Advertisement
บ่อยครั้งที่คอมพิวเตอร์มีปัญหา เช่น อาการจอมืด , ซีดีรอมไม่ทำงาน หรือฮาร์ดิสก์เสีย ถึงแม้ว่าตอน ซื้อมาจะมีการรับประกัน 2 ถีง 3 ปี แต่โดยส่วนใหญ่แล้วผู้ใช้จะไม่ได้ซื้อ คอมพ์ทุก 2-3 ปีตามระยะการ ประกัน ดั้งนั้นการซ่อมจึงเป็นเรื่องหลีกเลี่ยงไม่ได้ ที่นี้เรามาดูแนวทางการซ่อมคอมพ์พิวเตอร์ด้วยตนเอง
1. บันทึกทุกอย่างเก็บไว้ แม้ว่าการใช้คอมพิวเตอร์ จะทำให้สามารถที่จะทิ้งเอกสารกองโต ออกไปจากโต๊ะทำงาน ได้ก็ตาม แต่ก่อนที่ทิ้งทุกอย่างไป ควรจะทำการหาวิธีในการเก็บข้อมูลเหล่านั้นไว้ เผื่อในกรณีที่อาจเกิดปัญหา ในอนาคต ยอมเสียเวลาสักเล็กน้อยกรอกแบบฟอร์มต่าง ๆ ให้เรียบร้อย ซึ่งผู้ผลิตคอมพิวเตอร์บางราย ก็ให้มีการลงทะเบียนกันแบบออนไลด์ แต่อย่าลืมพิมพ์สำเนาออกมาเก็บรวมไว้กับใบเสร็จรับเงิน เก็บใบเสร็จ รับเงินและใบรับประกันทุกอย่างไว้ให้ดี โดยเฉพาะอุปกรณ์ที่มีการรับประกันแยกต่างหากออกไปไม่รวมกับ ตัวเครื่อง เช่น โมเด็ม , ซีพียู , เมนบอร์ด , จอ และอื่น ๆ
2.ทำการบ้านก่อนเลือกซื้อ ตอนที่ซื้อคอมพิวเตอร์ ควรจะต้องนึกถึงการซ่อมแซมที่จะเกิดขึ้นในอนาคต ในการเลือกซื้อก็ต้องคิดอยู่เสมอว่า บางร้านรับซ่อมจะมีการคิดค่าตรวจสอบเครื่องด้วย ไม่ว่าเครื่องจะอยู่ใน ประกันหรือไม่ก็ตาม ก่อนซื้อคงจะต้องทำการบ้านกันให้ดีในเรื่องของประกันที่บริษัทมีให้ ไม่ว่าจะในเรื่องประกัน การขยายระยะประกัน หรือว่าค่าธรรมเนียมต่าง ๆ สิ่งเหล่านี้จะทำให้คุณประหยัดทั้งเงินและเวลาได้ในอนาคต
3.จดบันทึกอาการเสีย เมื่อคอมพ์พิวเตอร์มีอาการผิดปกติขึ้น ให้จดบันทึกอาการต่างไว้ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง Error Messages ต่างๆ ซึ่งจะมีประโยชน์และจะมีส่วนช่วยช่าง หรือผู้เชี่ยวชาญในการวิเคราะห์สาเหตุเสียได้มาก ให้จดบันทึกอาการที่เกิดขึ้นให้ละเอียดที่สุดเท่าที่จะทำได้ เพื่อที่ช่างจะได้ซ่อมได้เร็วและตรงจุด โดยทั่วไปแล้ว คำถามที่ช่างหรือคนที่จะช่วยเหลือคุณมักจะถามเช่น จอภาพแสดงอาการอย่างไร หรือ Error massage ที่เกิดขึ้นคืออะไร เป็นต้น ถ้าคุณสามารถที่จะตอบคำถามเหล่านี้จะเป็นประโยชน์อย่างมากต่อช่าง และคุณเอง โดยเฉพาะอย่างยิ่งถ้าคุณปรึกษากับช่างผ่านทางโทรศัพท์ แลัก่อนที่จะตัดสินใจเลือกร้านซ่อมก็ให้ตรวจระยะเวลา ประกันของคอมพิวเตอร์และบรรดาอุปกรณ์ต่อพ่วงต่าง ๆ ให้ดี
