Advertisement
❝ มีข้อมูลน่าสนใจ...จากการที่เรา(หรือ ผู้ประกอบการร้านอาหารนิยมใช้ตะเกียบสะดวกใช้...แบบใช้ครั้งเดียวทิ้ง)...ลองอ่านข้อมูลเหล่านี้ดู....คุณอาจเปลี่ยนใจ...กลับมาใช้ ช้อนกะส้อม วัฒนธรรมแบบไทยๆ....ปลอดภัยกว่า.......ข้อมูลส่วนหนึ่งมาจากประเทศจีน..ประเทศที่ใช้ตะเกียบมากที่สุดในโลก.เขารณรงค์กันมานานแล้ว แล้วประเทศไทย..มีข้อมูลเรื่องนี้บ้างหรือเปล่า...มีใครใส่ใจเรื่องเล็กๆเหล่านี้บ้างไหม???..พิจารณา...ดูเถิด.....(จากมุมมองเล็กๆ...ของคนเล็กๆ..คนหนึ่ง...ด้วยความปรารถนาดี VIPบล็อก...) ❞
|
ข่าวสารที่มาทางอินเตอร์เน็ตเมื่อกลั่นกรองให้ดีๆ ก็ได้ความรู้ อย่างเรื่องที่จะเล่านี้ก็มาทางอินเตอร์เน็ต เราจะไม่พูดถึงความถูกต้องของเนื้อข่าวหรือถามแหล่งที่มา เอาเป็นว่าข่าวสารนี้เราได้ข้อคิดเตือนใจอะไรบ้าง ต้องขอขอบคุณผู้ได้ส่งข่าวสารที่เป็นประโยชน์มาให้
ตะเกียบไม้คู่ใช้แล้วทิ้ง แสนจะสะดวกสบายทั้งผู้ให้และผู้รับบริการในร้านอาหาร ท่านรู้หรือไม่ว่าปลอดภัยแค่ไหน วิธีการผลิตตะเกียบไม้ในสภาพแวดล้อมของคนผลิตและขนส่งดูไม่น่าไว้ใจนัก จากท่อนไม้เล็กๆที่เป็นตะเกียบแล้วต้องมีการฟอกขาวด้วย “ไฮโดรเจนเปอร์ออกไซด์” และ “ซัลเฟอร์” (น่าจะเป็นซัลเฟอร์ไดออกไซด์) ระหว่างการขนส่งทางเรือข้ามน้ำข้ามทะเลก็เจอทั้งหนูและแมลงสาบ แล้วนำมาห่อโดยไม่ได้ฆ่าเชื้อ จึงมีทั้งเชื้อโรคและสารตกค้างติดอยู่ในรูพรุนของเนื้อไม้จนถึงเวลาใช้ ทำให้มีความเสี่ยงต่อการท้องเสีย หอบหืด เคยมีผลการทดลองของนักเรียนที่ญี่ปุ่นนำน้ำที่แช่ตะเกียบอยู่ 7 วัน ซึ่งมีกลิ่นเหม็นมาเพาะถั่วเขียว ปรากฏว่าโตช้า หยุดโตเมื่อสูงประมาณ 5-6 เซนติเมตรและตาย ผลทดสอบควันจากการเผาตะเกียบพบว่ามีฤทธิ์เป็นกรด เขาแนะนำว่าก่อนใช้ให้ลองดมกลิ่นดูแล้วแช่น้ำร้อนสัก 2-3 นาที ดีที่สุด คือ พกตะเกียบส่วนตัวไปเอง ข้อเท็จจริงเป็นอย่างไรต้องพิสูจน์กัน แต่ข้อมูลต่อไปนี้อาจจะช่วยให้เราคิดใหม่ได้ เขาบอกว่ากว่าจะมาเป็นตะเกียบคู่สำหรับใช้แล้วทิ้ง 3,000 – 4,000 คู่ ต้นไม้ต้องใช้เวลาถึง 20 ปี เฉพาะในไต้หวันแต่ละปีมีการใช้ตะเกียบกว่า 1,000 ล้านคู่ แปลว่าต้นไม้ 29 ล้านต้น ต้องถูกตัดโค่นลง ประมาณกันเอาเองก็แล้วกันว่าในประเทศอื่นๆ รวมทั้งโลกต้นไม้จะหมดไปกี่ต้นจากการใช้ตะเกียบแบบนี้
|
|
ใช้สารเคมีฟอกสีไม้ให้ขาว (ไม่มีการอบฆ่าเชื้อโรค)
|
การบรรจุตะเกียบใส่ซอง (ไม่มีการอบฆ่าเชื้อก่อนส่งให้ร้านอาหาร)
|
ตะเกียบที่ใช้แล้วทิ้ง เป็นขยะมลพิษจากสารเคมีที่ตกค้าง
|
|
|
|
เวลารับประทานก๋วยเตี๋ยว ใคร ๆ ก็คงต้องใช้ตะเกียบในการรับประทาน แต่ทราบหรือไม่ว่า ในตะเกียบนั้นมีสารฟอกขาวอยู่ด้วย วันนี้เกร็ดความรู้มีมาบอกกัน...
