Advertisement
ป่าไม้และการอนุรักษ์
|
ป่าไม้ มีบทบาทสำคัญต่อระบบนิเวศของโลกโดยเป็นตัวการสำคัญในการสร้างวัฎจักรคาร์บอนไนโตรเจน และออกซิเจน ช่วยรักษาระดับอุณหภูมิของโลก และปริมาณน้ำฝน
ป่าไม้ของโลกและการใช้
ทั่วโลกมีป่าไม้ชนิดต่างๆครอบคลุมพื้นที่ราว ร้อยละ30ของพื้นดินทั้งหมดป่าไม้เป็นระบบนิเวศที่ไม่มีการพัฒนาสูงสุดถึงจุดสมดุลดังนั้นป่าไม้จึงเป็นระบบนิเวศที่รวมมวลชีวภาพไว้ได้มากมายหลากหลายที่สุด และเป็นแหล่งที่ผลิตพันธ์สัตว์ชนิดใหม่ๆได้เร็วและมีความหลากหลายสูงสุดด้วย
ป่าที่ถูกทำลายทั่วโลก
ต้นไม้และป่าไม้เป็นทรัพยากรที่สร้างขึ้นใหม่ได้ถ้าหากจำนวนประชากรไม่มากเกินไป และการพัฒนาทางเศรษฐกิจและอุตสาหกรรมเป็นแบบยั่งยืน การตัดไม้หรือการถางป่าไปบ้างก็ไม่ใช่ปัญหาใหญ่ร้ายแรง แต่การที่ป่าซึ่งเป็นรับบนิเวศมหัศจรรย์และอุดมสมบูรณ์ที่สุดถูกทำลายในอัตราสูง ได้กลายเป็นปัญหาที่น่าห่วง คุกคามต่อระบบนิเวศของโลกและความอยู่รอดของสิ่งมีชีวิตนับล้านๆชนิด ซึ่งย่อมต้องกระทบกระเทือนต่อคุณภาพชีวิตของมนุษย์ไม่มากก็น้อย
ในทวีปยุโรปเคยมีพื้นที่ป่าไม้ถึงร้อยละ80 ของพื้นที่ทั้งหมด แต่แล้วก็ค่อยๆถูกทำลายเพื่อใช้ในหารก่อสร้างและใช้เพาะปลูก จนถึงปัจจุบันป่าไม้ที่เหลืออยู่เหลือไม่ถึงร้อยละ14 นับว่าเป็นทวีปที่มีการตัดไม้ทำลายป่าสูงมาก
ในทวีปเอเซีย ป่าเขตร้อนถูกทำลายไปถึง50,000 ตร.กม. เมื่อปี2534 ประมาณกันว่าในปีพ.ศ. 2544 เนื้อที่ป่าไม้ที่ถูกทำลายในแต่ละที่ใหญ่เท่ากับประเทศไทยเลยทีเดียว
ประเทศฟิลิปปินส์สูญเสียป่าไม้ถึงร้อยละ 90 ของพื้นที่ป่าไม้ทั้งหมด
พม่าก็กำลังตัดไม้อย่างขนานใหญ่เพื่อขายท่อนซุงแลกเงินตราต่างประเทศเช่นเดียวกับที่เขมรและลาวกำลังทำกันอย
ในช่วง 30 ปีมานี้บริษัทในญี่ปุ่น เป็นแรงผลักดันให้มีการตัดไม้ทำลายป่าโดยมีชายญี่ปุ่นคนหนึ่งบริโภคกระดาษปีละ300กิโลกรัมต่อคน และยังนิยมการใช้ตะเกียบไม้แบบใช้ครั้งเดียวแล้วทิ้งอีกด้วย
ในทวีปเอเซีย ป่าเขตร้อนถูกทำลายไปถึง50,000ตร.กม. เมื่อปี2534 ประมาณกันว่าในปีพ.ศ. 2544 เนื้อที่ป่าไม้ที่ถูกทำลายในแต่ละที่ใหญ่เท่ากับประเทศไทยเลยทีเดียว
การทำลายป่าในประเทศไทย
เมื่อราวๆ 90 ปีที่ผ่านมาพื้นที่ป่าของประเทศไทยมีอยู่ประมาณ 230 ล้านไร่หรือประมาณร้อยละ 72 ของพื้นที่ทั้งหมดนับว่าเป็นพื้นที่ป่าที่มีขนาดใหญ่มาก
แต่เมื่อถึงพ.ศ. 2534 พื้นที่ป่าไม้ที่อุดมสมบูรณ์มีเพียง 18%
การอนุรักษ์ป่าไม้การอนุรักษ์ความสมบูรณ์ของป่ายังกระทำได้ด้วยการช่วยกันรักษาต้นไม้ที่เป็นโรค ป้องกันไฟป่า ป้องกันป่าจากมลพิษทางอากาศเช่นฝนกรดและปรากฏการณ์โลกร้อนไปจนถึงการประหยัดกระดาษและการนำกระดาษกลับมาใช้ใหม
