า อะฟามีอะฮ)
ปี ฮ.ศ 546 นูรุดดีนรบแพ้โยสเซลินที่ 2 แต่ต่อมานูรุดดีนเป็นฝ่ายรุกจนจับตัวโยสเซลินได้ (โยสเซลินเป็นผู้นำทัพของพวกแฟรงค์ที่เหี้ยมโหด) ซึ่งชาวมุสลิมถือเป็นชัยชนะที่ยิ่งใหญ่ หลังจากนั้นนูรุดดีนยกทัพเข้าตีเมืองดุลูก (Duluk) ของพวกครูเสดได้อีก
ในช่วงนั้นที่เมืองดามัสกัส มีปัญหาความยุ่งยากต่าง ๆ อยู่ นูรุดดีนได้ยกทัพไปช่วยยึดดามัสกัสไว้ เคาะลีฟะฮ ที่กรุงแบกแดดได้ประทานตำแหน่ง อัล-มาลิก-อัล-อาดิล-กษัตริย์ผู้ทรงธรรมแก่เขา ขณะนั้นการศึกสงครามสงบลงชั่วคราว เนื่องจากเกิดแผ่นดินไหวที่ซีเรีย นูรุดดีนจึงได้ซ่อมแซมสถานที่สำคัญต่าง ๆ เมื่อเคาะลีฟะฮแห่งแบกแดดซื่อ อัลมุกตะฟีเสียชีวิต ลูกชายชื่อ อะบุลมุซัฟฟัร ยูสุฟ เข้ามารับตำแหน่งแทน โดยมีชื่อตามตำแหน่งว่า อัล-มุสตันญิด บิลลาฮ เป็นเคาะลีฟะฮ คนที่ 32 ของวงศ์อับบาสิยะฮ
หลังจากนั้นอีก 9 ปี ราชวงศ์ฟาฏิมิยะฮอ่อนแอ เคาะลีฟะฮองค์สุดท้ายชื่อ อัล-อาซิด ลิดดีนิลลาฮ ได้ล้มป่วย บ้านเมืองจึงอยู่ภายในมืออุปราชชื่อ ชาวัร อัสสะอดีย พวกขุนนางจึงคิดจะกำจัดชาวัร ชาวัรจึงหนีไปที่เมืองดามัสกัส ขอให้นูรุดดีนช่วย โดยสัญญาว่า เมื่อยึดอำนาจคืนมาได้ จะให้กองทัพอียิปต์ช่วยรบต้านพวกครูเสด นูรุดดีนจึงส่งกองทัพไปอียิปต์ โดยการนำของ อะสัดดุดดีน ชิรผมฮ (สิงห์แห่งภูเขา) ผู้เป็นลุงของเศาะลาหุดดีน แต่เมื่อชาวัรได้อำนาจคืนแล้ว กลับร่วมมือกับพวกแฟรงค์ขับชิรผมฮออกจากอียิปต์
ในเดือนเราะมะฎอน อ.ศ. 559 (สิงหาคม ปี ค.ศ. 1164) นูรุดดีนถูกกองทัพพวกแฟรงค์และกรีกโจมตีอย่างหนัก แต่ก็ไม่สามารถเอาชนะนูรุดดีนได้ ถูกตีแตกพ่ายอย่างยับเยิน เจ้านครและนักรบต่าง ๆ ถูกจับเป็นเชลย นูรุดดีนสามารถยึดเมืองต่าง ๆ ได้อีก
ในเดือนเราะบีอุษษานีย ฮ.ศ. 562 (มกราคม กุมภาพันธ์ ปี ค.ศ. 1167) ชิรผมฮ ยกทัพไปอียิปต์ใหม่ ชาวัรได้พวกแฟรงค์มาช่วยไว้ หัวหน้าครูเสดชื่อ อะมอรี่ (Amaury) ที่อยู่เยรูซาเล็มได้ยกทัพไปช่วยชิรผมรฮ รบได้ชัยชนะ และได้ทำสัญญากันคือ อะมอรี่ตกลงถอนทหารออกจากอียิปต์ และสัญญาจะไม่เกี่ยวข้องกับเมืองนี้อีก ชิรผมฮยอมถอนทหารออกจากอเล็กซานเดรีย โดยรับค่าทำขวัญเป็นทองห้าหมื่นแท่ง แต่ปรากฎว่าชาวัรได้ทำสัญญาลับกับพวกแฟรงค์ ให้มีกองทหารอยู่ที่ไคโร และเมืองท่าต่าง ๆ ได้ โดยชาวัรจ่ายทองปีละหนึ่งแสนแท่ง แต่ปรากฏว่าพวกครูเสดที่เข้าครองเมืองเหล่านี้หยาบช้าและทารุณจนชาวอียิปต์ทนไม่ได้
เคาะลีฟะฮผู้หนึ่ง ชื่อ อัล-อาซิด ลิดดีนิลลาฮ จึงส่งหนังสือขอความช่วยเหลือจากนูรุดดีน นูรุดดีนส่งชิรผมฮ มาอีกครั้งพร้อมทั้งกองกำลังอีกเป็นจำนวนมาก เมื่อมาถึงชานเมือง พวกครูเสดก็ได้หลบหนีไปก่อนแล้ว พร้อมด้วยทรัพย์สินที่ปล้นจากชาวอียิปต์มา
วันที่ 8 มกราคม ปี ค.ศ.1169 ชิรผมฮ ได้ยกทัพเข้ากรุงไคโร เคาะลีฟะฮได้สำเร็จโทษชาวัร ตั้งชิรผมฮเป็นอุปราชแทน อีก 2 เดือนต่อมา ชิรผมฮเสียชีวิต และมีผู้รับตำแหน่งแทน ชื่อ อุโฆษ เศาะลาหุดดีน ซึ่งเป็นหลานชายของ ชิรผมฮ และขนานนามว่า อัลมาลิก อันนาศิร อัล-สุลฎอน เศาะลาหุดดีนยูสุฟ (เกิดที่เมืองตักรีต ที่ฝั่งแม่น้ำไตกริส ปี ค.ศ. 1138 เป็นพวกเคอร์ดิช เชื้อสายตุรกี บิดาชื่อนัจญ์มุดดีน อัยยูบ) ซึ่งผู้นี้ต่อมาได้เป็นนักรบผู้ยิ่งใหญ่ของมุสลิม ในขณะนั้นเคาะลีฟะฮ สุขภาพไม่แข็งแรง ได้ป่วยหนัก เศาะลาหุดดีน ผู้อยู่ในแนวหะนะฟียะฮอย่างเคร่งครัด จึงได้ประกาศอำนาจของเคาะลีฟะฮแห่งแบกแดดเหนือดินแดนอียิปต์ เมื่อถึงเวลานมาซญุมุอะฮก็ให้ออกนามเคาะลีฟะฮของแบกแดดแทน เพราะวงศ์ฟาฏิมิยะฮแห่งอียิปต์เป็นชีอะฮ
ปี ค.ศ. 1170 เคาะลีฟะฮอัลมุสตันญิดเสียชีวิต ลูกชายชื่อ อบูมุหัมมัด หะสัน รับตำแหน่งแทน มีนามว่า อัล มุสตะซิอิ บิ อัมริลลาฮ เป็นเคาะลีฟะฮองค์ที่ 33 ของวงศ์อับบาสิยะฮ
vในปีเดียวกันนี้ ลูกชายคนที่ 3 ของซังงี ชื่อ กุตบุดดีน เมาดูด เสียชีวิต และมีลูกชายชื่อ สัยฟุดดีน ฆอซีที่ 2 ขึ้นครองตำแหน่งแทน ในตอนนี้สภาวะทางการเมืองของโมสุล เกิดความวุ่นวายขึ้น นูรุดดีนก็ได้ยกทัพมาช่วยเหลือหลานชาย ต่อมาในเดือนมุหัรร็อม ฮ.ศ. 567 เคาะลีฟะฮผู้ที่มีสุขภาพไม่แข็งแรงนักของอียิปต์ก็ได้เสียชีวิต เศาะลาหุดดีนจึงได้เป็นอุปราชของนูรุดดีน และได้ปกครองดินแดนอียิปต์ทั้งหมด
ในเดือนเชาวาล ฮ.ศ. 569 หรือในช่วง 15 พฤษภาคม ปี ค.ศ. 1174 นูรุดดีนได้เสียชีวิต เศาะลาหุดดีนจึงมีอำนาจเด็ดขาดในอียิปต์ หิจญาซและยะมัน แต่ยังขึ้นต่อพวกสัลยูกอยู่ นูรุดดีนมีลูกชายอยู่คนหนึ่ง ชื่อว่า อิสมาอีล ได้นามตามตำแหน่งว่า อัล-มาลิกุศ-ศอลิห อายุ 11 ปี
เมื่อนูรุดดีนเสียชีวิต เศาะลาหุดดีนก็ได้ส่งบรรณาการไปยังอัลมาลิกุศศอลิห พวกขุนนางที่เคยมีอำนาจจึงวางท่ากีดกัน เพราะเห็นว่าลูกชายของนูรุดดีนนั้นยังมีอายุน้อยเกินไป เศาะลาหุดดีนได้ส่งหนังสือไปตักเตือนพวกขุนนางว่าถ้าไม่เชื่อฟังก็จะเข้ามาปกครองดามัสกัส ในขณะนั้นขุนนางชื่อ กุมุชตาจิน (Gumushtagin) พามาลิกุศศอลิห หนีไปเมืองอเลปโป ทำให้พวกแฟรงค์เข้ามาโจมตีเมืองได้อย่างสะดวก พวกครูเสดเองก็ได้ยกทัพเข้ามาล้อมเมือง และถอยทัพไปเมื่อได้รับค่าทำขวัญกันมาก ทำให้เศาะลาหุดดีนโกรธมากพอ จึงยกทัพเข้ายึดดามัสกัสไว้ แต่เขาไม่เข้าไปพักในสถานที่ของนูรุดดีน เพราะถือว่าเป็นเจ้านายเก่า และตัวเองเป็นเพียงอุปราชเท่านั้น จึงได้ไปพักที่บ้านพ่อและได้เขียนจดหมายถึงมาลิกุศศอลิห ว่าเขามาที่ดามัสกัสเพื่อป้องกันเมือง แต่พวกขุนนางที่เป็นศัตรูกับเขากลับตอบจดหมายกลับมาด่าว่าเขาอย่างรุนแรง ว่าเป็นคนเนรคุณ เขาจึงได้เดินทางไปเมืองอเลปโป เพื่อจะพบลูกชายของเจ้านายและจะได้ชี้แจง แต่กลับพบกับปฏิกิริยาที่ไม่เป็นมิตรจากลูกของเจ้านายและมิหนำซ้ำยังชักชวนชาวเมืองให้ต่อสู้กับเขา หาว่าเป็นคนเนรคุณ เศาะลาหุดดีนจึงต้องสู้รบจนพวกนี้ล่าถอยเข้าเมืองไป
มาลิกุศศอลิห ได้ขอความช่วยเหลือจากสัยฟุดดีน ฆอซีที่ 2 (Saifuddin Ghazi II) เศาะลาหุดดีนได้พยายามที่จะยืนยันความจงรักภักดีและยอมสละชีวิตเพื่อจะปกป้องบ้านเมือง แต่สิ่งที่ได้รับกลับเป็นการดูถูก เย้ยหยัน และระดมพวกครูเสดให้มาสู้รบกับเขา อย่างไรก็ตามเศาะลาหุดดีนก็ตีแตกพ่ายไป มาลิกุศศอลิหและสัยฟุดดีน ฆอซีที่ 2 ถูกตีพ่ายไปเช่นกันและเสียเมืองต่าง ๆ ทำให้มาลิกุศศอลิห ต้องยอมทำสัญญาสงบศึก โดยส่งลูกสาวคนเล็กซึ่งยังเป็นเด็กอยู่ ไปให้เศาะลาหุดดีน เศาะลาหุดดีนให้ความเอ็นดูเด็กคนนี้ จึงยอมทำสัญญากับวงศ์ของนูรุดดีน และมอบของกำนัลให้ สัญญาฉบับนี้ เขาได้ปกครองเมืองดามัสกัสอย่างเด็ดขาด เคาะลีฟะฮทางเมืองแบกแดดจึงตั้งให้เป็นสุลฏอน เจ้าเมืองผู้ครองนครต่าง ๆ พากันสวามิภักดิ์ต่อเขา เพราะเชื่อกันว่าเขาจะให้ความคุ้มครองและช่วยเหลือเมื่อมีภัย เศาะลาหุดดีนจึงมีอิทธิพลเรื่อยมา
