Advertisement
❝ .ขอฝาก............................ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงกับการจัดการเรียนการสอน
การจัดทำหลักสูตรการเรียนการสอนอย่างบูรณาการและต่อเนื่องเพื่อให้เกิดปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
จัดทำหลักสูตรแบบบูรณาการในกลุ่มสาระการเรียนรู้ การจัดทำหลักสูตรเศรษฐกิจพอเพียง นอกจากจะมีการจัดทำเป็นหลักสูตรหลักแล้ว ควรกำหนดให้มีการสอนแทรกในกลุ่มสาระวิชาต่างๆ เช่น วิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ สังคมศึกษาศาสนาและวัฒนธรรม ฯลฯ เพื่อช่วยให้เกิดการบูรณาการ ปรัชญาแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียงในสาขาต่างๆ อันจะเป็นประโยชน์ต่อการดำเนินชีวิตของผู้เรียน ในทุกด้าน
จัดทำหลักสูตรให้ต่อเนื่องในทุกระดับการศึกษา การจัดทำหลักสูตรเศรษฐกิจพอเพียงควรจัด ทำให้เป็นหลักสูตรต่อเนื่องในทุกระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานไปจนถึงการอุดมศึกษา โดยสอดคล้องกับ พัฒนาการในแต่ละช่วงวัย
กำหนดกลไกส่งเสริมให้ครูมีแนวคิดและดำเนินชีวิตสอดคล้องกับหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
การเรียนการสอนตามหลักสูตรเศรษฐกิจพอเพียงอาจไม่ประสบความสำเร็จได้ หากปราศจากครู ผู้สอนที่คุณค่า มีความเข้าใจ ในการนำหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้ในการจัดการเรียนการสอน นั้นหมายความว่า นอกจากที่ครูผู้สอนตามหลัดสูตรเศรษฐกิจพอเพียงแล้ว ยังต้องเป็นผู้ที่ดำเนินชีวิต ตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงด้วย จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องมีกลไกในการพัฒนาครูให้เอื้อต่อการสอน หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงแก่ผู้เรียน ดังน
ี้ กำหนดหลักสูตรเศรษฐกิจพอเพียงในสถาบันอุดมศึกษาที่ผลิตครู สถาบันอุดมศึกษาที่เปิดสอน ในสาขาศึกษาศาสตร์ ควรมีวิชาที่เกี่ยวกับเศรษฐกิจพอเพียงรวมอยู่ด้วย เพื่อวางแนวคิดและวิธีการสอน ของครูผู้สอนให้สอดคล้องกับปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงก่อนไปประกอบอาชีพครู
พัฒนาแนวทางดำเนินชีวิตอย่างพอเพียงของครู โดยมุ้งเน้นให้ครูหันมาดำเนินชีวิตตามปรัชญา เศรษฐกิจพอเพียง จนสามารถเป็นแบบอย่างให้ผู้เรียนไปพร้อมกับการถ่ายทอดความรู้ตามหลักสูตร โดยส่งเสริมให้ครูหันมาดำเนินชีวิตตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียง มีการส่งเสริมครูต้นแบบที่ดำเนิน ชีวิตตามแนวทางนี้ให้เป็นที่รู้จัก โดยการไม่ก่อหนี้สิน ไม่ใช้จ่ายเกินตัว มีการออมทรัพย์ รวมถึงการ ส่งเสริมการทำอาชีพเสริมเพื่อเพิ่มรายได้ โดยไม่กระทบต่อการปฏิบัติภารกิจครู เป็นต้น
สร้างเครือข่ายและใช้ประโยชน์
