Advertisement
สัมภาษณ์พิเศษ ดร.สกุลรัตน์ กมุทมาศ ชีวิตนี้เพื่อการศึกษา 5 ปริญญาโท 2 ปริญญาเอก |
เขียนโดย Administrator |
Sunday, 18 May 2008 |
ดร.สกุลรัตน์ กมุทมาศ เป็นคนอีสานโดยกำเนิด บ้านเกิดคือ จ.อุบลราชธานี บิดามีศักดิ์เป็นหลวงราษฎรบริหาร (สุด กมุทมาศ) มารดาเป็นอดีตนางงามแห่งเมืองอุบล ชื่อ นกแก้ว มีพี่น้องหลายคน คือ อุทัย, วินัย, วิรัช, สกุลรัตน์, พวงรัตน์ และสุดารัตน์ ปัจจุบันยังมีชีวิตอยู่เหลืออยู่เพียงสามคน คือ วินัย, สกุลรัตน์ และพวงรัตน์
แม้บิดาจะรับราชการเป็นถึงนายอำเภอ แต่ตระกูล กมุทมาศ มิได้ร่ำรวยมหาศาล เนื่องจากเป็นข้าราชการทำงานอย่างตรงไปตรงมาเพื่อสนองคุณแผ่นดิน มิได้หวังอามิสสินจ้างที่จะสร้างตระกูลให้มีฐานะร่ำรวย ประกอบกับมีลูกหลานหลายคน ฐานะความเป็นอยู่จึงเพียงแค่ดำรงชีวิตอยู่แบบไม่เดือดร้อนเท่านั้นเอง
หลวงราษฎรบริหาร ผู้เป็นบิดาจะพยายามบอกเล่าให้บรรดาลูก ๆ ตระหนักถึงความสำคัญของการศึกษาเล่าเรียน โดยตั้งปรัชญาชีวิตให้ลูก ๆ ท่องจำเอาไว้ว่า "ความรู้คู่ชีวิต" ทรัพย์สมบัติแม้จะมีค่ามากมายมหาศาล ถ้าต้องการไม่ตายก็หาได้ แต่ความรู้นั้นเราจำเป็นต้องศึกษาเล่าเรียน เพราะมันจะอยู่ติดตัวเราไปจนตาย
ด้วยเหตุนี้ลูก ๆ ในตระกูลกมุทมาศ จึงตั้งหน้าตั้งตาเล่าเรียนหนังสือกันอย่างจริงจัง ซึ่งทุกคนสามารถเรียนจบปริญญา ส่วนผู้ที่พิเศษกว่าพี่น้องคนอื่น ก็จะมีวิรัช และ สกุลรัตน์ ที่ได้ ดอกเตอร์ ส่วนพวงรัตน์ ได้สองปริญญา จากมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ หนึ่ง และจากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย อีกหนึ่ง
ชีวิตของ ดร.สกุลรัตน์ ค่อนข้างที่จะโดดเด่นมากกว่าพี่น้องคนอื่น ๆ ทุกคน ทั้งนี้เพราะเธอตั้งเป้าหมายชีวิตไว้ว่าจะต้องเรียนให้มากที่สุดในชีวิต แม้จะต้องลำบาายากเข็ญอย่างไร ขอเพียงให้เธอได้เรียนตามปรัชญาชีวิตของผู้เป็นบิดา
สุดท้ายเธอคือผู้ที่ก้าวเข้าไปสู่ความสำเร็จทางการศึกษาด้วยการได้รับปริญญาโทถึง 5 สถาบัน และได้รับปริญญาเอกอีก 2 สถาบัน
ชีวิตของการเล่าเรียนของ ดร.สกุลรัตน์ เรียนจบระดับมัธยมศึกษาจากโรงเรียนนารีนุกูล จ.อุบลราชธานี ด้วยผลการเรียนที่นำหน้าเพื่อน ๆ ทุกคน หลังจากที่เธอเรียนจบแล้ว เธอก็ขอแม่มุ่งเข้าสู่กรุงเทพมหานครเพื่อเรียนต่อ โดยมีคุณแม่ติดตามมาส่งเธอถึงกรุงเทพ ฯ
ดร.สกุลรัตน์ จำได้ดีว่า ในวันที่ออกจาก จ.อุบลราชธานีมากับคุณแม่นั้น เธอมีเพียงชะลอมเสื้อเผ้าเพียงหนึ่งใบเท่านั้น เมื่อมาถึงกรุงเทพ ฯ คุณแม่ก็ได้นำไปฝากไว้กับคุณลุงที่อยู่ข้างวัดเบญจมบพิตร โดยเธอมีโอกาสได้เข้าเรียนต่อระดับ ม. 7 และ ม. 8 ที่โรงเรียน