1. การป้องกันไม่ให้ตัดไม้กรือป่าถูกทำลายโดยตรง เป็นมาตรการสำคัญในการอนุรักษ์ป่า เช่นในพ.ศ. 2517 สตรีในหมู่บ้านเรนี ทางตอนเหนือเขตประเทศอินเดียรวมตัวกันจัดตั้งขบวณการโอบกอด โดยเข้าโอบกอดต้นไม้ไว้ป้องกันไม่ให้บริษัททำไม้ตัดไม้ไป ปฎิบัติการเช่นนีสามารถรักษาป่าที่เป็นต้นน้ำลำธารในแถบนั้นเป็นเนื้อที่ได้ถึง12,000 ตารางกิโลเมตร ในบางพื้นที่ของประเทศไทยก็มีการ"บวช" ต้นไม้โดยใช้ผ้าเหลืองมาพันรอบป้องกันไม่ให้ผู้คนมาตัดฟันกิ่งไม้ไป
2. การคัดค้านการสร้างเขื่อนใหญ่ และการตัดถนนผ่านป่าก็มีส่วนช่วยรักษาเนื้อที่ป่าบริเวณกว้างไว้ได้ ซึ่งได้มีการกระทำกันทั่วโลกรวมทั้งประเทศไทย
3. การจัดการและการอนุรักษ์ป่าที่ดีนั้นรัฐบาลต้องมีนโยบายป่าไม้และนโยบายการใช้ที่ดินที่ถูกต้องชัดเจน การเรียกร้องให้รัฐบาลมีนโยบายอย่างเข้มงวดนั้นก็จะช่วยอนุรักษ์ป่าได้มากทีเดียว
4. การปลูกไม้ทดแทนถ้าเราปลูกต้นไม้เท่ากับจำนวนต้นไม้ที่มาตัดไปบางทีเราอาจรักษาพื้นที่ป่าไว้ได้แต่ประเทศกำลังพัฒนาอย่างเรา โดยเฉลี่ยแล้วการปลูกต้นไม้ 1 ต้น ต่อการตัด 10 ต้น ป่าไม้จึงถูกทำลายไปอย่างรวดเร็ว
5. การปลูกไม้ทดแทนไม้ที่ตัดไปสามารถกระทำได้ในทุกพื้นที่ไม่ว่าจะเป็นป่าอนุรักษ์เช่นการปลูกป่าในเขตต้นน้ำลำธารที่มีการตัดไม้ไป การปลูกในพื้นที่ที่ถูกภัยธรรมชาติเช่นไฟไหม้ การปลูกต้นไม้ในสวนป่าทั้งของรัฐและเอกชน ตลอดจนในป่าชุมชน
เยวชนช่วยพิทักษ์ป่าไม้ได้อย่างไร
1. การคัดค้านการสร้างเขื่อนใหญ่ และการตัดถนนผ่านป่าก็มีส่วนช่วยรักษาเนื้อที่ป่าบริเวณกว้างไว้ได้ ซึ่งได้มีการกระทำกันทั่วโลกรวมทั้งประเทศไทย
2. ประหยัดกระดาษไม่ใช้ผลิตภัณฑ์กระดาษถ้าไม่จำเป็นเรียกร้องให้หาวิถีทางนำกระดาษที่ใช้แล้วกับมาใช้ใหม่ให้มากขึ้นหรือนำมาใช้ประโยชน์อื่นๆอีก
3. ถ้าหากไปท่องเที่ยวในอุทยานแห่งชาติ หรือเขตธรรมชาติอื่นๆอย่าทำลายสิ่งมีชีวิตหรือเคลื่อนย้ายสภาพธรรมชาติ เก็บขยะทั้งหมดของตนติดมาด้วย อย่าทิ้งไว้ในบริเวณนั้น
4. ปลูกต้นไม้สม่ำเสมอ ริเริ่มหรือเข้าร่วมโครงการปลูกต้นไม้ เข้าร่วมโครงการอนุรักษ์ป่าไม้และชีวิตในธรรมชาติ ต่อสู้พิทักษ์ป่าเช่นร่วมคัดค้านการสร้างเขื่อนขนาดใหญ่ที่ทำลายป่าไม้ และแหล่งที่อยู่อาศัยของพันธ์พืช และสัตว์ป่า
5. เขียนจดหมายถึงผู้แทนราษฎรให้ช่วยกัน อนุรักษ์ป่า เช่นดูแลการบังคับใช้กฎหมายอย่างเต็มที่
6. อย่าซื้อผลิตภัณฑ์ที่เป็นงาช้าง ขนสัตว์หรือผลิตภัณฑ์จากสัตว์ป่าอื่นๆ