เมื่อกล่าวถึงพวกครูเสดในเยรูซาเล็ม ได้รับการสนับสนุนในเรื่องกำลังคน อาวุธและเสบียงจากทางยุโรปมากขึ้น มีทั้งพวกนักรบที่ต้องการชัยชนะ พวกที่ผจญภัยแสวงหาความร่ำรวย พวกคลั่งศาสนา พวกอาชญากรที่หนีคดี ต่างพากันมาที่ชายฝั่งซีเรีย ในขณะนั้นอะมอรี่เป็นผู้ครองเมืองเยรูซาเล็มได้เสียชีวิตลง ลูกชายชื่อบอล์ดวินที่ 4 ป่วยเป็นโรคเรื้อน พี่สาวของบอลด์วินชื่อสิบิลลา (Sybilla) มีลูกชายกับสามีเก่าชื่อว่าบอลด์วิน เช่นกัน ต่อมาสิบิลลาได้แต่งงานใหม่กับกาย เดอ ลุสิกนัน (Guy de Lusignan) บอลด์วินที่ 4 จึงตั้งให้พี่เขยคนนี้เป็นผู้สำเร็จราชการ แต่ต่อมาเขาได้ตั้งเรย์มองเคานต์แห่งตริโปลีเป็นแทน และเขาได้คืนสมบัติให้กับหลานชายบอลด์วินที่ 5 ซึ่งยังเป็นเด็กอยู่ ต่อมาเมื่อเด็กคนนี้ตาย ผู้เป็นแม่จึงเป็นราชินีของเยรูซาเล็ม ในปี ค.ศ. 1189 เป็นต้นมา
ในสมัยบอลด์วินที่ 4 นั้นได้มีการทำสัญญาระหว่างพวกครูเสดกับเศาะลาหุดดีน ซึ่งชาวมุสลิมีนให้ความเคารพต่อสัญญาฉบับนี้ แต่พวกครูเสดถือเป็นแค่การพักรบชั่วคราวเท่านั้น ปี ค.ศ. 1189 พวกครูเสดที่ชื่อ เรโนด์ หรือเรยินัลแห่งชาติลอง ได้ปล้นคาราวานมุสลิมและฆ่าผู้คน ทำให้เศาะลาหุดดีนโกรธเป็นอย่างมาก จึงยกทัพไปแก้แค้น ผลการสู้รบพวกครูเสดตายนับหมื่นคน ซึ่งในจำนวนนี้รวมถึง กาย เดอ ลุสิกนัน ซึ่งเป็นสามีของสิบิลลาด้วย และเรโนด์แห่งชาติลอง ได้ถูกประหารชีวิตในฐานะผู้ที่ก่อเหตุแห่งส่งคราม หลังจากพวกครูเสดแตกทัพไป เศาะลาหุดดีนจึงได้มุ่งไปยึดเยรูซาเล็ม ซึ่งมีพลเมืองอยู่กันหนาแน่น มีทหารถึง 60,000 คน
ในครั้งนั้นเศาะลาหุดดีนได้บอกกับพวกนั้นว่า เขาตระหนักดีว่า เมืองเยรูซาเล็มเป็นเมืองของพระเจ้าและเขาก็ไม่ต้องการให้เปื้อนไปด้วยเลือด ขอให้เลิกสู้รบกัน แล้วเขาจะแบ่งทรัพย์สินและที่ดินให้ทำการเพาะปลูกอย่างเพียงพอ แต่สิ่งที่ได้รับคือคำดูถูก เยาะเย้ยจากพวกครูเสดอีก ทำให้นักรบผู้กล้าหาญอย่างเขาแค้นเคืองเป็นอย่างมาก เขาจึงสาบานว่าจะแก้แค้นให้กับชาวมุสลิมีนทั้งหลายที่ถูกฆ่าและทารุณกรรมจากกอดเฟรย์แห่งบุยยอง
เมื่อช่วงแรกที่ยกทัพเข้าตีพวกครูเสด หลังจากที่ได้ล้อมเมืองไว้ชั่วระยะเวลาหนึ่งแล้ว ทำให้พวกครูเสดอ่อนกำลังลงอย่างมาก จึงขอความเมตตาจากเศาะลาหุดดีน ทำให้เขาใจอ่อนยอมให้พวกกรีกและพวกซีเรียคริสเตียนอยู่ในอาณาจักรโดยมีสิทธ์เหมือนพลเมืองทุกอย่าง ส่วนพวกทหารต้องกลับถิ่นฐานของตนเองพร้อมกับลูกเมียภายใน 40 วัน โดยให้ทหารของสุลฏอนคุ้มครองไปจนถึงเมืองตริโปลี และให้เสียค่าไถ่ตัวผู้ชาย 10 ดินาร์ หญิง 5 ดินาร์ เด็ก 1 ดินาร์ ซีเรีย ถ้าไม่มีจ่ายก็ต้องเป็นเชลย แต่มันเป็นเพียงกฎในสงครามยึดครองเท่านั้น ในความเป็นจริงแล้วเศาะลาหุดดีนได้ใช้เงินค่าไถ่ตัวคนพวกนี้กว่าหมื่นคน น้องชายของเขาก็ปล่อยเชลยให้เป็นอิสระถึง 7,000 คน พวกคนแก่ที่พวกคริสเตียนต้องแบกกลับ เขาก็จัดหาลาเป็นพาหนะให้และยังให้เงินช่วยอีกด้วย เมื่อพวกผู้หญิงที่ถูกปล่อยไปขอร้องให้เขาคืนสามี พ่อ และลูก ของพวกเธอเหล่านั้นด้วย เขาก็เกิดความสงสารและยินยอมให้ตามนั้น และยังได้บริจาคเงินช่วยเหลือเด็กกำพร้า และนักรบทั้งหลายที่เคยสู้รบกับเขาให้ได้รับการรักษาพยาบาล สิ่งนี้คือมนุษยธรรม ที่เศาะลาหุดดินแสดงต่อพวกครูเสด ซึ่งมันเป็นสิ่งที่ตรงกันข้ามกับพวกครูเสดที่เคยฆ่าฟันมุสลิมีน ทำร้ายและทารุณกรรมต่าง ๆ กับเด็ก และผู้หญิงชาวมุสลิมีน
เศาะลาหุดดีนมีความเคารพต่อศาสนสถานในเยรูซาเล็ม เขาไม่ยอมเข้าเมืองจนกว่าพวกครูเสดจะอพยพออกไปหมด และเมื่อเข้าไปแล้ว ในวันศุกร์ที่ 27 เดือนเราะญับ ฮ.ศ. 583 เขาได้ทำพิธีละหมาดที่นั่นด้วย ต่อมาพวกคริสเตียนที่ถูกปล่อยไปบางพวกได้รวบรวมกำลังคนย้อนกลับมาทำสงครามอีก แต่ก็ไม่สามารถที่จะเอาชนะเศาะลาหุดดีนได้ แม้ว่าจะขอกำลังสนับสนุนจากทางยุโรปให้มาสมทบก็ตาม การทำสงครามกันจึงยืดเยื้อเรื่อยมา
นับตั้งแต่ ปี ค.ศ. 1095 ที่สงครามครูเสดเริ่มขึ้น ดินแดนในเอเชียน้อยไม่เคยสงบสุขเลย พวกครูเสดจะยกทัพมาตีเมืองต่าง ๆ ที่อ่อนแออยู่ตลอดเวลา ซ้ำในบางครั้งมุสลิมด้วยกันก็เป็นศัตรูกันเอง จึงต้องทำสงครามกันตลอด
สงครามครูเสดครั้งที่ 4
เมื่อเศาะลาหุดดีนเสียชีวิตแล้ว ได้เกิดปัญหาความวุ่นวายต่าง ๆ จากลูก ๆ ของเขา เศาะลาหุดดีนมีลูกชาย 3 คนคือ อะลีย อุษมาน และฆอซี ต่างก็ได้รับสิทธิปกครองเขตแดนต่างกันไป รวมทั้งน้องชายของเศาะลาหุดดีนชื่อสัยฟุดดีน (ผู้ได้รับฉายาว่า อัล-มาลิก อัล-อาดีล เป็นแม่ทัพที่มีความสามารถและชำนาญการรบไม่แพ้ผู้ใด) เมื่อลูก ๆ ของเศาะลาหุดดีนทะเลาะกัน สัยฟุดดีนจึงได้รวบอำนาจไว้ เมื่อพวกครูเสดยกทัพมาทางทะเลยึดเมืองบัยรุตได้ เป็นการทำลายสัญญาที่ทำไว้ในสมัยของเศาะลาหุดดีน สัยฟุดดีนจึงได้ยกกองทัพไปปราบพวกครูเสด และทำสัญญาสงบศึกอีก 3 ปี แล้วจึงยกกองทัพกลับ ในตอนต้น ๆ โป็ปเซเลสตีน (Celestine III) เป็นผู้ที่ยุให้เกิดสงครามครูเสด
สงครามครูเสดครั้งที่ 5
หลังจากนั้นอีก 3 ปีต่อมา โป๊ปอินโนเซ็นท์ที่ 3 (Innocent III) ได้ทำการประกาศสงครามอีก โป๊บได้ปลุกระดมให้กษัตริย์ในทวีปยุโรปยกทัพมาร่วมรบเพื่อตีเมืองเยรูซาเล็ม แต่ครั้งนี้พระเจ้าริชาร์ดใจสิงห์แห่งอังกฤษไม่ทรงเห็นด้วย โป๊ปรวบรวมผู้คนได้เป็นกองทัพขนาดใหญ่ ในคราวนี้เป็นโชคดีของมุสลิม เพราะพวกนี้ได้ยกทัพมุ่งไปเมืองคอนสแตนติโนเปิ้ล แทนที่จะไปเอเชียน้อย เมืองคอนสแตนติโนเปิ้ล เป็นที่ตั้งของพวกคริสต์นิกายออร์โธดอกซ์ เมืองคอนสแตนติโนเปิ้ลจึงถูกพวกครูเสดยึดได้ง่าย เมืองถูกเผาทำลาย นักประวัติศาสตร์ได้บันทึกไว้ว่า ไฟลุกโชติช่วงสูงเกิน 1 ลีก ( ประมาณ 3 ไมล์) เป็นเวลา 8 วัน 8 คืน แม้โป๊ปจะรู้สึกสลดใจต่อการกระทำของพวกครูเสด แต่ก็ไม่สามารถที่จะยับยั้งได้ ทั้งผู้หญิงและเด็ก ถูกฉุดฆ่าและสับเป็นท่อน ๆ โดยพวกคริสเตียนเหล่านี้
พวกครูเสดโรมันได้ครองเมืองอยู่ถึง 40 ปีเศษ ในที่สุดพวกกรีกสามารถกอบกู้เมืองคืนมาได้ และปกครองอยู่อีกราว 200 ปี จึงได้เสียเมืองให้พวกตุรกีอุษมานิยะฮ ( ที่ฝรั่งเรียกว่า อาณาจักรออตโตมัน แห่งตุรกี)