อันตรายจากสารฟอกขาวที่อยู่ในตะเกียบ เป็นชนิดเดียวกับสารฟอกขาวที่ใช้แช่ถั่วงอก โดยสารฟอกขาวจะมีสารซัลเฟอร์ไดออกไซด์เป็นส่วนประกอบ เมื่อโดนน้ำร้อนหรือของที่มีอุณหภูมิสูง สารซัลเฟอร์ไดออกไซด์จะเปลี่ยนเป็นสารซัลฟูริค หรือสารชนิดเดียวกับในแบตเตอรี่รถยนต์ สารดังกล่าวจะละลายออกมาจากตะเกียบ ปะปนอยู่ในอาหารที่กินเข้าไป หากผู้ที่เป็นโรคหอบหืด หรือคนแพ้ง่ายจะมีอาการทันที แต่หากร่างกายแข็งแรงสารเหล่านี้ก็จะสะสม ในร่างกาย ซึ่งการปนเปื้อนของสารจะละลายออก มาเมื่อตะเกียบถูกน้ำร้อนหรือความร้อน เช่น การ กินสุกี้ หรือหม้อไฟต่าง ๆ แต่ถ้านำไปใช้กับอาหาร ที่ไม่ร้อนก็ไม่พบว่าสารฟอกขาวเจือปนออกมา
สำหรับอันตรายของสารฟอกขาวที่เข้าไปสะสมในร่างกายจะค่อย ๆ ทำให้ภูมิคุ้มกันในร่างกายต่ำลง และเกิดโรคต่าง ๆ ได้ง่ายกว่าปกติ เพราะเมื่อร่างกายไม่มีภูมิต้านทาน ถ้าได้รับเชื้อต่าง ๆ จะไม่มีระบบการทำลาย และสิ่งต่าง ๆ ที่เข้าสู่ร่างกายได้ง่ายนั้น จะไปสะสมทำให้เกิดโรคอื่น ๆ ที่จะกระตุ้นให้เกิดโรคมะเร็งได้
ดังนั้น หากต้องใช้ตะเกียบชนิดดังกล่าวในการกินของร้อน ๆ สามารถป้องกันได้ด้วยการแช่ในน้ำร้อนประมาณ 3-4 นาที แล้วเทน้ำทิ้งไป จากนั้นจึงนำตะเกียบมาใช้ได้ ส่วนตะเกียบชนิดไม้ไผ่แม้จะไม่มีสารฟอกขาว แต่ต้องทำความสะอาดให้ดีและทำให้แห้งเพื่อไม่ให้เกิดเชื้อรา เพราะจะทำให้เกิดสารอัลฟาทอกซิน หรือสารก่อมะเร็งได้
ครั้งหน้าจะใช้ตะเกียบก็อย่าลืมทำความสะอาดให้เรียบร้อยก่อนนำมาใช้ จะได้ไม่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ.
