Advertisement
❝ ขอให้นักเรียนตัวแทนทุกคนนำความรู้ที่ได้มาสานต่อในโรงเรียน. ขอให้ปฏิบัติตัวสมกับที่ได้รับเลือกเป็นตัวแทน...ขอให้กำลังใจ...................ครูติ๋ว ❞
พระเจ้าหลานเธอ พระองค์เจ้าพัชรกิติยาภา หาแนวทางสร้างเสริมเด็กและเยาวชนให้มีจิตสำนึก การยุติความรุนแรง โดยเฉพาะอย่างยิ่งความรุนแรงต่อสตรีและเด็ก...
เพื่อสานต่อความสำเร็จของการรณรงค์ UNI-FEM Say NO to Vio-lence Against Women ในประเทศไทย ยูนิเฟม ร่วมกับสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิ-การและกระทรวงยุติธรรม จัดโครงการ "หยุดความรุนแรงต่อผู้หญิงด้วยพลังเด็ก และเยาวชน" ซึ่งนำนักเรียนระดับมัธยมศึกษาและครูกว่า 240 คน จาก ประเทศเข้ารับการอบรมเชิงปฏิบัติการ เมื่อวันที่ 15-17 พ.ค. ที่จังหวัดอุดรธานี โดย พระเจ้าหลานเธอ พระองค์เจ้าพัชรกิติยาภโรงเรียนนำร่อง 8 แห่ง ทั่วา ในฐานะที่ทรงเป็นทูตสันถวไมตรียูนิเฟม ได้เสด็จทรงเป็นองค์ประธานเปิดตัวโครงการ ที่โรงแรมเจริญโฮเต็ล จังหวัดอุดรธานี เมื่อวันที่ 18 พ.ค.ที่ผ่านมา
ในโอกาสนี้ พระเจ้าหลานเธอ พระองค์เจ้าพัชร กิติยาภา ทรงมีพระดำรัสว่า การยุติความรุนแรงโดยเฉพาะอย่างยิ่งความรุนแรงต่อสตรีและเด็กนั้น วิธีการที่ดีอย่างหนึ่งก็คือ การปลูกฝังความรู้ ความคิดให้เด็กและเยาวชนได้ทราบและตระหนักว่า การกระทำรุนแรงเป็นพฤติกรรมที่ไม่ถูกต้องและไม่สมควร เพื่อที่เด็กแต่ละคนเมื่อเติบโตเป็นผู้ใหญ่จะได้ไม่ใช้ความรุนแรงแก้ไขปัญหาต่างๆที่เกิดขึ้นในชีวิต วิธีการอบรมดังกล่าวนี้แม้อาจจะเห็นผลล่าช้าไปบ้าง แต่ก็หวังผลยั่งยืนได้ในระยะยาว เพราะเป็นการป้องกันปัญหาที่ต้นเหตุ ซึ่งดีกว่าการปราบปรามหรือแก้ไขปลายเหตุมาก การที่จัดให้มีโครงการนี้ขึ้น โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างความรู้ความเข้าใจให้แก่ครูและนักเรียนในโรงเรียนนำร่อง ตลอดจนติดตามประเมินผลอย่างใกล้ชิดจึงเป็นสิ่งที่น่านิยมชื่นชมยิ่ง อย่างไรก็ตาม บ้านเมืองเรายังมีปัญหาอีกมาก อย่างเช่นเรื่องความยุติธรรม หากได้ร่วมกันแสวงหาแนวทางในอันที่จะปลูกฝังสร้างเสริมเด็กและเยาวชนให้มีจิตสำนึกที่ถูกต้องเที่ยงตรงในเรื่องความยุติธรรมก็จะช่วยให้ปัญหาต่างๆที่เกิดขึ้นในสังคมเบาบางลงได้ อีกทางหนึ่ง
รวมพลังยุติความรุนแรงต่อผู้หญิงและเด็ก