7. ไม่ซื้อสัตว์ป่ามาเลี้ยง เพราะว่าสัตว์ป่ากว่าจะถึงร้านค้าต้องมีการล่าและทำลายหรือมีการล้มตายก่อนหน้านั้นเป็นจำนวนมากสัตว์ป่าเหล่านั้นเมื่อเลี้ยงจนโตแล้วก็ยิ่งดูแลยากลำบาก
http://kajib.hypermart.net/forest.html
|
ข้อมูลอาจไม่อัพเดทเท่าที่ควร แต่ความเสียหายแม้ปัจจุบันก็ไม่ได้น้อยลง ยังคงทำลายกันไม่หยุด
การจัดการทรัพยากรป่าไม้
ป่า หมายถึง "ที่ดินที่ไม่มีบุคคลใดบุคคลหนึ่งได้มาซึ่งกรรมสิทธิ์ ครอบครองโดยกฎหมายที่ดิน" นิยาม ตาม พ.ร.บ. ป่าไม้
ป่าเสื่อมโทรม ตามระเบียบกรมป่าไม้ พ.ศ.2530 ได้กำหนดรูปแบบความหมายไว้ดังนี้ ป่าเสื่อมโทรม คือ พื้นที่ป่าที่มีค่า ที่มีลักษณะสมบูรณ์เหลือเป็นส่วนน้อย และยากที่จะฟื้นฟูสู่สภาพธรรมชาติได้ คือ
(1) มีลูกไม้ไม่เกิน 20 ต้น/ไร่
(2) มีไม้ขนาดเส้นรอบวงที่ความสูงเพียงอก 50-100 ซม. ไม่เกิน 8 ต้น/ไร่
(3) มีไม้ขนาดเส้นรอบวงที่มีความสูงเพียงอก โตกว่า 100 ซม. ไม่เกิน 2 ต้น
(4) รวมไม้ทุกขนาด (1) - (3) ทั้งหมดไม่เกิน 16 ต้น/ไร่
ความสำคัญของป่า คือ
(1) เป็นส่วนหนึ่งที่ช่วยรักษาความสมดุลของวัฏจักรน้ำ ออกซิเจน แร่ธาตุในระบบนิเวศ
(2) ช่วยอนุรักษ์ดินและน้ำ เพราะป่าจะดูดซับน้ำไว้และยึดเกาะหน้าดินไม่ให้ฝนชะล้างทำลาย หมุนเวียนธาตุอาหารต่างๆ ในดิน ป่าไม้เป็นแหล่งต้นน้ำลำธาร
(3) ช่วยปรับสภาพบรรยากาศให้ชุ่มชื้น เย็นสบาย
(4) เป็นแหล่งปัจจัย 4 ให้มนุษย์ อันได้แก่ อาหาร แหล่งยา แหล่งไม้ใช้สอยสร้างที่อยู่อาศัย
(5) เป็นแนวป้องกันลมพายุ
(6) เป็นที่อยู่อาศัยของสัตว์ป่า
(7) เป็นที่พักผ่อนหย่อนใจ
ป่าเป็นพื้นที่ที่ให้ปัจจัย 4 แก่มนุษย์และแหล่งพักผ่อนหย่อนและแหล่งอาศัยของสัตว์ป่า
สาเหตุของการสูญเสียทรัพยากรป่าไม้ในประเทศไทย
ตลอดเวลาที่ผ่านมาอาจกล่าวได้ว่าสูญเสียพื้นที่ป่าหรือพื้นที่ป่าไม้เสื่อมโทรมลง เป็นผลงานร่วมกันระหว่างรัฐบาลและราษฎร ซึ่งสรุปสาเหตุได้ว่า เกิดจาก
(1) การทำไม้ ความต้องการป่าไม้ เพื่อกิจการต่างๆ เช่น เพื่อทำอุตสาหกรรมโรงเลื่อย โรงงานกระดาษ สร้างที่อยู่อาศัยหรือการค้า ทำให้ต้นไม้ถูกลอบตัดและตัดถูกต้องตามกฎหมาย ทั้งอนุญาตผูกขาดทั้งสัมปทานระยะยาว ขาดระบบการควบคุมที่ดี ผู้ที่เกี่ยวข้องทุกฝ่ายมุ่งแต่ตัวเลขปริมาตรที่จะทำออก โดยไม่ระวังดูแลพื้นที่ป่า ไม่ติดตามผลการปลูกป่าทดแทนตามเงื่อนไขสัมปทาน ว่าได้ดูแลรักษาต้นไม้ให้เจริญเติบโตอย่างปลอดภัยหรือไม่ จนในที่สุดได้มีพระราชกำหนด ณ วันที่ 13 ธันวาคม พ.ศ.2531 ประกาศยกเลิกสัมปทานป่าไม้ (ป่าบก) ทั่วประเทศไทย เมื่อเกิดกรณีประท้วงขึ้นมาและกล่าวโทษว่า การทำไม้เป็นเหตุทำลายป่า เป็นผลให้เกิดภัยพิบัติเช่นนั้น
