สุราเป็นบ่อเกิดปัญหาหลายอย่าง เป็นสาเหตุเกิดโรคภัย เกิดการทะเลาะวิวาท การก่ออาชญากรรม ทำให้ครอบครัวแตกแยก ทำให้เด็กเสียตัว เสียเวลา เสียอนาคตและผลเสียอื่น ๆ อีกมากมาย
สุรา หาซื้อง่าย ขายคล่อง มีอยู่ทุกมุม มีคนตั่งวงนั่งดื่มให้เห็น มีคนเมาสุราเดินโซเซอยู่ไปทั่ว งานใดไม่มีสุราให้ดื่ม งานนั้นก็หาคนมาช่วยงานได้ยาก
แม้แต่งานบุญ งานบวชนาค งานแต่งงาน บางงานเจ้าภาพก็หมดสภาพเพราะสุรา นาคบางคนต้องอุ้มเข้าโบสถ์ เจ้าบ่าวบางคนเจ้าสาวต้องพยุงเข้าเรือนหอ ก็มีให้เห็น
เยาวชนจึงเห็นภาพการดื่มสุราตั้งแต่เล็ก ๆ เห็นผู้ปกครองที่บ้านดื่มให้เห็น พ่อ พี่ วานไปซื้อสุราให้ ไปที่ไหนก็มีคนดื่มุราให้เห็น แม้แต่ในละคร การดื่มสุราของคนไทยจึงเป็นเรื่องปรกติไป ใครไม่ดื่มจึงเป็นเรืองผิดปรกติ
ชายไทยคนใดดื่มสุราไม่เป็น ก็ถูกตราหน้าว่า"... หน้าตัว...ไปเกิดเป็นผู้หญิงไป เกิดมาทำไม เสียชาติเกิด..." คนที่ไม่ดื่มสุรา จึงกลายเป็นคนไม่มีเพื่อนฝูง ไม่มีใครอยากคบ เพราะกลายเป็นคนประเภท "ครึ่งพระครึ่งคน " ไป
สุราจึงเป็นส่วนหนึ่งของสังคมไทย แม้จะเซ่นไหว้บรรพบุรุษ เจ้าที่ ผีบ้านผีเรือน หรือพิธีสำคัญต่าง ๆ ก็ต้องมีสุรามาเป็นเครื่องเซ่นด้วย และเหนือสิ่งอื่นใด วันปีใหม่ วันเกิดและวันสำคัญต่าง ๆ มีการนำสุรามามอบให้เป็นของขวัญให้อีกต่างหาก
ในขณะเดียวกันด้านศาสนา พระท่านก็สอนให้พุทธศาสนิกชนรักษาศีล ๕ ให้สมบูรณ์ หากศีลบกพร่องความเป็นคนก็ลดน้อยลง และข้อที่ ๕ ก็บัญญัติ ให้ละเว้นจากการดื่มสุรายาเมา ยาบ้า แต่หน้าวัด ข้างวัด และหลังวัดมีร้านขายสุราอยู่ ออกจากวัดมายังกลับไม่ถึงบ้าน ศีลขาดอยู่ข้างวัดเสียแล้ว...ความเป็นคนจะเหลือเท่าใด
ด้านรัฐเองก็มีมาตรการออกมาบังคับ ได้แก่พระราชบัญญัติควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ พ.ศ. ๒๕๕๑ ออกมาบังคับใช้ โดยมีผลตั้งแต่วันที่ ๑๔ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๑ ซึ่งกฎหมายดังกล่าว ได้มีข้อห้ามไว้หลายอย่างซึ่งเกี่ยวข้องกับเยาวชนโดยตรง เช่น
- ห้ามขายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในบริเวณที่สำคัญ เช่น วัด สถานศึกษา หอพัก สถานที่ราชการ สถานบริการสาธารณสุข สถานพยาบาล สถานีบริการน้ำมันเชื้อเพลิง และสวนสาธารณะของทางราช(มาตรา ๒๗)
- ห้ามมิให้ขายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ให้แก่บุคคลซึ่งมีอายุต่ำว่ายี่สิบปีบริบูรณ์ และ บุคคลที่มีอาการมึนเมาจนครองสติไม่ได้ (มาตรา ๒๙)
- ห้ามขายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์โดยวิธีการหรือลักษณะใช้เครื่องขายอัตโนมัติ การเร่ขาย การลดราคา ให้แลกแจกแถม เพื่อประโยชน์ในการส่งเสริมการขาย (มาตรา ๓๐)
ผลจากการใช้กฎหมายดังกล่าวเมื่อครบ ๑ ปีกว่าที่ผานมา ปรากฏว่า
" ไม่เห็นผลอะไรดีขึ้น ร้านขายเหล้า และนิสิตนักศึกษาดื่มเหล้ามากขึ้น และที่เป็นเรื่องน่าตกใจมาก เคยให้เยาวชนอายุต่ำกว่า ๒๐ ปี ไปซื้อเหล้า ก็สามารถซื้อได้ โดยไม่มีการตรวจบัตรประชาชนแต่อย่างใด ซึ่งผิดกฎหมายชัด ๆ แต่ไม่มีใครไปบังคับใช้กฎหมาย ทั้งนี้ เรื่องเหล้าเป็นต้นเหตุของปัญหาอื่น ๆ ตามมามากมาย ทั้งอุบัติเหตุ เสียคน เสียตัว ทะเลาะวิวาท และอนาคตของชาติเมาอย่างหนัก เพราะขายเหล้ากันอย่างไม่มีขอบเขต " เป็นคำกล่าวของรองอธิการบดีฝ่ายการนักศึกษา (มธ.) สะท้อนให้เห็นถึงการใช้กฎหมายฉบับดังกล่าว
...กฏหมายจะบัญญัติไว้ดีแค่ไหน ถ้าคนไม่ปฎิบัติตตาม ผู้มีอำนาจไม่บังคับใช้ กฏหมายนั้นก็ไร้ซึ่งความศักดิ์...จึงเป็นหน้าที่ของทุกคนที่จะต้องปฎิบัติตามกฎหม