สตรีวิทยา เธอสอบได้ในอันดับเกือบสุดท้าย เพราะความที่เป็นเด็กบ้านนอก แม้จะเก่งมาจากอุบล แต่เมื่อมาเจอกับเด็กเมืองหลวงเข้า ดูเหมือนว่า วิชาการของเด็กในเมืองหลวงจะล้ำหน้ากว่าเด็กบ้านนอกมากโขทีเดียว
ดร.สกุลรัตน์จึงจำเป็นที่จะต้องขวนขวายช่วยเหลือตัวเองด้วยการหมั่นท่องตำราอย่างจริงจัง แม้จะลำบากอย่างไรก็ต้องอดทน มิฉะนั้นจะไม่สามารถเรียนได้ทันเพื่อน ๆ
การเล่าเรียนของ ดร.สกุลรัตน์ ในสมัยเรียนอยู่ในระดับมัธยมปีที่แปดนั้น เธอมิได้อาศัยเพียงเรียนในโรงเรียนเท่านั้น แต่เธอจะขวนขวายหาวามรู้จากนอกสถาบันอยู่เสมอ ๆ เพื่อเธอจะได้นำเอาความรู้ไปสอบแข่งขันเข้าเรียนต่อในรดับมหาวิทยาลัยต่อไป
เมื่อวันสำคัญในชีวิตของนักเรียนมาถึง คือวันสอบเข้าเรียนต่อในระดับมหาวิทยาลัย ดร.สกุลรัตน์ เข้าเรียนใน โรงเรียน ป.ม. เตีรยมจุฬา (วิทยาลัยวิชาการศึกษาปทุมวัน) ทั้ง ๆ ที่เธอจะเข้าเรียนในมหาวิทยาลัยอื่น ๆ ก็ได้ เพราะสอบได้เช่นเดียวกัน แต่เธอมีความต้องการที่จะเรียนจบออกมาเป็นครู จึงตัดสินใจเข้าเรียนทางสายครู ประกอบกับการเรียนในสายครูนี้ มีค่าเล่าเรียนต่ำกว่าสาย มหาวิทยาลัย สามารถจบออกมาหางานได้ง่าย และเป็นงานที่ถูกใจตัวเองด้วย ชีวิตในช่วงนี้ของ ดร.สกุลรัตน์ จึงหมดไปกับการเรียนอย่างแท้จริง เพราะเธอไม่มีช่วงชีวิตเพื่อความสนุกสนานตามสถานภาพวัยรุ่นที่ต้องการความสนุกสนานเลย เธอต้องทำงานบ้าน เสร็จการทำงานบ้านก็จะหยิบหนังสือมาอ่าน เป็นเช่นนี้ตลอดช่วงที่เรียนในระดับอุดมศึกษา
ในช่วงระยะเวลานั้นเป็นช่วงเวลาที่บิดาเสียชีวิตแล้ว มีเพียงมารดาที่ต้องมีภาระในการดูแลลูก ๆ และต้องส่งเสียลูกเข้าเรียนหนังสือ ดร.สกุลรัตน์ จึงตัดสินใจเรียนไปทำงานไป เพื่อหาเงินมาช่วยเหลือมารดา เป็นการแบ่งเบาภาระด้านการเงินของมารดาที่ต้องส่งลูก ๆ
เรียนหนังสือ
ดร.สกุลรัตน์ ตอนนั้นมีอายุเพียง 18 ปี เท่านั้น เธอตัดสินใจสมัครเข้าทำงานเป็นครูพิเศษที่โรงเรียนเพชรบุรีวิทยาลงกรณ์ เพื่อจะนำเงินไปให้มารดาเป็นค่าใช้จ่ายในการส่งพี่น้องคนอื่นเรียนหนังสือ ประกอบกับในตอนนั้นเธอเล็งเห็นว่า น่าที่จะอพยพมารดาและพี่น้อง
เข้ากรุเงทพฯ ดีกว่าจะปักหลักอยู่ที่อุบล ฯ ดังนั้นเงินที่เธอหาได้ถึงเก็บส่วนหนึ่งเอาไว้เพื่อเป็นทุนในการอพยพครอบครัวเข้ากรุงเทพ ฯ ด้วย เธอจึงหางานเพิ่มด้วยการรับเป็นครูสอนพิเศษให้กับนักเรียนอื่น ๆ ด้วย