สงครามครูเสดครั้งที่ 6
นับเป็นสงครามครั้งที่รุนแรงและโหดร้ายที่สุด เพราะมีการปลุกระดม ปลูกฝังแนวความคิดให้พวกเด็ก ๆ และผู้หญิง เข้าไปร่วมรบในปาเลสไตน์ด้วย โดยเด็กฝรั่งเศสชื่อ สตีเฟน อายุ 12 ปี บอกว่าพระเยซูมีบัญชาให้ตนเองยกกองทัพครูเสดของพวกเด็ก ๆ ไปช่วยกอบผม้สุสานบริสุทธิ์ของพระองค์ เด็ก ๆ เกิดความตื่นเต้นกับคำพูดอวดอ้างของสตีเฟน ต่างพากันไปชุมนุมเพื่อนสนับสนุนพวกคลั่งศาสนา ประกอบกับได้มีการอ้างถึงคัมภีร์ไบเบิ้ลใหม่ เช่น มัดธาย 21 : 17 ความว่า "เสียงที่ออกจากปากเด็กอ่อนและทารกนั้นเป็นคำสรรเสริญอันแท้จริง" พวกเด็ก ๆ ในเยอรมันจึงรวมตัวกันเกือบ 4 หมื่นคน เดินทางข้ามภูเขาแอลป์มุ่งหน้าที่จะไปยังประเทศอิตาลี โดยหวังว่าจะเห็นปาฏิหาริย์ทะเลแยกออกให้พวกเขาเดินผ่านไปยังปาเลสไตน์ได้ แต่การเดินทางที่ยาวไกล ต้องพบกับความยากลำบากและความหนาวเหน็บ ทำให้เด็ก ๆ ต้องล้มตายลงเป็นจำนวนมาก
ฝ่ายเด็ก ๆ ชาวฝรั่งเศสเกือบ 3 หมื่นคน แม้จะเดินทางมาถึงเมืองท่ามาร์เซลส์ได้ แต่พวกเขาก็ผิดหวัง เพราะไม่เห็นทะเลแยกออกจากกันจึงพากันกลับ
โป๊ปได้ขอให้พวกเด็ก ๆ ชาวเยอรมันเดินทางกลับบ้าน ยังคงมีแต่เด็ก ๆ ชาวฝรั่งเศส 4-6 พันคนที่ยังคงปักหลักอยู่ที่เมืองมาร์เซลส์ ทำให้ถูกพวกพ่อค้าที่เห็นแก่ตัวทั้งหลาย ได้อาสาจัดเรือเพื่อนำเด็กๆ เหล่านั้นไปยังปาเลสไตน์ เพียงเพื่อการมุ่งหาแต่ผลกำไร แม้จะเป็นจากกลุ่มเด็กๆ ก็ตาม โดยการนำเด็กเหล่านั้นไปยังเมืองอเล็กซานเดรีย และเมืองท่าอื่นๆ ซึ่งเป็นตลาดค้าทาสแทน แสดงให้เห็นว่าแม้แต่ลูกหลานคริสเตียนครูเสด ก็ยังถูกพวกคริสเตียนด้วยกันเองนำตัวไปขายเป็นทาส เจตนาการทำสงครามครูเสดนั้น ได้เปลี่ยนไปนับแต่นั้น เพราะผู้ที่เข้าไปเกี่ยวข้องกับเหตุการณ์นั้น ต่างมุ่งที่จะกอบโกยประโยชน์อย่างไร้มนุษยธรรม
ในระหว่างปี ค.ศ. 1216 1217 โป๊ปอินโนเซ็นท์ที่ 3 ได้ประกาศสงครามอีกครั้ง ในครั้งนี้กษัตริย์เมืองฮังการี ดยุกแห่งเมืองออสเตรียและบาวาเรียน พร้อมทั้งเจ้าเมืองต่าง ๆ ได้รวบรวมคนถึง 250,000 คน เดินทางไปอียิปต์เพื่อตีเมืองดิมยาต (Damietta) สัยฟุดดีนยกทัพจากทางเหนือเพื่อมาช่วย แต่ได้เสียชีวิตกลางทาง หลังจากพวกครูเสดล้อมเมืองไว้ถึง 18 เดือน จึงเข้ายึดดิมยาตได้ และทำการทารุณชาวเมืองดิมยาต หลังจากนั้นจึงได้ยกกองทัพต่อไปที่ไคโร ขณะนั้นเองลูกชายของสัยฟุดดีน มีนามตามตำแหน่งว่า อัล-มาลิก อัล-กามิล เป็นผู้ปกครองเมืองอยู่ ได้ขอทำสัญญาสงบศึกกับพวกครูเสด โดยยอมคืนเมืองต่าง ๆ ที่เศาะลาหุดดีนตีมาได้ ให้พวกครูเสด แต่พวกครูเสดไม่ยอม ชาวมุสลิมจึงได้พังเขื่อนกั้นน้ำ เพราะขณะนั้นน้ำในแม่น้ำไนล์กำลังขึ้น และพวกครูเสดอยู่ในที่ลุ่ม ก่อให้เกิดความเสียหายแก่พวกครูเสด และกองกำลังได้ล้มตายลงเป็นจำนวนมาก ขาดการติดต่อกับเมืองอื่น ๆ พวกครูเสดจึงเป็นฝ่ายขอทำสัญญาสงบศึกเสียเอง โดยยอมคืนเมืองดิมยาตให้แก่มุสลิมและได้ยกทัพกลับในเวลาต่อมา
สงครามครูเสดครั้งที่ 7
ในระหว่าง ค.ศ 1216-1217 โป๊บอินโนเซนต์ที่ 7 ได้ประกาศสงครามครูเสดอีก คราวนี้เจ้าเมือง ฮังการี,ดยุ๊คแห่งออสเตรียและบาวาเรียและพวกเจ้านครต่างๆได้รวมกำลังกันประมาณ 250,000 คน เพื่อไปตีพวกมุสลิมมีน!พวกนี้มาทางซีเรีย แล้วมุ่งไปทางอียิปต์เพื่อตีเมืองดิมยาต (damietta) สัยฟุดดีนได้ยกทัพจากทางเหนือมาช่วย แต่ตายเสียกลางทาง มุสลิมมีนได้สูญเสียแม่ทัพสำคัญอีกคนหนึ่งรองจากเศาะลาหุดดีนหลังจากล้อมเมืองอยู่ 18 เดือน พวกครูเสดจึงเข้ายึดเมืองดิมยาดได้และได้ประกอบอาณารยธรรมต่างๆ อย่างๆที่พวกเขาได้เคยกระทำมาแล้ว พวกนี้จึงยกทัพไปไคโร เวลานั้นลูกชายของสัยฟุดดีน ชื่อ นะศีรุดดีน มีนามตามตำแหน่งว่า อัล-มาลิก อัลกามิล ปกครองอยู่ ได้ขอร้องทำสัญญาสงบศึกโดยจะคืนเมืองต่างๆที่เศาะลาหุดดีนตีได้แก่พวกครูเสด แต่พวกนี้ไม่ยอม เวลานั้นแม่น้ำไนลืกำลังขึ้น พวกครูเสดอยู่ทางลุ่ม พวกมุสลิมมีนจึงได้พังเขื่อนกั้นน้ำทำให้น้ำท่วมพวกนี้เสียหายเป็นจำนวนมากขาดการติดต่อจากเมืองอื่น และคนตายลอยเป็นแพ พวกครูเสดจึงทำสัญญาสงบศึกโดยยอมคืนเมืองดิมยาตคืนให้แก่มุสลิมมีนแล้วยกทัพกลับ
ยังไม่ทันที่ไอสงครามจะจางหาย พวกพี่น้องเหล่านี้ซึ่งเป็นลูกของสัยฟุดดีนเกิดทะเลาะกันอีก คนหนึ่งไปทำสัญญาลับๆ กับพระเจ้าเฟรดเดอริกที่ 2 แห่งเยอรมันนี ทำให้เกิดสงครามครูเสดครั้งต่อไป
สงครามครูเสดครั้งที่ 8
ลูกชายคนที่ 2 ของสัยฟุดดีน ชื่อว่า อีสา มีนามตามตำแหน่งว่า อัล-มาลิก อัล-มุอัซซัม ต้องการแยกอำนาจจากพี่ คือ อัล-มาลิก อัก-กามิล จึงไปทำสัญญากับศัตรู คือ พวกเฟรดเดอริกที่ 2 เมื่อมุอัซซัมเสียชีวิตลง ในปี ฮ.ศ 624 (ค.ศ. 1227 ) ลูกชายชื่อดาวูด มีนามตามตำแหน่งว่า อัล-มาลิก อันนาศิร ได้ปกครองดินแดนในส่วนนั้นต่อมา พี่คนโตของมุอัซซัมคือกามิลและน้องคนเล็กชื่อ อัชรัฟ จึงยกทัพเข้ายึดเมืองดามัสกัส แล้วให้ดาวูดปกครองเมืองฮัรรอน เอเดสสาและร็อกกะแทน
ใน ค.ศ 1229 เฟรดเดอริกที่ 2 ยกทัพมาถึงซีเรีย เฟรดเดอริกได้เจรจากับกามิล ตกลงทำสัญญาซึ่งในสัญญานั้นมีอายุ เป็นเวลา 10 ปี 6 เดือน 10 วัน ความว่า ให้เฟรเดอริกเข้าครองเมืองเยรูซาเล็ม เมืองบัยตุลละหัม (เมือง เบธเลเฮม) เมืองนาซาเรส และเมืองอื่น ๆ ระหว่างยัฟฟะถึงอักกะได้ และยอมให้มุสลิมมีสิทธิประกอบศาสนกิจในเมืองเหล่านี้ได้อย่างเสรี แต่ทั้งมุสลิมและคริสต์เตียนไม่เห็นด้วยกับสัญญาฉบับนี้ ทางฝ่ายมุสลิมเกิดความแค้นเคืองที่กามิลยกเมืองที่เศาะลาหุดดีนตีมาได้ให้แก่พวกครูเสด ส่วนพวกครูเสดก็ไม่ยอมรับพวกมุสลิม เพราะถือเป็นพวกนอกศาสนา ไม่ยอมให้ประกอบศาสนกิจได้ โป๊ปเองก็ไม่พอใจเฟรดเดอริกที่ยกทัพไปตามลำพัง จึงประกาศให้เป็นพวกนอกศาสนา เมื่อทำสัญญาเสร็จ เฟรดเดอริกจึงได้ยกทัพกลับ
กามิลเสียชีวิตลง ในวันที่ 8 มีนาคม 1238 มีลูกชายคนหนึ่งชื่อ อบูบักร ครองราชสมบัติแทน แต่เนื่องด้วยความเป็นเด็กที่ไม่รู้จักโต ทำให้ลูกผู้พี่คือ ดาวูด ได้ยึดเมืองคืนและกอบผม้เมืองเยรูซาเล็มให้กลับมาเป็นของมุสลิมอีกครั้ง
สงครามครูเสดครั้งที่ 9
กษัตริย์ของฝรั่งเศส หลุยส์ที่ 9 ได้ยกกองทัพมาทางทะเลขึ้นบกที่ดิมยาตและเข้ามายึดเมืองได้ซึ่งในขณะนั้น อัล-มาลิก อัศ-ศอลิห นัจญ์มุดดีน อัยยุบ ได้เสียชีวิตลง เมื่อลูกชายของศอลิห ชื่อ ตุรอนซาฮ เดินทางกลับมาจากเมโสโปเตเมีย ได้ทราบข่าว แต่เนื่องจากไม่ถูกกับพวกบ่าวของพ่อ คือพวกมัมลูก จึงได้ถูกแม่เลี้ยงชื่อนางชะญัรสั่งให้คนลอบฆ่า แล้วนางก็สถาปนาตนขึ้นเป็นราชินีมุสลิม แต่ผู้อยู่เบื้องหลังที่แท้จริงคือ มัมลูก (ชื่อมุอีซุดดีน อัยบาก) นั่นเอง ซึ่งต่อมานั้นเป็นต้นราชวงศ์มัมลูกกิยะฮ วงศ์นี้ปกครองตั้งแต่ ค.ศ.1250 ถึง 1390 เป็นเวลาถึง 140 ปี