4.สำรวจให้ทั่ว ๆ การนำเครื่อคอมพิวเตอร์ไปซ่อมกับบริษัทที่คุณซื้อมาก็ไม่ใช้ว่าจะเป็นวิธีที่ดีเสมอไ
ป เพราะบางครั้งถ้าศึกษาให้ดี ๆ อาจพบว่า ซ่อมกับบริษัทอาจทำให้คุณต้องเสียทั้งเงินและเวลา มากกว่าที่ตวรเป็นก็ได้ วิธีที่น่าจะดีกว่า ก็คือลองสำรวจร้านอื่น ๆ ดูไม่ว่าจะเป็นร้านเล็กหรือใหญ่ ตรวจสอบข้อมูลเรื่องเวลาและราคาในการซ่อมเช่น ค่าตรวจเครื่อง ค่าแรง หรือค่าซ่อมนอกสถานที่ (ในกรณีที่ต้องการให้ช่างมาซ่อมที่บ้าน) เป็นต้น ร้านเล็ก ๆ บางครั้งให้ความสำคัญเป็นกันเองกับลูกค้ามากกว่า ร้านใหญ่ ๆ เนื่องจากมีความต้องการอยู่รอดในการแข่งขันกับร้านใหญ่ ๆ ในขณะเดินสำรวจร้านต่าง ๆ อยู่ให้ลองสังเกคร้านที่ติดโลโก้ยี่ห้อดังเช่น ไอบีเอ็ม , คอมแพค , เป็นต้น ซึ่งมันอาจเป็นไปได้ว่า ร้านนั้น ๆ รับซ่อมเครื่องที่อยู่ในประกันของยี่ห้อนั้น ๆ แต่อย่างไรก็ตามร้านที่รับซ่อมคอมพิวเตอร์ส่วนใหญ่จะรับซ่อม เครื่องทุกยี่ห้ออยู่แล้ว
5.ค้นหาบริการทางโทรศัพท์ บางกรณีอาจเป็นการไม่สะดวกที่จะเดินทางไปซ่อมที่ร้านโดยตรง การไปโทรศัพท์ไปปรึกษาจึงเป็นอีกทางเลือกหนึ่ง เมื่อคุณเริ่มโทรศัพท์หาร้านซ่อม ให้ลองสังเกตพฤติกรรมต่าง ๆ ที่คุณได้รับทางโทรศัพท์ เช่นต้องรอสายนานเท่าไร เต็มใจช่วยเหลือหรือไม่ แค่นี้ก็เป็นการช่วยตัดสินใจได้ว่า ควรซ่อมกับร้านนั้นหรือไม่ แล้วอย่าลืมจดชื่อรุ่นหรือ Serial Number ของคอมพิวเตอร์ไว้เพื่อความสะดวก
หรือจะโทรไปรายการ 94 FM ทุกวันจันทร์-ศุกร์ เวลา 14:00-15:00 ที่นี้รับตอบปัญหาทุกเรื่องดีมากเลย
6.ค่าธรรมเนียม เมื่อยกเครื่องคอมพิวเตอร์ไปซ่อมเป็นธรรมดาที่ช่างจะสำรวจดูว่ามีอะไรบ้างที่ต้องซ่อ
ม ตั้งแต่สายไฟยันฮาร์ดดิส ซึ่งร้านจำเป็นจะต้องคิดค่าธรรมเนียมในการตรวจสอบนี้ แต่ก็มีบางร้านเหมือนกัน ที่ไม่คิด แต่ถ้าคุณพอมีความรู้เรื่องเครื่องคอมพิวเตอร์อยู่บ้าง ก็อาจทดลองใช้โปรแกรม Norton Utility ตรวจสอบเครื่องของคุณก่อน บางที่อาจทำให้คุณไม่ต้องเสียเงินก็ได้ หรือบางที่คุณอาจโทรมาเรียกช่างมาซ่อม ที่บ้านก็ได้ แต่คุณจะต้องเสียเงินเพิ่มขึ้น
7.คิดในแง่ร้ายไว้ก่อน หลังจากที่เครื่องของคุณได้รับการตรวจสอบอาการจากหลาย ๆ ร้านซ่อมแล้ว ก็มาถึงขั้นตอนในการตัดสินใจว่า จะซ่อมหรือไม่ซ่อมในร้านใดจึงจะดี ซึ่งบางครั้งร้านซ่อมอาจจะบอกว่าเครื่อง ไม่อยู่ในประกันแล้วหรืออะไหล่ชิ้นที่ต้องการไม่มีอีกต่อไปแล้ว ข่าวร้ายเหล่านี้เป็นแคเพียงขั้นเริ่มต้นใน การซ่อมคอมพิวเตอร์ของคุณ บางที่คุณอาจลองสอบถามร้านดูว่าสามารถจะเอาอะไหล่เก่าไปแลกอะไหล่ใหม่ ได้หรือไม่ ในกรณีอะไหล่ชิ้นเก่าเลิกผลิตไปแล้ว โดยอาจต้องเพิ่มเงินเล็กน้อย