(2) การเพิ่มจำนวนประชากรของประเทศ ทำให้ความต้องการจากภาคเกษตรกรมากขึ้น ความจำเป็นที่ต้องการขยายพื้นที่เพาะปลูกเพิ่มขึ้นพื้นที่ป่าไม้ในเขตภูเขา จึงเป็นเป้าหมายของการขยายพื้นที่เพื่อการเพาะปลูกจากการเพิกเฉยของเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง หรือเกษตรกรเหล่านี้ทำการเกษตรโดยขาดการวางแผนการใช้ที่ดินอย่างมีประสิทธิภาพเป็นเหตุให้มีหนี้สินเพิ่มขึ้น ต้องขายที่ดินแล้วอพยพเข้าป่าลึกไปเรื่อยๆ หรือการขายที่ดินผืนใหญ่ในราคาสูงขึ้นผิดปกติให้แก่นักลงทุนที่สนองนโยบายการท่องเที่ยวด้วยการสร้างรีสอร์ท สนามกอล์ฟ ยิ่งเป็นเหตุซ้ำเติมให้พื้นที่ป่าไม้ถูกบุกรุกมากขึ้น
(3) การส่งเสริมการปลูกพืชหรือเลี้ยงสัตว์เศรษฐกิจเพื่อการส่งออก เช่น มันสำปะหลัง ปอ ฯลฯ โดยไม่ส่งเสริมการใช้ที่ดินอย่างเต็มประสิทธิภาพทั้งๆ ที่พื้นที่ป่าบางแห่งไม่เหมาะที่จะนำมาใช้ในการเกษตรกรรมเพาะปลูก
(4) การกำหนดแนวเขตพื้นที่ป่า กระทำไม่ชัดเจนหรือไม่กระทำเลยในหลายๆ ป่า ทำให้ราษฎรเกิดความสับสนทั้งโดยเจตนาและไม่เจตนา ทำให้เกิดการพิพาทในเรื่องที่ดินทำกินและที่ดินป่าไม้อยู่ตลอดเวลา และมักเกิดการร้องเรียนต่อต้านในเรื่องกรรมสิทธิ์ที่ดิน ซึ่งช่วงระยะนี้เองการบุกรุกพื้นที่ป่าก็ดำเนินไปเรื่อยๆ กว่าจะรู้แพ้รู้ชนะป่าก็หมดสภาพไปแล้ว
(5) การจัดสร้างสาธารณูปโภคของรัฐ อาทิ เขื่อน อ่างเก็บน้ำ เส้นทางคมนาคม การสร้างเขื่อนขวางลำน้ำ จะทำให้พื้นที่เก็บน้ำหน้าเขื่อนที่อุดมสมบูรณ์ถูกตัดโค่นมาใช้ประโยชน์ส่วนต้นไม้ขนาดเล็กหรือที่ทำการย้ายออกมาไม่ทันจะถูกน้ำท่วมยืนต้นตาย เช่น การสร้างเขื่องรัชชประภา เพื่อกั้นคลองแสง อันเป็นสาขาของแม่น้ำพุมดวง-ตาปี ทำให้น้ำท่วมบริเวณป่าดงดิบ ซึ่งมีพันธุ์ไม้หนาแน่น ประกอบด้วยสัตว์นานาชนิดนับแสนไร่ต่อมาจึงเกิดปัญหาน้ำเน่าไหลลงลำน้ำพุมดวง
(6) ไฟไหม้ป่า ประเทศไทยมักเกิดไฟไหม้ป่าในฤดูร้อนเป็นประจำทุกปี เพราะในฤดูร้อนพวกวัชพืชในป่าหรือจากการผลัดใบของต้นไม้ ใบไม้จะแห้งและติดไฟง่าย การสูญเสียป่าไม้เกิดขึ้นทุกๆ ปี ในภาคเหนือ ภาคกลาง และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ไฟป่าอาจเกิดจากการกระทำของคนหรือจากธรรมชาติ ผลเสียของไฟไหม้ป่า คือ ทำลายทรัพยากรป่าไม้
(7) การทำเหมืองแร่ แหล่งแร่ที่พบในบริเวณที่มีป่าไม้ปกคลุมอยู่ มีความจำเป็นที่จะต้องเปิดหน้าดินก่อน จึงทำให้ป่าไม้ที่ขึ้นปกคลุมถูกทำลายลง เส้นทางขนย้ายแร่ในบางครั้งต้องทำลายป่าไม้ลงเป็นจำนวนมาก เพื่อสร้างถนนหนทาง การระเบิดหน้าดินเพื่อให้ได้มาซึ่งแร่ธาตุ เกิดผลทำลายป่าไม้บริเวณใกล้เคียงโดยไม่รู้ตัว
