ประเพณี การบูชาเสาอินทขิล หรืองานบูชาเสาหลักเมืองเชียงใหม่
และงานใส่ขันดอกไม้บูชาสมโภชเสาหลักเมืองเชียงใหม่
เป็นประเพณีที่ชาวล้านนาปฏิบัติสืบทอดกันมาเป็นเวลานาน
การทำพิธีสักการบูชาเสาหลักเมือง เสาอินทขิล เพราะนอกจากจะเป็นเสาหลักเมืองแล้ว ยังนับได้ว่าเป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์คู่บ้านคู่เมืองเชียงใหม่ และยังเป็นที่ สักการบูชา ถือว่าเป็นที่รวมของวิญญาณของคนเมืองเหนือ
และบรรพบุรุษ การบูชาเสาอินทขิลจะจัดขึ้นในช่วงเข้าสู่ฤดูฝนเป็นประจำทุกปี
ชาวบ้านยึดเอาการเข้าอินทขิลในวันแรม 12 ค่ำ เดือน 8 เหนือ
และออกอินทขิลในวันขึ้น 4 ค่ำ เดือน 9 เหนือ
หรือเรียกว่า เดือน 8 เข้าเดือน 9 ออก เพื่อความเป็น
สิริมงคลของชาวล้านนา
ชาว เชียงใหม่มีความเชื่อว่า เมื่อสักการบูชาเสาอินทขิลแล้ว บ้านเมืองจะ
พ้นภัยพิบัติและมีความเจริญรุ่งเรืองขึ้น จึงเป็นประเพณีสักการบูชามาตราบ
กระทั่งทุกวันนี้สำหรับ กำหนดงานพิธีบูชาเสาอินทขิลในปีนี้ มีถึงวันที่ 27 พฤษภาคม หลังจากออก จากอินทขิล อีก 8 วันก็จะมีพิธีสืบชะตาเมืองเชียงใหม่ต่อไป
คำว่าอินทขิลแปลว่า หลักเมือง หรือแปลว่า เสาเขื่อนก็ได้ เพราะตั้งมั่น
และเป็นศูนย์กลางของเมืองเชียงใหม่ ประดุจเสาหลักที่มีความมั่นคง
หลักอินทขิลนี้สร้างด้วยไม้ซุงต้นใหญ่ ฝังอยู่ใต้ดิน มีพระพุทธรูป ปางขอฝน หรือ พระคันธารราษฎร์ ประดิษฐาน ไว้บนเสาอินทขิล อีกด้วย
ซึ่งเป็นสัญญลักษณ์ที่สำคัญในทาง พระพุทธศาสนา เป็นเครื่องยึดเหนี่ยวจิตใจของปวงชน ให้ตั้งมั่นอยูในศีลธรรมเสมือนเป็นหลัก สำหรับที่พึ่งของจิตใจ
เสาอินทขิล(เสาที่พระอินทร์ประทานให้) เป็นเสาหลักบ้าน หลักเมือง คู่บ้าน
คู่เมือง เชียงใหม่ เป็นที่เคารพสักการะ และนับถือว่า เป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์ เป็นที่รวมวิญญาณของชาวเมือง และบรรพบุรุษ ในอดีต เป็นปูชนียสถาน สำคัญของเมืองเชียงใหม่
ประวัติของ เสาอินทขิลนี้ตามตำนานกล่าวเอาไว้ว่า พระยาอินทร์ใช้ให้
กุมภัณฑ์ทั้ง 2 องค์ เอาลงมาให้เพราะว่าบ้านเมืองเกิดเหตุเภทภัยต่าง ๆ คนไม่มีศีล
ไม่มีสัตย์ เดือดร้อนถึงพระอินทร์จึงได้นำเอาเสาอินทขิลลงมาให้โดยให้กุมภัณฑ์ทั้ง
สองนำใส่สาแหลกลากมาเอาฝังไว้กลางเมืองเชียงใหม่ สมัยก่อนอยู่ที่วัดสะดือเมือง
สมัยเมื่อ 200-300 ปี อยู่ที่วัดสะดือเมืองจนกระทั่งถึงสมัยสงครามโลกครั้งที่สอง ได้
ย้ายมาไว้ที่นี่
สมัยก่อนผู้หญิงจะเข้าใกล้ ๆ ได้ ต่อมาเราเรียกกันว่าเสาอินทขิล และมีการ
บูรณะซ่อมแซมบริเวณให้กว้างขึ้น ผู้หญิงเลยขึ้นไปสักการะไม่ได้ เนื่องจากว่าเป็น
สถานที่ศักดิ์ ถ้าอธิษฐานจิตให้ดีก็จะได้มาอย่างที่อธิษฐานไว้ จึงถือว่าเป็นสถานที่
ศักดิ์สิทธิ์ก็เลยห้ามผู้หญิงขึ้น จึงได้มีการสักการะตลอดมา
**ขอบพระคุณรูปเสาอินทขิลและประวัติการบูชาเสาอินทขิลจากคุณ nai surathai www.chiangmai.com*
ในตอนกลางวันและกลางคืนจะมีพิธีใส่ขันดอก ซึ่งเป็นพิธีที่กระทำต่อจากการจุดธูปเทียน บูชาอินทขิล
ทางวัดจะได้เตรียมพานเรียงไว้เป็นจำนวนมากเพื่อให้ประชาชนนำดอกไม้ ที่ตนเตรียมมา ไปวาง
ในพาน (ขัน) จนครบ เหมือนกับการใส่บาตรดอกไม้
การถวายดอกไม้เป็นการแสดงความเคารพบูชาแก่เสาอินทขิล กุมภัณฑ์ฤาษี และ
พระรัตนตรัย
นอกจากเปิดวิหารอินทขิลให้ผู้ชายขึ้นไปสักการะ(ซึ่งปกติจะปิดไว้ และห้ามไม่ให้สุภาพ
สตรีขึ้นไปข้างบนวิหารด้วย) จัดพาน รับดอกไม้แล้ว ทางวัดยังได้จัดเตรียมบาตร 7 ลูก วางไว้
หน้าพระพุทธรูปประจำวันเกิดทั้ง 7 วัน
ขอบคุณการนำเที่ยว ของคณะพี่ ๆ ป้า ๆ จากhttp://www.oknation.net/blog/youngmomy