ต่อมาอัยบาย เกิดความขัดแย้งกับพวกหลานของเศาะลาหุดดีน ซึ่งเป็นที่สุดของราชวงศ์อัยยูบิยะฮ ก่อให้เกิดการล่มสลายของราชวงศ์ลง และวงศ์มัมลูกกิยะฮ ก็ได้ขึ้นมาแทน
ในช่วงเวลานี้ ทางตะวันออกก็เกิดเหตุการณ์ร้ายแรงขึ้น คือ พวกมองโกเลียโดยการนำของเจงกิสข่าน ได้เดินทางมาทางยุโรป และบรรดาลูกหลานของเจงกิสข่านได้ยึดเมือง แบกแดด ซึ่งมีชาวเมืองประมาณ 2 ล้านคน และเผาทำลายบ้านเมืองลงหมด ทำให้วงศ์อับบาสิยะฮสิ้นสุดลง โดยมีเคาะลีฟะฮ องค์สุดท้าย คือองค์ที่ 37 ชื่อ อัลมุสตะอศิมบิลลาฮ เป็นผู้ปกครอง เมื่อ ฮ.ศ. 640 ( ค.ศ. 1242 ) พวกมัมลูกสามารถต้านกองทัพของพวกมองโกเลียไว้ได้ และเป็นการกันไม่ให้รุกรานไปจนถึงซีเรีย และอียิปต์
สงครามครูเสดครั้งที่ 10
พระเจ้าหลุยส์ที่ 9 แห่งฝรั่งเศส เดินทางกลับทวีปยุโรป และขอให้โป๊ปอภัยโทษให้พระเจ้าเฟรดเดอริกที่ 2 ของเยอรมัน ใน ปี ค.ศ. 1270 พระองค์ได้ทรงชักชวนให้ พระเจ้าเอ็ดเวิร์ดที่ 1 ของอังกฤษมาร่วมทำสงครามครูเสดอีก แต่พระเจ้าหลุยส์ทรงสิ้นพระชนม์ด้วยโรคระบาดที่เมืองคาร์เธจเสียก่อน พระเจ้าเอ็ดเวิร์ดได้เสด็จกลับจากปาเลสไตน์เมื่อ ปี ค.ศ. 1271 ถึงอังกฤษ ปี ค.ศ. 1274
ครั้งสุดท้ายมีการเคลื่อนไหวที่จะทำให้เกิดสงครามครูเสดขึ้นมาอีกโดย ปิอุสที่ 2 ในช่วงปี ค.ศ. 1460 แต่เมื่อโป๊ปเสียชีวิตลง ในปี ค.ศ. 1464 เรื่องสงครามครูเสดก็ได้ยุติลง สงครามครูเสดทำให้เกิดผลลัพธ์ทางอ้อมหลายประการด้วยกันคือ
- บ้านเมืองของชาวตะวันตกได้รับการทำนุบำรุงจากเงินของพวกเจ้าขุนมูลนาย อัศวินนักรบทั้งหลายที่ไปทำสงครามแล้ว ไม่ได้กลับมา ส่วนพวกที่ไม่ได้เสียชีวิตในการรบ ก็ต้องจ่ายเงินเพื่อช่วยทำสงคราม ทำให้เสียดุลย์ในการมีทรัพย์ อำนาจของกษัตริย์มีมากขึ้น
- ชาวตะวันตกได้รับความรู้ใหม่ ๆ หลายอย่างจากชาวมุสลิม เช่นเรื่องโรงสีลม การใช้เข็มทิศเดินเรือ ทำให้อุตสาหกรรมเจริญก้าวหน้ามากขึ้น ส่วนชาวอิสลามเองก็ได้รับความรู้จากพวกคริสต์มากมายเช่นกัน
- ในการสำรวจพื้นที่เพื่อทำการสงครามที่ต่อเนื่องนั้น ทำให้ชาวเวนิสผู้หนึ่งมีชื่อเสียงขึ้นมา คือมาร์โคโปโล
ประวัติศาสตร์คริสต์
เราไม่ได้แสวงหาความสงบเพื่อที่จะสู้ แต่เราสู้เพื่อที่จะมีความสงบ ดังนั้น จงมีความสงบเมื่อต่อสู้ ท่านจะได้พิชิตทุกคนที่ท่านสู้ด้วย และทำให้พวกเขาได้ไปสู่สันติสุข (The Christian Classics Ethereal Library, 2000)
ในเวลาต่อมา ระหว่างปี ค.ศ. 1095-1291 เกิดสงครามระหว่างศาสนิกชนของศาสนาคริสต์กับศาสนาอิสลาม เรียกว่า "สงครามครูเสด" สาเหตุของสงครามเนื่องมาจากผู้นับถือศาสนาอิสลาม (มุสลิม) ได้เข้ายึดครองกรุงเยรูซาเร็ม ซึ่งเป็นนครศักดิ์สิทธิ์ที่คริสต์ศาสนิกชนเดินทางไปจาริกแสวงบุญ เมื่อเป็นเช่นนี้ทางฝ่ายผู้นับถือศาสนาคริสต์จึงได้ต่อต้านการรุกรานของพวกนอกศาสนา (ชาวคริสต์เรียกทุกคนที่ไม่ได้นับถือศาสนาคริสต์ว่าพวกนอกศาสนา) ทางฝ่ายของศาสนจักรแห่งกรุงโรม โดยพระสันตะปาปาอูบอง ที่ 2 (URBAN II : ค.ศ.1042-1099) ได้ชี้ให้ชาวคริสต์เห็นถึงภัยจากการรุกรานของพวกมุสลิม และทรงสัญญาว่าจะยกบาปและหนี้สินให้แก่ทุกคนที่เข้าร่วมรบในสงคราม (จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2533: 318) จึงได้จัดเทศนาครั้งใหญ่ขึ้นเมื่อวันที่ 18-28 พฤศจิกายน ค.ศ.1095 ณ วิหารแครมองต์ ซึ่งตั้งอยู่ทางตอนใต้ของประเทศฝรั่งเศส และประกาศให้สงครามครั้งนี้เป็น "สงครามตามปรารถนาของพระเจ้า" (God Wills It) หรือ "สงครามศักดิ์สิทธิ์"(Holy War) เพื่อต่อต้านมุสลิม และให้ยึดครองกรุงเยรูซาเร็มคืนจากมุสลิม การเทศนาครั้งนั้นนับว่ามีส่วนกระตุ้นให้ชาวยุโรปผู้นับถือศาสนาคริสต์จำนวนมากเข้าร่วมรบ ซึ่งเรียกว่าพวกครูเสด (Crusaders มาจากคำว่า Cross หรือไม้กางเขน อันเป็นสัญลักษณ์แทนชาวคริสต์) (วัชระ ฤทธาคนี, 2544: 24-25)
ภ ายหลังการประกาศสงครามศักดิ์สิทธิ์ของพระสันตะปาปาอูบองที่ 2 สงครามครูเสดจึงได้เริ่มต้นขึ้น ซึ่งการเริ่มต้นของสงครามครั้งนั้นก่อให้เกิดการต่อสู้ระหว่างผู้นับถือศาสนาคริสต์และศาสนาอิสลาม โดยมีระยะเวลาในการต่อสู้ยาวนานถึง 196 ปี
ในช่วงปลายของสงครามครูเสด นักบุญโธมัส อไควนัส (Saint Thomas Aquinas: ค.ศ.1224-1274) ได้เขียนหนังสือเรื่อง "ซูมมะ ธิออล-ลอจิก้า" (Summa Theologica: เขียนขึ้นระหว่างปี ค.ศ.1265-1275) โดยได้พัฒนาเนื้อหาบางตอนเกี่ยวกับสงครามที่เป็นธรรมที่ออกัสตินเสนอไว้ ตลอดจนอไควนัสได้เพิ่มเติมทรรศนะส่วนตัวเข้าไปด้วย ในงานเขียนชิ้นนี้อไควนัสได้แสดงทรรศนะว่าเพื่อให้การทำสงครามเป็นไปด้วยความชอบธรรม ต้องประกอบด้วยปัจจัยสำคัญสามประการ คือ
ประการที่หนึ่ง อำนาจของผู้ปกครอง ผู้ซึ่งควบคุมสั่งการให้ดำเนินสงคราม เนื่องจากสงครามไม่ใช่หน้าที่ของบุคคลธรรมดาทั่วไปที่จะประกาศสงคราม เพราะเขาสามารถแสวงหาความชอบธรรมของเขาจากศาลยุติธรรมที่เขามีอำนาจอยู่ ยิ่งไปกว่านั้น สงครามไม่ใช่หน้าที่ของบุคคลธรรมดาทั่วไปที่จะเรียกประชุมประชาชน ซึ่งเหตุการณ์นี้จะเกิดขึ้นในยามสงคราม และความเอาใจใส่เกี่ยวกับประโยชน์สุขของผู้คนในชาติถูกมอบให้กับบุคคลผู้ซึ่งมีอำนาจ มันเป็นหน้าที่ของเขาที่จะดูแลประโยชน์สุขของผู้คนในนคร ราชอาณาจักร หรือจังหวัดที่ขึ้นกับพวกเขา และมันเป็นสิ่งที่ชอบด้วยกฎหมายสำหรับพวกเขาที่จะอาศัยดาบ เพื่อปกป้องประโยชน์สุขของผู้คนในชาติจากภัยคุกคามภายใน เมื่อพวกเขาลงโทษผู้กระทำชั่วดังคำกล่าวของผู้เผยแพร่ศาสนาคริสต์ (Apostle) ที่ว่า "ผู้ครอบครองนั้น หาได้ถือดาบไว้เฉย ๆ ไม่ ท่านเป็นผู้รับใช้ของพระเจ้า และจะเป็นผู้ลงพระราชอาญาแทนพระเจ้าแก่ทุกคนที่ประพฤติชั่ว" (โรม. 13: 4) ดังนั้น ด้วยเหตุนี้มันเป็นหน้าที่ของพวกเขา ในการอาศัยดาบเพื่อใช้ในการปกป้องประโยชน์สุขของผู้คนในชาติจากศัตรูภายนอกเช่นกัน ดังนั้นจึงมีคำกล่าวถึงผู้ซึ่งมีอำนาจว่า "จงช่วยคนอ่อนเปลี้ยและคนขัดสนให้พ้น ช่วยพวกเขาจากมือของคนอธรรม" (พระธรรมสดุดี. 81: 4) และสำหรับเหตุผลนี้ออกัสตินได้กล่าวว่า "ธรรมชาติของการได้มาซึ่งความสงบในหมู่ผู้คนเป็นความจำเป็นที่อำนาจในการประกาศสงคราม และอำนาจในการให้คำแนะนำเกี่ยวกับสงคราม ควรอยู่ในมือของผู้ที่มีอำนาจสูงสุด"
