Advertisement
❝ สาระดี ดี จากพระอธิป อธิปญฺโญ เมื่อ ๑๗ เมษายน ๒๕๕๒
นำมาฝากสมาชิก เจ้า ❞
วันนี้สิ่งที่คนส่วนใหญ่เป็นห่วง และกังวลจนเครียด คือเรื่องปากท้อง ซึ่งดูเหมือนจะเป็นปัจจัยพื้นฐานสำหรับทุกคน ดังนั้นเมื่อเราดูข่าวเศรษฐกิจทั้งนอก และในประเทศแล้วเราคงปวดหัวกับสภาวะความตกต่ำทางเศรษฐกิจทั้งระบบ โดยคนส่วนใหญ่มักให้ความสนใจกับตัวเลข GDP หรือ GNP (Gross National Product) คือ ผลิตภัณฑ์มวลรวมประชาชาติ อันเป็นแนวคิดของเศรษฐศาสตร์ตะวันตกหรือเศรษฐศาสตร์กระแสหลัก ว่าเป็นตัวเลขที่สามารถชี้วัดความเจริญ และการพัฒนาของประเทศนั้นๆ
เมื่อปี พ.ศ.๒๕๑๕ กษัตริย์จิกมี ชิงเย วังชุก (King Jigme Singye Wangchuck) แห่งราชอาณาจักรภูฏาน (Bhutan) ได้ประกาศหลักการวัดผลความเจริญ และการพัฒนาการของประเทศโดยถือเอาคุณภาพชีวิตของคนเป็นพื้นฐาน จนเป็นจุดสนใจกับนักเศรษฐศาสตร์ และนักปกครองทั่วโลกเป็นครั้งแรก โดยตรัสถึง แนวคิดเรื่อง "ความสุขมวลรวมประชาชาติ” หรือ GNH (Gross National Happiness) ซึ่งตั้งอยู่บนความเชื่อที่ว่า ความสุขคือเป้าหมายที่แท้จริง หรือความต้องการสูงสุดในชีวิตของมนุษย์ของแต่ละคน ถ้าการพัฒนาสังคม และประเทศชาติจะเน้นมนุษย์เป็นศูนย์กลางแล้ว การพัฒนาก็ควรจะนำไปสู่การบรรลุถึงความพึงพอใจของมนุษย์ทั้งทางร่างกายและจิตใจอย่างถูกต้องและสมดุล
แกนหลักของ "ความสุขมวลรวมประชาชาติ" มี ๔ ประการคือ (๑) การพัฒนาเศรษฐกิจสังคมอย่างยั่งยืนและเสมอภาค (๒) การอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม (๓) การรักษาและส่งเสริมวัฒนธรรม และ (๔) การส่งเสริมการปกครองที่ดี มีธรรมาภิบาล ในการนำเสนอแนวคิดเรื่อง "ความสุขมวลรวมประชาชาติ" นั้น กษัตริย์วังชุกมิได้ทรงนำเสนอแต่เพียงทฤษฎีเท่านั้น แต่พระองค์ได้ทรงแสดงออกในเชิงปฏิบัติทางนโยบาย โดยมีราชอาณาจักรภูฏานเป็นแบบอย่างที่สำคัญให้แก่ชาวโลก
จริงๆ แล้วหลักการเหล่านี้ได้ถูกกล่าวถึงในประเทศไทยมาเป็นเวลานานกว่า ๓๐ ปี ผ่านพระราชดำรัสของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว หรือในหลวงของปวงชนชาวไทย จนเป็นแนวคิด ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ซึ่งทั้งสองพระองค์ได้ยึดถือหลักพุทธธรรมเป็นหลักการใหญ่ แต่ในประเทศไทยซึ่งเป็นเมืองพุทธ เช่นเดียวกับภูฏาน ยังไม่สามารถฝังรากแห่งหลักการอันเป็นไปเพื่อประโยชน์สุขของคนส่วนใหญ่ได้ เหตุหนึ่งคงเป็นเพราะความแรงของระบบเศรษฐกิจกระแสหลักที่ครอบงำคนทั่วโลก รวมถึงเมืองไทย และเมื่อระบบเศรษฐกิจกระแสหลักเกิดเป็นพิษขึ้นมา จึงเกิดวิกฤตการณ์ไปทั่วโลก ทั้งวิกฤติการเงิน วิกฤติทางจริยธรรม และวิกฤติทางความสุขของผู้คน
