Advertisement
ชื่อบทความวิจัย เล่าเรื่องผลการวิจัยที่เก็บตกเล็ก ๆ น้อย ๆ |
|
ชื่อบทความภาษาอังกฤษ |
|
ชื่อผู้เขียน |
ดร.พจน์ สะเพียรชัย , |
เนื้อหา |
|
การวิจัยในทางการศึกษาอาจจะแยกพิจารณากว้าง ๆ ได้เป็น 2 ประเภทใหญ่ ๆ คือ
การวิจัยเพื่อการตัดสินใจ การบริหารและกำหนดนโยบาย ซึ่งอาจจะเรียกว่า “D-Study” อีกประเภทหนึ่ง เป็นการวิจัยเพื่อเสาะแสวงหาความรู้ความจริง เพื่อเสริมสร้างกฎเกณฑ์และทฤษฎี เพื่อประโยชน์ในการอธิบายทำนายและควบคุมปรากฏการณ์ทางการศึกษาในฐานะเป็นศาสตร์หนึ่ง การวิจัยประเภทนี้ เรียกว่า “G-Study”
ในช่วง 10-20 ปีที่ผ่านมานี้ นักเศรษฐศาสตร์ นักสังคมวิทยาสนใจที่จะวิเคราะห์วิจัยการศึกษามากขึ้น และก็มักจะเป็นผู้นำรูปแบบการวิจัยมาเป็นแนวทางให้ขบคิดกัน รูปแบบหนึ่งซึ่งเป็นที่นิยมกันแพร่หลายมากก็คือ Educational Production Function (E.P.F.) หลายสิบประเทศในโลกนี้ ก็ใช้รูปแบบนี้เป็นแม่บทในการวิจัย โดยมีเจตนารมณ์ที่จะอธิบายถึงตัวแปรที่จะสัมพันธ์กับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียน ผลจากการทบทวนงานวิจัยใน 30 ประเทศที่ใช้ระบบนี้ปรากฏผลตรงกันและน่าสนใจอยู่ก็มีมาก และปรากฏผลที่ขัดแย้งก็มีมากดังจะขอยกมาพอสังเขปที่สำคัญที่เกี่ยวกับนโยบาย ดังนี้
- จำนวนนักเรียนในแต่ละชั้นที่เพิ่มขึ้นจาก 20 ถึง 30 คนนั้น ไม่กระทบกระเทือนถึงคุณภาพและผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียน แต่มักจะเกี่ยวกับความไม่พอใจของครูที่จะสอนเด็กในชั้นที่มีจำนวนมากขึ้น
- แบบเรียนที่ผ่านการทดลองทั้งรูปแบบ การเสนอเนื้อหา ขนาดตัวอักษร และความยากง่ายของคำนั้น มีความสัมพันธ์กับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียน
- เด็กที่ใช้เวลาทำการบ้านเสมอ ๆ มักจะเป็นผู้ที่มีผลสัมฤทธิ์ในการเรียนดีขึ้นเรื่อย ๆ
- คุณวุฒิของครูอย่างเดียวไม่เป็นตัวชี้ถึงผลสัมฤทธิ์ของนักเรียน แต่ครูที่มีคุณวุฒิสูง บรรยากาศในการทำงานดี มีสภาวะแวดล้อมอื่น ๆ เช่น ตำราแบบเรียนและระบบบริหารที่ดีมักจะมีผลทำให้ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนสูงขึ้น ดังนั้น การผลิตครูที่วุฒิสูง ๆ แล้วไม่มีอุปกรณ์และเครื่องอำนวยทางการศึกษาอื่น ๆ นั้น ครูผู้นั้นก็ไม่สามารถจะทำการสอนได้ดี ต่างไปจากครูที่ไม่มีวุฒิแต่ประการใดเลย
- ประสบการณ์หรือจำนวนปีในการสอน ไม่ชี้ให้เห็นเด่นชัดว่าสัมพันธ์กับผลสัมฤทธิ์ของนักเรียน
- จำนวนปีในการฝึกหัดครูก็ไม่ปรากฏว่าเป็นตัวชี้ที่เด่นชัดถึงผลสัมฤทธิ์ของนักเรียน
- ฐานะเศรษฐกิจของนักเรียนเป็นดัชนีที่สำคัญและสัมพันธ์กับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน
- สุขภาพ อนามัย อาหารของนักเรียนสัมพันธ์กับผลการเรียนสูง และสัมพันธ์กับฐานะเศรษฐกิจของครอบครัวด้วยเช่นกัน ดังนั้น จึงอาจกล่าวได้ว่าฐานะเศรษฐกิจนั้นอาจจะไม่เกี่ยวข้องโดยตรงกับผลการเรียน แต่เป็นตัวชี้ถึงความมั่งคั่งมั่นคงทางการเงินของครอบครัว
- นักเรียนที่ตกซ้ำชั้นมีแนวโน้นจะตกอีกและเรียนได้ผลต่ำเสมอ ๆ
ผลการวิจัยที่นำสรุปมาสั้น ๆ นี้ชี้แนวนโยบายอะไรบ้าง อย่างน้อยที่สุดผู้วางแผนก็คงจะมีความสบายใจที่จะกำหนดนโยบายให้มีชั้นเรียนที่มีนักเรียนไม่น้อยเกินไป แต่ครูนั้นจะต้องเอาใจใส่ให้การบ้านสม่ำเสมอ แบบเรียนและอุปกรณ์การศึกษานั้นต้องมีการปรับปรุงทดลองแก้ไข เพื่อให้สอดคล้องกับพัฒนาการของเด็ก ทั้งในแง่ของเนื้อหาสาระและวิธีการจัดเสนอ จะต้องมีการปรับปรุงสุขภาพอนามัย อาหาร การอบรมเลี้ยงดูเด็กเล็กหรือเด็กก่อนวัยเรียนให้พร้อมวัสดุอุปกรณ์ หลักสูตรจะต้องมีการพัฒนากันอย่างจริงจัง และให้ถึงมือเด็กผู้ใช้ให้มากที่สุดที่จะทำได้ ทั้งนี้การปรับปรุงคุณภาพของการศึกษานั้น ถ้ามุ่งผลิตครูให้มีคุณวุฒิสูงขึ้นแต่เพียงอย่างเดียวโดยละเลยอุปกรณ์ แบบเรียน และบรรยากาศการเรียนการสอนที่ดีแล้ว ก็ยากที่จะหวังผลการศึกษาให้เด็กมีคุณภาพได้
การวิจัยในลักษณะที่กล่าวแล้วนั้นเป็นการวิจัยเชิงนโยบาย เพียงแต่ชี้ให้เห็นกว้าง ๆ แต่ไม่สามารถจะชี้ถึงสาเหตุที่แท้จริงได้ มีท่านผู้รู้หลายคนชี้ให้เห็นว่า การวิจัยทำนองนี้ควรจะทำทุก ๆ 4-5 ปีเป็นระยะ ๆ ไป เพื่อตรวจสอบแนวโน้มกว้าง ๆ แต่การวิจัยที่จำเป็นและต้องทำให้ลึกซึ้งคือ การวิจัยประเภทที่สอง (G-Study) ซึ่งเป็นการทดลอง และมีแนวโน้มใหม่เกิดขึ้นในหลายประเทศที่จะทำร่วมกัน โดยอาศัยรูปแบบการวิจัยคล้าย ๆ กันอีก คือ มีสมมุติฐานกว้าง ๆ ว่า
คุณภาพในการเรียนของผู้เรียนขึ้นอยู่กับตัวแปรหลายอย่าง แต่ที่เลือกสรรแล้วเห็นว่ามีความสำคัญมาก คือ
- ความรู้เดิมของผู้เรียน อันได้แก่ ความรู้พื้นฐานที่จะช่วยเป็นอุปกรณ์ของความคิดในสถานการณ์ที่เป็นการเรียนใหม่ เมื่อความรู้เดิมมีความเกี่ยวโยงกับเรื่องใหม่แน่นแฟ้นมากเท่าใด ก็จะทำให้การเรียนนั้นได้ผลดี และมีประสิทธิภาพมากขึ้น ดังนั้นถ้าสมมุติฐานนี้เป็นความจริง ผู้สอนก็มีหน้าที่จะต้องค้นหาความรู้เดิมของผู้เรียนในส่วนที่จำเป็นและเกี่ยวข้องจริง ๆ และขาดมิได้กับบทเรียนใหม่ ถ้านักเรียนยังไม่มีก็ต้องสอนซ่อมเสริมให้ จึงทำให้การเรียนได้ผล
- ความสามารถและความถนัดในการเรียน นักเรียนมีความถนัดในการเรียนต่างกัน ความถนัดนี้อาจจะมองได้ 2 ลักษณะคือ ความถนัดที่เป็นผลผลึกของความรู้เดิมส่วนหนึ่งกับความถนัดที่เป็นของเฉพาะตัว ที่ติดมาแต่กำเนิดอีกส่วนหนึ่ง ความถนัดทั้งสองอย่างนี้จะเป็นศักยภาพที่จะเสริมให้การเรียนได้ผลดีขึ้น
- ความวิริยะอุตสาหะ ตั้งใจมีสมาธิ มุ่งมั่นอยู่เสมอ คุณภาพของการเรียนนั้นขึ้นอยู่กับลักษณะทางจิตวิทยาข้อนี้อยู่มาก ก็คงเป็นจริงอย่างสุภาษิตไทย ๆ ที่ว่า “ความพยายามอยู่ที่ไหน ความสำเร็จอยู่ที่นั่น”
