ค้นหาทุกอย่างในเว็บครูบ้านนอก :
ชุมชนครู บุคลากรทางการศึกษา และนักเรียน แหล่งความรู้สำหรับครู นักเรียน ข่าวการศึกษา ห้องสมุดความรู้ทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้ และความรู้ทั่วไป เผยแพร่ผลงานวิชาการ ที่นี่


ข่าวการศึกษา     ความรู้ทั่วไป     งานราชการ/รัฐวิสาหกิจ/บริการสังคมภาษาไทย  ▶ ข่าว/บทความ ▶ หน้าแรก

คำบุพบท


ภาษาไทย เปิดอ่าน : 52,520 ครั้ง
Advertisement

คำบุพบท

Advertisement

คำบุพบท เป็นคำที่ใช้หน้าคำนาม คำสรรพนาม หรือคำกริยาสภาวมาลา เพื่อแสดงความสัมพันธ์ของคำ และประโยคที่อยู่หลังคำบุพบทว่ามีความเกี่ยวข้องกับคำหรือประโยคที่อยู่ข้างหน้าอย่างไร เช่น
                    ลูกชายของนายแดงเรียนหนังสือไม่เก่ง แต่ลูกสาวของนายดำเรียนเก่ง
                    ครูทำงานเพื่อนักเรียน
                    เขาเลี้ยงนกเขาสำหรับฟังเสียงขัน
    ชนิดของคำบุพบท
    คำบุพบทแบ่งเป็น 2 ชนิด
         1.คำบุพบทที่แสดงความสัมพันธ์ระหว่างคำต่อคำ เช่น ความสัมพันธ์ระหว่างคำนามกับคำนาม คำนามกับคำสรรพนาม คำนามกับคำกริยา คำสรรพนามกับคำสรรพนาม คำสรรพนามกับคำกริยาคำกริยากับคำนาม คำกริยากับคำสรรพนาม คำกริยากับคำกริยา เพื่อบอกสถานการณ์ให้ชัดเจนดังต่อไปนี้  
                    - บอกสถานภาพความเป็นเจ้าของ
                       ฉันซื้อสวนของนายฉลอง                     ( นามกับนาม )
                       บ้านของเขาใหญ่โตแท้ๆ                        ( นามกับสรรพนาม )
                       อะไรของเธออยู่ในถุงนี้                     ( สรรพนามกับสรรพนาม )
                    - บอกความเกี่ยวข้อง
                       เธอต้องการมะม่วงในจาน                     ( นามกับนาม )
                              พ่อเห็นแก่แม่                                                ( กริยากับนาม )
                       ฉันไปกับเขา                                     ( กริยากับสรรพนาม )
                    - บอกการให้และบอกความประสงค์
                       แกงหม้อนี้เป็นของสำหรับใส่บาตร   ( นามกับกริยา )
                       พ่อให้รางวัลแก่ฉัน                            ( นามกับสรรพนาม )
                    - บอกเวลา
                        เขามาตั้งแต่เช้า                                  ( กริยากับนาม )                                              
                        เขาอยู่เมืองนอกเมื่อปีที่แล้ว               ( นามกับนาม )
                     - บอกสถานที่
                        เธอมาจากหัวเมือง                             ( กริยากับนาม )
                     - บอกความเปรียบเทียบ
                        เขาหนักกว่าฉัน                                 ( กริยากับนาม )
                        เขาสูงกว่าพ่อ                                     ( กริยากับนาม )
     2. คำบุพบทที่ไม่มีความสัมพันธ์กับคำอื่นส่วนมากจะอยู่ต้นประโยค ใช้เป็นการทักทาย มักใช้ในคำประพันธ์ เช่น ดูกร ดูก้อน ดูราช้าแต่ คำเหล่านี้ใช้นำหน้าคำนามหรือสรรพนาม
                     ดูกร ท่านพราพมณ์ ท่าจงสาธยายมนต์บูชาพระผู้เป็นเจ้าด้วย
                     ดูก่อน ภิกษุทั้งหลาย การเจริญวิปัสสนาเป็นการปฏิบัติธรรมของท่าน
                     ดูรา สหายเอ๋ย ท่านจงทำตามคำที่เราบอกท่านเถิด
                     ช้าแต่ ท่านทั้งหลาย ข้าพเจ้ายินดีมากที่ท่านมาร่วมงานในวันนี้
ข้อสังเกตการใช้คำบุพบท
1. คำบุพบทต้องนำหน้าคำนาม คำสรรพนาม หรือคำกริยาสภาวมาลา เช่น
            เขามุ่งหน้าสู่เรือน
            ป้ากินข้าวด้วยมือ
                ทุกคนควรซื่อสัตย์ต่อหน้าที่
2. คำบุพบทสามารถละได้ และความหมายยังคงเดิม เช่น
            เขาเป็นลูกฉัน                                     ( เขาเป็นลูกของฉัน )
            แม่ให้เงินลูก                                       ( แม่ให้เงินแก่ลูก )
            ครูคนนี้เชี่ยวชาญภาษาไทยมาก         ( ครูคนนี้เชี่ยวชาญทางภาษาไทยมาก )
3. ถ้าไม่มีคำนาม หรือคำสรรพนามตามหลัง คำนั้นจะเป็นคำวิเศษณ์ เช่น
             เธออยู่ใน                                             พ่อยืนอยู่ริม                                                
             เขานั่งหน้า                                          ใครมาก่อน
             ฉันอยู่ใกล้แค่นี้เอง
ตำแหน่งของคำบุพบท
ตำแหน่งของคำบุพยท เป็นคำที่ใช้นำหน้าคำอื่นหรือประโยค เพื่อให้รู้ว่าคำ หรือประโยคที่อยู่หลังคำบุพบท มีความสัมพันธ์กับคำหรือประโยคข้างหน้า ดังนั้นคำบุพบทจะอยู่หน้าคำต่างๆ ดังนี้
             1. นำหน้าคำนาม
                  เขาเขียนจดหมายด้วยปากกา
                  เขาอยู่ที่บ้านของฉัน
             2. นำหน้าคำสรรพนาม
                 เขาอยู่กับฉันตลอดเวลา
                 เขาพูดกับท่านเมื่อคืนนี้แล้ว
             3. นำหน้าคำกริยา
                 เขาเห็นแก่กิน
                 โต๊ะตัวนี้จัดสำหรับอภิปรายคืนนี้
             4. นำหน้าคำวิเศษณ์
                 เขาวิ่งมาโดยเร็ว
                 เธอกล่าวโดยซื่อ   


