Advertisement
สุดยอดต้นแบบ สถาปัตยกรรมรักษ์โลก
สถาปนิกชั้นนำทั่วโลกต่างพยายามรังสรรค์-เนรมิต "สถาปัตยกรรมสุดขั้ว" ทลายกรอบความคิดเดิมๆ เพื่อใช้รับมือกับวิกฤตประชากรล้นโลกและดูแลรักษาสภาพแวดล้อมไปในตัวดังเช่นผลงานทั้ง 6 ชิ้น แม้บางส่วนอาจเกิดจากจินตนาการที่ดูเหมือนไกลเกินเอื้อม แต่ก็ช่วยปลุกเร้าความคิดและพัฒนาการใหม่ๆ เพื่อโลกมนุษย์
1.วารีนคร : Floating Ecopolis
นักวิทยาศาสตร์ตั้งสมมติฐานว่า ถ้าวิกฤตโลกร้อนดำเนินไปจนถึงจุดแตกหัก ประเทศหมู่เกาะและพื้นที่ชายฝั่งทั่วโลกจะถูกน้ำทะเลกลืนหาย รวมถึงเกาะมัลดีฟส์ เพชรเม็ดงามในมหาสมุทรอินเดีย
วินเซนต์ คาเลโบต์ สถาปนิกชาวเบลเยียม จึงออกแบบ "มหานครลอยน้ำ" ซึ่งแต่ละเมืองเป็นเอกเทศแยกออกจากกัน โดยตัวเมืองจะถูกทอดสมอลอยอยู่นอกแผ่นดินใหญ่ และทนต่อแรงซัดของคลื่น วัตถุประสงค์เพื่อใช้เป็นสถานที่รองรับประชากรที่ต้องลี้ภัยจากภาวะโลกร้อน แต่ละแห่งรองรับประชากรได้ 50,000 คน
ระบบสาธารณูปโภคสำคัญ คือ ระบบเก็บสะสมและกรองน้ำฝน สร้างภูเขาจำลองเพื่อใช้เป็นจุดก่อสร้างที่พัก ส่วนไฟฟ้าผลิตจากพลังคลื่นและแสงอาทิตย์
2.เกษตรลอยฟ้า
1.วารีนคร
2.เกษตรลอยฟ้า
3.ทะเลทรายสีเขียว
4.เมืองธรรมชาติ
5."หอคอย"พลังลม
6.โรงแรมกลางทะเล
|
ทุกวันนี้มหานครอาบูดาบี สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ ชาติอภิมหาเศรษฐีธุรกิจน้ำมัน มีประชากรกว่า 800,000 คน
ชีวิตประจำวันของผู้คนต้องพึ่งพาโรงผลิตน้ำสะอาดขนาดใหญ่ 5 แห่ง และนำเข้าผักผลไม้เพื่อการบริโภค เพราะสภาพอากาศร้อนแล้ง เนื่องจากเป็นเขตทะเลทราย
บริษัทสตูดิโอโมบายล์ ประเทศอิตาลี นำเสนอแบบแปลน "หอเกษตรลอยฟ้า" ตั้งตระหง่านกลางอาบูดาบี
โครงสร้างประกอบด้วยเรือนกระจกขนาดใหญ่ 5 โรง มีหน้าตาเหมือนกับรังดักแด้ โดยดึงน้ำทะเลนอกชายฝั่งมาแปรสภาพเป็นไอน้ำหล่อเลี้ยงพืชผักข้างใน และยังมีกระบวนการแปรรูปน้ำทะเลเป็นน้ำจืดได้ด้วย
3.ทะเลทรายสีเขียว
บริษัทเอ็กซ์พลอเรชั่น อาร์คิเทคเจอร์ ออกแบบโครงการ "ซาฮารา ฟอเรสต์ โปรเจ็กต์"
เป้าหมายเพื่อเปลี่ยนสภาพทะเลทรายตามเขตที่ราบต่ำติดทะเลของ "ทะเลทรายซาฮารา" ให้กลายเป็นแหล่งเพาะปลูกพืช ผลิตน้ำจืด และทำหน้าที่เป็นแหล่งน้ำสำหรับปลูกพันธุ์พืชสีเขียวขจีภายในพื้นที่รัศมีโดยรอบ พลิกฟื้นดินแตกระแหงสู่ความชุ่มชื้น
โครงสร้างหลักของ "ซาฮารา ฟอเรสต์ โปรเจ็กต์" ได้แก่ ระบบดึงน้ำจากทะเลเข้ามาใช้งาน แผงโซลาร์เซลล์แปลงแสงอาทิตย์เป็นไฟฟ้าเพื่อใช้เดินเครื่องสร้างไอน้ำ ส่วนน้ำเหลือทิ้งจากระบบจะนำไปใช้รดเพาะปลูกพันธุ์พืชโดยรอบ
4.เมืองธรรมชาติ
ภายใน 2-3 ปีข้างหน้า "เมืองสีเขียว" 648,000 ตารางเมตรจะถือกำเนิดขึ้นห่างจากตอนใต้ของกรุงโซล เมืองหลวงเกาหลีใต้ 35 กิโลเมตร
มีชื่อเรียกว่า "กวางเกียว กรีน พาวเวอร์ เซ็นเตอร์" (ศูนย์พลังงานสีเขียวกวางเกียว) ออกแบบและพัฒนาโดยบริษัทเอ็มวีดีอาร์ เนเธอร์แลนด์