การผันแปรทางสังคมในทุกภาคส่วนมิได้เกิดขึ้นมาโดยบังเอิญแต่อย่างใด สิ่งเหล่านี้ล้วนก่อตัวมาจากปัญหาทางจิตใจของมนุษย์ทั้งสิ้น และในที่สุดก็ส่งผลย้อนกลับไปสู่จิตใจของมนุษย์อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ในยุคที่ชุมชนยังไม่มีไฟฟ้าใช้ ผู้คนในสังคมมีจิตใจสุขสว่างไสวมากกว่าสังคมในยุคนี้หลายเท่า เมื่อการวางหลักของชีวิตผิดพลาด ความมุ่งหมายก็ผิดไปด้วย คนเริ่มเห็นเงินเป็นพระเจ้า บูชาอำนาจและความร่ำรวยมากกว่าความดีงาม จนนำตนไปสู่วิถีแห่งการแสวงหาทะยานอยากอย่างไม่หยุดยั้งเพื่อจะได้มาในสิ่งที่ตนต้องการโดยไม่สนใจวิธีการในการได้มาซึ่งสิ่งนั้นๆ
ปัจจุบันไม่ว่าจะเป็นองค์กรเล็ก องค์กรใหญ่ หรือบุคคลทั่วไปมักให้ความสำคัญกับคำว่า “ผลประโยชน์” โดยลืมเลือนคำว่า “ประโยชน์สุข” ไปอย่างสิ้นเชิง โดยเรามักนึกว่าเงินสำคัญที่สุดในชีวิต วิธีคิดเช่นนี้ทำให้เกิดการแย่งชิงแข่งขันในสังคมอย่างกว้างขวาง ผู้คนเริ่มขาดมิติแห่งความเกื้อกูลฉันเพื่อนมนุษย์ และหันไปมุ่งแสวงหาผลประโยชน์เป็นหลัก จนเกิดการคอรัปชั่นไปทั่วตั้งแต่นักบวช นักปกครอง นักการศึกษา นักวิชาการจนถึงยาจก แม้ส่วนหนึ่งอาจมิได้คอรัปชั่นในระบบ แต่ก็คอรัปชั่นต่อหน้าที่ เช่นพระมีหน้าที่สอนโยมให้มีปัญญารู้ความจริงของชีวิต คือรู้ตื่น เบิกบาน แต่บางทีเราอาจพบพระบางรูปสอนให้โยมหลับใหล งมงาย บอกหวย ดูดวง หรืออยู่ร่วมในสถานการณ์ที่ไม่เหมาะสม หรือครู มีหน้าที่สอนหนังสืออย่างเต็มกำลังความสามารถโดยไม่ปิดบังอำพราง แต่ในปัจจุบันมีการกักความรู้ไว้ เพื่อสอนพิเศษนอกเวลาอันมุ่งเน้นผลประโยชน์เป็นที่ตั้ง และยังมีอีกหลายอาชีพในสังคมที่ยังทำผิด และบกพร่องต่อหน้าที่จนกลายเป็นเรื่องธรรมดาในสังคม จนบางทีเราอาจได้ยินว่า “ใครๆ เขาก็เอาทั้งนั้น ถ้าเราไม่เอาก็โง่สิ” หรือว่า “เอาก็เอาให้เป็นอย่าให้ใครจับได้ ถ้าถูกจับได้โง่”