ประการที่สอง ความมุ่งหมายที่ชอบธรรม กล่าวคือ ผู้ที่ถูกรุกรานสมควรจะถูกรุกราน เพราะพวกเขาสมควรจะได้รับมันจากความผิดซึ่งพวกเขาได้ก่อขึ้น ดังคำกล่าวของออกัสตินที่ว่า "สงครามที่เป็นธรรมจำกัดความได้ว่าเป็นสงครามที่กระทำไปเพื่อลงโทษ โดยก่อให้เกิดความเสียหายต่อชาติหรือเมืองใด ๆ ก็ตามที่ได้ละเลยที่จะลงโทษพลเมืองของตนที่กระทำความผิด หรือละเลยที่จะคืนสิ่งที่ยึดเอาไปอย่างไม่เป็นธรรม"
ประการที่สาม มันเป็นสิ่งจำเป็นว่าผู้เข้าร่วมสงครามควรจะมีเจตนาที่ชอบธรรม เพื่อที่ว่าพวกเขาจะสร้างเสริมสิ่งที่ดีงาม หรือหลีกเลี่ยงความชั่วร้าย ดังคำกล่าวของออกัสตินที่ว่า "ศาสนาที่แท้จริงถือว่าความสงบสุข จะคงอยู่ตราบเท่าที่สงครามที่ดำเนินอยู่มิได้เกิดขึ้นเพื่อที่จะทำให้มีอำนาจมากขึ้น หรือมีความโหดร้ายทารุณ แต่เป็นไปด้วยเป้าหมายในการรักษาความสงบสุข เพื่อลงโทษผู้กระทำชั่ว และเพื่อส่งเสริมความดีงาม" แต่เป็นไปได้ว่าการประกาศสงครามโดยผู้มีอำนาจถูกต้องตามกฎหมายและ เพื่อความชอบธรรมอาจแฝงไว้ซึ่งความไม่ถูกต้อง เนื่องจากเจตนาที่ชั่วร้าย ดังคำกล่าวของออกัสตินที่ว่า "อารมณ์ความรู้สึกที่ต้องการจะทำร้ายกัน ความกระหายที่จะแก้แค้น ความไม่สงบและฟุ้งซ่านของจิตวิญญาณ ความชอบที่จะกบฎ ความมีกิเลสในอำนาจ และลักษณะคล้าย ๆ สิ่งเหล่านี้สมควรจะถูกตำหนิในสงคราม" (The Christian Classic Ethereal, 2001)
ดังนั้น การดำเนินสงครามที่ได้รับการถูกอนุญาตว่าชอบธรรม จะต้องคำนึงถึงความถูกต้องในการใช้ปัจจัย รวมถึงเงื่อนไขสามประการของสงครามที่เป็นธรรม คือ อำนาจที่ถูกต้องตามกฎหมาย (Lawful Authority) สาเหตุอันชอบธรรม (Just Cause) และวัตถุประสงค์ที่ถูกต้อง (Right Intent) (Fagothey, A. 1963: 454)
จะเห็นได้ว่าทั้งสองฝ่ายให้ความหมายของคำว่าครูเสดต่างกัน
- มุสลิม ครูเสดคือการรุกรานของชาวคริสต์ที่กระทำต่อมุสลิม สาเหตุสงครามเกิดจากการที่ชาวคริสต์ไม่พอใจชาวมุสลิมที่ไม่ต้อนรับพวกตนในการเข้าไปแสวงบุญ ทั้งที่เยรูซาเลมก็เป็นต้นกำเนิดของทั้ง2ศาสนา
- คริสต์ ครูเสดคือสงครามตราไม้กางเขนเดิมมาจากคำว่าครอส และเดิมทีที่แสวงบุญ(เยรูซาเลม)นั้นเป็นของชาวคริสต์อยู่แล้ว แต่ถูกชาวมุสลิมรุกราน ฝ่ายคริสต์มีการประกาศความชอบธรรมในการทำสงคราม และยังยกหนี้สินให้กับคนที่เข้าร่วมสงคราม
Jus Ad Bellum ("Right to [go to] war") คือ การคำนึงถึงความชอบธรรม ซึ่งต้องปฏิบัติก่อนที่จะมีการประกาศสงคราม ประกอบด้วยสาระสำคัญ 5 ประการ คือ
- สาเหตุอันชอบธรรมในการก่อเหตุ (Just Cause) การที่จะประกาศสงครามได้นั้นต้องมีเหตุผลอันชอบธรรม เป็นต้นว่า การต่อสู้ป้องกันตัวจากการรุกรานของฝ่ายตรงข้ามที่ไม่เป็นธรรม คุ้มครองประชาชนผู้บริสุทธิ์ ปกป้องสิทธิเสรีภาพและรัฐจากการถูกล่วงล้ำสิทธิ ตลอดจนเป็นการลงโทษผู้กระทำผิด เป็นต้น
- อำนาจที่ถูกต้องตามกฎหมาย (Lawful Authority) การตัดสินใจประกาศสงครามต้องเป็นไปโดยผู้ปกครองประเทศที่มีอำนาจเหมาะสม หรือผู้มีอำนาจสูงสุดของประเทศ ตลอดจนองค์กรซึ่งเป็นที่ยอมรับของสากล โดยผ่านกระบวนการที่ถูกต้อง และต้องประกาศให้สาธารณชน (รวมถึงพลเมืองของตนเองและของศัตรู) รับทราบด้วย
- จุดมุ่งหมายที่ชอบธรรม (Just Intent) คือความมุ่งมั่นในการทำสงครามเพื่อที่จะนำมาซึ่งสันติภาพ ไม่ใช่เป็นการทำสงครามเพื่อล้างแค้น หรือเพื่อเกียรติศักดิ์ของผู้ร่วมสงคราม
- มาตรการสุดท้าย (Last Resort) ก่อนการประกาศสงครามต้องแน่ใจว่าประเทศนั้น ๆ ได้พยายามทุกวิถีทางเพื่อขจัดข้อพิพาทระหว่างประเทศ โดยเฉพาะการเจรจาทางการทูตเป็นสิ่งที่ต้องนำมาใช้เป็นอันดับต้น ๆ จนถึงที่สุดแล้ว เมื่อไม่มีวิถีทางใดที่ดีไปกว่าการลงโทษผู้รุกรานจึงจะประกาศสงครามได้
- ความหวังที่จะได้รับชัยชนะ (Reasonable Hope of Success) จุดมุ่งหมายของการทำสงครามคือ ต้องทำสงครามจนได้ชัยชนะโดยเร็วที่สุด และหากทราบดีว่าผลของการสู้รบนั้นคือไม่สามารถไปสู่ความสำเร็จหรือเป้าหมายที่ตั้งไว้ได้ ก็ต้องหาทางสกัดกั้นหรือขจัดความรุนแรง เพราะหากฝืนสู้รบไปก็เป็นการไร้ประโยชน์และจะมีแต่ผลเสียติดตามมา
สงครามครูเสด ในประวัติศาสตร์ของมนุษยชาติ
มีรอยจารึกอันยิ่งใหญ่ที่พยายามลบเท่าไรก็ไม่เลือนหาย แห่งสงครามศาสนาอยู่รอยหนึ่ง มีชื่อชัดเจนว่า สงครามครูเสด หรือ สงครามไม้กางเขน โดยที่สงครามใหญ่ครั้งนี้มีไม้กางเขน อันเป็นสัญลักษณ์ของศาสนาคริสต์ เป็นตรา คือนักรบจากแผ่นดินยุโรป ทั้ง นาย ไพร่ ที่จะบุกบั่นมารบกับพวกแขกในอาหรับนั้น มีตราไม้กางเขนติดที่หน้าอกเสื้อโดยทั่วไปทุกตัวคน ซึ่งตรานี้มีความสำคัญมากใครหลวมตัวคลั่งไคล้ไปติดตรานั้นเข้าแล้ว จะต้องมาร่วมรบโดยเด็ดขาด เปลี่ยนใจไม่ได้ ถ้าเปลี่ยนใจแล้ว จะต้องถูกขับออกให้เป็นคนนอกศาสนาทันที ซึ่งเท่ากับถูกลงโทษประหารทางศาสนานั่นเอง
เรื่องราวของสงครามใหญ่ ที่มีเครื่องหมายของศาสนาประกาศความเป็นสงครามศาสนาชัดๆ นี้ กันสักนิดนึง โดยอาศัยเอกสารที่เชื่อถือได้ คือประวัติศาสตร์สากลของ พลตรี หลวงวิจิตวาทการ และ ผลงานการศึกษาเรื่องสงครามครูเสดนี้ไว้โดยเฉพาะ ของ รองศาสตราจารย์ สาคร ช่วยประสิทธิ์ แห่งภาควิชาประวัติศาสตร์ คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ซึ่งศึกษาจากเอกสารต่างประเทศหลากหลายเป็นหลักฐานอ้างอิง
สงครามศาสนาที่ตีตราไม้กางเขนนี้ เพียงดูระยะเวลาที่ประวัติศาสตร์ได้บันทึกไว้คือ ตั้งแต่ พ.ศ. ๑๖๓๙ ถึง ๑๘๑๓ เท่านั้น ก็ชวนให้เห็นถึงความเหี้ยมเกรียมในจิตใจคน ภายใต้เงาของศาสนาชนิดนั้นอยู่มิใช่น้อย จนแทบจะไม่น่าเชื่อว่าบทบาทนั้น เป็นบทบาทที่ซึ่งเรียกกันว่า ศาสนา ได้ก่อขึ้น เพราะเป็นการสงครามที่มีระยะเวลาข้ามศตวรรษกันเลยทีเดียว รบกันแล้วรบกันเล่าอยู่ได้ตั้งนมนานเกือบ ๒๐๐ ปี ซึ่งความจริงแล้ว ความรู้สึกเช่นนี้ มิใช่จะเกิดมีแก่เราและท่านทั้งหลาย ซึ่งอยู่ในฐานะคนวงนอกเท่านั้น แม้พวกฝรั่ง ซึ่งเป็นคนวงในของเขา และเป็นนักวิชาการทางประวัติศาสตร์ที่มีชื่อเสียงติดอันดับโลก เขาก็เคยรู้สึกกันมาแล้ว เช่นที่ รองศาสตราจารย์ สาคร ท่านได้อ้างไว้ คือ นักประวัติศาสตร์ฝรั่งชื่อว่า แอนเน เฟรแมนเติล (Anne Fremantle) ได้กล่าวไว้ในหนังสือเรื่อง ยุคศรัทธา (Age of Faith) หน้า ๕๓ ของเขาดังนี้ .....