ในช่วงนี้เองที่ชะตาชีวิตของ ดร.สกุลรัตน์ จะต้องเข้าไปเกี่ยวข้องกับคู่ชีวิต พ.ต.ประสิทธิ์ พูลสวัสดิ์ อดีตรองผู้ว่าราชการ จ.เพชรบูรณ์ (ปัจจุบันเสียชีวิตแล้ว) ได้ส่งผู้ใหญ่มาหมั้นหมาย โดยอ้างว่าได้ดูใจเธอมานานแล้ว ตั้งแต่เธอยังเรียนอยู่ที่โรงเรียนสตรีวิทยา และมั่นหมายว่าหากเธอเรียนจบในระดับมหาวิทยาลัยจะขอเธอแต่งงานด้วย ทั้งนี้ฝ่ายชายประทับใจว่า เธอเป็นผู้หญิงที่ดี ขยันขันแข็ง และที่สำคัญกตัญญูรู้คุณ เลี้ยงดูบุพการีมาอย่างมิได้ขาด
เมื่อเธอเรียนจบปริญญาตรี ทั้งคู่จึงเข้าพิธีสมรส จากนั้นมีบุตรด้วยกัน 2 คน คือ กิตติวัฒน์ และ กิติเวช พูลสวัสดิ์ ปัจจุบันเป็นวิศวกรอยู่ในประเทศอเมริกา
ชีวิตของ ดร.สกุลรัตน์เมื่อมีครอบครัว เธอก็มิได้ทอดทิ้งการเล่าเรียน ทุกเวลา ทุกนาที เธอยังใฝ่ฝันที่จะเรียนต่อไปเรื่อย ๆ ยิ่งผู้เป็นสามีให้การสนับสนุนอีกแรงหนึ่ง เธอยิ่งมีความสุขในการเล่าเรียนมากขึ้น พ.ต.ประสิทธิ์ ผู้เป็นสามี ได้ให้การสนับสนุนเธอเข้าเรียนต่อในระดับปริญญาโท ที่มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร โดยในตอนนั้นสถาบันแห่งนี้ยังเป็นวิทยาลัยการศึกษาประสานมิตร สอนในระดับปริญญาตรี และการเข้าไปเรียนในระดับปริญญาโทของดร.สกุลรัตน์ ครั้งนี้ถือเป็นรุ่นแรกของสถาบันแห่งนี้ที่เพิ่งเปิดขึ้นมา
ในช่วงที่เรียนระดับปริญญาโทอยู่นี้ ดร.สกุลรัตน์ ก็ยังคงขยันขันแข็งทั้งด้านการเรียนและการหางานพิเศษเพื่อเก็บเงินไว้เป็นทุนในการเรียนต่อไปอีก
ตอนนั้นเธอเริ่มมองเห็นแล้วว่า การศึกษาไม่ใช่จำกัดขอบเขตแต่เพียงในประเทศเท่านั้น นอกประเทศยังมีแหล่งการศึกษาอีกมากหมายที่จะรอให้ผู้ไขว่คว้าหาความรู้ได้ไปเก็บเกี่ยว ดังนั้นเธอจึงเริ่มที่จะวางช่องทางต่อการที่จะไปศึกษาต่อยังต่างประเทศ แต่การที่จะไปศึกษาต่างประเทศนั้น จำเป็นต้องใช้เงินสูง แม้เธอจะหาเงินอยู่ตลอดเวลานั่นมิได้หมายความว่ามันจะเพียงพอต่อการจะส่งตัวเองไปเรียนต่อยังต่างประเทศได้ หนทางที่มองเห็นมีอยู่ทางเดียว คือ สมัครเข้าชิงทุนรัฐบาลเพื่อจะด้ไปเรียนต่อ ปรากฏว่า การสอบแข่งขันเพื่อจะได้รับทุนไปเรียนต่อของ ดร.สกุลรัตน์ พ่ายแพ้ต่อผู้สมัครคนอื่น ๆ เธอจึงตั้งเป้าหมายใหม่ที่จะใช้เงินของตัวเองไปศึกษา เธอจึงเริ่มที่จะทำงานหนักมากขึ้น เพื่อเก็บเงิน จวบจนเมื่อเธอเรียนจบปริญญาโทจากประสานมิตรแล้ว เธอจึงตัดสินใจเรียนต่อยังประเทศสหรัฐอเมริกา โดยให้สามีดูแลลูกทั้งสองคนอยู่ในประเทศไทย