ที่มา http://www.yupparaj.ac.th


คำบุพบท

Advertisement

≡ เรื่องอื่นๆ ที่น่าอ่าน ≡

"เผยแผ่" กับ "เผยแพร่"

"เผยแผ่" กับ "เผยแพร่"


เปิดอ่าน 10,707 ครั้ง
หน้ามน-หน้ามล

หน้ามน-หน้ามล


เปิดอ่าน 80,099 ครั้ง
คำเรียกชื่อฤดูต่าง ๆ

คำเรียกชื่อฤดูต่าง ๆ


เปิดอ่าน 10,847 ครั้ง
ภาษาและอักษรไทย

ภาษาและอักษรไทย


เปิดอ่าน 21,919 ครั้ง
ประโยคเพื่อการสื่อสาร

ประโยคเพื่อการสื่อสาร


เปิดอ่าน 5,976 ครั้ง
"ข้าว" ในสมัยพุทธกาล

"ข้าว" ในสมัยพุทธกาล


เปิดอ่าน 27,342 ครั้ง
คำสันธาน

คำสันธาน


เปิดอ่าน 28,218 ครั้ง
คำราชาศัพท์

คำราชาศัพท์


เปิดอ่าน 590,599 ครั้ง
ภาษาเขียนและตัวอักษร

ภาษาเขียนและตัวอักษร


เปิดอ่าน 23,706 ครั้ง

:: เรื่องปักหมุด ::

ปล้นสะดม หรือ ปล้นสดมภ์  กันแน่

ปล้นสะดม หรือ ปล้นสดมภ์ กันแน่

เปิดอ่าน 81,845 ☕ คลิกอ่านเลย

Advertisement

≡ เรื่องน่าสนใจในหมวดหมู่นี้ ≡
การอ่านจับใจความสำคัญ
การอ่านจับใจความสำคัญ
เปิดอ่าน 204,423 ☕ คลิกอ่านเลย

หลักภาษาไทย ฉันทลักษณ์
หลักภาษาไทย ฉันทลักษณ์
เปิดอ่าน 65,371 ☕ คลิกอ่านเลย

สาระน่ารู้เกี่ยวกับ"คำนำหน้านาม"
สาระน่ารู้เกี่ยวกับ"คำนำหน้านาม"
เปิดอ่าน 56,632 ☕ คลิกอ่านเลย

คำเรียกตัวเลขทั้งสิบในภาษาไทย
คำเรียกตัวเลขทั้งสิบในภาษาไทย
เปิดอ่าน 203,142 ☕ คลิกอ่านเลย

คำนาม
คำนาม
เปิดอ่าน 44,381 ☕ คลิกอ่านเลย

เครื่องหมาย ฯ (ไปยาลน้อย หรือ เปยยาลน้อย)
เครื่องหมาย ฯ (ไปยาลน้อย หรือ เปยยาลน้อย)
เปิดอ่าน 3,606 ☕ คลิกอ่านเลย