การสร้างเครือข่ายเป็นกลไกหนึ่งที่สามารถนำมาใช้ประโยชน์ในการพัฒนาการเรียน การสอนตามหลักสูตรเศรษฐกิจพอเพียงของสถานศึกษาได้ เนื่องจาการสร้างเครือข่ายเป็นการดำเนินงาน ที่อาศัยการมีส่วนร่วม ซึ่งจะมีประโยชน์ในการแลกเปลี่ยนทรัพยากร องค์ความรู้ระหว่างกัน เพื่อให้เกิด ประโยชน์กับทุกฝ่าย ซึ่งในความเป็นจริงสถานศึกษาแต่ละแห่งมีความจำกัดและความแตกต่างด้าน ทรัพยากร ดังนั้น จึงควรเปิดโอกาสให้มีการระดมและแลกเปลี่ยนทรัพยากรระหว่างสถานศึกษาและ องค์กรในพื้นที่นั้น เช่น
สร้างเครือข่ายระหว่างสถานศึกษาด้วยตนเอง การสร้างเครือข่ายช่วยระหว่างสถานศึกษา ทำได้โดยการเชื่อมโยงระหว่าง ผู้บริหาร ครู ในสถานศึกษาแต่ละแห่ง เช่น การจัดตั้งเป็นเครือข่าย ครูผู้สอนหลัดสูตรเศรษฐกิจพอเพียง เครือข่ายผู้บริหารโรงเรียนเศรษฐกิจพอเพียง เป็นต้น เพื่อร่วมวางแผน แลกเปลี่ยนทรัพยากร องค์ความรู้ อันจะช่วยลดความจำกัดด้านทรัพยากรได้ โดยอาจให้ เขตพื้นที่การศึกษาเข้ามามีบทบาทในการบริหารจัดการในเรื่องนี้ร่วมด้วย
สร้างเครือข่ายระหว่างสถานศึกษากับชุมชน เครือข่ายส่วนนี้ช่วยในการนำองค์ความรู้ท้องถิ่น เข้ามาใช้พัฒนาการจัดการเรียนการสอนตามแนวเศรษฐกิจพอเพียงในสถานศึกษา เพื่อนำผู้เรียนเข้าสู่ การเรียนรู้จากวิถีการดำเนินชีวิตและสถานที่จริงภายในชุมชน และเป็นการเรียนรู้ที่มีความหลากหลาย ในทางปฏิบัติ โดยสถานศึกษาจะต้องมีการสร้างเครือข่ายร่วมกับปราชญ์ท้องถิ่น แกนนำเกษตรกรในชุมชน กลุ่มอาชีพต่าง ๆ ศูนย์พัฒนาอาชีพ กลุ่มแม่บ้าน ฯลฯ โดยประสานงานและมีการจัดกิจกรรม สม่ำเสมอและต่อเนื่อง กำหนดกลไกกระตุ้นให้เกิดความต่อเนื่อง
การสนับสนุนการเรียนการสอนตามหลักสูตรเศรษฐกิจพอเพียงให้ประสบความสำเร็จได้นั้น จำเป็นต้องมีกลไกที่สามารถกระตุ้นให้สถาบันการศึกษามีการดำเนินงานอย่างต่อเนื่องและ มีคุณภาพ ดังนี้
จัดระบบการประเมินผล เป็นกลไกที่ควบคุมและผลักดันให้สถานศึกษาพัฒนาการเรียน การสอนตามหลักสูตรเศรษฐกิจพอเพียงให้เกิดขึ้นจริงตามกรอบที่กำหนด โดยให้สำนักงานรับรอง มาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (สมศ.) ทำหน้าที่ในการพัฒนาระบบการประเมินผลตาม แนวทางเศรษฐกิจพอเพียงอย่างเฉพาะเจาะจง ทั้งด้านการสอน สื่อการสอน ครูผู้สอน การเรียนรู้ ของผู้เรียน ฯลฯ
จูงใจด้วยรางวัล เป็นกลไกกระตุ้นในอีกรูปแบบที่เสริมแรงให้สถานศึกษามีการจัดการเรียน การสอนตามแนวหลักเศรษฐกิจพอเพียง เช่น การจัดประกวดโรงเรียนตามวิถีเศรษฐกิจพอเพียง โดยมี เงื่อนไขว่าสถาบันการศึกษาต้องจัดกิจกรรมการเรียนการสอนให้มีคุณภาพ และสามารถส่งผลต่อชุมชน ให้หันมาดำเนินชีวิตเศรษฐกิจพอเพียงด้วย เป็นต้น
การปลูกฝังปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงให้เด็กและเยาวชนไทยผ่านระบบการศึกษา เป็นมิติใหม่ ที่ทุกฝ่ายควรให้ความสำคัญอย่างต่อเนื่อง ไม่ควรปล่อยให้เป็นเพียงกระแสแค่ชั่วระยะหนึ่งแล้วเลือนหายไป สิ่งที่ควรทำควบคู่กันไป คือ การสร้างจิตสำนึกร่วมในการดำเนินการตามปรัชญาเศรษฐกิจ พอเพียงของผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องในการจัดการศึกษา อันจะทำให้การดำเนินงานประสบความสำเร็จ ได้ตามเป้าหมายที่วางไว้
ที่มา : http://dnfe5.nfe.go.th/localdata/webimags/story232economic.html
Prev: คณิตศาสตร์ทำให้เกิดงานศิลปะได้อย่างไร
❞
สุดอลังการ! มหัศจรรย์ 7 พันธุ์กล้วยไม้พระราชทานนาม |
|
|
|
ลักขณา นะวิโรจน์ แม่งานจัดแสดงกล้วยไม้แห่งปี |
|
|
|
เพื่อเป็นการสานต่อความสำเร็จของงานจัดแสดงและประกวดกล้วยไม้ครั้งยิ่งใหญ่แห่งปีที่หลายคนตั้งตาคอย ในงาน มหัศจรรย์แห่งกล้วยไม้ ครั้งที่ 3 “3rd Siam Paragon Bangkok Royal Orchid Paradise 2009 เฉลิมพระเกียรติ 77 พรรษา บรมราชินีนาถ” จึงไม่หยุดความอลังการแห่งพรรณไม้งามไว้ที่รูปแบบเดิมๆ
ครั้งนี้ยังเชิญชวนทุกคนร่วมกันเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ในวโรกาสทรงเจริญพระชนมพรรษาครบ 77 พรรษา ไปพร้อมๆ กับการร่วมรณรงค์ปลูกจิตสำนึกให้ดำเนินตามรอยเบื้องพระยุคลบาทด้านการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม เพื่อช่วยกันลดภาวะโลกร้อน วิกฤตใหญ่ที่กำลังคุกคามไลฟสไตล์ของคนในยุคนี้ กับครั้งแรกของการรวบรวม 7 กล้วยไม้พระนามและพระราชทานนาม ที่หาชมได้ยาก มาจัดแสดงให้ชมกันแบบจุใจ
|
|
กล้วยไม้แคทลียา ควีนสิริกิติ์ ดอกสีขาวแต้มเหลือง สวยสด |
|
|
|
ไฮไลต์ที่ไม่ควรพลาด เริ่มกันที่ กล้วยไม้แคทลียา ควีนสิริกิติ์ พระนามของสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ เป็นกล้วยไม้กลิ่นหอมหวานอ่อนๆ ฝักรูปทรงสามเหลี่ยม ออกดอกตลอดปี ลูกผสม ระหว่าง ต้นแม่พันธุ์ Cattleya Bow Bells และ ต้นพ่อพันธุ์ Cattleya Obrieniana ซึ่งบริษัท Black & Flory Ltd. ประเทศอังกฤษเป็นผู้ผสมขึ้นและจดทะเบียนชื่อพันธุ์ว่า Exquisite เมื่อปี พ.ศ. 2501
เป็นพันธุ์กล้วยไม้ที่สวยงามมากจนได้รับรางวัลยอดเยี่ยมจากราชสมาคมพืชสวนอังกฤษ (The Royal Horticultural Society) จึงได้มีการขอพระราชทานพระราชานุญาตอัญเชิญพระนามาภิไธยของสมเด็จพระนางเจ้าฯพระบรมราชินีนาถ เป็นชื่อกล้วยไม้พันธุ์ดังกล่าว และได้ขึ้นทะเบียนลูกผสมใหม่ จากราชสมาคมพืชสวน อังกฤษ เมื่อวันที่ 1 ก.พ. 2501
|
|
กล้วยไม้ รองเท้านารี ปริ๊นเซสสังวาลย์ |
|
|
|
กล้วยไม้รองเท้านารีพริ้นเซสสังวาลย์ กล้วยไม้พระนาม สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี พันธุ์รองเท้านารีลูกผสมระหว่าง ต้นแม่พันธุ์รองเท้านารีช่องอ่างทอง (Paph. godefroyae var. angthong ) และต้นพ่อพันธุ์รองเท้านารีดอยตุง ( Paph. charlesworthii ) โดยมูลนิธิแม่ฟ้าหลวง,โครงการพัฒนาดอยตุง,จ. เชียงราย เป็นผู้ผสมพันธุ์