ด้วยแรงสนับสนุนของผู้เป็นสามีอีกแรงหนึ่ง ดร.สกุลรัตน์ จึงมีโอกาสเดินทางออกจากประเทศไทยไปศึกษาต่อยังประเทศอเมริกา การไปศึกษาต่อในอเมริกา ไม่ง่ายเหมือนที่คิด เพราะแม้เธอจะเรียนจบในระดับปริญญาโทเมืองไทยแล้ว แต่โดยสภาพที่แท้จริงการใช้ภาษาอังกฤษของเธอยังไม่แข็ง ดังนั้นพอเธอไปถึงอเมริกาเธอจึงสมัครเข้าเรียนต่อในระดับปริญญาโทที่มหาวิทยาลัยมิชซูรี
ก่อน เพื่อฝึกฝนการใช้ภาษา และในช่วงที่กำลังเรียนอยู่ก็ใช้เวลาว่างทำงานเพื่อหาเงินเป็นค่าเล่าเรียน เพื่อฝึกฝนการใช้ภาษาให้ดียิ่งขึ้นด้วย การทำงานในอเมริกาเมื่อ 40 ปีที่ผ่านมา ค่าแรงงานคิดเป็นชั่วโมง ชั่วโมงละ 3 เหรียญ 50 เซ็นต์ เธอทำงานวันละ 3 แห่ง ตื่นตั้งแต่ตีสี่ เข้าทำงานตีห้า ออกจากงานเข้าเรียนตอน 9 โมงเช้า เลิกเรียน 5 โมงเย็น เข้าทำงานต่อจนถึง 2 ทุ่ม เสาร์ - อาทิตย์ ทำงานเต็มวัน
อีกแห่ง อาทิตย์หนึ่ง ๆ เธอจึงมีเงินเหลือเฟือ สามารถส่งเงินมายังเมืองไทย ซื้อบ้านได้หนึ่งหลังภายในเวลาเพียงปีเดียว
หลังจากใช้ชีวิตเรียนอยู่ในมิชซูรี 2 ปี เธอก็ได้ย้ายเข้าไปยังมหานครนิวยอร์ก ไปพักอยู่กับเพื่อนรุ่นน้อง 3 คน ในห้องแคบ ๆ เป็นการประหยัดเงิน
ที่มหานครนิวยอร์ก ดร.สกุลรัตน์ ได้เข้าทำงานเป็นพนักงานต้อนรับในห้องอาหารระดับวีไอพี ในห้องอาหารออสการ์ ของโรงแรมวอลดอร์ฟออสเตรเลีย ซึ่งตั้งอยู่กลางมหานครนิวยอร์ก เป็นโรงแรมระดับหนึ่งของโลก มีรายได้ชั่วโมงละ 7 เหรียญ (ในยุคเมื่อ 40 ปีนั้น) และมีสวัสดิการทุกอย่างเหมือนกับพนักงานทุกคน
ดร.สกุลรัตน์ ทำงานที่นี่วันละ 8 ชั่วโมง โดยเข้าทำงานตี 5 เลิกบ่าย 2 โมง ตอนกลางคืนไปเป็นพนักงานเสิร์ฟที่ห้องอาหารอีกแห่งหนึ่ง ได้ทั้งเงินค่าจ้าง และเงินทิป ทำให้เธอมีฐานะการเงินที่ดี จนสามารถเข้าศึกษาต่อได้อย่างสะดวก และในช่วงเวลานี้เองที่เธอเข้าศึกษาต่อในระดับดอกเตอร์ และเข้าศึกษาต่อระดับปริญญาโทสาขาอื่นควบคู่กันไปด้วย
ผลจากการเรียนในยุคที่เธอมีกำลังเงินฟู่ฟ่านี่เอง ทำให้เธอสำเร็จการศึกษาได้รับปริญญาโท และปริญญาเอก ทางด้านการบริหารการศึกษาจากมหาวิทยาลัยโคลัมเบีย นิวยอร์ก
ชีวิตของ ดร.สกุลรัตน์ ในยามนี้แม้เธอจะมีเงินมาก แต่เธอก็ต้องอดทนและเหนื่อยต่อการทำงานไม่น้อย แต่ถึงอย่างไรเธอก็ไม่เคยท้อถอยเพราะเธอคิดว่า ชีวิตคือการต่อสู้ อุปสรรคของชีวิตคือแรงบันดาลใจให้คนมีความมานะพยายาม เธอยังคงใช้เวลาในการร่ำเรียนเก็บเกี่ยวปริญญาอย่างต่อเนื่อง จนเมื่อโอกาสเปิดให้เธอมีสิทธิ์ที่จะนำเอาลูกมาเรียนต่อในอเมริกาได้ เธอก็หยิบยื่นโอกาสนั้นให้แก่ลูกชายทั้งสองโดยทันที