แนวคิดการสร้างเมืองใหม่จงใจออกแบบสิ่งปลูกสร้างลักษณะวงแหวนคล้ายๆ ภูเขาไล่สูงขึ้นไปเป็นชั้นๆ เพื่อให้กลมกลืนธรรมชาติ ตัวเมืองมีทั้งส่วนที่พักอาศัย แหล่งช็อปปิ้งเซ็นเตอร์ สถาบันการศึกษา สำนักงาน ศูนย์วัฒนธรรม ที่จอดรถ นอกตัวอาคารทุกแห่งจะมีระเบียงปลูกต้นไม้ไล่ไปทุกชั้น รองรับประชากร 70,000 คน
5."หอคอย"พลังลม
ยูจีน ซุย สถาปนิกอเมริกันเชื้อสายจีน เริ่มต้นคิดโครงการนี้และนำไปเสนอกับผู้บริหารนครโอ๊กแลนด์ ประเทศนิวซีแลนด์ แต่ไม่ผ่านการอนุมัติ ล่าสุดหอบหิ้วผลงานไปนำเสนอกับผู้บริหารนครเสิ่นเจิ้น เมืองท่าสำคัญของจีน
"หอคอยพลังลม" ของซุยสร้างบนเกาะจำลองขนาดเล็กบริเวณอ่าวนอกชายฝั่งเสิ่นเจิ้น และปลูกป่าโกงกางคอยกรองมลพิษ ตัวหอคอยติดตั้งเทอร์ไบน์กังหันลมผลิตไฟฟ้าป้อนพื้นที่ตามแนวชายฝั่ง รวมทั้งมีส่วนร้านอาหารและหอสังเกตการณ์เพื่อใช้เป็นแหล่งท่องเที่ยวไปในตัว
6.โรงแรมกลางทะเล
บริษัทมอร์ริส อาร์คิเทค มองว่า แท่งสำรวจขุดเจาะน้ำมันเก่าๆ นำมาใช้ประโยชน์ได้ ไม่ควรปล่อยทิ้งเป็นขยะกลางทะเล
แผนการของบริษัทแห่งนี้ก็คือ เริ่มต้นปรับปรุงสภาพฐานขุดเจาะน้ำมันร้างนอกชายฝั่งอ่าวเม็กซิโก ให้กลายเป็นโรงแรม-แหล่งท่องเที่ยวกลางทะเล มีสิ่งอำนวยความสะดวกครบครัน เปิดต้อนรับนักท่องเที่ยวที่ต้องการประสบการณ์แปลกใหม่ ส่วนแหล่งพลังงานใช้ระบบพลังงานทางเลือกจากคลื่นและลม
"เราคิดว่าการปรับโฉมแท่งขุดเจาะน้ำมันเหล่านี้ยังเป็นสัญลักษณ์แสดงให้เห็นว่ายุคสมัยแห่งพลังงานสกปรกกำลังจะหมดไปอีกด้วย" มอร์ริส อาร์คิเทค ระบุ
เรียบเรียงจากบทความในนิตยสาร "Discover" เรื่อง
"Plan for Green Cities of the Future : Green & Extreme Architecture"
ข้อมูลจาก www.khaosod.co.th
วันที่ 2 มิ.ย. 2552
ขายดีมากครับคุณครู (พร้อมส่ง) เครื่องเคลือบบัตรA4 รุ่นSL200 เครื่องเคลือบกระดาษA4 A3 A5 ABSป้องกันการ์ด ในราคา ฿368 - ฿999 ที่ Shopeehttps://s.shopee.co.th/4VLvxbi7ho?share_channel_code=6
Advertisement
เปิดอ่าน 7,166 ครั้ง เปิดอ่าน 7,163 ครั้ง เปิดอ่าน 7,172 ครั้ง เปิดอ่าน 7,161 ครั้ง เปิดอ่าน 7,154 ครั้ง เปิดอ่าน 7,245 ครั้ง เปิดอ่าน 7,175 ครั้ง เปิดอ่าน 7,417 ครั้ง เปิดอ่าน 7,171 ครั้ง เปิดอ่าน 7,165 ครั้ง เปิดอ่าน 7,153 ครั้ง เปิดอ่าน 7,163 ครั้ง เปิดอ่าน 7,167 ครั้ง เปิดอ่าน 7,162 ครั้ง เปิดอ่าน 7,164 ครั้ง เปิดอ่าน 7,160 ครั้ง
|
เปิดอ่าน 7,163 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,170 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,161 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,158 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,160 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,155 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,153 ☕ คลิกอ่านเลย |
|
≡ เรื่องน่าอ่าน/สาระน่ารู้ ≡
เปิดอ่าน 21,573 ครั้ง |
เปิดอ่าน 10,238 ครั้ง |
เปิดอ่าน 10,722 ครั้ง |
เปิดอ่าน 13,892 ครั้ง |
เปิดอ่าน 118,162 ครั้ง |
|
|