8.เตรียมเครื่องให้พร้อมก่อนนำไปซ่อม ก่อนที่จะทิ้งเครื่องเอาไว้ที่ร้านเพื่อทำการซ่อมลองตรวจสอบว่าคุณได้ แบ็กอัพข้อมูลที่สำคัญเอาไว้ , จด Serial number ของฮาร์ดิสก์ , ซีดีรอม , โมเด็ม และอื่น ๆ ไว้เพื่อตรวจสอบกับอุปกรณ์ที่นำมาเปลี่ยน ลบข้อมูลส่วนตัวออกให้หมดเช่น อินเตอร์เน็ทพาสเวิร์ด เพื่อป้องกันถูกลักลอบนำไปใช้
9..ขอเอกสารการซ่อมจากร้าน ก่อนที่จะทิ้งเครื่องเอาไว้ที่ร้านอย่าลืมขอเอกสารที่บอกถึงชิ้นส่วนที่จะเปลี่ยน และระยะเวลาในการซ่อม ตรวจสอบเอกสารให้ละเอียดเพื่อป้องกันค่าใช้จ่านแอแฝง แล้วอย่าลืมถามถึงการ รับประกันหลังการซ่อม
10.ติดตามความคืบหน้า สิ่งสุดท้ายที่ต้องทำคือคอยโทรไปถามว่าการซ่อมไปถึงไหน เปลี่ยนอะไรบ้าง เสร็จทันกำหนดหรือไม่ และเมื่อไปรับเครื่อง ให้ทดสอบดูก่อนว่าเครื่องทำงานปกติหรือไม่ ก่อนนำเครื่องกลับ
ข้อมูลจาก เซียนคอม
http://xchange.teenee.com/index.php?showtopic=13410&mode=linearplus
Advertisement
เปิดอ่าน 17,560 ครั้ง เปิดอ่าน 8,729 ครั้ง เปิดอ่าน 20,289 ครั้ง เปิดอ่าน 27,712 ครั้ง เปิดอ่าน 15,148 ครั้ง เปิดอ่าน 28,467 ครั้ง เปิดอ่าน 12,376 ครั้ง เปิดอ่าน 168,060 ครั้ง เปิดอ่าน 20,545 ครั้ง เปิดอ่าน 14,385 ครั้ง เปิดอ่าน 104,925 ครั้ง เปิดอ่าน 36,204 ครั้ง เปิดอ่าน 30,905 ครั้ง เปิดอ่าน 18,222 ครั้ง เปิดอ่าน 21,418 ครั้ง เปิดอ่าน 21,156 ครั้ง
|
เปิดอ่าน 19,719 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 22,858 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 20,681 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 14,064 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 30,804 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 19,124 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 25,169 ☕ คลิกอ่านเลย |
|
≡ เรื่องน่าอ่าน/สาระน่ารู้ ≡
เปิดอ่าน 15,621 ครั้ง |
เปิดอ่าน 23,220 ครั้ง |
เปิดอ่าน 12,479 ครั้ง |
เปิดอ่าน 10,025 ครั้ง |
เปิดอ่าน 10,768 ครั้ง |
|
|