≡ เรื่องน่าอ่าน/สาระน่ารู้ ≡

4 ประโยชน์ของอะโวคาโด กินอย่างไรให้ได้ประโยชน์มากที่สุด
4 ประโยชน์ของอะโวคาโด กินอย่างไรให้ได้ประโยชน์มากที่สุด
เปิดอ่าน 4,046 ครั้ง

พื้นฐานการรับรู้ของมนุษย์
พื้นฐานการรับรู้ของมนุษย์
เปิดอ่าน 12,865 ครั้ง

พบ ยีน ต้นเหตุชายโตเร็วกว่าหญิง แต่ส่งผลอายุขัยสั้นกว่า!
พบ ยีน ต้นเหตุชายโตเร็วกว่าหญิง แต่ส่งผลอายุขัยสั้นกว่า!
เปิดอ่าน 10,453 ครั้ง

อาจารย์เฉลิมชัย "ระบบการศึกษาประเทศไทย"
อาจารย์เฉลิมชัย "ระบบการศึกษาประเทศไทย"
เปิดอ่าน 16,006 ครั้ง

เรื่องจริงของสังคมโลก "สังคมก้มหน้า" ดูกันเลยว่าจริงไหม?
เรื่องจริงของสังคมโลก "สังคมก้มหน้า" ดูกันเลยว่าจริงไหม?
เปิดอ่าน 19,754 ครั้ง

เกมส์ รวมเกมส์สนุกๆ มากมาย
สนามเด็กเล่น

แหล่งรวมเกมส์ เกมส์ให้เล่นมากมาย ศูนย์รวมเกมส์สนุกๆ เกมส์ความรู้ เกมส์ลับสมอง เกมส์ประลองยุทธ แหล่งรวบรวมข้อมูล เกมส์ เกมส์ออนไลน์ เกมส์มันๆ เกมส์ตัดผม ไว้มากมายที่นี่ ให้เด็กๆได้เลือกเล่นมากมาย คลิกเลย

 
หมวดหมู่เนื้อหา
เนื้อหา แยกตามหมวดหมู่ สามารถเลืออ่านได้ตามหมวดหมู่ที่นี่


· Technology
· บทความเทคโนโลยีการศึกษา
· e-Learning
· Graphics & Multimedia
· OpenSource & Freeware
· ซอฟต์แวร์แนะนำ
· การถ่ายภาพ
· Hot Issue
· Research Library
· Questions in ETC
· แวดวงนักเทคโนฯ

· ความรู้ทั่วไป
· คณิตศาสตร์
· วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
· ภาษาต่างประเทศ
· ภาษาไทย
· สุขศึกษาและพลศึกษา
· สังคมศึกษา ศาสนาฯ
· ศิลปศึกษาและดนตรี
· การงานอาชีพ

· ข่าวการศึกษา
· ข่าวตามกระแสสังคม
· งาน/บริการสังคม
· คลิปวิดีโอยอดนิยม
· เกมส์
· เกมส์ฝึกสมอง

· ทฤษฎีทางการศึกษา
· บทความการศึกษา
· การวิจัยทางการศึกษา
· คุณครูควรรู้ไว้
· เตรียมประเมินวิทยฐานะ
· ผลงานวิชาการเล่มเต็ม
· เครื่องมือสำหรับครู

ครูบ้านนอกดอทคอม

เว็บไซต์เพื่อครู ข่าวการศึกษา ความรู้ การศึกษาไทย

      kroobannok.com

© 2000-2020 Kroobannok.com  
All rights reserved.


Design by : kroobannok.com


ครูบ้านนอกดอทคอม
การจัดอันดับของ Truehits Web Directory

วิธีนำแบนเนอร์ของครูบ้านนอก.คอมไปแปะในเว็บท่าน บันทึกภาพแบนเนอร์นี้และลิงค์มาที่เราครับ (มีแบนเนอร์ 2 แบบ)
 

ครูบ้านนอกดอทคอม เว็บไซต์ของครูตัวเล็กๆ คนหนึ่ง ที่หวังเพียง ใช้เป็นช่องทางในการสื่อสาร แลกเปลี่ยน เพิ่มพูนความรู้ และให้ข่าวสาร ที่ทันสมัยต่อเหตุการณ์แก่คุณครู ผู้ปฏิบัติงานในทุกพื้นที่ของประเทศไทย เพื่อความเจริญงอกงามในปัญญา และเจริญก้าวหน้าในวิชาชีพ

เว็บนี้ถือกำเนิดเมื่อ 5 มกราคม 2548

Email : kornkham@hotmail.com
Tel : 096-7158383

สนใจสนับสนุนเรา โดยลงโฆษณา
คลิกดูรายละเอียดที่นี่ครับ