ให้ดอกครั้งแรกเมื่อ 1 ธ.ค. 2545 ดอกมีสีขาวลายบานเย็นหรือ บานเย็นเข้มทั้งดอกออก ส่วนใหญ่จะมี 1 ดอกต่อช่อ ขนาดประมาณ 6 ซ.ม. ก้านช่อดอกสูงประมาณ 10 ซ.ม. ออกดอกเฉลี่ยประมาณปีละ 2 ครั้ง ได้รับการขึ้นทะเบียนลูกผสมใหม่จากราชสมาคมพืชสวน อังกฤษ เมื่อ 31 ธ.ค. 2547 นอกจากนี้ยังมี กล้วยไม้รองเท้านารีสังวาลย์ซีรีเบรชั่นปีที่108 และ กล้วยไม้สังวาลย์แอนนิเวอร์ซารี่ ปีที่ 108 ซึ่งเป็นกล้วยไม้พระนาม ของสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี ฉลองวาระพระราชสมภพ ครบ 9 รอบปีนักษัตร มาจัดแสดงด้วย
|
|
กล้วยไม้หวายพันธุ์ชมพูนครินทร์ |
|
|
|
กล้วยไม้หวายพันธุ์ชมพูนครินทร์ ประทานนามโดยสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ เป็นกล้วยไม้ลูกผสมระหว่าง ต้นพ่อพันธุ์ “บลัชชิ่ง” (Dendrobium Blushing) และต้นแม่พันธุ์ “เอริก้า” (Dendrobium “Arica”) นายสวง คุ้มวิเชียร แห่งแอร์ออร์คิด เป็นผู้พัฒนาพันธุ์
ลักษณะดอกมีสี โอโรส (สีขาว อมชมพู อมส้ม) ปากดอกเป็นสีชมพูแดง สวยงามและคงทน เป็นกล้วยไม้ที่นิยมนำมาประดับชนิดจัดโชว์ทั้งต้นและดอก
ลักษณะพิเศษคือ เมื่อสะท้อนแสงไฟจะเห็นเกล็ดเงินระยิบระยับอ่อนๆ แฝงอยู่ในกลีบดอก ในช่วงอากาศหนาว ดอกจะเปลี่ยนสี เป็นสีโอโรสเข้มจัดทั้งดอก ต้นกล้วยไม้พันธุ์นี้มีขนาดกะทัดรัด ความสูงของต้นและดอกเฉลี่ยประมาณ 30-40 ซม. ออกดอกเฉลี่ยมากกว่า 3 ครั้งต่อปี
|
กล้วยไม้แอสโคเซ็นดา สุคนธรัศมิ์ พระราชทานนามโดย สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร เป็นแอสโคเซ็นดาลูกผสมระหว่าง ต้นแม่พันธุ์ คือ แวนดาสามปอยขุนตาล (Vanda denisoniana) และต้นพ่อพันธุ์ คือ แอสโคเซ็นดา คุณนก (Ascocenda Khun Nok) โดย นายปริยุตต์ ยุวานนท์ (บริษัท สากลออร์คิดส์) ผู้พัฒนาพันธุ์และเพาะเลี้ยงกล้วยไม้ ที่ อำเภอปากช่อง จังหวัดนครราชสีมา
สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร ได้พระราชทานชื่อพันธุ์กล้วยไม้ ซึ่งบริษัทสากล ออร์คิด ได้ทูลเกล้าถวายเมื่อวันที่ 24 มกราคม 2551 พระราชทานชื่อว่า “สุคนธรัศมิ์” แปลว่ามีกลิ่นหอมอบอวลจรุงใจ ตามพระนาม พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าศรีรัศมิ์ พระวรชายาฯ พระราชทานชื่อเมื่อวันที่ 10 เม.ย. 2551 ได้รับการขึ้นทะเบียนลูกผสมใหม่จากราชสมาคมพืชสวน อังกฤษ เมื่อวันที่ 29 พ.ศ. 2551 ลักษณะดอก มีขนาดประมาณ 1.5 นิ้ว กลีบดอกส่วนปลายเป็นสีเหลืองอมส้ม มีกลิ่นหอมนุ่มนวล กลิ่นจะหอมมากในช่วงเช้า และหอมตลอดทั้งวัน ออกดอกตลอดทั้งปี
|
|
กล้วยไม้แอสโคเซ็นดา สุคนธรัศมิ์ |
|
|
|
|
|
กล้วยไม้เอื้องศรีเชียงดาว |
|
|