(8) การทำลายของสัตว์ป่าและสัตว์เลี้ยง สัตว์ทำลายป่าไม้โดย
(8.1) กัดกิน ใบ กิ่ง รากเหง้า หรือหน่อของพืช
(8.2) การเหยียบย่ำจะทำให้ต้นอ่อนของพืชถูกทำลาย ดินบริเวณโคนต้นไม้ถูกย่ำจนแน่น โครงสร้างของดินเสียไป ทำให้พืชเจริญเติมโตช้า ความเสียหายในประเทศไทยในข้อนี้มีไม่มากนัก จะมีอยู่บ้าง โดยเกิดขึ้นในบริเวณจังหวัดในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ซึ่งมีการเลี้ยงสัตว์เป็นจำนวนมาก
(9) การทำลายของเชื้อโรคและแมลง ต้นไม้ในป่าเป็นจำนวนมากที่ถูกทำลายโดยเชื้อโรคและแมลง จะเกิดการเหี่ยวเฉาแคระแกร็นไม่เจริญเติบโต บางชนิดต้องสูญพันธุ์ เช่น แมลงจำพวก "มอดป่า" นับว่าเป็นศัตรูป่าไม้ที่สำคัญในเมืองไทย (อำนาจ เจริญศิลป์, 2528) ได้ทำลายสวนป่าสักในเขตจังหวัดลำปาง แพร่ สุโขทัย และจังหวัดอื่นๆ ให้ได้รับความเสียหายเป็นจำนวนมาก
(10) ความตระหนักและความร่วมมือของประชาชนต่อการอนุรักษ์ยังมีน้อย ส่วนใหญ่จะอ้างว่าเป็นภาระของทางราชการ การนิยมเครื่องเรือนที่ผลิตจากไม้ก็มีส่วนทำลายป่าไม้เช่นกัน
วันที่ 2 มิ.ย. 2552
หน้าหนาวแล้ว คุณครูสนใจไหม DoDo เก้าอี้แคมป์ปิ้ง รับน้ำหนักได้เยอะ พร้อมกระเป๋าจัดเก็บ โครงอลูมิเนียมรับน้ำหนักได้200KG ในราคา ฿189 - ฿509 ที่ Shopeehttps://s.shopee.co.th/9pNuttuIUm?share_channel_code=6
Advertisement
เปิดอ่าน 7,161 ครั้ง เปิดอ่าน 7,219 ครั้ง เปิดอ่าน 7,155 ครั้ง เปิดอ่าน 7,156 ครั้ง เปิดอ่าน 7,159 ครั้ง เปิดอ่าน 7,155 ครั้ง เปิดอ่าน 7,157 ครั้ง เปิดอ่าน 7,162 ครั้ง เปิดอ่าน 7,170 ครั้ง เปิดอ่าน 7,173 ครั้ง เปิดอ่าน 7,185 ครั้ง เปิดอ่าน 7,194 ครั้ง เปิดอ่าน 7,161 ครั้ง เปิดอ่าน 7,170 ครั้ง เปิดอ่าน 7,179 ครั้ง เปิดอ่าน 7,163 ครั้ง
|
เปิดอ่าน 7,161 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,175 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,156 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,158 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,164 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,159 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,174 ☕ คลิกอ่านเลย |
|
≡ เรื่องน่าอ่าน/สาระน่ารู้ ≡
เปิดอ่าน 21,149 ครั้ง |
เปิดอ่าน 11,026 ครั้ง |
เปิดอ่าน 11,134 ครั้ง |
เปิดอ่าน 14,200 ครั้ง |
เปิดอ่าน 26,065 ครั้ง |
|
|