|
|
ขอขอบคุณเนื้อหาข่าว คุณภาพดี โดย: หนังสือพิมพ์เดลินิวส์
|
|
หนังสือพิมพ์ท้องถิ่นของจีนรายงานว่า เจ้าหน้าที่คุ้มครองผู้บริโภคในกรุงปักกิ่ง ได้เข้าตรวจค้นโรงงานผลิตตะเกียบไม้ไผ่ประเภทใช้คั้งเดียวแล้วทิ้ง พร้อมทั้งยึดตะเกียบเกือบ 5 แสนคู่ไว้เป็นของกลาง หลังจากสืบทราบว่าตะเกียบที่ผลิตจากโรงงานนี้ ไม่ผ่านการฆ่าเชื้อโรค ก่อนที่จะบรรจุใส่ซองขาย
นายวู เจ้าของโรงงานดังกล่าวยอมรับว่า เขาไม่มีใบอนุญาติในการทำธุรกิจ และมีรายได้ในการขายตะเกียบประมาณ 1,000 หยวน หรือราว 4,000 บาทต่อวัน ซึ่งราคาตะเกียบนั้นตกคู่ละ 17 สตางค์ แต่ถ้าเศรษฐกิจดี เขาขายตะเกียบได้ถึง 1 แสนคู่ต่อวัน
นับตั้งแต่จีนได้ทำการปฏิรูปเศรษฐกิจในช่วงปี 1970 จีนประสบปัญหาอย่างมากในการควบคุมตรวจสอบมาตรฐานการผลิตสินค้า ซึ่งนอกจากจะขาดแคลนบุคคลากรที่เข้ามาบังคับใช้กฏหมายแล้ว นักธุรกิจหลายคนที่หวังแต่จะทำกำไรแต่ขาดคุณธรรม ที่จริงแล้วข่างเรื่องอันตรายจากการใช้ตะเกียบไม่ใช่เรื่องที่พึ่งค้นพบใหม่ เพราะเมื่อ 2-3 ปีที่ผ่านมา ทางการของฮ่องกงและไต้หวัน ได้ออกข่าวเตือนเรื่องอันตรายจากการใช้ตะเกียบ เนื่องจากเจ้าหน้าที่คุ้มครองผู้บริโภคของทั้งสองแห่งนี้ได้ทำการสุ่มตรวจตะเกียบไม้ไผ่แบบใช้ครั้งเดียวแล้วทิ้ง และนำมาตรวจสอบทางวิทยาศาสตร์ ซึ่งปรากฏว่าตะเกียบไม้ไผ่ที่ดูขาวสะอาดน่าใช้นั้น เป็นผลจากการฟอกสีโดยใช้สารซัลเฟอร์ไดออกไซด์ มีผู้ผลิตบางรายที่นำไม้ที่ไม่มีคุณภาพมาทำตะเกียบ จึงต้องใช้สารฟอกสีทำให้ตะเกียบดูขาวสะอาด ซึ่งสารนี้เป็นอันตรายต่อสุขภาพ โดยเฉพาะกับคนที่เป็นโรคหอบหืด เพราะจะทำให้เกิดอาการคลื่นไส้ อาเจียน และหายใจขัดข้อง
ในขณะเดียวกันกลุ่มอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม และกลุ่มคุ้มครองผู้บริโภค ได้รณรงค์ให้คนหันมาใช้ตะเกียบซึ่งนำมาจากบ้าน และพกติดตัวไว้ใช้เวลารับประทานอาหารที่ภัตตาคาร ซึ่งนอกจากจะเป็นการอนุรักษ์ป่าไม้แล้ว ยังสามารถลดปริมาณขยะได้คนละ 11 กิโลกรัมต่อปี
นักอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมจีนต้านตะเกียบใช้ครั้งเดียวทิ้ง |
โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ |
1 มีนาคม 2551 08:27 น. |
|
|
|
วอลล์สตรีตเจอร์นัล – นักอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมทนไม่ไหว ออกมาต่อต้านตะเกียบไม้แบบใช้ครั้งเดียวทิ้ง ซึ่งนิยมกว้างขวางในจีน อ้างเป็นการทำลายป่า แต่ผู้ผลิตตะเกียบโต้ ผลิตตะเกียบจากไม้โตเร็ว