"จากสงครามทั้งหมดที่มนุษย์เคยรบ ไม่มีครั้งใดที่ได้กระทำไปด้วยใจจดจ่อยิ่งไปกว่าสงครามที่มีศรัทธาเป็นที่ตั้ง และจากสงครามศักดิ์สิทธิ์ทั้งหมด ไม่มีครั้งใดที่จะมีการสูญเสียเลือดเนื้อและมีความยืดเยื้อมากไปกว่าสงครามครูเสดในยุคกลาง ครูเสดซึ่งได้มีอิทธิพลเหนือคนในยุคกลางเป็นเวลา ๒๐๐ ปี จากตอนปลายคริสต์ศตวรรษที่ ๑๑ จนถึงปลายคริสต์ศตวรรษที่ ๑๓ ความศรัทธาอย่างแรงกล้าเป็นสิ่งกระตุ้นให้เกิดขึ้น และจบสิ้นลงด้วยความเข้าใจที่แจ่มแจ้ง ประกอบทั้งความยุ่งยากนานัปการ"
แน่นอน นักประวัติศาสตร์ผู้นี้ เขียนเรื่องเกี่ยวกับศรัทธา ย่อมเน้นการมองสงครามหฤโหดในแง่ของศรัทธาเป็นหลัก แต่ศรัทธานั้น ในทัศนะที่ใสสะอาดของพระพุทธศาสนาเรียกว่า มิจฉาศรัทธา คือ ศรัทธาที่ผิด เพราะเป็นศรัทธาที่นำไปสู่การล้างผลาญกันอย่างน่าเอน็จอนาถเป็นที่สุด และที่เขากล่าวว่า จบสิ้นลงด้วยความเข้าใจที่แจ่มแจ้งนั้น จะเป็นความเข้าใจในฐานะของผู้สำนึกผิดหรือไม่ ก็ไม่อาจจะทราบได้ แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น ก็ถือได้ว่า ถ้อยคำของเขาไม่กี่ประโยคนั้น ก็เป็นการยอมรับอย่างชัดเจนว่า สงครามที่บรรพบุรุษทางศาสนาของเขาสร้างขึ้นไว้เป็นตราบาปอันใหญ่หลวงในประวัติศาสตร์นี้ มีความเ!้ยมหฤโหดอย่างเหลือเชื่อจริงๆ
พิษสงของสงครามศาสนาตราไม้กางเขนที่ว่านี้ ในประวัติศาสตร์สากลของท่าน พลตรีหลวงวิจิตรวาทการ ระบุไว้ว่า "การไปรบนี้ ก็โดยความขอร้องของพระสังฆราชกรุงโรมชาวยุโรปได้เสียชีวิตไปในสงครามครูเสดราว ๗ ล้านคน โดยที่ไม่สามารถกำจัดหรือกวาดล้างพวกเติร์กได้ จำนวนคนตั้ง ๗ ล้านคน ในสมัยที่โลกมนุษย์ยังไม่มีมนุษย์ล้นโลกเช่นทุกวันนี้ ย่อมถือได้ว่า มิใช่จำนวนเล็กน้อยเลย ยิ่งคิดกันให้ละเอียดไปถึงฝ่ายอาหรับด้วยแล้ว คงจะต้องเพิ่มจำนวนการสูญเสียแห่งมนุษยชาติเข้าไปอีกนับล้านเช่นกัน ... สงครามครูเสด ที่สังฆราชกรุงโรมเป็นผู้จุดชนวนขึ้นนั้น คงจะล้างผลาญผู้คนไปนับเป็นสิบกว่าล้านอย่างแน่นอน" ... น่าสังเวช น่าสลดใจเพียงไร ก็ขอให้ลองคิดกันดู และเมื่อคิดแล้ว ก็อย่าหลับตาตัดบทเสียว่าเป็นเรื่องของอดีตที่ไม่ควรจะหวนคิด เพราะแท้จริงแล้ว มันเป็นเรื่องของวิญญาณทางศาสนาที่สืบทอดลงมาจนถึงทุกวันนี้ อันมีสัจจะที่บ่งชี้ ดังที่เราจะได้ดูกันต่อไป
เรื่องราวโดยสรุปสงครามศาสนา
ซึ่งหลวงวิจิตรวาทการท่านได้กล่าวไว้ในหนังสือประวัติศาสตร์สากลของท่าน ดังนี้
- ครั้งที่ ๑ ตั้งแต่เมื่อพุทธศักราช ๑๖๓๕ ถึงพุทธศักราช ๑๖๔๒ เป็นครั้งที่ครึกครื้นที่สุด พระเจ้าแผ่นดินหลายพระองค์ได้ไปในครั้งนี้ และเป็นครั้งเดียวที่เอาชนะพวกเตอร์ก เปิดทางให้คริสต์ศาสนิกชนไปนมัสการที่ฝังศพพระเยซูได้สะดวก
- ครั้งที่ ๒ ตั้งแต่พุทธศักราช ๑๖๙๐ ถึง พุทธศักราช ๑๖๙๒ พระเจ้าหลุยส์ที่ ๗ ของฝรั่งเศส กับ พระเจ้าคอนราดที่ ๓ ของเยอรมัน ได้ไปในครั้งนี้ แต่ย่อยยับกลับมา
- ครั้งที่ ๓ ตั้งแต่พุทธศักราช ๑๗๓๒ ถึง พุทธศักราช ๑๗๓๕ พระเจ้าเฟรเดริกที่ ๑ (เยอรมัน) ฟิลิปป์ออกุสต์ (ฝรั่งเศส) และริชาร์ด ไลออนอาร์ (อังกฤษ) ได้ไปในครั้งนี้ พากันแพ้กลับมา และพระเจ้าเฟรเดริกจมน้ำตาย
- ครั้งที่ ๔ ตั้งแต่พุทธศักราช ๑๗๔๕ ถึง พุทธศักราช ๑๗๔๗ ไม่ได้ผลอะไรเลย และแทนที่กองทัพครูเสดจะไปรบพวกเตอร์ก กลับไปรบพวกคริสเตียนด้วยกันเอง
- ครั้งที่ ๕ ตั้งแต่ปีพุทธศักราช ๑๗๖๐ ถึง พุทธศักราช ๑๗๖๔ เซนเญอร์ของฝรั่งเศสคนหนึ่งชื่อ ยองเลอเบรียน กับพระเจ้าแผ่นดินฮังการี ไปรบพวกเตอร์กในประเทศอียิปต์ และไม่ได้ผลทางชัยชนะ
- ครั้งที่ ๖ ตั้งแต่ปีพุทธศักราช ๑๗๗๑ ถึง ปีพุทธศักราช ๑๗๗๒ พระเจ้าเฟรเดริกที่ ๒ (เยอรมัน) เป็นหัวหน้าไป แต่แทนที่จะไปรบ กลับไปทำไมตรีกับพวกอาหรับ ซึ่งมีผลดีกว่าไปรบ เพราะทำให้พวกอาหรับยอมให้พวกคริสเตียนเดินทางเข้าเมืองเยรูซาเลมได้อีก
- ครั้งที่ ๗ ตั้งแต่ปีพุทธศักราช ๑๗๙๑ ถึง พุทธศักราช ๑๗๙๒ และ
- ครั้งที่ ๘ ในปีพุทธศักราช ๑๘๑๓ นั้น สงครามครูเสดได้ทำกันในประเทศอียิปต์ เพราะพวกหัวหน้าเตอร์กมีถิ่นสำคัญตั้งอยู่ที่นั่น และแซงต์หลุยส์ (ฝรั่งเศส) เป็นตัวตั้งในสงครามครูเสดทั้งสองครั้งนี้ จนแซงหลุยส์สิ้นพระชนม์เมื่อพุทธศักราช ๑๘๑๓ และ สงครามครูเสดก็สุดสิ้นลงในครั้งนี้
คำแถลงการของโป๊ป
คำแถลงการของโป๊ป สุนทรพจน์มีดังนี้
"เราได้ยินแล้ว พี่น้องที่รักยิ่ง และท่านก็ได้ยินสิ่งที่เราไม่สามารถจะกล่าวซ้ำโดยปราศจากความเศร้าสลดอย่างสุดซึ้ง ด้วยความเจ็บปวดอย่างยิ่งและด้วยความทุกข์ทรมานอย่างสุดแสน ว่าพี่น้องคริสต์ของเรา สมาชิกของพระเยซูถูกโบยตีทรมาน กดขี่ และถูกทำให้บาดเจ็บอย่างไรบ้างในเมืองเยรูซาเลม ในแอนติออค และเมืองอื่นๆ ทางตะวันออก พี่น้องร่วมสายโลหิตของท่านเอง เพื่อนของท่าน สมัครพรรคพวกของท่าน เพราะท่านทั้งหลายล้วนเป็นบุตรของพระเยซูด้วยกัน และนับถือศาสนาเดียวกัน กำลังตกอยู่ภายใต้นายคนอื่นในบ้านที่เขาสืบมรดกด้วยตนเองมา หรือไม่ก็ถูกขับออกจากบ้านนั้นๆ หรือมิฉะนั้นก็ต้องเร่ร่อนมาเป็นขอทานในหมู่พวกเรานี้ หรือที่ร้ายที่สุดยิ่งกว่านั้นก็คือ เขาเหล่านั้นได้ถูกโบยตี ถูกจับไปขายเป็นทาส และขายทอดตลาดในดินแดนของเขานั่นเอง เลือดของคริสต์ซึ่งได้รับยกโทษบาปโดยโลหิตของพระเยซูได้หลั่งไหล และเนื้อของคริสต์ซึ่งเกี่ยวพันกับเนื้อพระเยซู ก็ได้ตกอยู่ภายใต้ความเสื่อมทรามในคุณค่าและความเป็นทาส อย่างจะหาคำพูดใดมากล่าวพรรณนามิได้ ทุกๆ แห่งในเมืองเหล่านั้นมีแต่ความเศร้า ทุกๆ แห่งมีแต่ความทุกข์ทนหม่นไหม้ ทุกๆ แห่งมีแต่เสียงร้องโหยหวน