จากนั้น พระเจ้า หลานเธอ พระองค์เจ้าพัชร-กิติยาภา เสด็จทอดพระเนตรนิทรรศการและทรงรับฟังการนำเสนอแผนงานโครงการหยุดความรุนแรงต่อผู้หญิงด้วยพลังเด็กและเยาวชน ของโรงเรียนต่างๆที่เข้ารับการอบรมอย่างสนพระทัย ส่วนโรงเรียนที่เข้าร่วมการอบรมมี ร.ร.ใน กทม. ได้แก่ ร.ร.ปัญญาวรกุล, ร.ร.จิตรลดาและ ร.ร.ราชินี ส่วน ร.ร.ในต่างจังหวัด ได้แก่ ร.ร.ท่าทอง จ.พิษณุโลก, ร.ร.ศรีสะเกษวิทยาลัย จ.ศรีสะเกษ, ร.ร.เมืองชุมพรวิทยา จ.ชุมพร, ร.ร.เสอเพลอวิทยาคม และ ร.ร.สตรีราชินูทิศ จ.อุดรธานี
นอกจากนี้ พิชามญชุ์ ปองเงิน นักเรียนชั้น ม.4 ร.ร.ราชินี หนึ่งในตัวแทน กล่าวว่า การอบรมครั้งนี้ได้รับทัศนคติต่อนิยามของความรุนแรงต่อผู้หญิงและเด็กว่า ไม่ได้หมายถึงการได้รับความรุนแรงทางร่างกายเท่านั้น ความรุนแรงต่อเด็กและผู้หญิงที่เกิดขึ้นมีความรุนแรงในครอบครัว, ความรุนแรงทางเพศ, การค้ามนุษย์และค่านิยมบางอย่างทางวัฒนธรรมก่อให้เกิดความรุนแรงได้เช่นกัน ด้าน ปาณัสม์ สุนทรปุระ นักเรียนชั้น ม.4 ร.ร.จิตรลดา กล่าวว่า ก่อนเข้าค่ายคิดว่าการทำร้ายจิตใจเป็นเรื่องปกติธรรมดา ไม่คิดว่าเป็นเรื่องความรุนแรง และที่ประชุมได้สรุปแนวทางแก้ไขปัญหาความรุนแรงได้แก่ กิจกรรมให้ความรู้ที่ถูกต้องเกี่ยวกับความรุนแรง มีกิจกรรมรณรงค์, ส่งเสริมการใช้สิทธิและส่งเสริมความเสมอภาค รวมทั้งปลูกฝังและสร้างจิตสำนึกเพราะความรุนแรงเกิดขึ้นกับใครก็ได้ทุกเวลา ทุกสถานที่ไม่ว่าจะเป็นผู้หญิงและผู้ชาย.
วันที่ 4 มิ.ย. 2552
Advertisement
เปิดอ่าน 7,146 ครั้ง เปิดอ่าน 7,179 ครั้ง เปิดอ่าน 7,304 ครั้ง เปิดอ่าน 7,139 ครั้ง เปิดอ่าน 7,158 ครั้ง เปิดอ่าน 7,137 ครั้ง เปิดอ่าน 7,136 ครั้ง เปิดอ่าน 7,171 ครั้ง เปิดอ่าน 7,142 ครั้ง เปิดอ่าน 7,135 ครั้ง เปิดอ่าน 7,145 ครั้ง เปิดอ่าน 7,146 ครั้ง เปิดอ่าน 7,140 ครั้ง เปิดอ่าน 7,141 ครั้ง เปิดอ่าน 7,142 ครั้ง เปิดอ่าน 7,135 ครั้ง
|
เปิดอ่าน 7,142 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,139 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,142 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,136 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,140 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,143 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,140 ☕ คลิกอ่านเลย |
|
≡ เรื่องน่าอ่าน/สาระน่ารู้ ≡
เปิดอ่าน 34,545 ครั้ง |
เปิดอ่าน 15,302 ครั้ง |
เปิดอ่าน 14,793 ครั้ง |
เปิดอ่าน 34,799 ครั้ง |
เปิดอ่าน 9,018 ครั้ง |
|
|