- เวลาที่ใช้จริงในการเรียนที่สอดคล้องกับธรรมชาติของบทเรียน เช่น การฝึกฝน การทำการบ้าน การทำแบบฝึกหัดบทเรียน บางอย่างฝึกสั้น ๆ แล้วหยุดฝึกซ้ำเป็นระยะ ๆ ได้ผลดีกว่าฝึกติดต่อกันเป็นเวลานาน ๆ แต่บทเรียนบางอย่างก็ใช้เวลาฝึกนานเป็นช่วง ๆ ที่สำคัญคือ การฝึกนั้นอย่าให้เกิดความเบื่อหน่าย แต่ให้เกิดความเพลิดเพลินแทน ดังนั้นครูที่ดีควรจะศึกษาช่วงของความสนใจของลูกศิษย์ตนเองให้เข้าใจพอที่จะจัดการบ้านและให้งานทำได้โดยไม่ขัดกับธรรมชาติของเด็ก
- คุณภาพการสอนของครู อันได้แก่ การเตรียมการสอน ความตั้งใจ การเสนอคำสอน จัดลำดับก่อนหลังตามความยากง่ายมีเครื่องช่วย และเครื่องเสริมความสนใจ มีการทบทวนแก้ไข ฯลฯ อันเป็นเรื่องของพฤติกรรมการสอนที่ดีนั่นเอง ดังนั้น ครูที่เตรียมการสอนจึงมีโอกาสที่จะสอนเด็กได้ดีกว่าครูที่ไม่ได้เตรียมการสอน
- องค์ประกอบภายนอกห้องเรียน เช่น เสียงรบกวนขณะที่เรียน การจัดชั้นเรียน บรรยากาศในห้องเรียนก็มีส่วนในการเสริมผลการเรียนของนักเรียนอยู่มาก
ผลการวิจัยเก็บตกเล็ก ๆ น้อย ๆ ที่เล่ามา เก็บมาจากการอ่านและการไปร่วมประชุมของคณะผู้ทบทวนงานวิจัยทางการศึกษาซึ่งตั้งใจจะเล่าสั้น ๆ และง่าย ไม่ให้มีเทคนิควิธีการวิจัยเชิงปริมาณแต่อย่างใด โดยหวังผลว่า ท่านผู้อ่านจะได้นำไปคิดไปใช้ทั้งในแง่การปฏิบัติการวิจัย และการปฏิบัติการสอนในฐานะครูหรือผู้บริหารโรเงรียน
|
|
|
|
|
|
|
|
วันที่ 29 พ.ค. 2552
ขายดีมากครับคุณครู (พร้อมส่ง) เครื่องเคลือบบัตรA4 รุ่นSL200 เครื่องเคลือบกระดาษA4 A3 A5 ABSป้องกันการ์ด ในราคา ฿368 - ฿999 ที่ Shopeehttps://s.shopee.co.th/4VLvxbi7ho?share_channel_code=6
Advertisement
เปิดอ่าน 7,176 ครั้ง เปิดอ่าน 7,162 ครั้ง เปิดอ่าน 7,173 ครั้ง เปิดอ่าน 7,249 ครั้ง เปิดอ่าน 7,159 ครั้ง เปิดอ่าน 7,160 ครั้ง เปิดอ่าน 7,163 ครั้ง เปิดอ่าน 7,162 ครั้ง เปิดอ่าน 7,162 ครั้ง เปิดอ่าน 7,193 ครั้ง เปิดอ่าน 7,182 ครั้ง เปิดอ่าน 7,167 ครั้ง เปิดอ่าน 7,194 ครั้ง เปิดอ่าน 7,158 ครั้ง เปิดอ่าน 7,160 ครั้ง เปิดอ่าน 7,167 ครั้ง
|
เปิดอ่าน 7,165 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,156 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,161 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,154 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,158 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,176 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,209 ☕ คลิกอ่านเลย |
|
≡ เรื่องน่าอ่าน/สาระน่ารู้ ≡
เปิดอ่าน 11,050 ครั้ง |
เปิดอ่าน 28,348 ครั้ง |
เปิดอ่าน 33,605 ครั้ง |
เปิดอ่าน 20,186 ครั้ง |
เปิดอ่าน 16,940 ครั้ง |
|
|