ข้าพเจ้าต้องพูดพร้อมๆ กับถอนใจ วัดซึ่งเคยมีพิธีทางศาสนาของพระเจ้าเฉลิมฉลองกันตั้งแต่ในยุคแรก มาบัดนี้ ต่อความเศร้าสลดของเรา ได้ถูกใช้เป็นคอกสำหรับคนเหล่านี้ ผู้ศักดิ์สิทธิ์มิได้เป็นเจ้าเมืองเหล่านี้อีกต่อไป แต่พวกเติร์กที่ต่ำช้าเลวร้ายเข้ายึดครองเหนือพี่น้องของเรา ... ปีเตอร์ ผู้ได้รับพรจากพระเจ้าได้เริ่มมาทำหน้าที่บิชอปที่แอนติออค และดูซิในวัดของท่าน ณ ที่ซึ่งพวกนอกศาสนาได้วางรากฐานความเชื่อของเขา และศาสนาคริสต์ซึ่งควรจะได้รุ่งเรืองต่อไป กลับถูกขับออกไปจากห้องวิหารที่อุทิศเพื่อพระเจ้า อาณาบริเวณซึ่งได้มอบให้เพื่อเป็นการสนับสนุนนักบุญทั้งหลายและเขตที่บรรดาขุนนางได้มอบให้เพื่อช่วยเหลือคนยากคนจน ก็กลับตกอยู่ใต้พวกทรราชที่ไม่ได้นับถือพระเจ้า ขณะเดียวกัน นายที่ร้ายกาจพวกนี้ ก็ได้ใช้ประโยชน์จากที่ทางทั้งมวลไป ตามความต้องการของเขา บรรพชิตของพระผู้เป็นเจ้าได้ถูกบดขยี้ลงกลายเป็นผงธุลี สถานที่ศักดิ์สิทธิ์ของพระผู้เป็นเจ้า ... น่าอับอายเกินกว่าจะกล่าวได้ ทุกแห่งล้วนถูกใช้ไปในทางที่ผิด สิ่งใดที่ยังเป็นของคริสต์และยังหลบซ่อนอยู่ ณ ที่นั้น ก็จะถูกซอกซอนขุดคุ้ยออกมาพร้อมทั้งการทรมานอย่างที่ไม่เคยได้ยินได้ฟังมาก่อน
เกี่ยวกับนครเยรูซาเลมที่ศักดิ์สิทธิ์ พี่น้องทั้งหลาย เราไม่กล้าเอ่ยถึง เพราะความประหวั่นพรั่นกลัว และอับอายเกินกว่าจะเอ่ยปากได้ เมืองนี้ ในที่ซึ่งท่านทั้งหลายได้ซึมทราบอยู่แล้ว พระเยซูได้ทรงทนทุกข์ทรมานด้วยพระองค์เองเพื่อเราทั้งหลาย เพราะบาปของเราเรียกร้องเช่นนั้น เมืองนี้ได้ถูกลดความสำคัญลงมายังมือของคนนอกศาสนา และ ถูกดึงไปจากการรับใช้พระผู้เป็นเจ้า ข้าพเจ้าได้แต่กล่าวพร้อมด้วยความอดสู ทั้งหมดนี้นับเป็นโทษานุโทษของพวกเราทั้งสิ้น ซึ่งก็ควรจะยอมรับโดยดี ใครที่กำลังรับใช้อยู่ในวิหารของพระแม่มารีผู้ศักดิ์สิทธิ์ในหุบเขาแห่งโจเซฟัด ในโบสถ์ซึ่งพระนางถูกบรรจุ ณ ที่นั้น แต่ทำไมเราจะผ่านโบสถ์โซโลมอน ไม่ใช่โบสถ์ของพระผู้เป็นเจ้า ในที่นี้ซึ่งพวกชาติป่าเถื่อนได้นำรูปเคารพที่ไม่ถูกต้องตามกฎหมาย ทั้งกฎของมนุษย์และพระเจ้ามาทำการเคารพบูชาไปเสีย เกี่ยวกับวิหารที่ฝังพระศพพระเยซูเล่า เราอยากจะเว้นไม่กล่าวถึง ในเมื่อท่านหลายคนได้เห็นมากับตาตนเองแล้วว่า มีการกระทำที่บัดสีอะไรเกิดขึ้นในนั้นบ้าง
พวกเตอร์กได้ฉกฉวยเอาสิ่งของที่เป็นบรรณาการที่ท่านได้พากันนำไปถวายเป็นการกุศลกันมากมายไปเสียโดยพลการ และยังได้ดูถูกเยาะเย้ยศาสนาของท่านทั้งหลายอย่างหนัก และ บ่อยครั้งอีกด้วย และ ณ ที่นั้น ข้าพเจ้าพูดในสิ่งที่ท่านก็รู้อยู่แล้ว เป็นที่ซึ่งพระผู้เป็นเจ้าทรงพักผ่อน ที่ซึ่งพระองค์ได้สิ้นพระชนม์เพื่อเรา ที่ซึ่งพระองค์ได้ถูกนำเข้าบรรจุ สถานที่ซึ่งมีค่ายิ่งควรจะเป็นที่ใฝ่หาและไม่มีที่ใดเสมอเหมือน ที่ซึ่งเป็นแหล่งพักบั้นปลายของพระองค์ ถึงแม้พระผู้เป็นเจ้าจะละเว้นไม่ได้แสดงปาฏิหาริย์ประจำปีก็ตาม เพราะในวันที่พระองค์ถูกตรึงกางเขน แสงสว่างในที่ฝังพระศพและรอบๆ วิหารนั้น ซึ่งได้ดับไปแล้ว กลับสว่างขึ้นมาอีกด้วยโองการของพระเป็นเจ้า ผู้ที่ไม่รู้สึกสะเทือนใจไปด้วยปาฏิหาริย์นี้ จะต้องมีจิตใจที่กระด้างเยี่ยงหิน เชื่อข้าพเจ้าเถิด ผู้นั้นจะต้องมีความเป็นอมนุษย์ไม่มีความรู้สึก มีดวงใจที่ไม่ยอมหันมาศรัทธา
ในเมื่อได้เห็นพระเกียรติคุณของพระผู้เป็นเจ้าแสดงออกมาแล้วนี้ และถึงกระนั้นพวกนอกศาสนาเหล่านี้ ได้เห็นสิ่งเดียวกันกับที่พวกคริสต์เห็นและก็ยังไม่ได้หันเหมาจากทิศทางของเขา เขาเหล่านั้นแน่นอนมีความกลัว แต่ไม่ได้เปลี่ยนมาศรัทธาหรือแม้แต่ประหลาดใจ ก็เพราะจิตใจของเขามีความมืดมิดปกคลุมอยู่ ด้วยความทุกข์ใดๆ ที่เขาได้กระทำผิดต่อท่านผู้ซึ่งได้กลับมาแล้วและมาอยู่ ณ ที่นี้ ท่านก็ซึมทราบแก่ใจท่านดี ท่านผู้ซึ่งได้พลีเนื้อและเลือดของท่านเพื่อพระผู้เป็นเจ้า
สิ่งนี้ พี่น้องที่รัก ที่เราจะพูดต่อไป ซึ่งเราอาจจะอ้างท่านเป็นพยานคำพูดของเราได้ ความทุกข์ยากของพี่น้องของเรา และความเสื่อมค่าแห่งสถานศักดิ์สิทธิ์ มีปรากฏมากกว่าที่เราจะพูดถึงแต่ละแห่งได้ เพราะเราต้องสลดใจไปพร้อมด้วยน้ำตา เสียงคร่ำครวญ เสียงถอนหายใจ และเสียงสะอื้น เราได้แต่ร้องไห้และโอดครวญ พี่น้องทั้งหลายทำนองเดียวกับท่านผู้เขียนคัมภีร์ของศาสนายิวในส่วนที่ลึกที่สุดของหัวใจเรา เรามีแต่ความเศร้าหมองไร้ความสุข และในตัวพวกเรานี้ก็เป็นการแสดงว่า คำทำนายนั้นเป็นความจริง
พระผู้เป็นเจ้า ชนชาติที่จะเข้ามารับช่วงมรดกท่าน วิหารศักดิ์สิทธิ์ท่านจะถูกทำให้สกปรก เขาจะปล่อยให้เยรูซาเลมกลายเป็นซากปรักหักพังซากศพของผู้รับใช้ของท่านจะถูกปล่อยให้เป็นอาหารของนกจากสวรรค์ และเนื้อของนักบุญของท่าน ก็กลายเป็นอาหารของสัตว์บนพื้นดิน เลือดของเขาทั้งหลายซึ่งได้หลั่งลงดุจสายน้ำทั่วเยรูซาเลม และจะไม่มีใครเหลืออยู่ที่จะเป็นผู้ฝังเขาเหล่านี้ ความเศร้ามีแก่พวกเราทุกคน พี่น้องทั้งหลายเราผู้ซึ่งได้กลายเป็นผู้รับผิดชอบต่อเพื่อนของเรา เป็นผู้ที่ถูกถากถางเยาะเย้ยแก่พวกเขาอนุญาตให้เราอย่างน้อยก็ได้เศร้าโศกไปพร้อมกับน้ำตา และมีความสงสารแก่พี่น้องของเรา เราผู้ซึ่งเป็นที่เยาะเย้ยของคนทั้งมวล และร้ายยิ่งกว่านั้น ให้เราได้แสดงความเศร้าสลดไปกับความเสื่อมค่าอย่างใหญ่หลวงของดินแดนศักดิ์สิทธิ์ ดินแดนนี้ที่ซึ่งเราได้สงวนไว้ให้เป็นที่ศักดิ์สิทธิ์ ในที่ซึ่งแม้เพียงย่างก้าวเดียว ทั้งร่างกายและวิญญาณของพระผู้เป็นเจ้าก็จะประทานเกียรติและพร
ที่ซึ่งได้มีโอกาสปรากฏตัวที่ศักดิ์สิทธิ์ของพระมารดาพระผู้เป็นเจ้า ที่ซึ่งเป็นที่ประชุมของเหล่าสาวกและได้รองรับเลือดที่ได้หลั่งไว้ของผู้พลีชีพเพื่อศาสนาทั้งหลาย ก้อนหินเหล่านั้นศักดิ์สิทธิ์เพียงใด ก้อนหินที่ได้สวมศีรษะของท่าน สตีเฟนผู้พลีชีพเพื่อศาสนาคนแรก น่าเป็นสุขเพียงใด จอห์น เดอะแบปติสต์ น้ำของแม่น้ำจอร์แดนซึ่งช่วยให้ท่านได้ล้างบาปของพระเยซู ลูกๆ ของอิสราเอล ผู้ซึ่งได้รับการนำออกจากอียิปต์ และผู้ที่เห็นท่านนำเขาข้ามทะเลแดง และเข้ามายึดดินแดนนี้ด้วยน้ำมือของเขา โดยมีพระเยซูเป็นหัวหน้าพวกเขา ขับไล่พวกเจบูไซท์ และคนอื่น ๆ ที่พำนักอยู่แถบนี้ออกไป และได้เข้าครอบครองเยรูซาเลมบนพื้นพิภพนี้ ซึ่งเป็นเสมือนภาพเหมือนของเยรูซาเลมบนสรวงสวรรค์
