Advertisement
เล่านิทาน" ท่าไหน...ดึงใจเด็กให้นั่งฟัง?
ที่มา :ASTVผู้จัดการออนไลน์
วันที่ 12 พฤษภาคม 2552 09:28 น.
ข่าวโดย อาสาสมัครICT
|
ไม่มีใครปฏิเสธว่า "นิทาน" เป็นสิ่งที่ผู้เขียน คิด และถ่ายทอดจินตนาการออกมาได้อย่างน่ามหัศจรรย์
เป็นเรื่องราวที่แฝงแง่คิด และสามารถบำบัดพฤติกรรมให้กับเด็กได้อย่างแยบยล ทำให้ทั้งภาครัฐ
สถาบันการศึกษา และสถาบันครอบครัว หรือหน่วยงานอื่นๆ ต่างให้ความสำคัญกับหนังสือนิทานกัน
มากขึ้น
แต่การจะใช้นิทาน 1 เล่ม ให้คุ้มค่า และเกิดประสิทธิผลในเด็กแต่ละคนนั้น ไม่ใช่เรื่องง่าย เนื่องจากต้อง
เตรียมตัว และทำความเข้าใจกับเรื่องให้ชัดเจน นอกจากนี้ขณะเล่ายังต้องใช้ท่าทางประกอบให้เหมาะสมอีกด้วย
เพราะมีส่วนในการตัดสินว่า เด็กสนใจหรือไม่สนใจ เบื่อหรือไม่เบื่อ และจะติดตามฟังกระทั่งนิทานจบหรือไม่
ทำให้เมื่อเร็วๆ นี้ ทางทีมงาน Life and Family ได้มีโอกาสไปนั่งฟัง "อ.มู-ชัยฤทธิ์ ศรีโรจน์ฤทธิ์"
บรรณาธิการสำนักพิมพ์ Hello Kids และนักเขียน-เล่านิทานเด็ก ในหัวข้อ "ใช้นิทานอย่างไรให้คุ้มค่า" ณ อุทยาน
การเรียนรู้ TK Park ศูนย์การค้าเซ็นทรัลเวิล์ด จึงได้เก็บตกสาระ และนำมาส่งต่อให้ได้อ่านกันครับ
"พี่มู-ชัยฤทธิ์" ของเด็กๆ บอกว่า นิทานมีความพิเศษ สามารถเชื่อมโยง หรือบูรณาการการสอนได้หลาย
แขนงวิชา ไม่ว่าจะเป็น คณิตศาสตร์ อาทิ สอนให้ลูกนับจำนวนตัวละครที่อยู่ในนิทาน หรือเวลาพลิกเปิดไปอีกหน้า
ก็สามารถบอกลูกได้ว่า หน้านี้เป็นหน้าที่เท่าไหร่ หรือวิชาภาษาไทย เป็นการเพิ่มคำศัพท์ให้ลูก มีประโยชน์ใน
เรื่องการสื่อสาร หรือการเน้นคำคล้องจอง ทำให้เด็กจำคำศัพท์ และมีคลังศัพท์ไว้สื่อสารมากขึ้น
สำหรับ "ท่า" หรือ ลักษณะที่ใช้เล่านิทานที่ดี "พี่มู" ให้คำแนะนำตามประสบการณ์ว่า ท่าที่เหมาะสมสำหรับคุณ
พ่อ คุณแม่ ต้องเป็นท่าที่อุ้มลูกนั่งบนตัก เพราะลูกจะเห็นภาพเหมือนกันกับที่พ่อแม่กำลังเล่า ถ้านั่งตรงกันข้ามกับ
เด็ก อาจทำให้เขาเกิดความสับสนได้ว่า "เอ๊ะ ไหนแม่บอกไก่อยู่ทางขวามือ แต่หนูเห็นอยู่ทางซ้ายมือนะ" เป็นต้น
"นอกจากท่าอุ้มตักจะช่วยให้เข้าใจเรื่องได้ตรงกันแล้ว ยังเกิดความอบอุ่น และสายใยแห่งรัก
ระหว่างพ่อแม่ลูกอีกด้วย นี่คือความมหัศจรรย์ของนิทาน" พี่มูบอกถึงประโยชน์ของนิทาน
อย่างไรก็ดี เมื่อเด็กมีจำนวนมากขึ้น โดยเฉพาะครอบครัวที่มีลูกเล็กอายุใกล้เคียงกันตั้งแต่ 3 คนขึ้นไป หรือ
โรงเรียนอนุบาล ที่ต้องควบคุมเด็กจำนวนมาก การใช้ท่าแบบนั่งตักในการเล่านิทานคงจะไม่สะดวกนัก "พี่มู" จึง
แนะนำท่าที่เหมาะสมในการเล่านิทานตามแบบฉบับของพี่เขา ดังนี้
- ขณะเล่า ควรตั้งนิทานให้ขนาบอยู่บนใบหน้า (แต่อย่าบังหน้า) แล้วกระจายไปให้ทั่ว เพื่อให้เด็กได้เห็นเท่า
เทียมกันหมด จากนั้นชี้นิ้วตามคำไปด้วย จุดนี้มีความสำคัญมากในการจดจำคำศัพท์ของเด็ก เช่น ผู้เล่าชี้นิ้วไปที่
คำว่า "โอ่ง" เด็กก็จะรู้ว่า "อ๋อ โอ่งเขียนแบบนี้" เพราะจากประสบการณ์ ผู้เล่ามักจะเล่า และอ่านให้เด็กฟังเพียง
อย่างเดียว โดยไม่ชี้นิ้วตาม ทำให้เด็กเข้าใจ และจินตนาการว่านั่นคือ โอ่ง แต่จะเขียนคำว่าโอ่งไม่เป็น