ขณะนี้ กลุ่มอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมกำลังพยายามรณรงค์ให้ประชาชน 1,300 ล้านคนในจีนหันมาคีบบะหมี่ โดยใช้ตะเกียบ ที่นำกลับมาใช้ใหม่ได้ แทนตะเกียบไม้ ที่ใช้ครั้งเดียวแล้วทิ้ง ซึ่งเป็นอุปกรณ์ที่คุ้นเคยกันในสังคมจีนทุกระดับมานานถึง 30 ปีแล้ว ตั้งแต่แรงงานอพยพ ที่นั่งกินลูกชิ้นปลา ที่แผงอาหารข้างถนน ไปจนถึงนักธุรกิจ ที่งานรัดตัว จนต้องสั่งเซซามิ มารับประทาน โดยโรงงานในจีนผลิตตะเกียบชนิดใช้แล้วทิ้งถึงราวปีละ 63,000 ล้านคู่
กลุ่มอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม ที่กำลังรวมตัวกันมากขึ้นในจีน มองตะเกียบไม้เปราะบางนี้ว่าเป็นสัญลักษณ์ของการบริโภค ที่ควบคุมไม่ได้ภายในประเทศ และกำลังทำลายป่า
ร้านอาหารและบริษัทรายใหญ่ พากันตื่นตัวขานรับกระแสอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมนี้ โดยตั้งแต่เดือนพฤศจิกายนเป็นต้นมา ร้านอาหารในกรุงปักกิ่งราว 300 ร้าน ประกาศนำตะเกียบแบบนำกลับมาใช้ใหม่ได้ มาบริการลูกค้า ขณะที่บริษัทไมโครซอฟต์ ,บริษัทอินเทล และบริษัทอินเตอร์เนชั่นแนล บิสซิเนส มาชีนส์ ได้เชิญให้กลุ่มกรีนพีซ มารณรงค์ต่อต้านการใช้ตะเกียบทำลายสิ่งแวดล้อม ที่โรงอาหารของบริษัท เพื่อให้พนักงานตื่นตัว
ด้านศิลปินนักร้องชื่อดังของจีนอย่าง หลี่ อี้ว์ชุน ก็ออกมาร่วมรณรงค์ต่อต้าน และยิ่งกระหน่ำต่อต้านเป็นพิเศษในช่วงโปรโมตขายอัลบัมเดี่ยว ชื่อ “กรีน” ซึ่งเป็นเพลงเกี่ยวกับการรักษาป่า
รัฐบาลจีนเอง แม้ไม่ออกมาประกาศสนับสนุนการรณรงค์ของนักอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม ซึ่งล่าสุด มีกรีนพีซ เป็นหัวเรือใหญ่ อย่างเป็นทางการ แต่บางหน่วยงานก็สนับสนุนอย่างเงียบ ๆ เช่น เมื่อเดือนธันวาคมที่ผ่านมา กระทรวงพาณิชย์ ได้ออกประกาศคู่มือฉบับใหม่สำหรับร้านอาหาร เพื่อกระตุ้นให้ร้านเหล่านี้ลดการใช้ตะเกียบแบบใช้ครั้งเดียวแล้วทิ้ง ขณะที่คณะกรรมการโอลิมปิกปักกิ่งห้ามใช้ตะเกียบชนิดนี้ระหว่างการวิ่งผลัดคบเพลิงโอลิมปิก และกิจกรรมอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับ “โอลิมปิกสีเขียว” ในปีนี้ นอกจากนั้น เมื่อปี 2549 รัฐบาลจีนยังได้ออกมาตรการหักภาษีบริโภคร้อยละ 5 สำหรับสินค้าที่ทำลายสิ่งแวดล้อมอีกด้วย
อย่างไรก็ตาม อุตสาหกรรมผู้ผลิตตะเกียบใช้แล้วทิ้งของจีน ออกมาตอบโต้ว่า นักรณรงค์เหล่านี้เป็นพวกที่เข้าใจข้อมูลอย่างผิด ๆ เหมือนพวก "ฉีเหรินโยวเทียน" ในนิทานคติของจีน ซึ่งหมายถึงผู้คนจากแคว้นฉีในสมัยโบราณ ที่พากันวิตกจริตหวาดกลัวว่าท้องฟ้าจะถล่มลงมาอย่างไร้เหตุผล