เรากำลังพูดอะไรกันอยู่? ขอให้ฟังและรู้ไว้ ท่านผู้คาดเครื่องหมายอัศวินอยู่ผู้ซึ่งมีความหยิ่งผยองด้วยความทะนง ท่านโกรธเคืองพี่น้องของท่านเอง และเชือดเฉือนกันเป็นชิ้นๆ ทั้งนี้ไม่ใช่ลักษณะทหารของพระเยซูที่ถูกต้อง ซึ่งนับเป็นการแตกแยกหมู่ฝูงแกะของท่านผู้ไถ่บาป ศาสนาที่ศักดิ์สิทธิ์ได้ธำรงความเป็นทหารไว้เพื่อศาสนาเอง เพื่อให้ปกปักรักษาคนของศาสนา แต่ท่านทั้งหลายทำให้ศาสนาตกต่ำเป็นที่เจ็บช้ำยิ่ง ขอให้เราสารภาพความจริงในฐานะที่เราควรจะทำหน้าที่ทูต เป็นความจริง ท่านไม่ได้ใช้ชีวิตตามที่ควร ท่านผู้กดขี่เด็ก ผู้ปล้นสะดมแม่หม้าย ท่านผู้มีความผิดฐานฆาตกร ลักขโมยสิ่งของศักดิ์สิทธิ์ ปล้นสิทธิของผู้อื่น ท่านผู้ซึ่งคอยรับสิ่งตอบแทนจากเหล่าโจร โดยการหลั่งเลือดของคริสต์ เหมือนนกแร้งที่ได้ซากศพที่คละคลุ้ง เป็นความจริงที่ว่า นี่เป็นสิ่งที่เลวที่สุด เพราะเป็นสิ่งที่ห่างไกลพระผู้เป็นเจ้าอย่างยิ่ง
ถ้าท่านปรารถนาจะระมัดระวังวิญญาณของท่านเอง ก็จงปลดเครื่องหมายอัศวินเหล่านี้เสีย หรือมิฉะนั้นก็จงเดินหน้าอย่างกล้าหาญในฐานะอัศวินของพระเยซู และรีบรุดไปอย่างรวดเร็วเท่าที่จะทำได้ เพื่อไปปกป้องศาสนาทางตะวันออก เพราะจากแหล่งนี้เองที่ความชื่นชมทั้งมวลของการไถ่บาปได้ปรากฏขึ้นมา ที่ซึ่งได้นำเอาคำสั่งสอนที่ศักดิ์สิทธิ์ของคัมภีร์มามอบให้ท่าน เราขอพูดอย่างนี้พี่น้องทั้งหลาย ท่านควรจะยั้งมือที่เป็นฆาตกรของท่านเสียจากการทำลายพี่น้องของท่านเอง และในนามของญาติที่นับถือศาสนาเดียวกัน ควรจะเข้าสู้กับพวกนอกศาสนานี้ด้วยตัวท่านเองภายใต้พระเยซูคริสต์หัวหน้าของเรา ขอให้ท่านต่อสู้เพื่อเยรูซาเลมของท่านในแนวรบของคริสต์ แนวรบซึ่งไม่มีใครจะเอาชนะได้ จะได้รับความสำเร็จเสียยิ่งกว่าลูกๆ ของเจคอป ที่ได้เคยต่อสู้มา และขอท่านจงกวัดแกว่งดาบและขับไล่เติร์กเหล่านี้ออกไป เติร์กซึ่งร้ายกาจยิ่งกว่าพวกเจบูไซท์ ซึ่งเคยอยู่ในแถบนี้ และขอให้ท่านคิดว่า เป็นความดีงามที่จะตายเพื่อพระเยซูในเมืองซึ่งพระองค์ได้สิ้นพระชนม์เพื่อเรา แต่ถ้าท่านต้องเสียชีวิตในการนี้
จงแน่ใจว่าได้ตายในระหว่างทางก็ได้ผลเท่ากัน ถ้าพระเยซูได้พบว่าท่านอยู่ในกองทหารของพระองค์ พระเจ้าจะทรงจ่ายค่าตอบแทนด้วยเงินจำนวนเท่ากัน ไม่ว่าจะเป็นในชั่วโมงแรกหรือชั่วโมงที่ ๑๑ ท่านควรจะมือสั่น พี่น้องทั้งหลาย ท่านควรจะสั่น เมื่อท่านเงื้อมือซึ่งเป็นเพฌชฆาตต่อพวกคริสต์ด้วยกัน แต่มันจะเลวร้ายน้อยกว่านั้น ถ้าท่านจะแกว่งดาบของท่านต่อพวกซาระเซ็น นี่เป็นสงครามครั้งเดียวที่ถูกต้อง เพราะเป็นการกุศลที่จะเสี่ยงชีวิตของท่านเพื่อพี่น้องของท่านเอง ท่านไม่ต้องกังวลในเรื่องของวันต่อๆ ไป จงรู้ว่าผู้ที่กลัว พระเจ้าไม่ต้องการอะไร และผู้ที่ช่วยทะนุถนอมพระองค์อย่างจริงจังก็เช่นกัน ทรัพย์สินของศัตรูก็เหมือนกันจะเป็นของท่าน ในเมื่อท่านอาจจะทำลายทรัพย์สมบัติของเขาและกลับมาพร้อมด้วยชัยชนะของท่าน หรืออาจจะทำให้เป็นสีแดงด้วยเลือดของท่านเอง ท่านจะได้มาซึ่งความรุ่งเรืองที่ยั่งยืนเพื่อแม่ทัพผู้นี้ ผู้ที่ท่านควรจะต่อสู้ให้ เพราะท่านผู้นี้ไม่มีอำนาจหรือทรัพย์สมบัติที่จะตอบแทนท่าน หนทางนั้นสั้น งานก็ไม่มากแต่อย่างไรก็ตาม จะตอบแทนท่านด้วยมงกุฎที่ไม่มีวันร่วงโรย เราขอพูดในนามของศาสนา จงคาดดาบเถิดท่าน ท่านผู้มีอำนาจ คาดดาบของท่าน พวกท่านทุกคนเราขอพูดดังนี้ และจงเป็นลูกที่กล้าหาญ เพราะเป็นการดีสำหรับท่านที่จะสิ้นชีวิตในสนามรบ แทนที่จะเพียงแต่นั่งมองเผ่าพันธุ์และสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ของท่านอยู่ด้วยความเศร้า อย่าให้ทรัพย์สินหรือเสน่ห์ของภรรยาท่านดึงดูดท่านไม่ให้ท่านไป หรืออย่าให้การสืบสวนเรื่องราวบางประการ ซึ่งอาจจะเกิดขึ้นต่อไปมาเป็นเรื่องขัดขวาง และดึงท่านไว้ให้คงอยู่ ณ ที่นี้"
นี่คือสุนทรพจน์ ที่หลั่งไหลออกมาจากปากของประมุขทางศาสนานิกายคาทอลิก ซึ่งถือกันว่าเป็นสุนทรพจน์ยุให้คนบ้าเลือดที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์แห่งมนุษยชาติ ฟังดูแล้ว แทบไม่น่าเชื่อว่าผู้ที่ซ่อนร่างอยู่ในเครื่องครองอันประกาศตัวเป็นนักพรตจะหลั่งคำพูดที่แสดงเจตนามุ่งร้ายหมายล้างต่อเพื่อนร่วมโลกออกมาได้ถึงเพียงนี้ เพราะนั่นแสดงถึงวิญญาณอาฆาตแค้นอันไร้สติโดยสิ้นเชิง ซึ่งมโนธรรมในทางสันติที่จะช่วยยับยั้งหักห้าม ... แต่สำหรับนักปลุกระดมให้คนบ้าเลือดแล้ว สุนทรพจน์ของเออร์บันที่ ๒ นี้ก็ถือกันว่ายอดเยี่ยมที่สุด คือพอขาดคำก็มีผู้คนเป็นจำนวนนับพันขานรับด้วยเสียงโห่ร้องกึกก้องว่า เป็นพระประสงค์ของพระผู้เป็นเจ้า และสมัครไปรบ ซึ่งก็เท่ากับสมัครไปเสี่ยงตายทันที ที่นับว่าเป็นจุดเด่นในประวัติศาสตร์ก็คือ บิชอป แห่ง พีย์ ลุกขึ้นมาจากที่นั่งตามตำแหน่งในที่ประชุม แล้วคุกเข่าลงต่อหน้าบัลลังก์ของเออร์บัน ประกาศขออนุญาตไปรบ
พฤติการณ์อันนี้ จะเป็นไปตามแผนตามโปรแกรมที่จัดวางกันไว้หรือไม่ ก็ไม่อาจจะทราบได้ สิ่งที่เราท่านทั้งหลายจะพึงทราบได้อย่างชัดเจนและใช้เป็นพยานยืนยันได้ก็คือ นักบวชของเขา สามารถจับดาบฟาดฟันประหัตประหารผู้คนได้ โดยไม่มีอะไรที่จะต้องสะทกสะท้านหวั่นเกรง ดังนั้นหากท่านผู้ใดจะนึกว่านักพรตคริสต์คู่เคียงเรียงหน้าได้กับนักพรตของพระพุทธศาสนาแล้ว ขอได้โปรดรู้ไว้เถอะว่า นั่นคือ ความโง่เขลาอย่างสาหัสสากรรจ์ของตนเอง เพราะนักพรตของพระพุทธศาสนานั้น อย่าว่าแต่จะจับดาบวิ่งลงไปในสนามรบเลย แม้สัตว์เดียรัจฉานประเภทมดแมลง พระพุทธองค์ก็ทรงบัญญัติสิกขาบทไว้เป็นข้อห้าม มิให้ฆ่ามิให้ประหาร แต่นักพรตของเขา สันตะปาปา ซึ่งประกาศว่าเป็นตัวแทนของพระเจ้าเอง ได้ออกปากยั่วยุผลักไสให้ออกไปฆ่าคน อย่างไม่ละอายแก่ใจแต่ประการใด และนักพรตของเขาก็โลดแล่นออกไปด้วยอาการอันลำพอง
ขอขอบคุณข้อมูลจาก
- คุณ Stricky-rice จากเว็บไซต์ Bloggang.com
- วิกิพีเดีย