หลังจากที่เธอคว้าปริญญาโทในอเมริกามาได้อีก 4 ใบ และปริญญาเอกอีก 1 ใบ รวมทั้งหมดเธอได้ปริญญาโท 5 ใบ ปริญญาเอก 2 ใบ เธอก็ตัดสินใจที่จะนำลูกเข้ามาเรียนต่อในอเมริกา
ลูกทั้งสองของเธอในตอนนั้น คนโตจบชั้น ม.3 และคนเล็ก จบชั้น ม.2 จากเมืองไทย เธอก็นำเอาลูกชายไปเรียนต่อในอเมริกาทันที โดยอาศัยกรีนการ์ดเข้าเมืองทั้งคู่ บุตรทั้งสองมีสิทธิ์เข้าเรียนในเกณฑ์บังคับโดยไม่ต้องสอบ มีหนังสือให้เรียนฟรี มีอาหารกลางวันให้รับประทานฟรี รวมทั้งในค่าเดินทางไปโรงเรียนอีกด้วย
เมื่อลูกชายทั้งสองเรียนจบเกรด 12 แล้ว ทั้งคู่ก็เข้าเรียนต่อวิชาวิศวกรรมศาสตร์เพื่อจะได้จบออกมาทำงานเป็นหลักฐานที่มั่นคง ในช่วงที่ลูกทั้งสองกำลังเรียนอยู่ในระดับมหาวิทยาลัยนั้น คุณพ่อ คือ พ.ต.ประสิทธิ์ ที่รับราชการอยู่ต่างจังหวัดในประเทศไทยเสียชีวิต ลูกทั้งสองก็ไม่ท้อถอยพยายามเรียนต่อไปจนจบ และปักรกรากทำงานมีครอบครัวอยู่ในอเมริกามาจนถึงทุกวันนี้
แม้ชีวิตของ ดร.สกุลรัตน์ กมุทมาศ จะพบกับความสำเร็จทางการศึกษา ด้วยปริญญาเอก 2 ใบ สองสาขา และ ปริญญาโท 5 ใบ ห้าสาขาวิชา และมีชีวิตอยู่อย่างเป็นสุขกับลูกชายทั้งสองในมหานครนิวยอร์ก แต่ ดร.สกุลรัตน์ ก็ยังไม่เคยลืมประเทศไทย เมืองพ่อเมืองแม่ เธอได้หอบความรู้ที่เก็บเกี่ยวเอาไว้ทั้งหมด มาพัฒนาประเทศไทยเมื่อมีโอกาส ทำกิจกรรมต่าง ๆ เพื่อช่วยเหลือส่งเสริมด้านการศึกษาในเมืองไทย ของ ดร.สกุลรัตน์ จะเริ่มไปที่การเสริมสร้างความรู้ให้แก่บุคลากรที่จะนำเอาความรู้ไปพัฒนาประเทศด้วยการรับอบรมครูอาจารย์เพื่อนำวิชาไปสอนนักเรียน โดยไม่คิดมูลค่า ทั้งนี้เธอคิดแค่เพียงว่าเป็นการบำเพ็ญประโยชน์แก่สังคม และเป็นการแบ่งปันความรู้ที่เธอร่ำเรียนมาใหแก่สังคมเพื่อถ่ายทอดกันออกไป ซึ่งใครที่ต้องการจะให้เธอไปบรรยายเกี่ยวกับวิชาการ สามารถติดต่อเธอได้ที่ โทร 0-9896-7047 และ 0-1566-8234 โดยไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายใด ๆ ทั้งสิ้น
นอกจากจะเป็นวิทยากรอบรมฟรีแล้ว ดร.สกุลรัตน์ ยังได้แต่งตำราเรียนขึ้นมากกว่า 200 เล่ม โดยเฉพาะในวิชาภาษาอังกฤษ ซึ่งจัดว่าเป็นตำราเรียนภาษาอังกฤษที่ดีที่สุด เพราะเธอดัดแปลง และใช้ความรู้จากประสบการณ์ที่เรียนอยู่ในอเมริกาประยุกต์ขึ้นให้เป็นตำราที่ง่ายต่อการเรียน สะดวกต่อความเข้าใจ นอกจากนี้เธอยังเขียนหนังสือวิธีป้องกันปัญหายาเสพติด และการประกอบอาชีพ หนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ ให้กับสำนักพิมพ์ประสานมิตร เพื่อจำหน่ายออกไปให้เป็นประโยชน์ต่อสังคมอีกด้วย