“อุตสาหกรรมตะเกียบกำลังสร้างงานจำนวนมหาศาลสำหรับคนยากคนจนในภูมิภาคที่มีป่าไม้” นายเหลียน กวง กล่าว เขาเป็นผู้ก่อตั้งและเป็นประธานสมาคมการค้าตะเกียบไม้ในมณฑลเฮยหลงเจียง นายเหลียนยังระบุด้วยว่า ตะเกียบไม้ที่กำลังถูกต่อต้านเวลานี้ ไม่ได้ทำลายป่าไม้ เนื่องจากทำมาจากไม้ที่โตเร็ว เช่น ต้นเบิร์ช, ต้นพอพเล่อร์ และต้นไผ่
ตะเกียบไม้ยังกลายเป็นประเด็นถกเถียงกันตามสื่อมวลชนของจีนอีกด้วยว่า มีอันตรายมหันต์จริงหรือ? หนังสือพิมพ์ เซ้าเทิร์น วีกเอ็นด์ ถึงขนาดตีพิมพ์เรื่องเล่าที่มีสีสัน ว่าเรื่องตะเกียบไม้กำลังทำให้ครอบครัวแตกสลายจากการขัดแย้งระหว่างลูกสาวที่ได้รับข้อมูลจากวิทยาลัยกับบิดาซึ่งเป็นผู้บริหารอุตสาหกรรมตะเกียบ
ลูกสาวสาวกสีเขียว ถึงขนาดตราหน้าบิดาว่า "เป็นปิศาจ เป็นอาชญากรทำลายป่าไม้"
ทั้งนี้ ชาวญี่ปุ่นเป็นผู้คิดค้นตะเกียบใช้แล้วทิ้ง ซึ่งเข้ามาแพร่หลายในจีนในช่วงต้นทศวรรษ 1980 หลังจากชาวญี่ปุ่นย้ายฐานการผลิตตะเกียบเข้ามาในภาคตะวันออกเฉียงเหนือของจีน เพื่อลดต้นทุนการผลิต นับจากนั้นมา จีนก็ได้กลายเป็นยักษ์ผู้ผลิตตะเกียบรายใหญ่สุดของโลก มีการจ้างงานในอุตสาหกรรมการผลิตนี้ ประมาณ 100,000 คน สอดรับกับความต้องการภายในประเทศที่กำลังบูม
นอกจากการรณรงค์ต่อต้านแล้ว กลุ่มกรีนพีซ และนักอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมคนอื่น ๆ ยังช่วยกันรณรงค์ให้ประชาชนพกตะเกียบส่วนตัว เวลาไปรับประทานอาหารนอกบ้าน เพื่อตัดปัญหาการทำลายป่า
เสี่ยว เหว่ย นักร้องเพลงแนวร็อคแห่ง Catcher in the Rye ก็ได้จับมือกับกรีน พีซ ไชน่า รณรงค์ ชูคำขวัญ "นำตะเกียบของท่านมาเอง" (Bring your own Chopstick)ซึ่งมีตัวย่อเก๋ไก๋คือ B.Y.O.C.โดยชักชวนให้แฟนๆเพลงนำตะเกียบของตัวเองมาด้วยเวลาไปกินอาหารตามร้านอาหาร เสี่ยว เหว่ยสวมกางเกงยีนสีซีดขาดวิ่น เสื้อเชิร์ตลายดอกสีฟ้าน้ำทะเล หยิบตะเกียบคู่เขื่องจากกระเป๋าเสื้อออกมาโชว์ คุยว่า "นี่เป็นตะเกียบทำจากโรส วูด จากประเทศปาปัว นิว กีนี"
แต่การโน้มน้าวให้ชาวจีนนับหลายล้านคนวางตะเกียบนั้น มิใช่เรื่องเล็กเลย ในประเทศที่มีกระแสหวาดระแวงเรื่องความสะอาดนี้ ชาวจีนหลายคนเห็นว่าตะเกียบแบบใช้ครั้งเดียวทิ้ง ดีกว่าตะเกียบของร้านอาหารที่อาจทำความสะอาดมาไม่ดี ผู้จัดการร้านอาหารฟาสต์ฟู้ดในกรุงปักกิ่งรายหนึ่งระบุว่า ลูกค้าต้องการใช้ตะเกียบ ที่ใช้แล้วทิ้งเลย ก็ด้วยเหตุผลเรื่องสุขอนามัยนั่นเอง
ทว่า ก็มีหลายคน ประสานเสียง "ยี้!"ใส่ความคิดพกตะเกียบของตัวเอง "ใช้เสร็จแล้ว เราจะไปล้างมันที่ไหน? เอาน้ำลายตัวเองล้างน่ะหรือ?ลืมไอ้ความคิดรักษาสิ่งแวดล้อมบ้าๆแบบนี้ไปเถอะ และหันมาคำนึงถึงการปฏิบัติได้จริง" นายเดวิด ถังนักสังคมศาสตร์และเจ้าของภัตรคารแห่งหนึ่งในฮ่องกงค้านหัวชนฝาไม่เห็นด้วยกับพวก B.Y.O.C.
