ปัจจุบันเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ได้ก่อเกิดปัญหาด้านสุขภาพ ครอบครัว อุบัติเหตุและอาชญากรรม ซึ่งเป้นผลกระทบต่อสังคมและเศรษฐกิจโดยรวมของประเทศ รัฐจึงกำหนดมาตรการต่าง ๆ ในการควบคุม รวมทั้งการบำบัดรักษาหรือฟื้นฟู เพื่อช่วยลดปัญหาและผลกระทบดังกล่าว ยังช่วยสงเสริมสุขภาพของประชาชน ตลอดจนช่วยป้องกันเด็กและเยาวชนมิให้เข้าถึงเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ได้ง่าย นี่คือเหตุผลการออก พ.ร.บ.ควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ พ.ศ.๒๕๕๑
ระยะนี้เราจะไม่เห็นคนนั่งตั้งวงดื่มเหล้าในสวนสาธารณะ ตามวัด สถานศึกษา สถานที่ราชการ และตามสถานีบริการน้ำมันต่าง ๆ เหมือนแต่ก่อน โดยเฉพาะตามวัด แต่ก่อนไม่ว่าจะมีงานผ้าป่าสามัคคี งานกฐิน แม้งานบวชก็จะมีคนดื่มเหล้าให้เห็นอยู่เนื่อง ๆ แต่หลังจาก พ.ร.บ.ควบคุมเครื่องดื่มฯมีผลบังคับ ภาพดังกล่าวก็ลดน้อยลง
ตาม พ.ร.บ.ควบคุมเครื่องดื่มฯ ได้ห้ามมิให้ผู้ใดบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในสถานที่ หรือบิเวณดังต่อไปนี้คือ (มาตรา ๓๑)
๑. วัด หรือสถานที่สำหรับปฎิบัติพิธีกรรมทางศาสนา เว้นแต่เป็นส่วนหนึ่งของพิธีกรรมทางศาสนา
๒. สถานบริการสาธารณสุขของรัฐ สถานพยาบาล ยกเว้นบริเวณที่จัดไว้เป็นที่พักส่วนบุคคล
๓. สถานที่ราชการ ยกเว้นบริเวณที่จัดไว้เป็นที่พักส่วนบุคคล หรือสโมสร หรือการจัดเลี้ยงตามประเพณี
๔.สถานศึกษา ยกเว้นบริเวณที่จัดไว้เป็นที่พักส่วนบุคคล หรือสโมสร หรือการจัดเลี้ยงตามประเพณี
๕. สถานีบริการน้ำมันเชื้อเพลิง รวมทั้งร้านค้าในบริเวณดังกล่าวด้วย
๖. สวนสาธารณะของทางราชการที่จัดไว้เพื่อการพักผ่อนของประชาชนทั่วไป
๗. สถานที่อื่นที่รัฐมนตรีประกาศ
หากผู้ใดฝ่าฝืนต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหกเดือน หรือปรับไม่เกินหนึ่งหมื่บาท หรือทั้จำทั้งปรับ
...นักเลงสุราบาลทั้งหลายจะดื่มทั้งที อย่าดื่มผิดที เดี่ยวจะมีโทษตามกฎหมาย จะหาว่าไม่เตือน..!!!