- ถ้าเด็กนั่งเก้าอี้ ต้องกะระยะในการยืนให้เหมาะสม หรือถ้าเด็กนั่งพื้น ผู้เล่าต้องมีจังหวะในการเดินเข้าออก
ในมุมมองที่พอดี และอย่าลืมเด็กด้านซ้าย-ขวาด้วย ไม่ใช่สนใจแต่เด็กที่นั่งอยู่ตรงกลางเพียงอย่างเดียว ฉะนั้น
สายตาจึงสำคัญ
*** สำหรับท่าที่ไม่ควรใช้เล่านิทาน ต่อเด็กจำนวนมาก คือ ไม่ควรชูนิทานขึ้นเหนือใบหน้ามากเกิน
ไป เพราะเข้าใจว่าจะทำให้เด็กเห็นได้ทั่วถึง แต่นั่นอาจจะทำให้เด็กเริ่มลดความสนใจลงได้ เนื่องจาก
เมื่อยคอดูนิทานในมือคนเล่าแล้ว
*** ท่าที่สองคือ เอานิทานไว้ตรงท้อง นั่นจะทำให้ผู้เล่า อ่านตัวอักษรในนิทานไม่สะดวก เพราะ
ต้องก้มลงมาอ่าน รวมถึงลดความสนใจกับเด็ก ทำให้เด็กเริ่มรู้สึกว่า พ่อแม่ หรือครูไม่สนใจเขา และการ
คุยนอกเรื่องของเด็กจะตามมา
ก่อนจะแยกย้ายกลับบ้าน "พี่มู" ได้ฝากเคล็ดลับ "การใช้นิทานสำหรับเด็กปฐมวัย" ให้คุ้มค่ากับทีมงาน
Life and Family ไว้เป็นข้อๆ ดังนี้
1. พ่อแม่หรือคุณครูต้องเตรียมอ่านนิทานมาก่อน เพื่อเข้าใจเนื้อเรื่อง และควรฝึกอ่านออกเสียงด้วย
ตัวเอง
2. แนะนำหนังสือ อ่านชื่อเรื่อง ผู้แต่ง ผู้แปล และผู้วาดภาพ ประกอบให้เด็กๆ รู้จัก เพื่อให้เด็กรู้จัก
ลิขสิทธิ์ในการทำนิทาน ว่านิทานแต่ละเรื่องมีเจ้าของ ตลอดจนองค์ประกอบของหนังสือ ว่าแต่ละส่วนมีอะไรบ้าง
เช่น "นี่ปกหน้านะลูก นี่สันหนังสือนะจ๊ะ" เป็นต้น
3. ใช้น้ำเสียงที่น่าฟัง ออกเสียงถูกต้อง ชัดเจนเป็นธรรมชาติ ไม่ทำเสียงสูง หรือต่ำจนเกินไป
เพราะจะทำให้เหนื่อย หรือควบคุมเสียงได้ไม่เหมือนเดิม ทำให้เด็กเกิดความสับสนว่า "ตัวละครตัวไหน เป็นตัว
ไหนกันแน่"
4. บางครั้งระหว่างการอ่าน อาจมีการหยุดสอดแทรกคำถามด้วยจะดึงดูดเด็กได้มาก เช่น คำถาม
ระหว่างการเล่านิทาน และคำถามหลังการเล่านิทาน การใช้คำถามต้องเป็นคำถามปลายเปิด แต่ต้องพิจารณาให้
เกิดความเหมาะสม
จะเห็นได้ว่า การใช้นิทาน 1 เล่มให้คุ้มค่า นอกจากจะเตรียมตัวมาดีแล้ว คนเล่าจะต้องมีท่าในการ
เล่านิทานอย่างเหมาะสมด้วย จึงจะดึงความสนใจในการฟังนิทานของเด็กได้ดีขึ้นตามไปด้วย ทางทีม
งานขอสนับสนุนให้ทุกครอบครัวรักการอ่านนะคะ |
วันที่ 31 พ.ค. 2552
Advertisement
เปิดอ่าน 7,140 ครั้ง เปิดอ่าน 7,142 ครั้ง เปิดอ่าน 7,143 ครั้ง เปิดอ่าน 7,135 ครั้ง เปิดอ่าน 7,137 ครั้ง เปิดอ่าน 7,543 ครั้ง เปิดอ่าน 7,148 ครั้ง เปิดอ่าน 7,150 ครั้ง เปิดอ่าน 7,137 ครั้ง เปิดอ่าน 7,140 ครั้ง เปิดอ่าน 7,146 ครั้ง เปิดอ่าน 7,150 ครั้ง เปิดอ่าน 7,144 ครั้ง เปิดอ่าน 7,138 ครั้ง เปิดอ่าน 7,141 ครั้ง เปิดอ่าน 7,142 ครั้ง
|
เปิดอ่าน 7,138 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,137 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,142 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,170 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,136 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,163 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,137 ☕ คลิกอ่านเลย |
|
≡ เรื่องน่าอ่าน/สาระน่ารู้ ≡
เปิดอ่าน 13,850 ครั้ง |
เปิดอ่าน 41,371 ครั้ง |
เปิดอ่าน 131,843 ครั้ง |
เปิดอ่าน 28,881 ครั้ง |
เปิดอ่าน 16,020 ครั้ง |
|
|