กล้วยไม้เอื้องศรีเชียงดาว พระราชทานนามโดย สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เป็นกล้วยไม้ดิน สูง 10-25 ซม. แผ่นใบรูปไข่กว้าง มีเส้นใบขนานตามยาวประมาณ 8-10 เส้น และมีจุดประสีแดงอมม่วงทั่วไป ช่อดอกสูง 10-30 ซม. มีประมาณ 4-12 ดอก ดอก สีชมพูมีประ สีชมพูเข้ม กลีบข้างเป็นสีชมพูแกมขาว แผ่คล้ายหูค่อนข้างกลม สีเขียวแกมชมพู กลีบปากมีจุดประสีแดงหรือสีออกแดงแกมชมพู
ส่วนปลายแผ่เป็น 3 พูตื้นๆ ขนาดประมาณ 10-11 มม. เส้าเกสร เป็นก้อนใหญ่ งวงน้ำหวานเป็นหลอดยาวโค้ง ขนาดยาวประมาณ 11-14 มม. เป็นพืชชนิดใหม่ พบเฉพาะที่ดอยเชียงดาว ในประเทศไทย ที่ระดับความสูง 1,800–2,000 ม. ดอกบานช่วงเดือน เม.ย.-มิ.ย. นอกจากนี้ยังมี กล้วยไม้เอื้องศรีประจิม และ กล้วยไม้เอื้องศรีอาคเนย์ พันธุ์กล้วยไม้ที่สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงพระราชทานนามมาจัดแสดงในงานด้วย
|
|
กล้วยไม้ฟาแลนนอพซิส พรินเซสจุฬาภรณ์ |
|
|
|
กล้วยไม้ฟาแลนนอพซิส พรินเซสจุฬาภรณ์ กล้วยไม้พระนาม สมเด็จพระเจ้าลูกเธอเจ้าฟ้าจุฬาภรณ์วลัยลักษณอัครราชกุมารี เป็นกล้วยไม้พันธุ์ใหม่ ที่รัฐบาลสาธารณรัฐสังคมนิยมประชาธิปไตยศรีลังกา ได้ทูลเกล้าถวาย นามว่า "ฟาเลนนอพซิส พรินเซส จุฬาภรณ์” (Phalaenopsis Princess Chulabhorn) ซึ่งเกิดจากการผสมพันธุ์ของ Royal Botanical Garden Peradeniya ประเทศศรีลังกา เป็นลูกผสม Phalaenopsis Rose Miva กับ Phalaenopsis Kandy Queen ขึ้นทะเบียนลูกผสมใหม่จากราชสมาคมพืชสวน อังกฤษ เมื่อวันที่ 9 ส.ค. 2543
ลักษณะดอก มีขนาดดอกใหญ่ กลีบกว้างกลมมน เหมือนฟาเลนนอพซิสขนาดใหญ่พันธุ์อื่นๆ กล่าวคือ เส้นผ่าศูนย์กลางดอก ประมาณ 9 ซม. x 7.5 ซม. กลีบเลี้ยง (sepal) สองกลีบล่างยาวรี สีขาว มีจุดละเอียดสีเลือดหมูประอยู่ตั้งแต่โคนออกมาจนถึงบริเวณกึ่งกลางกลีบ ส่วนกลีบเลี้ยงกลีบบนที่เป็นรูปยาวรี กับกลีบดอก (petal) สองกลีบข้าง ที่เป็นรูปกลมใหญ่นั้น เป็นสีขาว โดยมีโคนกลีบเป็นสีชมพูอ่อน ซึ่งค่อย ๆ จางเรื่อลงไปจนกลืนกับสีขาว ให้ความรู้สึกสวยงามนุ่มนวล
|
กล้วยไม้หวาย พันธุ์ “โสมสวลี” พระนาม พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้า โสมสวลี พระวรราชาทินัดดามาตุ เป็นลูกผสมระหว่าง ต้นพ่อพันธุ์ “คอมแพ็คตั้ม โบตาบลู” (Dendrobium compactum BotaBlue) และ ต้นแม่พันธุ์ “ขาวธนิดาไวท์” (Dendrobium “Thanida White”) โดย นายสวง คุ้มวิเชียร (แอร์ออร์คิดส์) เป็นผู้ผสมพันธุ์
ให้ดอกครั้งแรก เดือนมกราคม 2546 ดอกมีสีม่วงครามอ่อน ดอกออกเป็นพวง และด้วยก้านช่อที่ไม่ยาวมาก จึงโดดเด่นและเหมาะสำหรับเป็นกล้วยไม้ประดับ ชนิดจัดโชว์ทั้งต้นและดอก เป็นกล้วยไม้ที่มีลายเส้นสีขาวอ่อนๆ แฝงอยู่ในกลีบดอกและมีคอดอกสีขาว เมื่อดอกเริ่มบานจะมีสีเข้มหลังจากดอกบานเต็มที่ทั้งช่อ สีม่วงของดอกจะสว่างขึ้น มีขนาดกะทัดรัด ความสูงของต้นและดอกเฉลี่ยประมาณ 40-50 ซม. ออกดอกเฉลี่ยมากกว่า 2 ครั้งต่อปี และได้รับประทานนามจากพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้า โสมสวลี พระวรราชาทินัดดามาตุ เมื่อวันที่ 15 พ.ค.2550