ถ้าคตินิยมเช่นนี้ฝังรากลึกลงไปในสังคมเรื่อยๆ เราคงไม่เห็นภาพที่งดงามในสังคมไทยหลงเหลืออยู่ คำว่า “ประโยชน์สุข” จางหายไปจนไม่มีใครกล่าวถึง คำว่า “ผลประโยชน์” เป็นสิ่งที่ทุกคนถามหาในทุกหน้าที่การงาน และการใช้ชีวิต ความร้อนใจเข้ามาแทนที่ความเย็นใจ น้ำเงินเข้ามาแทนน้ำใจ การกักเก็บ และการแก่งแย่งเข้ามาแทนที่ความเกื้อกูล ความแตกแยกเข้ามาแทนที่ความสามัคคี ความวุ่นวาย เข้ามาแทนที่ความสงบ ความโลภเข้ามาแทนที่ความรักและเมตตา มิตรแท้ในชีวิตหายไปคงหลงเหลือไว้แต่มิตรเทียม
เราจะรอให้สังคมเป็นเช่นนี้ต่อไป หรือจะหันกลับมาร่วมกันทำวัคซีนให้กับสังคม โดยเริ่มที่ตัวเรา และครอบครัวของเราเป็นอันดับแรก เพราะการเปลี่ยนย่อมเริ่มจากจุดเล็กๆเสมอ อย่าคิดให้ใครๆเปลี่ยนเพื่อเรา แต่จงเปลี่ยนตัวเราเพื่อความสุขของใจเราเอง นำคำว่า “ประโยชน์สุข” กลับมาอีกครั้ง จนแทนที่คำว่า “ผลประโยชน์” ในใจเราได้ เมื่อนั้นหน้าตาของชีวิตเราจะเปลี่ยนไปสู่หน้าตาเดิมแท้ที่มนุษย์ต้องการ คือความสุขในจิตใจ ขอให้ทุกคนเริ่มต้นด้วยการถามตัวเองว่า คุณค่าแท้ๆของชีวิตเราคืออะไร ? ความสุขจริงๆ เกิดที่ไหน ? และเมื่อได้คำตอบขอให้เดินทางสู่คุณค่าแท้นั้นด้วยความเชื่อมั่นอย่างมีสติ และเมื่อนั้นอิสภาพแห่งความสุขของชีวิตจะบังเกิดขึ้นในใจเรา
พระอธิป อธิปญฺโญ
๑๗ เมษายน ๒๕๕๒
วันที่ 5 มิ.ย. 2552
หนาวแล้ว ออกแคมป์กันเถอะ! ⛺ เตาแก๊สปิคนิค พกพาสะดวก ออก Outdoor ได้สบายๆ รุ่น KJ-101 แถมฟรี!!กล่องเก็บเตา ในราคา ฿244https://s.shopee.co.th/7fJQKGPCjr?share_channel_code=6
Advertisement
เปิดอ่าน 7,162 ครั้ง เปิดอ่าน 7,163 ครั้ง เปิดอ่าน 7,178 ครั้ง เปิดอ่าน 7,180 ครั้ง เปิดอ่าน 7,673 ครั้ง เปิดอ่าน 7,162 ครั้ง เปิดอ่าน 7,169 ครั้ง เปิดอ่าน 7,165 ครั้ง เปิดอ่าน 7,160 ครั้ง เปิดอ่าน 7,165 ครั้ง เปิดอ่าน 7,159 ครั้ง เปิดอ่าน 7,166 ครั้ง เปิดอ่าน 7,182 ครั้ง เปิดอ่าน 7,196 ครั้ง เปิดอ่าน 7,158 ครั้ง เปิดอ่าน 7,155 ครั้ง
|
เปิดอ่าน 7,158 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,174 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,161 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,164 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,171 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,163 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,174 ☕ คลิกอ่านเลย |
|
≡ เรื่องน่าอ่าน/สาระน่ารู้ ≡
เปิดอ่าน 17,919 ครั้ง |
เปิดอ่าน 48,182 ครั้ง |
เปิดอ่าน 91,887 ครั้ง |
เปิดอ่าน 1,663 ครั้ง |
เปิดอ่าน 36,070 ครั้ง |
|
|