วันนี้ ดร.สกุลรัตน์ จัดตั้งชมรมอาวุโสสัมพันธ์ รวมผู้อาวุโสทำประโยชน์เพื่อเยาวชน, เป็นประธานมูลนิธิพัฒนาอาชีพไทย เพื่อให้งานหัตถกรรม หนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ขยายสู่ตลาดโลก, ตั้งมูลนิธิช่วยเหลือเด็กด้อยโอกาส จัดหาทุนการศึกษาให้เด็กด้อยโอกาสทางการศึกษาและร่วมงานสังคมสงเคราะห์อื่น ๆ อีกหลายแห่ง
ตลอดระยะเวลา 37 ปีที่ ดร.สกุลรัตน์ ใช้ชีวิตร่ำเรียนและทำงานอยู่ในอเมริกา ทุกปีเธอจะกลับมายังประเทศไทยเพื่อนำทุนการศึกษามามอบให้กับเด็กไทยที่เรียนดีทางภาคอีสานและภาคอื่น ๆ อย่างสม่ำเสมอมิได้ขาด ทั้งนี้เธอได้ร่วมกับคนไทยในนิวยอร์ก โดยเฉพาะกับ คุณกองทัพ จันทรศรีสุริยวงศ์ อดีตนักกีฬาเยาวชนทีมชาติ สายเลือดอีสาน ชาวอุดรฯ ก่อตั้ง มูลนิธิพัฒนาอาชีพ นำเงินที่ได้รับการบริจาคจากคนไทยในอเมริกา และคนอเมริกามามอบให้กับเยาวชนในประเทศไทย
วันนี้แม้งานทางด้านการเล่าเรียนของ ดร.สกุลรัตน์ จะสิ้นสุดลงในภาคสถาบัน แต่การศึกษาในเรื่องราวของชีวิตคนไทยยังไม่จบสิ้นลง เพราะเธอยังตั้งปณิธานต่อไปในชีวิตวัยเกือบจะ 70 ปีของเธอว่า เธอจะใช้ความรู้ความสามารถที่มีอยู่มาพัฒนาประเทศชาติ และส่งเสริมเยาวชนไทยให้ก้าวไปข้างหน้า ให้พวกเขาพบโอกาสดี ๆ ดังเช่นที่เธอเคยพบมา
บทสัมภาษณ์โดย ชนิตร ภู่กาญจน์
ตีพิมพ์ในหนังสือพิมพ์แนวหน้า หน้าการศึกษา ประจำวันอาทิตย์ที่ 18 เมษายน พ.ศ.2547
|
วันที่ 29 พ.ค. 2552
Advertisement
เปิดอ่าน 7,137 ครั้ง เปิดอ่าน 7,144 ครั้ง เปิดอ่าน 7,147 ครั้ง เปิดอ่าน 7,152 ครั้ง เปิดอ่าน 7,140 ครั้ง เปิดอ่าน 7,142 ครั้ง เปิดอ่าน 7,139 ครั้ง เปิดอ่าน 7,134 ครั้ง เปิดอ่าน 7,139 ครั้ง เปิดอ่าน 7,179 ครั้ง เปิดอ่าน 7,142 ครั้ง เปิดอ่าน 7,159 ครั้ง เปิดอ่าน 7,203 ครั้ง เปิดอ่าน 7,134 ครั้ง เปิดอ่าน 7,144 ครั้ง เปิดอ่าน 7,140 ครั้ง
|
เปิดอ่าน 7,143 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,140 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,139 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,147 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,166 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,142 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,151 ☕ คลิกอ่านเลย |
|
≡ เรื่องน่าอ่าน/สาระน่ารู้ ≡
เปิดอ่าน 19,874 ครั้ง |
เปิดอ่าน 15,851 ครั้ง |
เปิดอ่าน 161,259 ครั้ง |
เปิดอ่าน 21,585 ครั้ง |
เปิดอ่าน 50,674 ครั้ง |
|
|