|
|
กล้วยไม้หวายพันธุ์ “โสมสวลี” |
|
|
นอกจากนี้ภายในงานได้จัดประกวดกล้วยไม้ 9 สกุลและกล้วยไม้ตัดดอกชิงถ้วยพระราชทานสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี และการประกวดกล้วยไม้ประเภทอลังการ ชิงถ้วยประทานพระองค์เจ้าโสมสวลี พระวรราชาทินัดดามาตุ
อีกทั้งยังมีการจัดแสดงนิทรรศการ สวนกล้วยไม้นานาชาติ ในรูปแบบของ International Pavilion เพื่อแลกเปลี่ยนวัฒนธรรมอันดี และความหลากหลายทางสายพันธุ์กล้วยไม้ระหว่างประเทศในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิค ซึ่งได้รับเกียรติจากสมาคมกล้วยไม้ประเทศ ไต้หวัน ญี่ปุ่น มาเลเซีย สิงคโปร์ และ จีน เข้าร่วมแลกเปลี่ยนข้อมูล ทางด้านวิชาการและเทคโนโลยีต่างๆ ระหว่างประเทศ เพื่อร่วมกันยกระดับวงการกล้วยไม้ของไทยสู่มาตรฐานระดับสากล พร้อมด้วยกิจกรรมต่างๆ อีกเพียบ
อาทิ ร่วมสานความสัมพันธ์อันดีระหว่างประเทศกับสวนกล้วยไม้นานาชาติแห่งเอเชีย ชมผลงานศิลปะ นิทรรศการภาพวาดจากปลายพู่กันของศิลปินชื่อดังที่ได้รับแรงบันดาลใจจากกล้วยไม้ และ workshop จัดกล้วยไม้จาก International flowers stylist ชื่อดัง ศิลปะการจัดกล้วยไม้จากโรงแรมชั้นนำ การจำหน่ายแสตมป์ โปสการ์ดคอลเลกชั่นกล้วยไม้พระนามและพระราชทานนามจากบริษัทไปรษณีย์ไทย จำกัด การจัดจำหน่ายกล้วยไม้ในราคาพิเศษจากเกษตรกรโดยตรง ฯลฯ
ทุกกิจกรรมมาตามนัดแน่นอน ระหว่างวันที่ 5-10 มิ.ย. นี้ ณ ศูนย์การค้าสยามพารากอ |
|
วันที่ 1 มิ.ย. 2552
Advertisement
เปิดอ่าน 7,143 ครั้ง เปิดอ่าน 7,143 ครั้ง เปิดอ่าน 7,144 ครั้ง เปิดอ่าน 7,135 ครั้ง เปิดอ่าน 7,142 ครั้ง เปิดอ่าน 7,141 ครั้ง เปิดอ่าน 7,139 ครั้ง เปิดอ่าน 7,154 ครั้ง เปิดอ่าน 7,145 ครั้ง เปิดอ่าน 7,140 ครั้ง เปิดอ่าน 7,140 ครั้ง เปิดอ่าน 7,151 ครั้ง เปิดอ่าน 7,145 ครั้ง เปิดอ่าน 7,138 ครั้ง เปิดอ่าน 7,141 ครั้ง เปิดอ่าน 7,159 ครั้ง
|
เปิดอ่าน 7,145 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,140 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,138 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,140 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,143 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,145 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,136 ☕ คลิกอ่านเลย |
|
≡ เรื่องน่าอ่าน/สาระน่ารู้ ≡
เปิดอ่าน 124,617 ครั้ง |
เปิดอ่าน 26,243 ครั้ง |
เปิดอ่าน 23,830 ครั้ง |
เปิดอ่าน 31,332 ครั้ง |
เปิดอ่าน 15,807 ครั้ง |
|
|