พวกกรีน พีซยังไม่ลดละความพยายาม ได้ว่าจ้างให้นักออกแบบอุตสาหกรรมชื่อดังในไต้หวัน ออกแบบตะเกียบแบบพกพา หลังจากการวิจัยและถกเถียงไม่กี่เดือน ก็ได้ตะเกียบพับเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ทำจากสแตนเลสรีไซเคิล ที่สามารถใส่ไว้ในกระเป๋า
อย่างไรก็ตาม B.Y.O.C.ก็ได้กลายเป็นวิถีชีวิตของนักเคลื่อนไหวชาวจีนวัยหนุ่มสาวกลุ่มหนึ่ง อย่างนางมาร์กาเร็ต หยาง วัย 28 ปี มีอาชีพเป็นนักวิจัยการตลาดให้แก่บริษัทอินเทลในปักกิ่ง นางหยางได้แสดงวิธีการปฏิบัติตามอุดมคติสีเขียวในร้านอาหารแห่งหนึ่ง เธอวางตะเกียบส่วนตัวลงบนโต๊ะเสียงดังใส่หน้าบริกรที่กำลังนำตะเกียบใช้ครั้งเดียวทิ้งมาให้ จนบริกรต้องรีบเผ่นออกไป เมื่อเสร็จกิจการกินอาหาร นางหยางก็สาธิตวิธีการล้างตะเกียบ โดยร้องบอกให้บริกรนำน้ำร้อนใส่ถ้วยมาให้ เมื่อล้างตะเกียบเสร็จ เธอก็โยนตะเกียบลงในกระเป๋าผ้าฝ้าย.
ขอแถมอีกเรื่อง...เกี่ยวกับตะเกียบเหมือนกัน...
!!!! ระวัง หน่อไม้จีนดองที่มาจาก-จีน ทำจากตะเกียบไม้ 2 !!!!
หมดแล้วค่ะ
เห็นหรือยังละครับ....อย่างนี้....มันไม่ธรรมดาซะแล้ว.............
|
|
|
วันที่ 2 มิ.ย. 2552
Advertisement
เปิดอ่าน 7,140 ครั้ง เปิดอ่าน 7,141 ครั้ง เปิดอ่าน 7,140 ครั้ง เปิดอ่าน 7,136 ครั้ง เปิดอ่าน 7,168 ครั้ง เปิดอ่าน 7,142 ครั้ง เปิดอ่าน 7,141 ครั้ง เปิดอ่าน 7,143 ครั้ง เปิดอ่าน 7,137 ครั้ง เปิดอ่าน 7,152 ครั้ง เปิดอ่าน 7,143 ครั้ง เปิดอ่าน 7,137 ครั้ง เปิดอ่าน 7,409 ครั้ง เปิดอ่าน 7,147 ครั้ง เปิดอ่าน 7,145 ครั้ง เปิดอ่าน 7,141 ครั้ง
|
เปิดอ่าน 7,145 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,163 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,147 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,142 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,146 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,144 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,153 ☕ คลิกอ่านเลย |
|
≡ เรื่องน่าอ่าน/สาระน่ารู้ ≡
เปิดอ่าน 24,862 ครั้ง |
เปิดอ่าน 11,653 ครั้ง |
เปิดอ่าน 56,588 ครั้ง |
เปิดอ่าน 14,448 ครั้ง |
เปิดอ่าน 37,306 ครั้ง |
|
|